ผลลัพธ์ทางการเมืองของการชะงักงันทางเศรษฐกิจ
แปลจาก The Political Consequences of Stagnation โดย Walden Bello
แปล: ภาคภูมิ แสงกนกกุล
เรียบเรียง: เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
ต้อง ขออภัยต่อที เอส อีเลียต (T.S. Eliot) เป็นการส่วนตัว แต่เดือนกันยายนต่างหากคือเดือนที่โหดร้ายที่สุดไม่ใช่เมษายน (บรรทัดแรกของกวีนิพนธ์ The Waste Land ที่โด่งดังของอีเลียต: ผู้แปล) ก่อนหน้าเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เคยมี 11 กันยายน 1973 ที่นายพลปิโนเชต์โค่นล้มรัฐบาลอัลเลนเดและเริ่มต้น 17 ปีแห่งการปกครองของความกลัว ใกล้เข้ามา ในวันที่ 15 กันยายน 2008 เลห์แมนบราเธอร์ล้มละลายและส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนให้วิกฤตการ เงินกลายเป็นประสบการณ์เฉียดตายสำหรับระบบการเงินโลก
สองปีให้หลัง เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางมาก สัญญาณของการฟื้นตัวที่ผู้กำหนดนโยบายที่สิ้นหวังเคยกล่าวอ้างว่าได้สังเกตุ เห็นในปลายปี 2009 และต้นปีนี้กลับกลายเป็นเพียงภาพลวงตา ในยุโรป ประชาชนกว่าสี่ล้านคนตกงานและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่บังคับใช้กับประเทศที่มี หนี้ท่วมท้นอย่างกรีซ สเปน อิตาลีและไอร์แลนด์มีแต่จะเพิ่มจำนวนคนว่างงานขึ้นอีกหลายแสน ทั้งนี้ เยอรมนีอาจรอดพ้นจากสภาพที่หดหู่นี้
ในเชิงเทคนิค ถึงแม้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้อยู่ในภาวะถดถอยก็ตาม แต่การฟื้นตัวก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลสำหรับเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด ของโลกที่หดตัวไปแล้วกว่า 2.9 เปอร์เซ็นต์ในปี 2009 ตัวเลขนี้ถือเป็นการบ่งบอกถึงสภาพที่อ่อนเปลี้ยของไตรมาสที่สองที่มีอัตรา การเติบโตของจีดีพี 1.6 เปอร์เซ็นต์และอัตราการว่างงานที่แท้จริงสูงกว่าอัตราทางการ 9.6 เปอร์เซ็นต์ถ้าหากเราคิดรวมถึงกลุ่มที่เลิกล้มที่จะหางานไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจยังคงปฏิเสธที่จะลงทุน ธนาคารยังคงไม่ปล่อยเงินกู้ยืม ขณะที่ผู้บริโภคก็ยังปฏิเสธที่จะใช้จ่าย ถ้าหากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ยังไม่มีออกมา แน่นอนว่าเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงที่หวาดกลัวกันนักหนาจะกลายเป็นความจริง เมื่อผลกระทบของการอัดฉีดเงินโดยรัฐบาลกลางกว่า 787 พันล้านเหรียญในระบบเศรษฐกิจค่อยๆ หมดลง
ที่ผู้บริโภคอเมริกันไม่ยอมใช้จ่ายนั้นก็มีผลสะเทือนไปยังระบบเศรษฐกิจโลกด้วย ไม่ใช่เพียงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เท่านั้น การใช้จ่ายเงินของชาวอเมริกันที่มาจากการกู้ยืมนั้นเคยเป็นแรงขับเคลื่อนของ ระบบเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ก่อนหน้าวิกฤตและเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นก็ไม่มีการใช้ จ่ายจากแหล่งอื่นมาแทนที่ สำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในจีนซึ่งได้รับการอัดฉีดจากแผนกระตุ้นของ รัฐบาลกว่า 585 พันล้านเหรียญนั้นมีผลชะลอแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวได้เป็นการชั่วคราวทั้งภายใน ประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ มันยังส่งผลกระทบบางส่วนไปยังอาฟริกาและอเมริกาใต้ด้วย อย่างไรก็ตาม มันไม่มากพอที่จะดึงสหรัฐอเมริกาและยุโรปจากความชะงักงันทางเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนแล้ว โอกาสที่เศรษฐกิจจะทรุดตัวลงไปสู่การเติบโตในอัตราที่ต่ำ การชะลอตัวลงหรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจถดถอยก็อาจจะเป็นจริงขึ้นมาสำหรับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จะตัดหรือจะกระตุ้น
ที่ผ่านมา ข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในแวดวงนโยบายจากฝั่งตะวันตกถูกแบ่งออกได้เป็น สองกลุ่ม กลุ่มแรก มองว่าความเสี่ยงจากการที่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้คืนได้เป็นปัญหาใหญ่กว่า เศรษฐกิจชะลอตัว จึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนการเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่อีกกลุ่มเห็นว่าการชะงักงันของเศรษฐกิจเป็นความเสี่ยงที่อันตรายที่ สุดและต้องการแผนกระตุ้นมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับมัน ในการประชุมจี 20 ที่โตรอนโตในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ทั้งสองกลุ่มนี้เผชิญหน้ากัน ในด้านหนึ่ง นางแองเกลา แมร์เคลของเยอรมนีสนับสนุนการรัดเข็มขัดและชี้ไปที่ความเสี่ยงจากความไม่ สามารถชำระหนี้ของประเทศลูกหนี้ของเยอรมนีในยุโรปตอนใต้อย่างกรีซ ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามาที่กำลังเผชิญกับอัตราว่างงานระดับสูงอย่างยากที่ จะควบคุมนั้นกลับสนับสนุนนโยบายแบบขยายตัว ถึงแม้เขาจะขาดเสียงสนับสนุนทางการเมืองในการผลักดันนโยบายดังกล่าวก็ตาม
