เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล (๒)
1. เสรีนิยมคลาสสิค: เสรีภาพและอิสรภาพคือเป้าหมายสูงสุด*
หากจะทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างถ่องแท้ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องศึกษาที่มาและรากเหง้าของอุดมคติแบบเสรีนิยม ที่มีรากฐานของความคิดมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือกลุ่มที่เราเรียกว่า “พวกเสรีนิยมคลาสสิค” นั่นเอง เนื่องจากสังคมในยุคกลางนั้นถูกครอบงำโดยการปกครองแบบศักดินาที่อ้างอิงกับทฤษฎีเทวสิทธิ์ ต่อมาก็เปลี่ยนมือไปยังกษัตริย์และขุนนางในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนถูกจำกัด สำนักเสรีนิยมคลาสสิคจึงเกิดขึ้นเพื่อปฏิเสธการจำกัดเสรีภาพ และเรียกร้องสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน ในทางเศรษฐกิจ ลัทธิพาณิชย์นิยมที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออกขาย (ให้กับอาณานิคม) เพื่อสะสมความมั่งคั่งในรูปของทองนั้นสร้างความร่ำรวยให้กับท้องพระคลังเท่านั้น ไม่ได้แบ่งปันและกระจายความมั่งคั่งไปสู่สามัญชน จึงเกิดการปฏิวัติทางความคิด โดยนักคิดคนสำคัญ จอห์น ลอค (John Locke, 1632-1704) ชาวอังกฤษ ซึ่งเขียนหนังสือที่สำคัญ Two Treaties of Goverment (1690) และ An Essay Concerning the True Original, Extent, and End of Civil Government (1690) ที่เสนอให้จัดตั้งรัฐบาลโดยความยินยอมของประชาชน ท่ามกลางการปกครองภายใต้อำนาจของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ใน Two Treaties of Goverment ลอคเน้นถึงอิสรภาพและเสรีภาพในฐานะสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการใช้เหตุผล หมายความว่ามนุษย์เกิดมาเป็นอิสระเพราะมนุษย์มีเหตุผลนั่นเอง เหตุผลคือเสียงของพระเจ้าในตัวมนุษย์ (Two Treaties of Goverment เล่ม 2 หน้า 86 อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐) ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถกระทำสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ด้วยการนำทางของพระเจ้า โดยไม่ต้องถูกชี้นำหรือบังคับ ควบคุมจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนยังเท่าเทียมกันและเป็นอิสระต่อกัน ลอคได้เสนอว่า ก่อนหน้าที่จะมีรัฐเกิดขึ้น มนุษย์อยู่ในสภาพธรรมชาติซึ่งปกครองด้วยกฎของเหตุผล (ต่างจากโทมัส ฮอบ ซึ่งเป็นนักคิดลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์ ที่เสนอว่าก่อนหน้าที่จะเกิดรัฐนั้น สังคมมีลักษณะของการต่อสู้ แก่งแย่งและความวุ่นวาย จึงจำเป็นต้องมีรัฐที่เข้มแข็ง) ตามทฤษฎีของลอค ในสภาพธรรมชาติ มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพราะมนุษย์เป็นเจ้าของแรงงานของตนเอง สิทธิที่เรารู้จักในภายหลังว่า “กรรมสิทธิ์” นี้ ในมุมมองของลอค จึงไม่ได้เกิดจากรัฐ (ซึ่งถือว่ามีลักษณะปฏิกิริยากับระบอบศักดินา ซึ่งขุนนางและชนชั้นสูงเท่านั้นสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน) เหตุผลของเขา เรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนี้เอง ถูกเป็นหลักการสำคัญที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาในภายหลัง ทั้งนี้ เขายังได้กล่าวด้วยว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องไม่นำไปสู่การกดขี่หรือขูดรีด แต่ต้องช่วยสนับสนุนให้มนุษย์มีอิสระ กรรมสิทธิ์จึงเป็นเครื่องมือไปสู่เสรีภาพ
