เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล (จบ)

3. สำนักเสรีนิยมใหม่กับบริบทการเมืองช่วงปลายศตวรรษที่ 20

นักคิดที่ถือเป็นหัวหอกสำคัญของสำนักเสรีนิยมใหม่ คือ นักปรัชญาสำนักออสเตรียอย่าง ฟริดริช ฟอน ฮาเย็ค (Friedrich von Hayek, 1899-1992), ลุดวิก ฟอน มิสเซส (Ludwig von Mises, 1881-1973), คาร์ล ปอปเปอร์ (Karl Popper, 1902-1994) และนักเศรษฐศาสตร์ผู้ก่อตั้งสำนักการเงินนิยมของมหาวิทยาลัยชิคาโก มิลตัน ฟริดแมน (Milton Friedman, 1912-2006) ทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคมที่เรียกตัวเองว่า Mont Pelerin Society ซึ่งตั้งชื่อตามสถานที่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่บุคคลเหล่านี้นัดพบกันและจัดตั้งสมาคมขึ้นอย่างเป็นทางการ



Hayek and Mises



Popper and Friedman

นักคิดเหล่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในฐานะนักวิชาการที่สนับสนุนคุณค่าของเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและความเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮาเย็คและฟริดแมนนั้น นอกจากได้รับการยอมรับในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่สนับสนุนคุณค่าของระบบทุนนิยมและเสรีภาพของการประกอบธุรกิจตามแนวทางเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิคแล้ว ทั้งคู่ยังได้รับการยอมรับในฐานะนักปรัชญาการเมืองที่มีงานเขียนสำคัญมากมายเกี่ยวกับปัจเจกชนนิยม เสรีภาพและการต่อต้านระบอบเผด็จการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมอเมริกาในวงกว้างอย่างมาก ในอีกมุมหนึ่ง ฮาเย็คและฟริดแมนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เสนอทฤษฎีที่ปฏิเสธแนวความคิดของมาร์กซ์และเคนส์ ซึ่งรายหลังมีอิทธิพลและบทบาทอย่างมากหลังเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 1930 กล่าวคือ เคนส์เป็นผู้เสนอให้รัฐเพิ่มบทบาทในด้านเศรษฐกิจ โดยเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐเพื่อกระตุ้นด้านอุปสงค์หรือความต้องการบริโภคสินค้าของครัวเรือนและสร้างงานให้กับแรงงานที่ประสบกับภาวะว่างงาน

ความสำเร็จส่วนหนึ่งของนักคิดเสรีนิยมใหม่กลุ่มนี้ มาจากการช่วยเหลือทางด้านการเงินและทางการเมืองจากกลุ่มทุนธุรกิจในสหรัฐฯ ที่ไม่ต้องการการแทรกแซงและการเพิ่มกฎระเบียบในด้านเศรษฐกิจจากรัฐ ทั้งนี้ ลัทธิเสรีนิยมใหม่เริ่มปรากฏบทบาทในทางการเมืองชัดเจนในสหรัฐฯ และอังกฤษในทศวรรษ 1970 เมื่อชื่อเสียงและอิทธิพลของนักคิดกลุ่ม Mont Pelerin Society แพร่กระจายไปมากในวงวิชาการ โดยผ่านทางสถาบันวิจัยทางด้านเศรษฐกิจหรือสถาบันผลิตนักคิด อย่างเช่น Institute of Economic Affairs ในลอนดอน และ the Heritage Foundation ในวอชิงตันยิ่งเมื่อภายหลังฮาเย็คและฟริดแมนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1974 และ 1976 ตามลำดับด้วยแล้ว (ถึงแม้จะเป็นที่วิจารณ์ว่ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น มีที่มาและระบบการคัดเลือกที่แยกออกเป็นเอกเทศและไม่เกี่ยวข้องกับโนเบลของสาขาอื่น รวมทั้งยังถูกครอบงำและกำหนดทิศทางจากกลุ่มชนชั้นนำนายธนาคารของสวีเดน) เป็นที่ยอมรับว่าลัทธิเสรีนิยมใหม่นั้นสามารถยึดครองพื้นที่สำคัญในทางการเมืองได้อย่างเป็นทางการในช่วงปี 1979 [2]

ปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ได้รับการยอมรับในสังคมขณะนั้น คือ บรรยากาศทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคมซึ่งกำลังเบ่งบานสุดขีดในช่วงทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของปัจเจกชน ที่นำโดยนักศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในปี 1968 (3 ปีให้หลัง ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเผด็จการทหารที่นำโดยของนิสิตนักศึกษา ในประเทศไทย ได้รับชัยชนะในการเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะถูกปราบปรามและเข่นฆ่าอย่างเลือดเย็นโดยเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายปฏิกิริยาฝั่งขวาในอีก 3 ปีต่อมา) อาจกล่าวได้ว่าในขณะนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวใดก็ตามที่ชูธงเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคมสามารถผสมกลมกลืนและร่วมขบวนการปฏิวัติสังคมไปด้วยกันได้ทั้งสิ้นเนื่องจากมีศัตรูที่ชัดเจนเดียวกัน นั่นคือ รัฐอำนาจนิยม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเรียกร้องสิทธิพลเมือง สิทธิในการแสดงออกทางเพศ กลุ่มต่อต้านกระแสบริโภคนิยม ไปจนถึงกลุ่มต่อต้านสงครามเวียตนาม

ความต้องการและถวิลหาเสรีภาพของปัจเจกชนนี้เอง ที่ช่วยให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านี้เต็มใจอ้าแขนรับแนวคิดเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของนักคิดกลุ่มเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาย้อนหลังไปแล้ว ก็ดูเหมือนจะเข้ากันได้อย่างดีกับวัฒนธรรมความคิดแบบ “หลังสมัยใหม่ (postmodernism)” ที่ถูกดึงเข้ามาเป็นทางเลือกเชิงตรรกะของขบวนการเคลื่อนไหวในขณะนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ข้อเรียกร้องสำคัญอีกประการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม คือความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งแท้จริงแล้ว ขัดแย้งและตรงข้ามกับข้อเสนอของเสรีนิยมใหม่ที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ข้อเท็จจริงประการนี้กลับไม่ปรากฏชัดเจนในขณะนั้น อาจเป็นเพราะข้ออ้างเชิงทฤษฎีในเรื่องการแข่งขันสมบูรณ์ของเสรีนิยมใหม่นั้นเอง ที่ยังสามารถใช้เป็นม่านบังให้กับระบบทุนนิยมอย่างได้ผล เช่นเดียวกับที่สำนักเสรีนิยมนีโอคลาสสิคเคยใช้ข้ออ้างข้อเดียวกันนี้มาแล้วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนทำให้เกิดข้อเรียกร้องการปฏิวัติของชนชั้นจากมาร์กซ์ [3]