ตามความเห็นของฝ่ายที่สนับสนุนการใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐ พวกที่ต่อต้านงบประมาณแบบขาดดุลดูจะไม่มีข้อโต้แย้งมากนัก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาวะเงินฝืดเป็นความเสี่ยงที่กำลังน่าวิตก ความกลัวว่าการใช้จ่ายของรัฐจะเติมเชื้อไฟให้กับเงินเฟ้อดูจะผิดที่ผิดทาง นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มภาระหนี้สินให้กับคนรุ่นต่อไปนั้นก็ออกจะไม่เข้า ที เพราะวิธีการที่ดีที่สุดที่เราจะทำให้กับพลเมืองในอนาคตได้ก็คือสร้างหลัก ประกันให้พวกเขาได้รับส่งต่อระบบเศรษฐกิจที่เติบโตและมีสุขภาพดี การใช้จ่ายงบประมาณขาดดุลในขณะนี้จึงเป็นวิธีที่จะไปสู่การเติบโตแบบที่ว่า ยิ่งไปกว่านั้น ความไม่สามารถชำระหนี้ของรัฐไม่ใช่ความเสี่ยงที่แท้จริงสำหรับประเทศที่กู้ ยืมในสกุลเงินที่ตนสามารถควบคุมได้ อย่างเช่นสหรัฐฯ เพราะถึงที่สุดแล้ว สหรัฐฯ สามารถจ่ายหนี้คืนโดยการสั่งให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นเท่านั้น
ผู้ที่สนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเสียงดังที่สุด น่าจะเป็นพอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์โนเบลที่กลายเป็นแกะดำในกลุ่มอนุรักษ์นิยม สำหรับครุกแมน ปัญหาก็คือแผนกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ยังใหญ่ไม่พอตั้งแต่ต้น แต่แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เขาต้องการควรจะเป็นเท่าใด? หรือมาตรการอื่นๆ แบบไหนที่รัฐบาลสามารถทำได้? ครุกแมนเองแสดงท่าทีอึกอักต่อคำถามเหล่านี้ บางทีอาจเป็นเพราะเขาตระหนักได้ว่าแนวคิดเคนส์เซียนแบบดั้งเดิมนั้นมีข้อ จำกัดของมันอยู่ นั่นคือ “ไม่มีใครรู้ว่ามาตรการเหล่านี้ทำงานได้ดีเพียงใด เหตุผลเท่าที่มีก็คือ ก็ยังดีกว่าที่จะได้ลองใช้มาตรการบางอย่างแม้มันจะไม่ได้ผล แทนที่จะมัวแต่หาข้อแก้ตัวและปล่อยให้แรงงานประสบกับความลำบาก” ครุกแมนกล่าวว่า นอกจากการใช้จ่ายแบบขาดดุลเพิ่มขึ้นแล้ว ทางเลือกที่มีก็คือ “การชะงักงันแบบถาวรและการว่างงานระดับสูง”
ครุกแมนอาจจะมีเหตุผลที่ดี แต่เหตุผลมักสำคัญน้อยกว่าอุดมการณ์ ผลประโยชน์และการเมือง กล่าวคือ ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับสูง แต่พลังที่ต่อต้านรัฐบาลขนาดใหญ่และงบประมาณแบบขาดดุลนั้นก็กำลังมีบทบาทใน สามประเทศตะวันตกที่สำคัญ นั่นคือ ในอังกฤษ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมประสบความสำเร็จในการลดบทบาทของรัฐบาล ในเยอรมนี ภาพของประชาชนกรีกและสเปนที่ฟุ่มเฟือยกำลังใช้จ่ายเงินกู้ยืมจากชาวเยอรมัน ที่ทำงานหนักนั้นกลายเป็นสิ่งที่ส่งให้พรรคของนางแมร์เกลขึ้นสู่อำนาจอย่าง ง่ายดาย และสุดท้าย ในสหรัฐอเมริกา ดังจะกล่าวต่อไป
ความล้มเหลวของโอบามา
แนวคิดที่ต่อต้านงบประมาณแบบขาดดุลมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ ถึงแม้ข้อเท็จจริงที่ว่ามีการว่างงานในระดับสูงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ ประการแรก การต่อต้านงบประมาณขาดดุลนั้นสอดคล้องและไปได้ดีกับความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ กับรัฐบาลขนาดใหญ่ของชนชั้นกลางชาวอเมริกัน ประการที่สอง วอลสตรีทได้ฉวยโอกาสในการรับเอาแนวทางนี้เพื่อใช้สกัดกั้นความพยายามของ รัฐบาลที่จะกำกับและควบคุมตลาดหุ้นมากขึ้น ทั้งนี้ วอลสตรีทได้โจมตีว่ารัฐบาลขนาดใหญ่ต่างหากที่เป็นปัญหา ไม่ใช่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ประการที่สามซึ่งไม่ควรถูกประเมินค่าต่ำเกินไป คือการกลับมาอีกครั้งของอิทธิพลเชิงอุดมการณ์จากพวกเสรีนิยมใหม่ ซึ่งรวมถึงพวกที่มาร์ติน วูฟ (Martin Wolf) นิยามว่า "เชื่อว่าความตกต่ำถึงขีดสุดจะช่วยชำระล้างสิ่งที่เกินพอดีในอดีตและนำไปสู่ ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแรงยิ่งขึ้น” ประการที่สี่ แนวคิดทางเศรษฐกิจที่ปฏิเสธการใช้จ่ายของรัฐมีฐานมวลชนจำนวนมาก นั่นคือ ขบวนการทีปาร์ตี้ (the Tea Party Movement : กลุ่มเคลื่อนไหวระดับรากหญ้าในอเมริกาที่ต่อต้านนโยบายและมาตรการที่เน้นการ ใช้จ่ายของรัฐและการเก็บภาษี: ผู้แปล) ในทางตรงกันข้าม แนวทางที่รัฐใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นกลับได้รับการสนับสนุนจาก ปัญญาชนสายก้าวหน้าที่ปราศจากฐานมวลชนหรือมีฐานแต่ก็ต้องผิดหวังไปเพราะโอบา มา
แต่ถึงกระนั้น ชัยชนะของสายเหยี่ยวอาจไม่ได้ถูกกำหนดมาแล้ว อย่างที่อนาโตล คาเลตสกี (Anatole Kaletsky) นักวิจารณ์เศรษฐกิจของนิตยสารไทม์ของลอนดอน ซึ่งถือว่าเป็นคนที่ไม่มีจุดยืนร่วมกับแนวความคิดก้าวหน้าเท่าใดนักได้กล่าว เอาไว้ อิทธิที่เพิ่มขึ้นของกระแสต่อต้านงบประมาณแบบขาดดุลเกิดขึ้นจากความผิดพลาด ด้านยุทธวิธีของโอบามา ควบคู่กับความล้มเหลวของฝ่ายก้าวหน้าที่ไม่สามารถเสนอวาทกรรมเกี่ยวกับวิกฤต เศรษฐกิจที่สามารถโน้มน้าวผู้คนได้ ความผิดพลาดด้านยุทธวิธีที่สำคัญของโอบามา คือการเข้ารับผิดชอบผลกระทบของวิกฤตครั้งนี้โดยใช้หลักการร่วมสองพรรคในสภา (bipartisanship) ซึ่งตรงข้ามกับโรนัล เรแกนและมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ที่เคย “ปฏิเสธไม่ขอรับผิดชอบกับปัญหาเศรษฐกิจใดๆ” ทั้งเรแกนและแทตเชอร์ใช้เวลา “ในช่วงหลายปีแรกของการบริหารเพื่อทำให้ประชาชนเชื่อว่าวิบากกรรมทาง เศรษฐกิจทั้งหมดนั้นเป็นผลมาจากรัฐบาลฝ่ายซ้ายก่อนหน้านั้น สหภาพแรงงานที่มีบทบาท รวมทั้งชนชั้นนำสายเสรีนิยมก้าวหน้า”