อย่างไรก็ตาม ตามคำอธิบายของลอค มนุษย์จำเป็นต้องละทิ้งสภาพธรรมชาติ เพื่อเปิดทางให้เกิดสังคมการเมืองและรัฐ เพราะสังคมอาจเกิดความขัดแย้งเนื่องจากมนุษย์แต่ละคนถือเอาประโยชน์ส่วนตัวและไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ จึงจำเป็นต้องมีรัฐซึ่งเป็นคนกลางเพื่อบังคับใช้กฎหมายและสร้างความยุติธรรม รวมทั้งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล สังคมการเมืองของลอคจึงเกิดขึ้นจากความยินยอมของสมาชิกในสังคม หรือในภาษาของรุซโซว่า “สัญญาประชาคม” นั่นเอง ทั้งนี้ เขาอธิบายว่า ประชาชนไม่ได้ทำสัญญากับรัฐบาลโดยตรง แต่ทำสัญญาระหว่างกันเพื่อให้เกิดสังคมการเมือง แต่รัฐเกิดจากการจัดตั้งทรัสต์ซึ่งประชาชนเป็นทั้งผู้มอบความไว้วางใจและผู้ได้ประโยชน์ ส่วนรัฐเป็นเพียงผู้จัดการบริหารทรัสต์นี้เท่านั้น ประโยชน์สาธารณะในทรรศนะของลอค จึงขึ้นอยู่กับประชาชนผู้มอบความไว้วางใจให้รัฐ ไม่ได้ขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐ และประชาชนสามารถทวงความไว้วางใจคืนเมื่อใดก็ตามที่รัฐละเมิดความไว้วางใจนั้น
นักคิดคนสำคัญอีกคนคือ อดัม สมิท (Adam Smith, 1723-1790) ชาวสก๊อตแลนด์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด (เช่นเดียวกับลอค) ต่อมาเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญาศีลธรรมที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีหนังสือที่สำคัญ 2 เล่ม คือ Theory of Moral Sentiments (1759) และ The Wealth of Nations (1776) สมิทได้รับอิทธิพลความคิดจากนักคิดรุ่นก่อนและนักคิดร่วมสมัย อย่างเช่น ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton, 1642-1727) ในเรื่องความมีกฎเกณฑ์และระเบียบของธรรมชาติ, ได้รับอิทธิพลจากเอิร์ลแห่งชาฟเบอรี (Earl of Shaftesbury, 1671-1713) ที่เชื่อว่ามนุษย์มีศีลธรรม สามารถแยกแยะการกระทำที่ถูกและผิดออกจากกันได้ สังคมจึงมีระเบียบและกฏเกณฑ์เช่นเดียวกับโลกกายภาพ รวมทั้งผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในสังคมนั้นประสานลงตัวกันได้ (harmony of interest) และจากฟรานซิส ฮัดจีสัน (Francis Hatcheson, 1694-1746) ในเรื่องที่มนุษย์ต้องการทำคุณประโยชน์มากกว่าทำชั่ว เมื่อมนุษย์ทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์จะมีความสุข (เขาเป็นผู้เสนอหลักการสำคัญที่ต่อมาพัฒนาเป็นสำนักประโยชน์นิยม) จึงเป็นไปได้ที่จะมีการประสานผลประโยชน์ในสังคม สมิทยังได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปูเฟนดอร์ฟ (Samuel von Pufendolf, 1632-1694) และจอห์น ลอคในเรื่องสิทธิธรรมชาติของมนุษย์และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งสมิทเองเป็นผู้ขยายขอบเขตเรื่องสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองของลอคไปสู่เสรีภาพทางเศรษฐกิจ
แนวคิดเรื่องระเบียบของสังคมและการผสานผลประโยชน์ในสังคมที่สมิทได้รับอิทธิพลมาจากนักคิดเหล่านี้ ทำให้เขาเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือการที่แต่ละคนต่างมุ่งหาประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุดตามไปด้วย จากสิ่งที่เขาเรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (ที่ภายหลังสำนักนีโอคลาสสิคทำให้กลายเป็นเพียง “กลไกตลาด” หรือกลไกของอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง) สมิทกล่าวว่า การที่เราได้มีอาหารเย็นทานไม่ใช่เพราะความใจดีของพ่อค้าเนื้อหรือพ่อค้าขนมปังแต่เพราะความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวของคนเหล่านี้ เราไม่ได้ขอร้องให้เขาเห็นแก่มนุษยธรรมแต่ให้เห็นแก่ตัวเขาเอง (The Wealth of Nations, เล่ม 1, บทที่ 2 อ้างในฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐)