4. เสรีนิยมใหม่ กระบอกเสียงของนายทุนและเครื่องมือพิฆาตฝ่ายซ้าย

การผลิตซ้ำแนวความคิดของเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐฯ นั้น เกิดขึ้นผ่านการให้ทุนสนับสนุนจากองค์กรธุรกิจไปยังสถาบันผลิตความคิด เช่น the Hoover Institute, the Center for the Study of American Business, the American Entreprise Institute ไปจนถึงสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น National Bureau of Economic Research (NBER) ซึ่งได้รับการกำหนดหัวข้อวิจัยจากกลุ่มทุน เพื่อเป้าหมายในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ ปรากฏว่า กว่าครึ่งหนึ่งของเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยของ NBER นั้น ได้จากองค์กรธุรกิจชั้นนำและกลุ่มบริษัท Fortune 500 จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมแนวความคิดแบบเสรีนิยมใหม่นี้จึงได้ถูกผลิตซ้ำอย่างกว้างขวางโดยคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยทั่วโลก หรือหากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในแกนกลางของการผลิตความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เอง อาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีที่เกิดขึ้นหลังสำนักเคนส์เซียนนั้น สามารถนำมาใช้สร้างความชอบธรรมให้กับเสรีนิยมใหม่ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีสายการเงินนิยมของฟริดแมน ทฤษฎีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผล (rational expectations) ของโรเบิร์ต ลูคัส, ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (public choice) ของสำนักชิคาโก หรือแม้กระทั่งทฤษฎีที่เน้นด้านอุปทาน (supply-side) ที่เสนอโดยอาร์เธอร์ ลาฟเฟอร์ ต่างก็เห็นไปในทางเดียวกันว่าการแทรกแซงของรัฐคือปัญหามากกว่าการแก้ไข และเสนอให้ใช้นโยบายการเงินแบบมีเสถียรภาพร่วมกับการลดภาษี เพื่อเป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการ แนวทฤษฎีและนโยบายลักษณะนี้ยังได้รับการผลิตซ้ำจากวารสารทางการเงินอย่าง Wall Street Journal และมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่างสแตนฟอร์ดและฮาร์วาร์ด ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตความคิดเสรีนิยมกระแสหลักในปัจจุบัน ในพื้นที่นอกสังคมวิชาการ ซีรีย์ทางโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของฟริดแมนที่ชื่อว่า Free to choose (ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนธุรกิจเช่นกัน) ก็เริ่มออกอากาศทางช่อง PBSในปี 1977 และประสบความสำเร็จอย่างสูงในฐานะรายการคุณภาพ ซึ่งต่อมาได้รับการผลิตซ้ำเป็นหนังสือที่กลายเป็นหนังสือขายดีที่สุดเล่มหนึ่งจนกระทั่งปัจจุบัน [4]

ผลของการเผยแพร่ลัทธิเสรีนิยมใหม่นี้ ปรากฏชัดเจนในประเทศสหรัฐฯ และอังกฤษก่อน แล้วจึงค่อยแผ่ขยายอาณาบริเวณไปยังประเทศอาณานิคมชั้นในของจักรวรรดินิยมรูปแบบใหม่ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นเจ้าอาณานิคม ประเทศอาณานิคมชั้นในนี้หมายถึงประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้ อิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมยังแผ่ขยายไปยังประเทศรอบนอกผ่านทางองค์กรระหว่างประเทศอย่างไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก สักขีพยานที่ชัดเจนต่อคำกล่าวหานี้ก็คือคำกล่าวของโจเซฟ สติกลิทซ์ อดีตรองประธานและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกในหนังสือ Globalization and its discontents ของเขาว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญภายในองค์กรของไอเอ็มเอฟคือ การเปลี่ยนถ่ายเอานักเศรษฐศาสตร์สายเสรีนิยมใหม่เข้าแทนที่พวกเคนส์เซียนในช่วงปี 1982 ซึ่งทำให้ไอเอ็มเอฟกลายเป็นกลไกรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในสหรัฐฯ และกระบอกเสียงของเสรีนิยมใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเต็มตัว [5]

ในประเทศอังกฤษ ชัยชนะของแทตเชอร์หมายถึงการหยุดชะงักของการเมืองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยที่ก่อตัวและเติบโตขึ้นภายหลังปี 1945 พลังของสหภาพแรงงานถูกทำลายลงด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ของตลาดแรงงาน เพื่อความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม แนวโน้มของรัฐสวัสดิการต้องกลับหลังหันอย่างทันทีทันใด บริการของรัฐอย่างเช่นโครงการสวัสดิการที่อยู่อาศัยถูกโอนไปเป็นของเอกชน มีการลดภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าบรรยากาศในการลงทุนที่ดีของประเทศและการไหลเข้าของทุนจากต่างประเทศ สังคมอังกฤษหันไปให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกชนและความรับผิดชอบของปัจเจก กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและคุณค่าของครอบครัว แทนที่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของสังคม

ในสหรัฐฯ ภายหลังการขึ้นสู่ตำแหน่งของเรแกนในปี 1980 นโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์เซียนตามหลักการนิวดีลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการจ้างงานเต็มที่ถูกแทนที่ด้วยนโยบายแบบเสรีนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ที่ปรึกษาของเรแกนเห็นว่าตัวยาขนานการเงินนิยมของโวลค์เกอร์ ประธานของเฟดในสมัยของคาร์เตอร์นั้นใช้ได้ผล เรแกนจึงแต่งตั้งเขากลับเข้าดำรงตำแหน่งประธานของเฟดอีกครั้ง และสนับสนุนนโยบายในลักษณะเปิดเสรีมากขึ้น มีการลดภาษี ลดทอนอำนาจของสหภาพและสมาคมอาชีพต่างๆ ทั้งนี้ การลดหย่อนภาษีการลงทุนทำให้ทุนเคลื่อนย้ายจากภูมิภาคที่สหภาพแรงงานเข้มแข็ง โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมิดเวสต์ไปในเขตที่ปลอดสหภาพ ทางใต้และตะวันตก ทุนทางการเงินเริ่มมองหาแหล่งลงทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมทั้งการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมไปลงทุนและทำการผลิตนอกประเทศเริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ปกติ ภาษีธุรกิจลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ของภาษีส่วนบุคคลลดลงจากที่เคยสูงถึง 70 เป็น 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกลายเป็นปรากฏการณ์ลดภาษีที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ นี่คือจุดเริ่มต้นก่อตัวความเหลื่อมล้ำทางสังคมและอำนาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของชนชั้นรายได้สูง มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าความจริงแล้ว กระบวนการเสรีนิยมใหม่ ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดหรือทฤษฎีเศรษฐกิจมากเท่ากับเป็นผลของความพยายามรักษาอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรและสถานะทางสังคมของชนชั้นนายทุน [6]

5. ทักษิโณมิกส์กับเงาของเสรีนิยมใหม่
หากจะกล่าวถึงตัวอย่างของนักเศรษฐศาสตร์ลาตินอเมริกาที่คนไทยรู้จักดี ตัวอย่างแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวเปรู เฮอนานโด เดอ โซโต (Hernando De Soto) เกี่ยวกับ “ทุนที่ตายแล้ว (dead capital)” ก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างชัดเจน ทฤษฎีของเขาได้รับการยกย่องจากอดีตนายกทักษิณ ชิณวัตร ที่ประกาศแนะนำให้หนังสือ The mystery of capital เป็นหนังสือสำคัญที่คนไทยต้องอ่าน และนำทฤษฏีของเดอ โซโตเรื่องทุนที่ตายแล้วและภาคธุรกิจใต้ดินมาประยุกต์เป็นนโยบาย “แปลงสินทรัพย์เป็นทุน” ซึ่งถูกใช้เป็นนโยบายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน




ถึงแม้นิตยสารชั้นนำทางธุรกิจอย่าง Time, Forbes, หรือ The New York Times Magazine จะสรรเสริญให้เดอ โซโตเป็นดาวเด่นในศตวรรษ ในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมทางความรู้เกี่ยวกับ “ทุน” และการแก้ปัญหา “ความยากจน” แต่สถาบันเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ก่อตั้งโดยเดอ โซโตเอง รวมทั้งหนังสือของเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในวารสารวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองหรือกระบอกเสียงที่ใช้เผยแพร่อุดมคติแบบเสรีนิยมใหม่ของสำนักชิคาโก ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือหรือบทความที่ผลิตโดยสถาบันนี้ยังถูกวิจารณ์ว่าขาดมาตรฐานตามบรรทัดฐานทางวิชาการและมีลักษณะใกล้เคียงกับบทความเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองมากกว่า สักขีพยานที่สำคัญที่แสดงว่าเดอ โซโตนั้นทำหน้าที่กระบอกเสียงนี้ได้อย่างดีเยี่ยมคือรางวัล “Milton Friedman prize for the advancing liberty” ที่เขาได้รับเกียรติในปี 2004 จากสถาบันคาโต (Cato Institute) ซึ่งเป็นสถาบันที่ส่งเสริมคุณค่าทางด้านเสรีนิยมอย่างเข้มแข็งในสหรัฐฯ

ทั้งนี้ รายชื่อคณะกรรมการนานาชาติสำหรับการมอบรางวัลมิลตัน ฟริดแมน ในปี 2008 นี้ ประกอบด้วย ประธานของสถาบันคาโต, ภริยาของ ฟริดแมน ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนโรส-ฟริดแมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญร่วมกับฟริดแมนในการเผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ในอเมริกาผ่านหนังสือของเขาและรายการโทรทัศน์ Free to Choose, อดีตรัฐมนตรีคลังของเม็กซิโก Francisco Gil Díaz, ประธานบริษัทและซีอีโอของ Koch Industries Inc. ของสหรัฐฯ, ประธานบริษัทสื่อ Next Media ของฮ่องกง, รวมทั้ง Editorial Board ของ The Wall Street Journal (Mary Anastasia O’Grady) และบรรณาธิการของนิตยสาร Newsweek International (Fareed Zakaria) ส่วนคณะกรรมการในอดีตที่สำคัญคือ อดีตนายกฯ อังกฤษมากาเรต แทตเชอร์, ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเชค Václav Klaus รวมทั้งประธานและซีอีโอของเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชัน [7]

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐฯจะรอดพ้นจากวิกฤตด้านความชอบธรรมอย่างหมดจด นักวิจารณ์และนักวิชาการจำนวนมากตั้งคำถามกับกระบวนการผลิตซ้ำลัทธิเสรีนิยมใหม่ของสถาบันการศึกษษระดับสูง อย่างเช่นมหาวิทยาลัยชิคาโก ตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนคือ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บุคลากรด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยชิคาโกจำนวนร้อยกว่าคนเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประธานมหาวิทยาลัยเพื่อคัดค้านการทุ่มงบประมาณ 200 ล้านเหรียญเพื่อสร้างสถาบันฟริดแมน โดยในจดหมายดังกล่าว บุคลากรเหล่านี้ได้ให้เหตุผลแสดงความห่วงใยต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในทางลบที่เกิดจาก “neoliberal global order” [8]

ทั้งนี้ ในหนังสือเล่มล่าสุดของนาโอมิ ไคลน์ (Naomi Klein) ที่ชื่อว่า The Shock Doctrine : The Rise of Disaster Capitalism [9]
เธอถึงกับตั้งสมมุติฐานว่าแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของฟริดแมนอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกับที่หน่วยงาน CIA ใช้ทรมานและสอบสวนผู้ต้องขังคดีก่อการร้ายในคุก Abu Ghraib ของอิรัก ซึ่งตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลกกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้ถูกคุมขัง