คาเลตสกียังกล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่กว่าคือ “เรื่องเล่า” (เน้นโดยผู้แปล) แบบโอบามาที่มีความขัดแย้งในตัวเอง เพราะขณะที่โอบามาพยายามกล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงินว่าโลภมาก ขณะเดียวกันเขากลับดำเนินการราวกับสถาบันการเงินเหล่านี้ใหญ่เกินกว่าที่จะ ล้มได้ "เมื่อธนาคารเหล่านี้ฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็วและมีผลกำไรดีกว่าที่ ประชาชนถูกทำให้เชื่อ" คาเลตสกีได้เสนอในหนังสือ Capitalism 4.0 ของเขาว่า “นักการเมืองจากทุกพรรคก็ถูกตีตราจากกระแสสังคมว่าเป็นเหมือนตัวตลกที่ถูกทำ ให้ดูน่าขันโดยเหล่านายธนาคารที่พวกเขาพยายามจะตำหนิ" แน่นอนว่าชุดของแผนการปฏิรูปทางการเงินของพรรคเดโมแครตที่เพิ่งผ่านสภาไป นั้นสามารถตอกย้ำความรับรู้สาธารณะที่ว่าคนเหล่านี้ถูกเหมารวมหรือถูกทำให้ เสียขวัญโดยบรรดานายธนาคารที่พวกเขาประณาม ที่สำคัญ แผนปฏิรูปที่ว่านี้ ยังขาดข้อกำหนดที่มีประสิทธิภาพ : ข้อกำหนดแบบที่มีในกฎหมาย Glass-Steagall (เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในอเมริกาปี 1929 จุดประสงค์เพื่อป้องกันการเก็งกำไร : ผู้แปล) ที่ป้องกันธนาคารพาณิชย์ไม่ให้เล่นบทวาณิชธนกิจควบคู่ไปด้วย; ห้ามการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟท (Warren Buffett) เรียกว่าเป็น "อาวุธทำลายล้างรุนแรง; "จัดเก็บภาษีธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศหรือ Tobin Tax (ภาษีที่เสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล James Tobin จุดประสงค์แรกเริ่มเพื่อลดการผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและป้องกันการเก็ง กำไรในระยะสั้น : ผู้แปล) และควบคุมการจ่ายผลตอบแทน โบนัสและแรงจูงใจอย่าง สต็อกออปชั่น (stock options) ให้กับผู้บริหาร
คาเลตสกีเชื่อ ว่าโอบามาน่าจะวาดภาพวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ในลักษณะว่ามันถูกสร้างขึ้นโดย “ปรัชญาแบบเชื่อมั่นตลาดสุดโต่งที่สร้างความแตกแยกและถูกทำให้ดูง่ายเกิน จริง แทนที่จะเป็นข้อบกพร่องส่วนตัวของนายทุนธนาคารและผู้กำกับดูแลสถาบันการ เงิน” ด้วยการนำเสนอคำอธิบายที่เป็นระบบของการเกิดวิกฤตแบบนี้ นักการเมืองก็จะสามารถยึดกุมจินตนาการสาธารณะด้วยเรื่องเล่าหลังวิกฤตแทน ที่จะเป็นการตั้งศาลเตี้ยให้กับพวกนายทุนจอมโลภ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วน่าเร้าใจกว่า” แต่อาจเป็นเพราะผู้ใกล้ชิดอย่างเลขาฯ กระทรวงการคลัง ทิม เกทธ์เนอร์ (Tim Geithner) และผู้อำนวยการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ ลาร์รี ซัมเมอรส์ (Larry Summers) ซึ่งทั้งคู่ต่างก็แยกตัวเองไม่ออกจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ เรื่องราวที่เป็นระบบแบบที่ว่ากลับไม่ปรากฏให้เห็น
สู่ยุทธศาสตร์แบบก้าวหน้า
ฝ่ายขวานั้นกำลังมีแรงขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้และอาจจะประสบชัยชนะครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งสหรัฐฯที่จะถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ พวกเขาจะสามารถมัดโอบามาและพวกเดโมแครตเข้ากับวิกฤติอย่างแน่นหนาจนทำให้คน ลืมไปว่ามันได้ปะทุขึ้นภายใต้รัฐบาลนิยมตลาดสุดโต่งของจอร์จ บุช อย่างไรก็ตาม ด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่คร่ำครึของฝ่ายขวา พวกนักการเงินสายเหยี่ยวและผู้สนับสนุนทีปาร์ตี้ก็ไม่น่าจะเสนอทางเลือกอะไร มาแทนที่สิ่งที่พวกเขาได้ล้อเลียนว่าเป็น “สังคมนิยม” ของโอบามาได้ การปล่อยให้เศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดที่ไม่สามารถทำงานต่อได้เพื่อที่จะรอให้มัน ดีงามขึ้นมายิ่งจะนำไปสู่การต่อต้านที่รุนแรงขึ้นจากประชาชนที่กำลังประสบ ปัญหาทางเศรษฐกิจ
แต่ฝ่ายก้าวหน้าก็ไม่ควรจะพึงพอใจต่อความสิ้นไร้ไม้ตอกของแนวคิดเศรษฐกิจแบบทีปาร์ตี้ พวกเขาควรพยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลวของนโยบาย เคนส์เซียนที่อ่อนแรงของโอบามา นอกเหนือจากความผิดพลาดเชิงยุทธวิธีที่เข้ารับผิดชอบวิกฤตและความล้มเหลวที่ไม่สามารถเสนอวาทกรรมต้านเสรีนิยมใหม่ที่มีพลังในการอธิบายวิกฤตแล้ว ปัญหาหลักของโอบามาและทีมงานของเขาก็คือความล้มเหลวที่จะเสนอทางเลือกอื่น เพื่อแทนที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่