ตามทฤษฎีของสมิท ภายใต้เงื่อนไขของความมีอิสระและเสรีภาพในการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล (หรือการแข่งขันเสรีในตลาด) และปราศจากการบังคับหรือวางแผนจากส่วนกลาง สัญชาติญาณความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ทำให้เกิดการผลิตและการแลกเปลี่ยน และทำให้สังคมได้รับประโยชน์โดยผ่านการออมทรัพย์ การแบ่งงานกันทำและการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต นี่เป็นรากฐานของความคิดเสรีนิยมที่เน้นเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของมนุษย์ บทบาทของรัฐบาลในทรรศนะของสมิทจึงควรถูกจำกัดเพียงเฉพาะในการป้องกันประเทศ คุ้มครองสมาชิกสังคมจากความอยุติธรรม บริการสาธารณะและการกุศล เช่นการศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ
อาจกล่าวได้ว่า ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ของสมิทนั้น ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่เข้มงวดเรื่องการแข่งขันเสรี คือ ระบบเศรษฐกิจไม่มีการผูกขาดหรือไม่มีการกระจุกตัวของทุนหรือการได้เปรียบของธุรกิจบางราย ซึ่งไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ นักคิดสำนักคลาสสิคคนอื่นๆ ต่อมา อย่างโรเบิร์ต มัลธัสและเดวิด ริคาร์โด (ที่ถึงแม้จะยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมภายใต้เงื่อนไขของการแข่งขันเสรีที่สมิทได้เสนอนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุด) กลับมองโลกในแง่ร้ายกว่าสมิทมากและได้แสดงความวิตกกังวลต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของสมิท อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของสำนักคลาสสิคได้มีอิทธิพลครอบงำระบบเศรษฐกิจการเมืองของประเทศยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อย่างสูง เพราะสังคมในขณะนั้นโหยหาอิสรภาพและเสรีภาพที่เคยถูกลิดรอนมายาวนาน รัฐบาลปล่อยให้ตลาดทำงานอย่างเสรีโดยไม่มีการแทรกแซง จนกระทั่งการขยายตัวของการค้าและปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและฝรั่งเศสนั้น นำไปสู่ภาวะทุกข์ยากอย่างรุนแรงของแรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้แรงงานในระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน ในภาวะเสี่ยงอันตราย ขณะที่ค่าจ้างแรงงานถูกกดต่ำและกรรมกรมีชีวิตที่ลำบากและตกอยู่ในสภาวะยากจน จึงเริ่มเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของสำนักคลาสสิคและเสนอทฤษฎีแบบที่เรียกว่าสังคมนิยมยูโธเปีย ซึ่งเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมให้กับชนชั้นกรรมกรและต่อต้านระบบวิสาหกิจเอกชน อย่างไรก็ตาม สำนักสังคมนิยมยูโธเปียนั้นไม่ได้วิพากษ์ชนชั้นนายทุนอย่างรุนแรงและไม่ได้เรียกร้องให้มีการปฏิวัติทางชนชั้นอย่างที่สังคมนิยมมาร์กซิสม์เสนอ หากแต่เป็นเพียงการกระตุ้นเตือนทางจริยธรรมให้เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ค่อนข้างเป็นอุดมคติและอิงกับศีลธรรมที่เกิดขึ้นได้ยาก (ต่างจากสังคมนิยมมาร์กซิสม์ที่เรียกร้องให้ใช้การเผชิญหน้าและการต่อสู้ ที่เกิดขึ้นได้เร็วและเด็ดขาดกว่า) แนวคิดนี้จึงเสื่อมความนิยมลงไปในเวลาไม่นาน
* เนื้อหาของบทความในส่วนนี้และส่วนถัดไป สรุปความจากบทที่ 3 และ 5 ของฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐ (พิมพ์ครั้งที่ ๗)
หากจะทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างถ่องแท้ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องศึกษาที่มาและรากเหง้าของอุดมคติแบบเสรีนิยม ที่มีรากฐานของความคิดมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือกลุ่มที่เราเรียกว่า “พวกเสรีนิยมคลาสสิค” นั่นเอง เนื่องจากสังคมในยุคกลางนั้นถูกครอบงำโดยการปกครองแบบศักดินาที่อ้างอิงกับทฤษฎีเทวสิทธิ์ ต่อมาก็เปลี่ยนมือไปยังกษัตริย์และขุนนางในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนถูกจำกัด สำนักเสรีนิยมคลาสสิคจึงเกิดขึ้นเพื่อปฏิเสธการจำกัดเสรีภาพ และเรียกร้องสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน ในทางเศรษฐกิจ ลัทธิพาณิชย์นิยมที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออกขาย (ให้กับอาณานิคม) เพื่อสะสมความมั่งคั่งในรูปของทองนั้นสร้างความร่ำรวยให้กับท้องพระคลังเท่านั้น ไม่ได้แบ่งปันและกระจายความมั่งคั่งไปสู่สามัญชน จึงเกิดการปฏิวัติทางความคิด โดยนักคิดคนสำคัญ จอห์น ลอค (John Locke, 1632-1704) ชาวอังกฤษ ซึ่งเขียนหนังสือที่สำคัญ Two Treaties of Goverment (1690) และ An Essay Concerning the True Original, Extent, and End of Civil Government (1690) ที่เสนอให้จัดตั้งรัฐบาลโดยความยินยอมของประชาชน ท่ามกลางการปกครองภายใต้อำนาจของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ใน Two Treaties of Goverment ลอคเน้นถึงอิสรภาพและเสรีภาพในฐานะสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการใช้เหตุผล หมายความว่ามนุษย์เกิดมาเป็นอิสระเพราะมนุษย์มีเหตุผลนั่นเอง เหตุผลคือเสียงของพระเจ้าในตัวมนุษย์ (Two Treaties of Goverment เล่ม 2 หน้า 86 อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐) ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถกระทำสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ด้วยการนำทางของพระเจ้า โดยไม่ต้องถูกชี้นำหรือบังคับ ควบคุมจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนยังเท่าเทียมกันและเป็นอิสระต่อกัน ลอคได้เสนอว่า ก่อนหน้าที่จะมีรัฐเกิดขึ้น มนุษย์อยู่ในสภาพธรรมชาติซึ่งปกครองด้วยกฎของเหตุผล (ต่างจากโทมัส ฮอบ ซึ่งเป็นนักคิดลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์ ที่เสนอว่าก่อนหน้าที่จะเกิดรัฐนั้น สังคมมีลักษณะของการต่อสู้ แก่งแย่งและความวุ่นวาย จึงจำเป็นต้องมีรัฐที่เข้มแข็ง) ตามทฤษฎีของลอค ในสภาพธรรมชาติ มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพราะมนุษย์เป็นเจ้าของแรงงานของตนเอง สิทธิที่เรารู้จักในภายหลังว่า “กรรมสิทธิ์” นี้ ในมุมมองของลอค จึงไม่ได้เกิดจากรัฐ (ซึ่งถือว่ามีลักษณะปฏิกิริยากับระบอบศักดินา ซึ่งขุนนางและชนชั้นสูงเท่านั้นสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน) เหตุผลของเขา เรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนี้เอง ถูกเป็นหลักการสำคัญที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาในภายหลัง ทั้งนี้ เขายังได้กล่าวด้วยว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องไม่นำไปสู่การกดขี่หรือขูดรีด แต่ต้องช่วยสนับสนุนให้มนุษย์มีอิสระ กรรมสิทธิ์จึงเป็นเครื่องมือไปสู่เสรีภาพ
อย่างไรก็ตาม ตามคำอธิบายของลอค มนุษย์จำเป็นต้องละทิ้งสภาพธรรมชาติ เพื่อเปิดทางให้เกิดสังคมการเมืองและรัฐ เพราะสังคมอาจเกิดความขัดแย้งเนื่องจากมนุษย์แต่ละคนถือเอาประโยชน์ส่วนตัวและไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ จึงจำเป็นต้องมีรัฐซึ่งเป็นคนกลางเพื่อบังคับใช้กฎหมายและสร้างความยุติธรรม รวมทั้งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล สังคมการเมืองของลอคจึงเกิดขึ้นจากความยินยอมของสมาชิกในสังคม หรือในภาษาของรุซโซว่า “สัญญาประชาคม” นั่นเอง ทั้งนี้ เขาอธิบายว่า ประชาชนไม่ได้ทำสัญญากับรัฐบาลโดยตรง แต่ทำสัญญาระหว่างกันเพื่อให้เกิดสังคมการเมือง แต่รัฐเกิดจากการจัดตั้งทรัสต์ซึ่งประชาชนเป็นทั้งผู้มอบความไว้วางใจและผู้ได้ประโยชน์ ส่วนรัฐเป็นเพียงผู้จัดการบริหารทรัสต์นี้เท่านั้น ประโยชน์สาธารณะในทรรศนะของลอค จึงขึ้นอยู่กับประชาชนผู้มอบความไว้วางใจให้รัฐ ไม่ได้ขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐ และประชาชนสามารถทวงความไว้วางใจคืนเมื่อใดก็ตามที่รัฐละเมิดความไว้วางใจนั้น
