ขอเชิญพบกับ "ประชาธิปไตยแบบสายตาสั้น"
คอลัมน์มุมมองบ้านสามย่าน หนัาทัศนะวิจารณ์การเมือง กรุงเทพธูรกิจ
วันที่ 14 ตุลาคม 2553
โดยเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
อรุณธาติ รอย นักเขียนและนักเคลื่อนไหว เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมชาวอินเดียเคยตั้งคำถามที่ทรงพลังเอาไว้ว่า "ชีวิตหลังประชาธิปไตย เป็นอย่างไร"
"ประชาธิปไตย" ในที่นี้ รอยหมายถึงระบบที่กำลัง "ทำงาน" นั่นคือ ชุดของสถาบันและองค์กร ที่รวมความตั้งแต่วัฒนธรรม จารีต กฎเกณฑ์และองค์กรที่มีอิทธิพลอยู่ในสังคมการเมือง ส่วนคำถามเรื่องชีวิตหลังประชาธิปไตยเป็นการทวงถามถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ ประชาธิปไตยในระยะยาว ซึ่งใช้ได้กับใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในประเทศประชาธิปไตย หรือประเทศที่ทำเสมือนว่าเป็นประชาธิปไตย (อย่างเช่น ประเทศไทย)
ในงานเขียนเกี่ยวกับประชาธิปไตยของรอย เธอพุ่งเป้าไปที่ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่มักขาดความเป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นตัวแทนมากเกินไป เพื่อกระตุ้นให้ร่วมกันไตร่ตรองและหาแนวทางปรับปรุงประชาธิปไตยในเชิงโครง สร้าง นอกจากนี้ ยังชี้ชวนให้สมาชิกในสังคมตั้งคำถามถึงสิ่งที่พวกเราได้ร่วมกัน "กระทำ" กับประชาธิปไตย จนกระทั่งมันมีโฉมหน้าแตกต่างไปจากระบบการเมืองในความมุ่งหวังที่เราเคยมี ร่วมกัน ในโอกาสครบรอบวันมหาวิปโยคที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง คำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยในระยะยาวเหมาะสมกับกาลเทศะอย่างยิ่ง
37 ปีหลังจากเหตุการณ์ลุกฮือของนักศึกษาและประชาชนเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญใน วันที่ 14 ตุลาคม 2516 บริบทการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ความหมายของ "ประชาธิปไตย" รวมถึงโฉมหน้าของ "ประชาชน" และ "ศัตรู" ของประชาธิปไตยในวันนี้ พร่ามัวและคลุมเครืออย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น มิหนำซ้ำ ยังเป็นที่ถกเถียงหาข้อสรุปไม่ได้
ในเชิงสถาบันที่เป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญหมดสิ้นความหมาย และกลายเป็นเพียงเอกสารรับรองการเปลี่ยนขั้วอำนาจ พรรคการเมืองถูกทำให้ไร้เสถียรภาพและอ่อนแอ สถาบันกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมประสบกับวิกฤติศรัทธาอย่างรุนแรง เมื่อประชาชนจำนวนมากวิจารณ์ว่ากฎหมายถูกเลือกบังคับใช้อย่างไม่เสมอหน้า ขณะที่นักกฎหมายและตุลาการเองก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นกลางและความเป็นธรรม เพราะความโอนเอียงตามกระแสการเมืองอย่างไร้จุดยืน นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์กับการเมืองก็เป็นที่ถกเถียง และตกเป็นเป้าของการวิจารณ์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ฯลฯ
อะไรทำให้ประชาธิปไตยไทยเดินทางมาถึงจุดนี้
ถึงแม้รัฐประหาร 19 กันยายน จะเป็นจุดหักเหสำคัญของกระบวนการเติบโตของประชาธิปไตยไทยที่ทำให้ฉันทามติ เกี่ยวกับทิศทางและรูปแบบของประชาธิปไตยที่เคยมีร่วมกันต้องสิ้นสุดลง แต่รัฐประหารครั้งล่าสุดก็เป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนธรรมชาติของชน ชั้นนำไทยที่ขาดวิสัยทัศน์หรือ "สายตาสั้น"