จะว่าไปแล้ว องค์ประกอบของทางออกที่ก้าวหน้านั้นได้ถูกคัดทิ้งออกไปโดยนักเศรษฐศาสตร์สาย เคนส์เซียนและสายก้าวหน้าซะเอง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่, กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นสำหรับสถาบันการเงิน, นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน, ภาษีสูงสำหรับคนรวย, การลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, นโยบายอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว, การควบคุมเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไร, การควบคุมเงินลงทุนไหลกลับต่างประเทศ, การมีสกุลเงินของโลกและธนาคารกลางของโลก
รัฐบาลภายใต้โอบามาได้พยายามที่จะใช้มาตรการเหล่านี้บางส่วน แต่เนื่องจากความกระตือรือร้นที่ จะใช้หลักการร่วมสองพรรคในสภา, ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของบุคคลสำคัญในรัฐบาลกับชนชั้นนำทางเศรษฐกิจและความ ล้มเหลวของบรรดาเทคโนแครตเช่น ซัมเมอรส์และเกทธ์เนอร์ที่ไม่สามารถข้ามพ้นกระบวนทัศน์ของเสรีนิยมใหม่ รัฐบาลนี้จึงล้มเหลวในการนำเสนอมาตรการเหล่านี้ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูป ทางสังคมที่มีขอบเขตกว้างขึ้นเพื่อทำให้การควบคุมและจัดการระบบเศรษฐกิจมี ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
สำหรับฝ่ายก้าวหน้า บทเรียนที่น่าจะได้จากโอบามาโนมิคส์ (Obamanomics) ที่ไม่ทำงานก็คือ การจัดการแบบเทคโนแครตเท่านั้นยังไม่เพียงพอ นโยบายแบบเคนส์ต้องเป็นส่วน หนึ่งของวิสัยทัศน์และแผนที่กว้างขึ้นกว่านี้ ทั้งนี้ กลยุทธ์นี้จะต้องมีแรงผลักสำคัญ 3 ส่วนประกอบกัน คือ หนึ่ง การตัดสินใจที่มีความเป็นประชาธิปไตยในทุกระดับของเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับองค์กรจนถึงการวางแผนในระดับมหภาค, สอง ต้องมีความเสมอภาคมากขึ้นในการกระจายตัวของความมั่งคั่งและรายได้ เพื่อชดเชยอัตราการเติบโตที่ต่ำอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและสภาพ แวดล้อม และสาม การประสานร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อถ่วงดุลกับหลักปฏิบัติเรื่องการแข่งขัน ทั้งในด้านการผลิตการกระจายและการบริโภค
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวไม่สามารถถูกป้อนลงมาจากข้างบนโดยชนชั้นนำเทคโนแครตอย่างที่ เคยเป็นมาภายใต้รัฐบาลนี้อีกต่อไป ความผิดพลาดใหญ่หลวงประการสำคัญที่ผ่านมาก็คือการปล่อยให้ขบวนการเคลื่อนไหว ของมวลชนที่เคยส่งให้โอบามาเข้าสู่อำนาจต้องหมดพลังลงไป ดังนั้น ต้องดึงให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเศรษฐกิจใหม่ ฝ่ายก้าวหน้าเองคงจะได้บทเรียนสำคัญจากขบวนการทีปาร์ตี้แล้วว่าพวกเขาต้อง เข้าร่วมช่วงชิงพื้นที่กับทีปาร์ตี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในประเด็นเรื่อง ความอยู่รอดหรือปากท้องของคนอเมริกันในระดับรากหญ้า
สุญญากาศดำรงอยู่ไม่ได้นานตามธรรมชาติ
ครุกแมนทำนายว่าผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน "จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายไปอีกหลายปี” อย่างไรก็ตาม ภาวะสุญญากาศไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานตามธรรมชาติ ความผิดพลาดที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นจุดร่วมกันของพวกที่เชื่อมั่นในระบบตลาดสุด โต่งกับเทคโนแครตสายเคนส์เซียนนั้น คือ เพิกเฉยต่อความกลัวของผู้ตกงาน ผู้ที่กำลังจะตกงานและประชาชนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เมื่อเกิดช่องว่างเช่นนั้น จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าคนเหล่านี้จะสร้างพลังทางสังคมขึ้นมาจัดการ กับความกลัวและปัญหาของพวกเขาเอง
ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายในการเติมเต็มที่ว่างนี้อย่างสร้างสรรค์ย่อมเป็นผลให้เกิดการฟื้นกำลังของฝ่าย ขวาขึ้นมาอีกครั้งพร้อมกับความกังวลที่น้อยลงสำหรับการแทรกแซงจากรัฐอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฝ่ายขวาที่แข็งแกร่งขึ้นนี้จะเป็นฝ่ายขวาที่สามารถผนวกเอาแนวทางแบบเคนส์ เซียนของเหล่าเทคโนแครตเข้ากับแนวทางประชานิยมที่เป็นแนวปฏิกิริยาทางสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเรามีคำเรียกระบอบแบบนี้ว่า ฟาสซิสต์ และอย่างที่โรเจอร์ บูทล์ (Roger Bootle) ผู้เขียน The Trouble with Markets ได้เตือนพวกเราไว้ ชาวเยอรมันนับล้านได้ตาสว่างกับระบบตลาดเสรีและทุนนิยมในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้งใหญ่ (ในทศวรรษ 1930s: ผู้แปล) แต่ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายในการเสนอทางเลือกที่ทำได้ ทำให้ชาวเยอรมันตกเป็นเหยื่อของพรรคการเมืองที่เมื่อได้เข้าสู่อำนาจแล้ว กลับนำมาตรการแจกเงินแนวเคนส์เซียนที่สามารถลดอัตราว่างงานลงมายัง 3 เปอร์เซ็นต์เข้าผนวกกับข้อเสนอทางสังคมและวัฒนธรรมแบบต้านปฏิกิริยา (counterrevolutionary) ที่มีผลทำลายล้างอย่างเลวร้าย
แปล: ภาคภูมิ แสงกนกกุล