นักคิดคนสำคัญอีกคนคือ อดัม สมิท (Adam Smith, 1723-1790) ชาวสก๊อตแลนด์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด (เช่นเดียวกับลอค) ต่อมาเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญาศีลธรรมที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีหนังสือที่สำคัญ 2 เล่ม คือ Theory of Moral Sentiments (1759) และ The Wealth of Nations (1776) สมิทได้รับอิทธิพลความคิดจากนักคิดรุ่นก่อนและนักคิดร่วมสมัย อย่างเช่น ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton, 1642-1727) ในเรื่องความมีกฎเกณฑ์และระเบียบของธรรมชาติ, ได้รับอิทธิพลจากเอิร์ลแห่งชาฟเบอรี (Earl of Shaftesbury, 1671-1713) ที่เชื่อว่ามนุษย์มีศีลธรรม สามารถแยกแยะการกระทำที่ถูกและผิดออกจากกันได้ สังคมจึงมีระเบียบและกฏเกณฑ์เช่นเดียวกับโลกกายภาพ รวมทั้งผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในสังคมนั้นประสานลงตัวกันได้ (harmony of interest) และจากฟรานซิส ฮัดจีสัน (Francis Hatcheson, 1694-1746) ในเรื่องที่มนุษย์ต้องการทำคุณประโยชน์มากกว่าทำชั่ว เมื่อมนุษย์ทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์จะมีความสุข (เขาเป็นผู้เสนอหลักการสำคัญที่ต่อมาพัฒนาเป็นสำนักประโยชน์นิยม) จึงเป็นไปได้ที่จะมีการประสานผลประโยชน์ในสังคม สมิทยังได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปูเฟนดอร์ฟ (Samuel von Pufendolf, 1632-1694) และจอห์น ลอคในเรื่องสิทธิธรรมชาติของมนุษย์และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งสมิทเองเป็นผู้ขยายขอบเขตเรื่องสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองของลอคไปสู่เสรีภาพทางเศรษฐกิจ
แนวคิดเรื่องระเบียบของสังคมและการผสานผลประโยชน์ในสังคมที่สมิทได้รับอิทธิพลมาจากนักคิดเหล่านี้ ทำให้เขาเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือการที่แต่ละคนต่างมุ่งหาประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุดตามไปด้วย จากสิ่งที่เขาเรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (ที่ภายหลังสำนักนีโอคลาสสิคทำให้กลายเป็นเพียง “กลไกตลาด” หรือกลไกของอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง) สมิทกล่าวว่า การที่เราได้มีอาหารเย็นทานไม่ใช่เพราะความใจดีของพ่อค้าเนื้อหรือพ่อค้าขนมปังแต่เพราะความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวของคนเหล่านี้ เราไม่ได้ขอร้องให้เขาเห็นแก่มนุษยธรรมแต่ให้เห็นแก่ตัวเขาเอง (The Wealth of Nations, เล่ม 1, บทที่ 2 อ้างในฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐)