นาโอมิ ไคลน์นำสมมุติฐานที่ผู้เขียนขอแปลว่า "ทุนนิยมหายนะ" มาอธิบายการครอบงำทางอุดมการณ์ของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่นำโดยสหรัฐฯในปัจจุบัน โดยเนื้อหาสำคัญคือการพยายามแสดงให้เห็นว่าฟริดแมนเองนำหลักการของความกลัวและวิธีการเดียวกับที่ใช้บำบัดผู้ป่วยทางจิตในอดีตโดยสร้างอาการช็อกมาประยุกต์ในระดับสังคมอย่างไร กล่าวคือ ในระดับปัจเจก วิธีการบำบัดแบบ Shock Therapy นี้ทำลายสภาวะแห่งเหตุผลและลดทอนให้บุคคลมีสภาพไม่ต่างจากทารก เมื่อประยุกต์ใช้ในระดับสังคม ความกลัวความไม่มั่นคง เศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อ การตกงาน ความยากจน วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากแนวนโยบายที่ฝ่ายเสรีนิยมใหม่เสนอ ในทางสังคมและการเมือง ก็ทำให้ประชาชนไม่ต่างจากทารก ที่ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังผู้นำ รวมทั้งสามารถบ่อนทำลายเสรีภาพและประชาธิปไตยได้อย่างชะงัดนัก

6. การเมืองแบบเสรีนิยมในประเทศไทย

การครอบงำของวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมใหม่ในเศรษฐกิจโลก ทำให้เงื่อนไขการเปิดเสรีทางการเงินและการค้าปรากฏต่อรัฐไทยในฐานะภาวะที่จำเป็นหรือสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในนัยที่ “ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้” แทนที่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในเชิงนโยบาย ในทางการเมือง วัฒนธรรมเศรษฐกิจตามแบบเสรีนิยมใหม่ยังมีส่วนไม่น้อยในการกำหนดทิศทางและโฉมหน้าการเมืองไทยในช่วงรอยต่อ โดยผ่านสิ่งที่ ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคริส เบเคอร์เรียกว่า “การเมืองของการเปิดเสรี” ที่เกิดขึ้นหลังกระบวนการทำให้เป็นอุตสาหกรรม (industrialisation) และเปิดเสรีตลาดสินค้าอย่างรวดเร็วของไทยในช่วงหลังทศวรรษ 2520 [10]

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าการยอมรับวัฒนธรรมเศรษฐกิจตามรูปแบบเสรีนิยมใหม่นั้น ได้ทำให้กระบวนการจัดสรรอำนาจทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป คือ การเมืองไทยตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในเดือนพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ไปจนกระทั่งการปฏิรูปการเมืองในช่วงปี 2540 อันนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและเกิดรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 (ที่ถูกฉีกในเวลา 10 ต่อมาโดยคณะรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549) ทั้งนี้ วัฒนธรรมทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ที่กำลังพูดถึงนั้น เข้ามามีอิทธิพลในกระบวนการจัดสรรอำนาจ โดยผ่านปัจจัยสำคัญ คือ อิทธิพลของสื่อตะวันตกและการขยายตัวของชนชั้นกลางในเมืองของไทย

ตามการวิเคราะห์ของ ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคริส เบเคอร์ ภายหลังทศวรรษ 2520 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญกับเศรษฐกิจไทย 2 ประการคือ ประการแรก ไทยหันมาเน้นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งในขณะเดียวกัน เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 2530 ก็เพิ่มมากขึ้นในปริมาณที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ประการที่สอง ระหว่างปี 2532-2536 ภาคการเงินระหว่างประเทศถูกเปิดเสรีบางส่วน ในปี 2538 ปีเดียว เงินทุนหมุนเวียนในบัญชีทุนมากเท่ากับทั้งหมดที่ปรากฏในช่วง 10 ปีระหว่างต้นทศวรรษ 2510-2520 และหนี้ต่างประเทศของเอกชนเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในเวลา 8 ปี

ทั้งหมดนี้ ทำให้อิทธิพลของปัจจัยภายนอกเข้ามามีบทบาทกับการเมืองไทยโดยผ่าน “การจับจ้องอย่างใกล้ชิด” ของสื่อการเงินต่างประเทศและสถาบันเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (เช่นธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟ เอดีบี บีไอเอส แกตต์) หรือที่อาจารย์ทั้งสองท่านใช้คำว่า “การกำกับสอดส่องจากภายนอก” โดยท่านได้ยกตัวอย่างของการขยายกิจกรรมของนิตยสารการเงินหลายฉบับในประเทศไทย เช่น The Economist และ Institutional Investor ที่เริ่มจ้างตำแหน่งประจำในประเทศไทย หรือ Asian Wall Street Journal ก็เพิ่มพื้นที่และเริ่มเปิดแผนกภาษาไทย หรือกระทั่งที่ดาวน์โจนส์หันมาสนใจถูมิภาคนี้โดยเริ่มเป็นสมาชิกนิตยสาร FEER ในช่วงเวลาเดียวกันนี้

บทความวิเคราะห์ทางด้านการเงินจากนิตยสารเหล่านี้ รวมทั้งที่ผลิตจากนักวิเคราะห์ขององค์กร ถูกผลิตซ้ำอย่างเป็นระบบจากสื่อท้องถิ่นหรือสื่อไทยเพราะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางเทคนิคที่ยังขาดแคลนในประเทศ สื่อเหล่านี้มีตลาดที่สำคัญคือชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานคอปกขาวในเมือง ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็และเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนหน้า สิ่งที่สำคัญคือ ฐานะทางเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้ผูกติดกับระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ

ถึงจะมีจำนวนไม่มากนัก และมีอิทธิพลทางการเมืองเพียงสามารถกำหนดจำนวนที่นั่งส.ส. ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด แต่ก็เป็นที่ยอมรับว่าคนกลุ่มนี้เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงปี 2534-2535 และเปิดโอกาสให้ทหารเข้ายึดอำนาจคณะรัฐบาล “บุฟเฟท์”ในขณะนั้น โดยข้อหาคอรัปชั่นและเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจโดยตรงคือ ดัชนีตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงประกอบกับนักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่น [11] ที่น่าสนใจและเป็นเรื่องเหมือนเรื่องตลกเสียดสีก็คือ การเสื่อมความนิยมของคนกลุ่มเดียวกันนี้เองกลับมีส่วนทำให้กลุ่มทหารต้องถอนบทบาททางการเมืองอย่างสิ้นเชิงในช่วง 10 ปีหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เราอาจเรียกปรากฏการณ์ลุกฮือของชนชั้นแรงงานคอปกขาวนี้อย่างที่สื่อมักนิยมใช้คำว่า “ม็อบมือถือ” ตามการสำรวจที่พบว่าผู้มาร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ณ ท้องสนามหลวงนั้นร้อยละ 45.7 ทำงานเอกชน ในขณะที่เป็นข้าราชการร้อยละ 14.8 เป็นเจ้าของกิจการ 13.7 โดยที่เป็นนิสิตนักศึกษาร้อยละ 8.4 [12]

ควรกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่า ความสำเร็จในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม 2535 นั้น ถึงแม้จะเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่ค่อนข้างหลากหลาย กล่าวคือประกอบด้วยหลากหลายสาขาอาชีพเมื่อเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่ก็เกิดขึ้นจากความสามารถผสมผสานลงตัวของการเรียกร้องที่มีหัวใจอยู่ที่ “เสรีภาพในการแสดงออก ความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการบริหาร” ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการเคลื่อนไหวแบบ “เสรีนิยมใหม่” ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดสรรอำนาจในพื้นที่การเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อมและค่อยเป็นค่อยไปและไม่สามารถเปรียบเทียบได้เลยกับอิทธิพลที่แผ่ขยายโดยตรงในแกนกลางของแวดวงผลิตความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่สำนักเสรีนิยมใหม่นี้ได้ครอบงำมาเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษ ในที่สุดแล้ว อาจกล่าวได้ว่าอิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและการศึกษาวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ของไทยนั้น ได้ทำให้เสรีภาพของปัจเจกชนและกรรมสิทธิ์นั้นกลายเป็น raison d’être ของระบบเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย

สรุป

อิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังระบบคุณค่าและกระบวนการคิด ไม่เพียงแต่ในสังคมของประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก แต่ยังรวมไปถึงในสังคมของประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจ อย่างประเทศไทย ทั้งนี้ ความแยบยลของการเผยแพร่กระบวนทัศน์นี้ ถูกกระทำผ่านกระบวนการกำหนดทิศทางและผลิตประเด็นการศึกษาวิจัย รวมทั้งกระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจนำ ภายในระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ จนสามารถสร้างความชอบธรรมให้กับระเบียบใหม่ที่เป็นส่วนผสมระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและการปกครองเสรีประชาธิปไตย ในลักษณะที่เรียกว่า “โดยดุษฎีและโดยปริยาย”



*หมายเหตุ บทความนี้เรียบเรียงจากบทความเดิมชื่อ “ลัทธิเสรีนิยม เสรีนิยมใหม่ อิทธิพลทางความคิดต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย”

อ้างอิง
[1] See David Harvey, A Brief History of Neoliberalism, Oxford University Press, 2007 (paperback)
[2] David Harvey p. 23
[3]ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมนั้นมีวิวัฒนาการในลักษณะต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องมาโดยตลอด นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 กล่าวคือ ตามแนวคิดของกลุ่มเสรีนิยมคลาสสิค ที่นำโดย จอห์น ลอค สิทธิและเสรีภาพถูกอ้างอิงอยู่กับหลักสิทธิธรรมชาติ เขาจึงถือสิทธิและเสรีภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดในตัวเอง นอกจากนี้ มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพราะมนุษย์เป็นเจ้าของแรงงานของตนเอง ตามความเชื่อของลอค สิทธิที่เรารู้จักในภายหลังว่า “กรรมสิทธิ์” นี้จึงไม่ได้เกิดจากรัฐ (ถือว่ามีลักษณะปฏิกิริยากับระบอบศักดินา ซึ่งขุนนางและชนชั้นสูงเท่านั้นสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน) หลักการเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนี้ ถือเป็นหลักการสำคัญที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราละเลยคือคำกล่าวของเขาว่า “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องไม่นำไปสู่การกดขี่หรือขูดรีด แต่ต้องช่วยสนับสนุนให้มนุษย์มีอิสระ” กรรมสิทธิ์จึงเป็นเครื่องมือไปสู่เสรีภาพ ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 อดัม สมิท ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักคิดรุ่นก่อนและนักคิดร่วมสมัย ไม่ว่าเรื่องความมีกฎเกณฑ์และระเบียบของธรรมชาติ รวมทั้งมนุษย์มีศีลธรรม สามารถแยกแยะการกระทำที่ถูกและผิดออกจากกันได้ สังคมจึงมีระเบียบและกฏเกณฑ์เช่นเดียวกับโลกกายภาพ ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในสังคมจึงสามารถประสานลงตัวกันได้ แนวคิดลักษณะนี้ ทำให้เขาเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือการที่แต่ละคนต่างมุ่งหาประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุดตามไปด้วยจากสิ่งที่เขาเรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (ที่ภายหลังสำนักนีโอคลาสสิคทำให้กลายเป็นเพียง “กลไกตลาด” หรือกลไกของอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 นักคิดกลุ่มเสรีนิยมนีโอคลาสสิคหรือสำนักประโยชน์นิยม ที่นำโดยเจเรมี เบนแทมนำหลักจริยธรรมที่เรียกว่าหลักแห่งประโยชน์ (Principle of Utility) เข้ามาแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติ ทำให้สิทธิและเสรีภาพถูกลดความสำคัญลงเป็นเพียงเครื่องมืออันนำไปสู่เป้าหมาย นั่นคือ ความสุข และความสุขของปัจเจกต้องหลีกทางให้กับสังคม ตามแนวความคิดที่โด่งดังของเขาที่ว่าด้วย “ความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด (the greatest happiness of the great number)” อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวถูกท้าทายและทัดทานจากนักคิดอีกหลายคนเช่น จอห์น สจ๊วต มิลล์ที่หันเหความสำคัญกลับมาที่ปัจเจกและเน้นความสำคัญของความสุขทางสติปัญญาและศีลธรรมมากกว่าทางกายภาพ แต่อิทธิพลของประโยชน์นิยม ที่เดินคล้องแขนร่วมไปกับแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบ laissez-faire ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการและคนชั้นกลางที่ขยายตัวขึ้นในยุโรป ทำให้แนวความคิดตามแบบเบนแทมและอดัม สมิทกลายเป็นเสาหลักให้กับเสรีนิยมใหม่ในเวลาต่อมา (ตำราที่สมบูรณ์ด้านลัทธิเศรษฐกิจการเมือง ได้แก่ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐)
[4] David Harvey p. 54
[5] See Joseph. Stiglitz, Globalization and Its Discontents, W.W.Norton & Company, 2001
[6] Ibid. David Harvey
[7] ข้อมูลจาก http://www.cato.org/friedmanprize
[8] อ่านจดหมายได้ที่ https://www.naomiklein.org/shock-doctrine/resources/faculty-letter-mfi
[9] See Naomi Klein, The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism, Metropolitan Books, 2007
[10] Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Democracy, Capitalism and Crisis: Examining Recent Political Transitions in Thailand, speech at Princeton University, 15 November 2001
[11] Ibid. Pasuk Phongpaichit and Chris Baker
[12] การสำรวจโดยสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยสุ่มสำรวจตัวอย่าง เผยแพร่ในนิตยสารสารคดี ฉบับ เดือนมิถุนายน 2535 : 123 อ้างโดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล ใน “เงาคนเดือนตุลาในพฤษภาทมิฬ” http://www.midnightuniv.org/midnightweb222/newpage04.html