ตัวอย่างของความคิดตื้น สั้นและมักง่ายของชนชั้นนำไทยนั้นมีให้เห็นดาษดื่น ดูได้ตั้งแต่การวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแจ้งบัญชี ทรัพย์สินที่เป็นเท็จของอดีตนายกฯ ทักษิณในปี 2544 การทำรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การรณรงค์ให้ประชาชนลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แบบขอไปที การยุบพรรคการเมืองต่างๆ ฯลฯ
การให้ความสำคัญกับผลตอบแทนการเมืองระยะสั้น เช่น เปิดโอกาสให้อำนาจนอกระบบเข้าแทรกแซงการเมืองเมื่อเผชิญกับปัญหานั้น สร้างเงื่อนไขให้ชนชั้นนำจำเป็นต้องผลิตซ้ำ "ความเป็นสภาพยกเว้น (exceptionalism)" อยู่สม่ำเสมอเพื่อลดแรงเสียดทาน และการต่อต้านจากพลังที่ต้องการความต่อเนื่องในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ทุกครั้งที่ทำเช่นนั้น เราก็มีราคาที่ต้องจ่ายสูงลิ่ว นั่นคือ ความเชื่อมั่นในคุณค่าของระบบประชาธิปไตยที่ค่อยๆ ถูกบั่นทอนลงไปทีละเล็กละน้อย
ยิ่งไปกว่านั้น ชุดของวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ้างความชอบธรรมให้กับประชาธิปไตยแบบ ไทยนั้น ก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยสัมพัทธ์สุดโต่ง" ที่อ้างว่าต้องเป็นคนไทย เติบโตและเคยชินกับจารีตและวัฒนธรรม (อำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์) แบบไทยเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใจประชาธิปไตยไทยได้ นอกจากนี้ การพยายามอธิบายประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยแบบอื่นก็ถูก ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงจากข้ออ้างเรื่องความเฉพาะเจาะจงเชิงวัฒนธรรม
ตุลาการระดับสูงท่านหนึ่งเคยบอกกับเพื่อนชาวต่างชาติของผมระหว่างสนทนา กันเกี่ยวกับการเมืองไทย ว่า เขาต้องเอาประสบการณ์และพื้นเพความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบตะวันตก ทิ้งไปให้หมดก่อนที่จะสามารถทำความเข้าใจและวิจารณ์การกระทำของรัฐบาลไทยได้ นี่คือ ตัวอย่างของประชาธิปไตยสัมพัทธ์แบบสุดโต่งที่หลอมรวมจนเป็นวิธีคิดของคนไทยจำนวนไม่น้อย
สภาพยกเว้นที่ดูเหมือนจะทำงานในลักษณะชั่วคราวและเฉพาะกิจ จึงกลายเป็นสภาพยกเว้นแบบถาวรในสังคมไทยไปจนทำให้การรับรู้และเข้าใจกระบวน การพัฒนาประชาธิปไตยของบ้านเราขาดตอนเป็นช่วงๆ ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่ขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยกลุ่มที่ก้าวหน้าจะสามารถขยายฐานสนับสนุนของตนเอง เนื่องจากไม่สามารถจูงใจและขับเคลื่อนคนจำนวนมากที่ยังคงมีความเข้าใจเกี่ยว กับการก่อตัวและพัฒนาการของประชาธิปไตยแบบเป็นชิ้น เป็นเสี้ยว กล่าวคือ ยังคงอ้างอิงกับเหตุการณ์ทางการเมืองเพียงไม่กี่จุดในประวัติศาสตร์ เช่น การอภิวัฒน์ 2475 ซึ่งในความเป็นจริงเกิดจากชนชั้นนำไม่กี่คน ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนคนธรรมดาและขาดความร่วมสมัยไปแล้ว หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ที่ถึงแม้จะเป็นสัญลักษณ์ที่ดีแต่ก็ต้องพบกับจุดหักเหในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม อีก 3 ปีต่อมา ความรับรู้และเข้าใจกระบวนการประชาธิปไตยไทยที่ขาดตอนแบบนี้ ทำให้เราไม่สามารถเชื่อมโยงประชาธิปไตยกับความพยายามอย่างต่อเนื่องของภาค ประชาชนและประชาสังคมในการตรวจสอบและเรียกร้องประชาธิปไตย
จึงคงจะไม่ผิดนัก หากจะกล่าวว่า "ความสายตาสั้น" จากชนชั้นนำถูกผลิตซ้ำจนกลายเป็นธรรมชาติของสังคมไทยโดยรวม ตัวอย่างล่าสุดของการเล็งเห็นประโยชน์เฉพาะหน้าอย่างสุดขั้ว คือการเรียกร้องและสนับสนุนให้รัฐบาลสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิตถึง 91 ราย!