ตามทฤษฎีของสมิท ภายใต้เงื่อนไขของความมีอิสระและเสรีภาพในการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล (หรือการแข่งขันเสรีในตลาด) และปราศจากการบังคับหรือวางแผนจากส่วนกลาง สัญชาติญาณความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ทำให้เกิดการผลิตและการแลกเปลี่ยน และทำให้สังคมได้รับประโยชน์โดยผ่านการออมทรัพย์ การแบ่งงานกันทำและการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต นี่เป็นรากฐานของความคิดเสรีนิยมที่เน้นเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของมนุษย์ บทบาทของรัฐบาลในทรรศนะของสมิทจึงควรถูกจำกัดเพียงเฉพาะในการป้องกันประเทศ คุ้มครองสมาชิกสังคมจากความอยุติธรรม บริการสาธารณะและการกุศล เช่นการศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ
อาจกล่าวได้ว่า ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ของสมิทนั้น ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่เข้มงวดเรื่องการแข่งขันเสรี คือ ระบบเศรษฐกิจไม่มีการผูกขาดหรือไม่มีการกระจุกตัวของทุนหรือการได้เปรียบของธุรกิจบางราย ซึ่งไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ นักคิดสำนักคลาสสิคคนอื่นๆ ต่อมา อย่างโรเบิร์ต มัลธัสและเดวิด ริคาร์โด (ที่ถึงแม้จะยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมภายใต้เงื่อนไขของการแข่งขันเสรีที่สมิทได้เสนอนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุด) กลับมองโลกในแง่ร้ายกว่าสมิทมากและได้แสดงความวิตกกังวลต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของสมิท อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของสำนักคลาสสิคได้มีอิทธิพลครอบงำระบบเศรษฐกิจการเมืองของประเทศยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อย่างสูง เพราะสังคมในขณะนั้นโหยหาอิสรภาพและเสรีภาพที่เคยถูกลิดรอนมายาวนาน รัฐบาลปล่อยให้ตลาดทำงานอย่างเสรีโดยไม่มีการแทรกแซง จนกระทั่งการขยายตัวของการค้าและปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและฝรั่งเศสนั้น นำไปสู่ภาวะทุกข์ยากอย่างรุนแรงของแรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้แรงงานในระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน ในภาวะเสี่ยงอันตราย ขณะที่ค่าจ้างแรงงานถูกกดต่ำและกรรมกรมีชีวิตที่ลำบากและตกอยู่ในสภาวะยากจน จึงเริ่มเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของสำนักคลาสสิคและเสนอทฤษฎีแบบที่เรียกว่าสังคมนิยมยูโธเปีย ซึ่งเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมให้กับชนชั้นกรรมกรและต่อต้านระบบวิสาหกิจเอกชน อย่างไรก็ตาม สำนักสังคมนิยมยูโธเปียนั้นไม่ได้วิพากษ์ชนชั้นนายทุนอย่างรุนแรงและไม่ได้เรียกร้องให้มีการปฏิวัติทางชนชั้นอย่างที่สังคมนิยมมาร์กซิสม์เสนอ หากแต่เป็นเพียงการกระตุ้นเตือนทางจริยธรรมให้เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ค่อนข้างเป็นอุดมคติและอิงกับศีลธรรมที่เกิดขึ้นได้ยาก (ต่างจากสังคมนิยมมาร์กซิสม์ที่เรียกร้องให้ใช้การเผชิญหน้าและการต่อสู้ ที่เกิดขึ้นได้เร็วและเด็ดขาดกว่า) แนวคิดนี้จึงเสื่อมความนิยมลงไปในเวลาไม่นาน
* เนื้อหาของบทความในส่วนนี้และส่วนถัดไป สรุปความจากบทที่ 3 และ 5 ของฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐ (พิมพ์ครั้งที่ ๗)
ความคิดเห็น
ผมเองหวังว่าจะสามารถศึกษามุมมองนี้ต่อไปอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำมาขยายความและศึกษาเปรียบเทียบกับมุมมองที่ใช้อยู่หรือที่ขอเรียกว่าแบบคลาสสิคต่อไป
ข้อสังเกตแบบผิวเผินตอนนี้ก็คือ ฟูโกพัฒนากรอบความคิดในเรื่อง biopower และ biopolitics และโยงไปถึงแนวคิดของ civil society ในฐานะการประนีประนอมระหว่างความขัดแย้งของพื้นที่การเมืองและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นในศตวรรษที่ 18
ฟูโกอธิบายความขัดแย้งของตรรกะของ subject ในการเมืองและเศรษฐกิจได้ดี โดยไม่ต้องกลับไปหาสิ่งที่ Arendt หรือ Marx เสนอ