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอบคุณมาก ๆ นะครับ สำหรับบทความดีๆ
Thiago กล่าวว่า
I can't read or write in thai, but I believe you said that Ludwig von Mises is a neo-liberal. If thats the case, you made a mistake. I'll paste some sub-sections from this book:
https://mises.org/library/mises-last-knight-liberalism-0

------------------------------------
Sub-section "Mises and the Neo-Liberals", p. 708~712

The disagreement on the question of socialist calculation was but a symptom of a larger dissent between Mises and his erstwhile comrades-in-arms.

Not only did Mises unabashedly defend the central tenets of the Manchester School, which had by then fallen into general disrepute, he went beyond them. He showed that any third-way system was inherently unstable because it could not solve the problems it purported to solve, and thus motivated ever more government intervention until the interventionist system had been transformed into outright socialism. But socialism was not viable. There remained only one meaningful option: 100 percent capitalism. Again and again, Mises insisted that there was
no choice in this matter. It was ludicrous to speculate about some particular third-way policy that would fit the sensibilities of a given group. Society was viable only to the extent that private property rights were respected, and that was that.

This message resonated well with the old liberals, who marveled at such a splendid restatement of the ideals of their youth. But Mises’s views were received less wholeheartedly by the rising generation, which had been raised in an intellectual environment soaked in statism. Their school teachers and university professors had come to endorse all the main ideas behind
the case for socialism: the doctrine of class conflict and class struggle, the notion of the immiseration of the working classes under capitalism, and the belief that an unfettered capitalist system tended toward monopoly.

On the positive side, Mises had definitely dethroned fullblown socialism as a policy ideal. The energies of Hayek, Machlup, Haberler, Robbins, Perroux, and Röpke—men who would play a significant role in shaping post-World War II policies in the western world—no longer served the idol of omnipotent government. This proved to be of decisive importance for the course of history. But Mises’s influence proved too weak to inspire in them the courage necessary for a wholehearted return to the kind of vibrant liberalism that had characterized the Manchester School and the worldwide laissez-faire movement of the nineteenth century.

Mises had not yet published the systematic treatise on economic science that would have clarified the scientific case for unfettered capitalism. He had presented some important ele-
ments of his general economic theory of social systems, but before 1940 it was not yet clear how these elements interrelated and on which general analytical framework they relied. In 1940,
Mises finally published such a general treatise under the title of Nationalökonomie—Theorie des Handelns und Wirtschaftens. But by 1940, Hayek was fifty-one years old and an established scholar; the book came too late for him, and it also came too late for the rest of his generation—for the Röpkes and Machlups and Robbinses and all the others Mises had steered away from socialism in the 1920s. In the minds of these men, Mises’s early work on the impossibility of socialism and the ineffectiveness of interventionism had created a paradox. Mises had convinced them that fullblown socialism was neither feasible nor desirable; they were also
persuaded that third-way systems were overrated. But many of them did not yet question the claim that nineteenth-century liberalism had failed because its economic program, laissez-faire
capitalism, had not delivered the goods. They believed it to be a simple matter of fact that the unfettered free market tends toward monopoly, and that the nineteenth-century working classes had lived in misery because of laissez-faire capitalism.

(continue)
Thiago กล่าวว่า
For these men, theory had disproved the viability of socialism, and history had proven the defects of capitalism. What was needed was a third way—a third way that could somehow get
around Mises’s demonstration that interventionism was necessarily counter-productive. The solution that emerged in the 1930s was based on an intellectual construct that split the social
economy into two elements: (1) an institutional framework, and (2) the processes that played themselves out within that framework—most notably the pricing process. According to this new
creed, government should not meddle with the processes but it did have to establish and maintain the institutional framework. This set of assumptions is characteristic of what has come to be
called neo-liberalism.

We find a clear expression of the neo-liberal worldview in a paper Hayek wrote in 1935. Commenting on Mises’s theory of interventionism, Hayek observes that it did not follow from
Mises’s argument that “the only form of capitalism which can be rationally advocated is that of complete laissez faire in the old sense.” He continued:

The recognition of the principle of private property does not by any means necessarily imply that the particular delimitation of the contents of this right as determined by the existing laws are the most appropriate. The question as to which is the most appropriate permanent framework which will secure the smoothest and most efficient working of competition is of the greatest importance and one which must be admitted has been sadly neglected by economists.

The roots of the neo-liberal ideology went back at least to the 1880s and 1890s, when German economists of the Historical School and their American disciples became convinced that industrial concentration has harmful effects and required moderation through government intervention. One of the visible consequences of this mindset was the Sherman Act, which to
the present day has replaced the power of consumers with that of bureaucrats. In Germany, the philosophy of the third way became pervasive in the Sozialpolitik instigated under Kaiser Wilhelm. France followed, invoking the necessity of a tierce solution , as did the United States under the New Deal.