เรียบเรียง: เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
ต้อง ขออภัยต่อที เอส อีเลียต (T.S. Eliot) เป็นการส่วนตัว แต่เดือนกันยายนต่างหากคือเดือนที่โหดร้ายที่สุดไม่ใช่เมษายน (บรรทัดแรกของกวีนิพนธ์ The Waste Land ที่โด่งดังของอีเลียต: ผู้แปล) ก่อนหน้าเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 เคยมี 11 กันยายน 1973 ที่นายพลปิโนเชต์โค่นล้มรัฐบาลอัลเลนเดและเริ่มต้น 17 ปีแห่งการปกครองของความกลัว ใกล้เข้ามา ในวันที่ 15 กันยายน 2008 เลห์แมนบราเธอร์ล้มละลายและส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนให้วิกฤตการ เงินกลายเป็นประสบการณ์เฉียดตายสำหรับระบบการเงินโลก
สองปีให้หลัง เศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางมาก สัญญาณของการฟื้นตัวที่ผู้กำหนดนโยบายที่สิ้นหวังเคยกล่าวอ้างว่าได้สังเกตุ เห็นในปลายปี 2009 และต้นปีนี้กลับกลายเป็นเพียงภาพลวงตา ในยุโรป ประชาชนกว่าสี่ล้านคนตกงานและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่บังคับใช้กับประเทศที่มี หนี้ท่วมท้นอย่างกรีซ สเปน อิตาลีและไอร์แลนด์มีแต่จะเพิ่มจำนวนคนว่างงานขึ้นอีกหลายแสน ทั้งนี้ เยอรมนีอาจรอดพ้นจากสภาพที่หดหู่นี้
ในเชิงเทคนิค ถึงแม้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้อยู่ในภาวะถดถอยก็ตาม แต่การฟื้นตัวก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยังห่างไกลสำหรับเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุด ของโลกที่หดตัวไปแล้วกว่า 2.9 เปอร์เซ็นต์ในปี 2009 ตัวเลขนี้ถือเป็นการบ่งบอกถึงสภาพที่อ่อนเปลี้ยของไตรมาสที่สองที่มีอัตรา การเติบโตของจีดีพี 1.6 เปอร์เซ็นต์และอัตราการว่างงานที่แท้จริงสูงกว่าอัตราทางการ 9.6 เปอร์เซ็นต์ถ้าหากเราคิดรวมถึงกลุ่มที่เลิกล้มที่จะหางานไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจยังคงปฏิเสธที่จะลงทุน ธนาคารยังคงไม่ปล่อยเงินกู้ยืม ขณะที่ผู้บริโภคก็ยังปฏิเสธที่จะใช้จ่าย ถ้าหากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ยังไม่มีออกมา แน่นอนว่าเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงที่หวาดกลัวกันนักหนาจะกลายเป็นความจริง เมื่อผลกระทบของการอัดฉีดเงินโดยรัฐบาลกลางกว่า 787 พันล้านเหรียญในระบบเศรษฐกิจค่อยๆ หมดลง
ที่ผู้บริโภคอเมริกันไม่ยอมใช้จ่ายนั้นก็มีผลสะเทือนไปยังระบบเศรษฐกิจโลกด้วย ไม่ใช่เพียงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เท่านั้น การใช้จ่ายเงินของชาวอเมริกันที่มาจากการกู้ยืมนั้นเคยเป็นแรงขับเคลื่อนของ ระบบเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ก่อนหน้าวิกฤตและเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นก็ไม่มีการใช้ จ่ายจากแหล่งอื่นมาแทนที่ สำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในจีนซึ่งได้รับการอัดฉีดจากแผนกระตุ้นของ รัฐบาลกว่า 585 พันล้านเหรียญนั้นมีผลชะลอแนวโน้มเศรษฐกิจหดตัวได้เป็นการชั่วคราวทั้งภายใน ประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ มันยังส่งผลกระทบบางส่วนไปยังอาฟริกาและอเมริกาใต้ด้วย อย่างไรก็ตาม มันไม่มากพอที่จะดึงสหรัฐอเมริกาและยุโรปจากความชะงักงันทางเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าหากไม่มีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนแล้ว โอกาสที่เศรษฐกิจจะทรุดตัวลงไปสู่การเติบโตในอัตราที่ต่ำ การชะลอตัวลงหรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจถดถอยก็อาจจะเป็นจริงขึ้นมาสำหรับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
จะตัดหรือจะกระตุ้น
ที่ผ่านมา ข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นในแวดวงนโยบายจากฝั่งตะวันตกถูกแบ่งออกได้เป็น สองกลุ่ม กลุ่มแรก มองว่าความเสี่ยงจากการที่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้คืนได้เป็นปัญหาใหญ่กว่า เศรษฐกิจชะลอตัว จึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนการเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่อีกกลุ่มเห็นว่าการชะงักงันของเศรษฐกิจเป็นความเสี่ยงที่อันตรายที่ สุดและต้องการแผนกระตุ้นมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับมัน ในการประชุมจี 20 ที่โตรอนโตในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ทั้งสองกลุ่มนี้เผชิญหน้ากัน ในด้านหนึ่ง นางแองเกลา แมร์เคลของเยอรมนีสนับสนุนการรัดเข็มขัดและชี้ไปที่ความเสี่ยงจากความไม่ สามารถชำระหนี้ของประเทศลูกหนี้ของเยอรมนีในยุโรปตอนใต้อย่างกรีซ ขณะที่ประธานาธิบดีโอบามาที่กำลังเผชิญกับอัตราว่างงานระดับสูงอย่างยากที่ จะควบคุมนั้นกลับสนับสนุนนโยบายแบบขยายตัว ถึงแม้เขาจะขาดเสียงสนับสนุนทางการเมืองในการผลักดันนโยบายดังกล่าวก็ตาม