ตามความคิดของอรุณธาติ รอย การยอมแลกประโยชน์เฉพาะหน้ากับประโยชน์ในระยะยาวเป็นธรรมชาติพื้นฐานของ มนุษย์และระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนก็มีปัญหาในการจัดการกับปัญหานี้ เพราะความอยู่รอดของรัฐบาลมักจะมาจากการตัดสินใจเฉพาะหน้า นั่นคือ ผลการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยแบบตัวแทน จึงเป็นกระจกสะท้อนลักษณะดังกล่าวมากกว่าที่จะเป็นเครื่องมือในการจัดการกับ มันอย่างที่เรามักเชื่อกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่รอยเสนอนั้นกลับไม่ใช่การปฏิเสธ และโยนระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนทิ้งไป แต่กลับเป็นการเสนอให้ช่วยกันตรวจสอบ แก้ไขและปรับปรุงโครงสร้างของระบบการเมืองแบบนี้ คำถามที่เป็นหัวใจ ก็คือ กลไกการถ่วงดุลแบบใดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้รัฐบาลตัดสินใจทำอะไรมัก ง่ายอย่างที่เคยเป็นมาอีก เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเผชิญกับความสูญเสียอันเกิดจากรัฐบาลสายตาสั้นซ้ำ แล้วซ้ำเล่า เพราะเราแทบจะไม่มีที่ว่างในปฏิทินเหลือให้เพิ่มเติมเหตุการณ์แห่งความสูญเสียอีกแล้ว
วันที่ 14 ตุลาคม 2553
โดยเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
อรุณธาติ รอย นักเขียนและนักเคลื่อนไหว เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมชาวอินเดียเคยตั้งคำถามที่ทรงพลังเอาไว้ว่า "ชีวิตหลังประชาธิปไตย เป็นอย่างไร"
"ประชาธิปไตย" ในที่นี้ รอยหมายถึงระบบที่กำลัง "ทำงาน" นั่นคือ ชุดของสถาบันและองค์กร ที่รวมความตั้งแต่วัฒนธรรม จารีต กฎเกณฑ์และองค์กรที่มีอิทธิพลอยู่ในสังคมการเมือง ส่วนคำถามเรื่องชีวิตหลังประชาธิปไตยเป็นการทวงถามถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ ประชาธิปไตยในระยะยาว ซึ่งใช้ได้กับใครก็ตามที่อาศัยอยู่ในประเทศประชาธิปไตย หรือประเทศที่ทำเสมือนว่าเป็นประชาธิปไตย (อย่างเช่น ประเทศไทย)
ในงานเขียนเกี่ยวกับประชาธิปไตยของรอย เธอพุ่งเป้าไปที่ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่มักขาดความเป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นตัวแทนมากเกินไป เพื่อกระตุ้นให้ร่วมกันไตร่ตรองและหาแนวทางปรับปรุงประชาธิปไตยในเชิงโครง สร้าง นอกจากนี้ ยังชี้ชวนให้สมาชิกในสังคมตั้งคำถามถึงสิ่งที่พวกเราได้ร่วมกัน "กระทำ" กับประชาธิปไตย จนกระทั่งมันมีโฉมหน้าแตกต่างไปจากระบบการเมืองในความมุ่งหวังที่เราเคยมี ร่วมกัน ในโอกาสครบรอบวันมหาวิปโยคที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง คำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยในระยะยาวเหมาะสมกับกาลเทศะอย่างยิ่ง
37 ปีหลังจากเหตุการณ์ลุกฮือของนักศึกษาและประชาชนเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญใน วันที่ 14 ตุลาคม 2516 บริบทการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก ความหมายของ "ประชาธิปไตย" รวมถึงโฉมหน้าของ "ประชาชน" และ "ศัตรู" ของประชาธิปไตยในวันนี้ พร่ามัวและคลุมเครืออย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น มิหนำซ้ำ ยังเป็นที่ถกเถียงหาข้อสรุปไม่ได้