Still the first programmatic statements of neo-liberalism were published only in the 1930s—again, unsurprisingly, in Germany and the United States. The most influential statement came from Chicago economist Henry Simons, who in 1934 circulated a working paper with the title “A Positive Program for Laissez Faire”—in which the word “positive” indicated that this program justified ample government intervention, whereas classical laissez faire was a “negative” program in that it did not provide such a justification. Simons called on government to regulate money and banking, prevent the formation of monopolies, and provide minimum income for the destitute—a departure indeed from laissez-faire liberalism.

These ideas perfectly expressed the feelings of a generation of economists who had been raised in a thoroughly statist intellectual environment, but who still knew the teachings of the classical liberals. F.A. Hayek, Wilhelm Röpke, Fritz Machlup, Milton Friedman, Michael Polanyi, Walter Eucken, and many others received their university training and their decisive intellectual impulses during the 1920s and early 1930s. During the later 1930s they began to acquire more senior positions and would, after the World War II, assume intellectual leadership
on the Right.

Their neo-liberalism animated the work of the postwar institutions that would stem the tide of growing statism, in particular, the Mont Pèlerin Society and the Institute for Economic Affairs in London. In more recent years, the neoliberal agenda is carried forward by a new wave of educational institutions, such as the Institute for Humane Studies, the Cato Institute, and the Atlas Research Foundation.
Thiago กล่าวว่า
------------------------------------
Sub-section "The Walter Lippmann Colloquium", p. 734~739

Seven weeks after his wedding, Ludwig attended a historic meeting of the champions of both “old” Manchester-style liberalism and of neo-liberalism. His new bride probably forgave him and may even have joined him on the trip: the conference took place in Paris.

Neo-liberalism was at first a purely informal phenomenon. Virtually all of its proponents were economists who cooperated in a spontaneous network within a few institutions such as the International Chamber of Commerce in Paris. By the mid 1930s, the network had reached the critical mass needed for a more formal organization under the banner of the new third way. One important step toward the organized appearance of the emerging neo-liberal network was made when, in 1937, the American journalist Walter Lippmann published a neo-liberal manifesto with the title Inquiry into the Principles of the Good Society.

The book appealed to European neo-liberals because Lippmann gave eloquent expression to their own deeply held views about the roots of the present political and economic crisis. Those who still called themselves liberals rejected socialism but did not want to be too strongly associated with the Manchester doctrine of laissez-faire . Lippmann placed himself in opposition both to the old liberals and to the contemporaneous socialist agitators. Lippmann’s middle-of-the-road position suited the pragmatic mentality of his countrymen. Americans tended to take a businesslike approach to political conflicts, seeking to solve them through negotiation and compromise. Lippmann shrewdly presented both the socialists and the Manchestermen as stubborn doctrinaires. He contrasted these “extremists” with his own
practical-minded scheme. This resonated with the neo-liberal continental European economists of the interwar period, who differed from Lippmann only in the details they envisioned for
the Good Society.

One of these was Louis Rougier (1889–1982), a philosopher at the University of Paris and director of a “Centre Danubien.” Rougier considered Lippmann’s book a brilliant exposition of a
consensus that had emerged among liberal scholars in the recent past, most notably in books by Mises, Robbins, Lavergne, Marlio, and Rueff.He quickly arranged for a French edition of the
Good Society and seized the occasion to convene a five-day colloquium in Paris “with the idea of reviewing the process of capitalism and of trying to define the doctrine, the conditions
necessary for its implementation, and the new responsibilities of a true liberalism.”

The event took place on August 26–30, 1938 at the International Institute of Intellectual Cooperation and it assembled representatives of very different liberalisms. These men fell into
at least four groups with distinctly different views on the history, theory, and political agenda of modern liberalism.

The first group, which represented the mainstream of neoliberalism, promoted not only practical, but also theoretical compromise with coercive socialism. They were willing to com
promise on any particular item to make their general agenda more palatable to the voter. Their position can be thought of as “pro-market” social democracy.

Second, there was a small group of men such as Hayek who were dissatisfied with various aspects of classical liberalism and endorsed a somewhat larger scope for government intervention.
In contrast to the first group, however, their fundamental concern was with individual freedom and in time they therefore took an increasingly radical stance, moving ever closer to the
classical-liberal position.

(continue)
Thiago กล่าวว่า
Third, there was an equally small group of men such as Alexander Rüstow who were reluctant to endorse classical liberalism root and branch, but their main objection was to the egalitarianism, such as it was, of its advocates. They argued that hierarchy was absolutely necessary for the maintenance of a free society, because only the authority implied in it would effectively transmit the cultural tradition of liberty. The great error of the French Revolution was that it had not only abolished the coercive hierarchy of the Ancien Régime
, but also jettisoned the principle of hierarchy per se . In its egalitarian fervor, it had
tossed out the natural-hierarchy baby with the coercive-hierarchy bathwater.

Fourth, and finally, Ludwig von Mises upheld nineteenth century laissez-faire policies on refined theoretical grounds that he himself had developed over the past eighteen years. By the
1930s, he was acknowledged both within and outside libertarian circles as the most important contemporary representative of the Manchester School.

The Lippmann Colloquium showed that three of Mises’s insights had had a profound impact on the neo-liberals. First, his demonstration that socialist calculation was impossible had liberated them from all notions that a full-blown socialist commonwealth was feasible or even desirable on economic grounds. Second, the socialist-calculation argument had convinced them that competitive pricing is of utmost importance and a defining characteristic of the free market. Third, they endorsed Mises’s original case for liberalism, which stressed that a private-prop
erty order was the only feasible system for the division of labor.

The latter two insights, however, came to be twisted so as to fit the neo-liberal interventionist agenda. Whereas Mises had simply stated that a calculation-based division of labor could take place only where private property exists, the neo-liberals set out to manipulate the legal and judicial systems in order to “improve” on the spontaneous division of labor that would have resulted from political laissez-faire. For these men, the market
was critically important, but they believed that government intervention could enhance the “efficiency” and “fairness” of the market process. Unlike socialists, neo-liberals believed that the market took society in the right direction, but unlike classical liberals, they believed that the unhampered market fell short of its true potential.