ตามความเห็นของฝ่ายที่สนับสนุนการใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐ พวกที่ต่อต้านงบประมาณแบบขาดดุลดูจะไม่มีข้อโต้แย้งมากนัก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ภาวะเงินฝืดเป็นความเสี่ยงที่กำลังน่าวิตก ความกลัวว่าการใช้จ่ายของรัฐจะเติมเชื้อไฟให้กับเงินเฟ้อดูจะผิดที่ผิดทาง นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มภาระหนี้สินให้กับคนรุ่นต่อไปนั้นก็ออกจะไม่เข้า ที เพราะวิธีการที่ดีที่สุดที่เราจะทำให้กับพลเมืองในอนาคตได้ก็คือสร้างหลัก ประกันให้พวกเขาได้รับส่งต่อระบบเศรษฐกิจที่เติบโตและมีสุขภาพดี การใช้จ่ายงบประมาณขาดดุลในขณะนี้จึงเป็นวิธีที่จะไปสู่การเติบโตแบบที่ว่า ยิ่งไปกว่านั้น ความไม่สามารถชำระหนี้ของรัฐไม่ใช่ความเสี่ยงที่แท้จริงสำหรับประเทศที่กู้ ยืมในสกุลเงินที่ตนสามารถควบคุมได้ อย่างเช่นสหรัฐฯ เพราะถึงที่สุดแล้ว สหรัฐฯ สามารถจ่ายหนี้คืนโดยการสั่งให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินเพิ่มขึ้นเท่านั้น
ผู้ที่สนับสนุนแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเสียงดังที่สุด น่าจะเป็นพอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์โนเบลที่กลายเป็นแกะดำในกลุ่มอนุรักษ์นิยม สำหรับครุกแมน ปัญหาก็คือแผนกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ยังใหญ่ไม่พอตั้งแต่ต้น แต่แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่เขาต้องการควรจะเป็นเท่าใด? หรือมาตรการอื่นๆ แบบไหนที่รัฐบาลสามารถทำได้? ครุกแมนเองแสดงท่าทีอึกอักต่อคำถามเหล่านี้ บางทีอาจเป็นเพราะเขาตระหนักได้ว่าแนวคิดเคนส์เซียนแบบดั้งเดิมนั้นมีข้อ จำกัดของมันอยู่ นั่นคือ “ไม่มีใครรู้ว่ามาตรการเหล่านี้ทำงานได้ดีเพียงใด เหตุผลเท่าที่มีก็คือ ก็ยังดีกว่าที่จะได้ลองใช้มาตรการบางอย่างแม้มันจะไม่ได้ผล แทนที่จะมัวแต่หาข้อแก้ตัวและปล่อยให้แรงงานประสบกับความลำบาก” ครุกแมนกล่าวว่า นอกจากการใช้จ่ายแบบขาดดุลเพิ่มขึ้นแล้ว ทางเลือกที่มีก็คือ “การชะงักงันแบบถาวรและการว่างงานระดับสูง”
ครุกแมนอาจจะมีเหตุผลที่ดี แต่เหตุผลมักสำคัญน้อยกว่าอุดมการณ์ ผลประโยชน์และการเมือง กล่าวคือ ถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับสูง แต่พลังที่ต่อต้านรัฐบาลขนาดใหญ่และงบประมาณแบบขาดดุลนั้นก็กำลังมีบทบาทใน สามประเทศตะวันตกที่สำคัญ นั่นคือ ในอังกฤษ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมประสบความสำเร็จในการลดบทบาทของรัฐบาล ในเยอรมนี ภาพของประชาชนกรีกและสเปนที่ฟุ่มเฟือยกำลังใช้จ่ายเงินกู้ยืมจากชาวเยอรมัน ที่ทำงานหนักนั้นกลายเป็นสิ่งที่ส่งให้พรรคของนางแมร์เกลขึ้นสู่อำนาจอย่าง ง่ายดาย และสุดท้าย ในสหรัฐอเมริกา ดังจะกล่าวต่อไป
ความล้มเหลวของโอบามา
แนวคิดที่ต่อต้านงบประมาณแบบขาดดุลมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ ถึงแม้ข้อเท็จจริงที่ว่ามีการว่างงานในระดับสูงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ ประการแรก การต่อต้านงบประมาณขาดดุลนั้นสอดคล้องและไปได้ดีกับความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ กับรัฐบาลขนาดใหญ่ของชนชั้นกลางชาวอเมริกัน ประการที่สอง วอลสตรีทได้ฉวยโอกาสในการรับเอาแนวทางนี้เพื่อใช้สกัดกั้นความพยายามของ รัฐบาลที่จะกำกับและควบคุมตลาดหุ้นมากขึ้น ทั้งนี้ วอลสตรีทได้โจมตีว่ารัฐบาลขนาดใหญ่ต่างหากที่เป็นปัญหา ไม่ใช่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ประการที่สามซึ่งไม่ควรถูกประเมินค่าต่ำเกินไป คือการกลับมาอีกครั้งของอิทธิพลเชิงอุดมการณ์จากพวกเสรีนิยมใหม่ ซึ่งรวมถึงพวกที่มาร์ติน วูฟ (Martin Wolf) นิยามว่า "เชื่อว่าความตกต่ำถึงขีดสุดจะช่วยชำระล้างสิ่งที่เกินพอดีในอดีตและนำไปสู่ ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแรงยิ่งขึ้น” ประการที่สี่ แนวคิดทางเศรษฐกิจที่ปฏิเสธการใช้จ่ายของรัฐมีฐานมวลชนจำนวนมาก นั่นคือ ขบวนการทีปาร์ตี้ (the Tea Party Movement : กลุ่มเคลื่อนไหวระดับรากหญ้าในอเมริกาที่ต่อต้านนโยบายและมาตรการที่เน้นการ ใช้จ่ายของรัฐและการเก็บภาษี: ผู้แปล) ในทางตรงกันข้าม แนวทางที่รัฐใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นกลับได้รับการสนับสนุนจาก ปัญญาชนสายก้าวหน้าที่ปราศจากฐานมวลชนหรือมีฐานแต่ก็ต้องผิดหวังไปเพราะโอบา มา
แต่ถึงกระนั้น ชัยชนะของสายเหยี่ยวอาจไม่ได้ถูกกำหนดมาแล้ว อย่างที่อนาโตล คาเลตสกี (Anatole Kaletsky) นักวิจารณ์เศรษฐกิจของนิตยสารไทม์ของลอนดอน ซึ่งถือว่าเป็นคนที่ไม่มีจุดยืนร่วมกับแนวความคิดก้าวหน้าเท่าใดนักได้กล่าว เอาไว้ อิทธิที่เพิ่มขึ้นของกระแสต่อต้านงบประมาณแบบขาดดุลเกิดขึ้นจากความผิดพลาด ด้านยุทธวิธีของโอบามา ควบคู่กับความล้มเหลวของฝ่ายก้าวหน้าที่ไม่สามารถเสนอวาทกรรมเกี่ยวกับวิกฤต เศรษฐกิจที่สามารถโน้มน้าวผู้คนได้ ความผิดพลาดด้านยุทธวิธีที่สำคัญของโอบามา คือการเข้ารับผิดชอบผลกระทบของวิกฤตครั้งนี้โดยใช้หลักการร่วมสองพรรคในสภา (bipartisanship) ซึ่งตรงข้ามกับโรนัล เรแกนและมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ที่เคย “ปฏิเสธไม่ขอรับผิดชอบกับปัญหาเศรษฐกิจใดๆ” ทั้งเรแกนและแทตเชอร์ใช้เวลา “ในช่วงหลายปีแรกของการบริหารเพื่อทำให้ประชาชนเชื่อว่าวิบากกรรมทาง เศรษฐกิจทั้งหมดนั้นเป็นผลมาจากรัฐบาลฝ่ายซ้ายก่อนหน้านั้น สหภาพแรงงานที่มีบทบาท รวมทั้งชนชั้นนำสายเสรีนิยมก้าวหน้า”