ในเชิงสถาบันที่เป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญหมดสิ้นความหมาย และกลายเป็นเพียงเอกสารรับรองการเปลี่ยนขั้วอำนาจ พรรคการเมืองถูกทำให้ไร้เสถียรภาพและอ่อนแอ สถาบันกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมประสบกับวิกฤติศรัทธาอย่างรุนแรง เมื่อประชาชนจำนวนมากวิจารณ์ว่ากฎหมายถูกเลือกบังคับใช้อย่างไม่เสมอหน้า ขณะที่นักกฎหมายและตุลาการเองก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นกลางและความเป็นธรรม เพราะความโอนเอียงตามกระแสการเมืองอย่างไร้จุดยืน นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ของสถาบันกษัตริย์กับการเมืองก็เป็นที่ถกเถียง และตกเป็นเป้าของการวิจารณ์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ฯลฯ
อะไรทำให้ประชาธิปไตยไทยเดินทางมาถึงจุดนี้
ถึงแม้รัฐประหาร 19 กันยายน จะเป็นจุดหักเหสำคัญของกระบวนการเติบโตของประชาธิปไตยไทยที่ทำให้ฉันทามติ เกี่ยวกับทิศทางและรูปแบบของประชาธิปไตยที่เคยมีร่วมกันต้องสิ้นสุดลง แต่รัฐประหารครั้งล่าสุดก็เป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนธรรมชาติของชน ชั้นนำไทยที่ขาดวิสัยทัศน์หรือ "สายตาสั้น"
ตัวอย่างของความคิดตื้น สั้นและมักง่ายของชนชั้นนำไทยนั้นมีให้เห็นดาษดื่น ดูได้ตั้งแต่การวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการแจ้งบัญชี ทรัพย์สินที่เป็นเท็จของอดีตนายกฯ ทักษิณในปี 2544 การทำรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การรณรงค์ให้ประชาชนลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แบบขอไปที การยุบพรรคการเมืองต่างๆ ฯลฯ
การให้ความสำคัญกับผลตอบแทนการเมืองระยะสั้น เช่น เปิดโอกาสให้อำนาจนอกระบบเข้าแทรกแซงการเมืองเมื่อเผชิญกับปัญหานั้น สร้างเงื่อนไขให้ชนชั้นนำจำเป็นต้องผลิตซ้ำ "ความเป็นสภาพยกเว้น (exceptionalism)" อยู่สม่ำเสมอเพื่อลดแรงเสียดทาน และการต่อต้านจากพลังที่ต้องการความต่อเนื่องในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ทุกครั้งที่ทำเช่นนั้น เราก็มีราคาที่ต้องจ่ายสูงลิ่ว นั่นคือ ความเชื่อมั่นในคุณค่าของระบบประชาธิปไตยที่ค่อยๆ ถูกบั่นทอนลงไปทีละเล็กละน้อย
ยิ่งไปกว่านั้น ชุดของวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ้างความชอบธรรมให้กับประชาธิปไตยแบบ ไทยนั้น ก็ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยสัมพัทธ์สุดโต่ง" ที่อ้างว่าต้องเป็นคนไทย เติบโตและเคยชินกับจารีตและวัฒนธรรม (อำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์) แบบไทยเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใจประชาธิปไตยไทยได้ นอกจากนี้ การพยายามอธิบายประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยแบบอื่นก็ถูก ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงจากข้ออ้างเรื่องความเฉพาะเจาะจงเชิงวัฒนธรรม