(continue)
Thiago กล่าวว่า
In a preface to the first German edition of the Good Society (1945), Wilhelm Röpke emphasized the orientation of neo-liberal policies toward the optimization of the social machine:

Thus the question is not: For or against laissez-faire? Rather it is: Which judicial order [Rechtsordnung] fits an economic constitution that is just, free, of the highest productivity, and based on a sophisticated division of labor?

As a consequence of this particular interpretation of Mises’s theory of social systems, the neo-liberals also reinterpreted the significance of Mises’s insights about the importance of com
petitive pricing. Mises had argued that a rational division of labor could be based only on market prices for factors of production, which in turn required private ownership of these fac
tors. In contrast, the neo-liberals focused exclusively on the prices themselves, neglecting the conditions under which free pricing occurs. For them, the practical conclusion of the social
ist-calculation argument was not that government should not interfere with property in general, but rather that it should be kept from meddling with prices specifically. At the Colloquium,
Lippmann was praised for his distinction between “market compatible interventions” and interventions incompatible with the operation of a market economy.

Only direct interference with the working of the price mechanism was illegitimate. If the
government limited itself to controlling only the legal framework within which the market participants would be left free to pursue their projects as they wished, then this intervention
would be unobjectionable from a neo-liberal point of view. The unifying principle of postwar neo-liberal theories was an attempt to justify liberty in some cases and state-sponsored violence in others, through one and the same theory. The most important products of these endeavors were the theory of public goods and the Chicago (Coasean) theory of law and economics.

Mises relentlessly criticized the neo-liberal interpretation of the significance of the socialist-calculation argument. From his point of view, the arbitrary distinction between the “play of the price mechanism” and the “framework of the market” was nonsensical. The nature of government intervention is to violate private property rights, thereby affecting the price mechanism in all cases . While it is true that certain phenomena result only from direct interference with the pricing process—shortages and surpluses, most notably—the larger issue of economic calculation remains. It is ultimately irrelevant whether government intervention meddles directly with prices or indirectly through the “framework” of price formation; in either case, market prices are perverted.
Thiago กล่าวว่า
------------------------------------
Sub-section "A Conference at Mont Pèlerin", p. 869~872

The Mont Pèlerin Conference started on April 1, 1947 and lasted for ten days. Mises left New York on March 25, curious to see Europe again after almost seven years. The meeting had only a minimal agenda and left a great deal of leeway for the participants to determine the subjects they wished to discuss in the course of the next days. Mises and Read, Harper, and Watts from FEE, as well as Hazlitt, and Davenport (FortuneMagazine) represented the Manchesterite fringe of the meeting. Hayek, Friedman, and Machlup were neo-liberals; people like Walter Eucken, Harry Gideonse, Bertrand de Jouvenel, Frank Knight, Michael Polanyi, Karl Popper, Wilhelm Röpke, and George Stigler were liberal social democrats. Maurice Allais and Lionel Robbins repre
sented the far left of the Conference. Allais could not even bring himself to endorse the vague “statement of aims” that all other participants approved on April 8. In his opening address Hayek set the agenda for the postwar ideological reconstruction of the classical-liberal
movement. It involved, Hayek explained, on the one hand “purging traditional liberal theor
y of certain accidental accretions which have become attached to it in the course of time”
and, on the other hand, “facing up to some real problems which an over-simplified liberalism has shirked or which have become apparent only since it has turned into a somewhat stationary and rigid creed.”

As later developments would show, the concrete meaning of this program was (1) to exculpate classical liberalism from certain widely held criticism, for example, that the policies
it had inspired had led to mass misery; (2) to distinguish the “modern” liberalism from its
laissez-faire predecessor.
Some of the other scheduled talks, however, were more “neo” and less “liberal.” For example, the German economist Walter Eucken explained that anti-monopoly legislation was not sufficient to combat monopolies. Further legislative inference was needed in the field of corporate law, patent law, and trademark law. He championed two maxims of economic policy.
First, although there was to be freedom of contract, this freedom was not to be allowed to limit in any way the freedom of contract of others. Second, monopolistic market participants
should be forced to behave as if they were in “competition”— produce the same quantities and sell them at the same prices that would prevail under “competition.”

(continue)
Thiago กล่าวว่า
In short, Eucken dished up the same interventionist agenda that had already dominated the Lippmann Colloquium in 1938. At that time, Mises had been on his honeymoon in Paris, which might explain why his contributions to the discussions had been unusually tame. Nine years later, the honeymoon was over. He reacted with great determination and defended his
laissez-faire position so vigorously that many years later his friend Lawrence Fertig still
recalled the debate. Milton Friedman eventually concurred:

our sessions were marked by vigorous controversy over such issues as the role of religion and moral values in making possible and preserving a free society; the role of trade unions and the appropriateness of government action to affect the distribution of income. I particularly recall a discussion of this issue, in the middle of which Ludwig von Mises stood up, announced to the assembly “You’re all a bunch of socialists,” and stomped out of the room, an assembly
that contained not a single person who, by even the lowest standards, could be called a socialist.

Friedman did not specify what he meant by “the lowest standards.” In any case, while Mises was able to hold socialists in high esteem, the incident showed that he had little patience with socialists parading as liberals. The exchange between Mises and his neo-liberal opponents set the tone in the Mont Pèlerin Society for years to come. Wilhelm Röpke would later pay a friendly tribute to Mises, even though the latter made “sarcastic comments upon the unenlightened spirit of so many of its members” including Röpke himself.

Although the libertarians around Mises were a small minority, it was they who had the financial backing of the main American sponsors such as the Volker Fund, without which the Society would quickly have died out in those early years. As long as Mises took an active part in the meetings, therefore, it was impossible to move on to discussing the technical details of an approved government interventionism. Laissez-faire had made a comeback. It was not the majority opinion, but it was a debatable and debated political option—too much for some initial members
such as Maurice Allais, who soon left the Society for precisely this reason.

Despite fundamental disagreements, the meeting was a success. On April 9, some forty participants established the Mont Pèlerin Society and elected Hayek as their president.

บทความที่ได้รับความนิยม