คาเลตสกียังกล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่กว่าคือ “เรื่องเล่า” (เน้นโดยผู้แปล) แบบโอบามาที่มีความขัดแย้งในตัวเอง เพราะขณะที่โอบามาพยายามกล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงินว่าโลภมาก ขณะเดียวกันเขากลับดำเนินการราวกับสถาบันการเงินเหล่านี้ใหญ่เกินกว่าที่จะ ล้มได้ "เมื่อธนาคารเหล่านี้ฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตอย่างรวดเร็วและมีผลกำไรดีกว่าที่ ประชาชนถูกทำให้เชื่อ" คาเลตสกีได้เสนอในหนังสือ Capitalism 4.0 ของเขาว่า “นักการเมืองจากทุกพรรคก็ถูกตีตราจากกระแสสังคมว่าเป็นเหมือนตัวตลกที่ถูกทำ ให้ดูน่าขันโดยเหล่านายธนาคารที่พวกเขาพยายามจะตำหนิ" แน่นอนว่าชุดของแผนการปฏิรูปทางการเงินของพรรคเดโมแครตที่เพิ่งผ่านสภาไป นั้นสามารถตอกย้ำความรับรู้สาธารณะที่ว่าคนเหล่านี้ถูกเหมารวมหรือถูกทำให้ เสียขวัญโดยบรรดานายธนาคารที่พวกเขาประณาม ที่สำคัญ แผนปฏิรูปที่ว่านี้ ยังขาดข้อกำหนดที่มีประสิทธิภาพ : ข้อกำหนดแบบที่มีในกฎหมาย Glass-Steagall (เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในอเมริกาปี 1929 จุดประสงค์เพื่อป้องกันการเก็งกำไร : ผู้แปล) ที่ป้องกันธนาคารพาณิชย์ไม่ให้เล่นบทวาณิชธนกิจควบคู่ไปด้วย; ห้ามการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟท (Warren Buffett) เรียกว่าเป็น "อาวุธทำลายล้างรุนแรง; "จัดเก็บภาษีธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศหรือ Tobin Tax (ภาษีที่เสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล James Tobin จุดประสงค์แรกเริ่มเพื่อลดการผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและป้องกันการเก็ง กำไรในระยะสั้น : ผู้แปล) และควบคุมการจ่ายผลตอบแทน โบนัสและแรงจูงใจอย่าง สต็อกออปชั่น (stock options) ให้กับผู้บริหาร
คาเลตสกีเชื่อ ว่าโอบามาน่าจะวาดภาพวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ในลักษณะว่ามันถูกสร้างขึ้นโดย “ปรัชญาแบบเชื่อมั่นตลาดสุดโต่งที่สร้างความแตกแยกและถูกทำให้ดูง่ายเกิน จริง แทนที่จะเป็นข้อบกพร่องส่วนตัวของนายทุนธนาคารและผู้กำกับดูแลสถาบันการ เงิน” ด้วยการนำเสนอคำอธิบายที่เป็นระบบของการเกิดวิกฤตแบบนี้ นักการเมืองก็จะสามารถยึดกุมจินตนาการสาธารณะด้วยเรื่องเล่าหลังวิกฤตแทน ที่จะเป็นการตั้งศาลเตี้ยให้กับพวกนายทุนจอมโลภ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วน่าเร้าใจกว่า” แต่อาจเป็นเพราะผู้ใกล้ชิดอย่างเลขาฯ กระทรวงการคลัง ทิม เกทธ์เนอร์ (Tim Geithner) และผู้อำนวยการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ ลาร์รี ซัมเมอรส์ (Larry Summers) ซึ่งทั้งคู่ต่างก็แยกตัวเองไม่ออกจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ เรื่องราวที่เป็นระบบแบบที่ว่ากลับไม่ปรากฏให้เห็น
สู่ยุทธศาสตร์แบบก้าวหน้า
ฝ่ายขวานั้นกำลังมีแรงขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้และอาจจะประสบชัยชนะครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งสหรัฐฯที่จะถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ พวกเขาจะสามารถมัดโอบามาและพวกเดโมแครตเข้ากับวิกฤติอย่างแน่นหนาจนทำให้คน ลืมไปว่ามันได้ปะทุขึ้นภายใต้รัฐบาลนิยมตลาดสุดโต่งของจอร์จ บุช อย่างไรก็ตาม ด้วยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่คร่ำครึของฝ่ายขวา พวกนักการเงินสายเหยี่ยวและผู้สนับสนุนทีปาร์ตี้ก็ไม่น่าจะเสนอทางเลือกอะไร มาแทนที่สิ่งที่พวกเขาได้ล้อเลียนว่าเป็น “สังคมนิยม” ของโอบามาได้ การปล่อยให้เศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดที่ไม่สามารถทำงานต่อได้เพื่อที่จะรอให้มัน ดีงามขึ้นมายิ่งจะนำไปสู่การต่อต้านที่รุนแรงขึ้นจากประชาชนที่กำลังประสบ ปัญหาทางเศรษฐกิจ
แต่ฝ่ายก้าวหน้าก็ไม่ควรจะพึงพอใจต่อความสิ้นไร้ไม้ตอกของแนวคิดเศรษฐกิจแบบทีปาร์ตี้ พวกเขาควรพยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความล้มเหลวของนโยบาย เคนส์เซียนที่อ่อนแรงของโอบามา นอกเหนือจากความผิดพลาดเชิงยุทธวิธีที่เข้ารับผิดชอบวิกฤตและความล้มเหลวที่ไม่สามารถเสนอวาทกรรมต้านเสรีนิยมใหม่ที่มีพลังในการอธิบายวิกฤตแล้ว ปัญหาหลักของโอบามาและทีมงานของเขาก็คือความล้มเหลวที่จะเสนอทางเลือกอื่น เพื่อแทนที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่