ตุลาการระดับสูงท่านหนึ่งเคยบอกกับเพื่อนชาวต่างชาติของผมระหว่างสนทนา กันเกี่ยวกับการเมืองไทย ว่า เขาต้องเอาประสบการณ์และพื้นเพความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบตะวันตก ทิ้งไปให้หมดก่อนที่จะสามารถทำความเข้าใจและวิจารณ์การกระทำของรัฐบาลไทยได้ นี่คือ ตัวอย่างของประชาธิปไตยสัมพัทธ์แบบสุดโต่งที่หลอมรวมจนเป็นวิธีคิดของคนไทยจำนวนไม่น้อย
สภาพยกเว้นที่ดูเหมือนจะทำงานในลักษณะชั่วคราวและเฉพาะกิจ จึงกลายเป็นสภาพยกเว้นแบบถาวรในสังคมไทยไปจนทำให้การรับรู้และเข้าใจกระบวน การพัฒนาประชาธิปไตยของบ้านเราขาดตอนเป็นช่วงๆ ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่ขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยกลุ่มที่ก้าวหน้าจะสามารถขยายฐานสนับสนุนของตนเอง เนื่องจากไม่สามารถจูงใจและขับเคลื่อนคนจำนวนมากที่ยังคงมีความเข้าใจเกี่ยว กับการก่อตัวและพัฒนาการของประชาธิปไตยแบบเป็นชิ้น เป็นเสี้ยว กล่าวคือ ยังคงอ้างอิงกับเหตุการณ์ทางการเมืองเพียงไม่กี่จุดในประวัติศาสตร์ เช่น การอภิวัฒน์ 2475 ซึ่งในความเป็นจริงเกิดจากชนชั้นนำไม่กี่คน ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนคนธรรมดาและขาดความร่วมสมัยไปแล้ว หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ที่ถึงแม้จะเป็นสัญลักษณ์ที่ดีแต่ก็ต้องพบกับจุดหักเหในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม อีก 3 ปีต่อมา ความรับรู้และเข้าใจกระบวนการประชาธิปไตยไทยที่ขาดตอนแบบนี้ ทำให้เราไม่สามารถเชื่อมโยงประชาธิปไตยกับความพยายามอย่างต่อเนื่องของภาค ประชาชนและประชาสังคมในการตรวจสอบและเรียกร้องประชาธิปไตย
จึงคงจะไม่ผิดนัก หากจะกล่าวว่า "ความสายตาสั้น" จากชนชั้นนำถูกผลิตซ้ำจนกลายเป็นธรรมชาติของสังคมไทยโดยรวม ตัวอย่างล่าสุดของการเล็งเห็นประโยชน์เฉพาะหน้าอย่างสุดขั้ว คือการเรียกร้องและสนับสนุนให้รัฐบาลสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิตถึง 91 ราย!
ตามความคิดของอรุณธาติ รอย การยอมแลกประโยชน์เฉพาะหน้ากับประโยชน์ในระยะยาวเป็นธรรมชาติพื้นฐานของ มนุษย์และระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนก็มีปัญหาในการจัดการกับปัญหานี้ เพราะความอยู่รอดของรัฐบาลมักจะมาจากการตัดสินใจเฉพาะหน้า นั่นคือ ผลการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยแบบตัวแทน จึงเป็นกระจกสะท้อนลักษณะดังกล่าวมากกว่าที่จะเป็นเครื่องมือในการจัดการกับ มันอย่างที่เรามักเชื่อกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่รอยเสนอนั้นกลับไม่ใช่การปฏิเสธ และโยนระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนทิ้งไป แต่กลับเป็นการเสนอให้ช่วยกันตรวจสอบ แก้ไขและปรับปรุงโครงสร้างของระบบการเมืองแบบนี้ คำถามที่เป็นหัวใจ ก็คือ กลไกการถ่วงดุลแบบใดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้รัฐบาลตัดสินใจทำอะไรมัก ง่ายอย่างที่เคยเป็นมาอีก เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเผชิญกับความสูญเสียอันเกิดจากรัฐบาลสายตาสั้นซ้ำ แล้วซ้ำเล่า เพราะเราแทบจะไม่มีที่ว่างในปฏิทินเหลือให้เพิ่มเติมเหตุการณ์แห่งความสูญเสียอีกแล้ว
ความคิดเห็น