จะว่าไปแล้ว องค์ประกอบของทางออกที่ก้าวหน้านั้นได้ถูกคัดทิ้งออกไปโดยนักเศรษฐศาสตร์สาย เคนส์เซียนและสายก้าวหน้าซะเอง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่, กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นสำหรับสถาบันการเงิน, นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน, ภาษีสูงสำหรับคนรวย, การลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, นโยบายอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว, การควบคุมเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไร, การควบคุมเงินลงทุนไหลกลับต่างประเทศ, การมีสกุลเงินของโลกและธนาคารกลางของโลก
รัฐบาลภายใต้โอบามาได้พยายามที่จะใช้มาตรการเหล่านี้บางส่วน แต่เนื่องจากความกระตือรือร้นที่ จะใช้หลักการร่วมสองพรรคในสภา, ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของบุคคลสำคัญในรัฐบาลกับชนชั้นนำทางเศรษฐกิจและความ ล้มเหลวของบรรดาเทคโนแครตเช่น ซัมเมอรส์และเกทธ์เนอร์ที่ไม่สามารถข้ามพ้นกระบวนทัศน์ของเสรีนิยมใหม่ รัฐบาลนี้จึงล้มเหลวในการนำเสนอมาตรการเหล่านี้ในฐานะส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูป ทางสังคมที่มีขอบเขตกว้างขึ้นเพื่อทำให้การควบคุมและจัดการระบบเศรษฐกิจมี ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
สำหรับฝ่ายก้าวหน้า บทเรียนที่น่าจะได้จากโอบามาโนมิคส์ (Obamanomics) ที่ไม่ทำงานก็คือ การจัดการแบบเทคโนแครตเท่านั้นยังไม่เพียงพอ นโยบายแบบเคนส์ต้องเป็นส่วน หนึ่งของวิสัยทัศน์และแผนที่กว้างขึ้นกว่านี้ ทั้งนี้ กลยุทธ์นี้จะต้องมีแรงผลักสำคัญ 3 ส่วนประกอบกัน คือ หนึ่ง การตัดสินใจที่มีความเป็นประชาธิปไตยในทุกระดับของเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับองค์กรจนถึงการวางแผนในระดับมหภาค, สอง ต้องมีความเสมอภาคมากขึ้นในการกระจายตัวของความมั่งคั่งและรายได้ เพื่อชดเชยอัตราการเติบโตที่ต่ำอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจและสภาพ แวดล้อม และสาม การประสานร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อถ่วงดุลกับหลักปฏิบัติเรื่องการแข่งขัน ทั้งในด้านการผลิตการกระจายและการบริโภค
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวไม่สามารถถูกป้อนลงมาจากข้างบนโดยชนชั้นนำเทคโนแครตอย่างที่ เคยเป็นมาภายใต้รัฐบาลนี้อีกต่อไป ความผิดพลาดใหญ่หลวงประการสำคัญที่ผ่านมาก็คือการปล่อยให้ขบวนการเคลื่อนไหว ของมวลชนที่เคยส่งให้โอบามาเข้าสู่อำนาจต้องหมดพลังลงไป ดังนั้น ต้องดึงให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเศรษฐกิจใหม่ ฝ่ายก้าวหน้าเองคงจะได้บทเรียนสำคัญจากขบวนการทีปาร์ตี้แล้วว่าพวกเขาต้อง เข้าร่วมช่วงชิงพื้นที่กับทีปาร์ตี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในประเด็นเรื่อง ความอยู่รอดหรือปากท้องของคนอเมริกันในระดับรากหญ้า
สุญญากาศดำรงอยู่ไม่ได้นานตามธรรมชาติ
ครุกแมนทำนายว่าผลการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน "จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายไปอีกหลายปี” อย่างไรก็ตาม ภาวะสุญญากาศไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานตามธรรมชาติ ความผิดพลาดที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นจุดร่วมกันของพวกที่เชื่อมั่นในระบบตลาดสุด โต่งกับเทคโนแครตสายเคนส์เซียนนั้น คือ เพิกเฉยต่อความกลัวของผู้ตกงาน ผู้ที่กำลังจะตกงานและประชาชนกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เมื่อเกิดช่องว่างเช่นนั้น จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าคนเหล่านี้จะสร้างพลังทางสังคมขึ้นมาจัดการ กับความกลัวและปัญหาของพวกเขาเอง
ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายในการเติมเต็มที่ว่างนี้อย่างสร้างสรรค์ย่อมเป็นผลให้เกิดการฟื้นกำลังของฝ่าย ขวาขึ้นมาอีกครั้งพร้อมกับความกังวลที่น้อยลงสำหรับการแทรกแซงจากรัฐอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฝ่ายขวาที่แข็งแกร่งขึ้นนี้จะเป็นฝ่ายขวาที่สามารถผนวกเอาแนวทางแบบเคนส์ เซียนของเหล่าเทคโนแครตเข้ากับแนวทางประชานิยมที่เป็นแนวปฏิกิริยาทางสังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเรามีคำเรียกระบอบแบบนี้ว่า ฟาสซิสต์ และอย่างที่โรเจอร์ บูทล์ (Roger Bootle) ผู้เขียน The Trouble with Markets ได้เตือนพวกเราไว้ ชาวเยอรมันนับล้านได้ตาสว่างกับระบบตลาดเสรีและทุนนิยมในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้งใหญ่ (ในทศวรรษ 1930s: ผู้แปล) แต่ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายในการเสนอทางเลือกที่ทำได้ ทำให้ชาวเยอรมันตกเป็นเหยื่อของพรรคการเมืองที่เมื่อได้เข้าสู่อำนาจแล้ว กลับนำมาตรการแจกเงินแนวเคนส์เซียนที่สามารถลดอัตราว่างงานลงมายัง 3 เปอร์เซ็นต์เข้าผนวกกับข้อเสนอทางสังคมและวัฒนธรรมแบบต้านปฏิกิริยา (counterrevolutionary) ที่มีผลทำลายล้างอย่างเลวร้าย
ฟาสซิสต์ในสหรัฐอเมริกาฯ? มันไม่ได้ไกลเกินจริงอย่างที่คุณเคยคิดหรอก
ความคิดเห็น