เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล: บทนำ
แนวนโยบายหลักของรัฐแบบเสรีนิยมใหม่ ประกอบด้วย การแปรรูปบริการของรัฐเป็นเอกชน (Privatisation) การเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน (Trade and Financial liberalization) และการผ่อนคลายและลดกฎระเบียบ (Deregulation) เพราะหลักการของเสรีนิยมใหม่ ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า เงื่อนไขที่จำเป็นของการอยู่ดีมีสุขของมนุษย์นั้นคือ เสรีภาพของปัจเจกบุคคล (ในการประกอบการ) ดังนั้น โครงสร้างเชิงสถาบันที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเสรีนิยมใหม่คือ การคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดและระบบตลาดแข่งขันเสรี
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ปรากฏโฉมหน้าให้เห็นอย่างชัดเจนในทศวรรษ 1970 ภายหลังผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศนำทางอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐฯและอังกฤษเสื่อมความเชื่อมั่นในลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเคนส์เซียน (Keynesianism) ที่ไม่สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่มีปัญหาการว่างงานควบคู่กับภาวะเงินเฟ้อสูง (stagflation) ได้ ในเดือนพฤษภาคม ปี 1979 มากาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ พร้อมด้วยภารกิจในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ด้วยอิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ เธอยอมรับว่าจำเป็นจะต้องละทิ้งนโยบายแบบเคนส์เซียนและหันมาใช้วิธีการบริหารตามแนวทฤษฎีสำนักการเงินนิยม (monetarism) หรือแบบเน้นอุปทาน (supply-side) เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อังกฤษประสบอยู่ในช่วงทศวรรษ 1970
กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่ (neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก (Embedded liberalism) อย่างมั่นคง ในสังคมตะวันตก โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ “อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล” รวมทั้งรังสรรค์ปั้นแต่งใหม่ด้วยกลวิธีตอกย้ำ (ละเลย) คุณค่าที่พึงปรารถนา (ไม่พึงปรารถนา) ในสายตาของตน เพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้นให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น “สามัญสำนึก” ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม ดังคำกล่าวที่โด่งดังของแทตเชอร์ประโยคหนึ่งว่า « no such thing as society, only individual men and women » ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศสงครามต่ออุดมคติแบบสังคมนิยม (หรือคุณค่าที่เสนอโดยพรรคแรงงาน พรรคการเมืองคู่แข่งฝ่ายซ้าย) ด้วยการตอกย้ำอุดมคติแบบปัจเจกนิยม (individualism) ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 11 ปีที่เธอดำรงตำแหน่งนายกฯ ถึงความเป็นสากลแท้จริงและอยู่เหนือสังคมของสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เธอประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจและสังคมอังกฤษ และสามารถทำลายพื้นที่ในสังคมของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนชั้นแรงงานอย่างราบคาบ
บทความนี้ต้องการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลัทธิ (Doctrine) เสรีนิยมใหม่ในเชิงปรัชญาและเชิงประวัติศาสตร์การเมือง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มีอิทธิพลครอบงำความคิดกระแสหลักในสังคมไทยและสังคมโลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทัน โดยในส่วนแรกของบทความ จะกล่าวถึงต้นตอของลัทธิเสรีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยแนะนำนักคิดที่มีบทบาทสำคัญในสำนักเสรีนิยมคลาสสิค ซึ่งทำให้เสรีภาพของปัจเจกชนกลายเป็นคุณค่าและเป้าหมายที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสำนักเสรีนิยมจากภายใน โดยรับเอาหลักการประโยชน์นิยมเข้าแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของบุคคลต่ออำนาจรัฐ ประโยชน์ของบุคคลและประโยชน์สาธารณะ ส่วนที่สามจะกล่าวถึงวิวัฒนาการลำดับต่อมาคือ สำนักเสรีนิยมนีโอคลาสสิคและเสรีนิยมใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากเสรีนิยมในอดีต ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่านักคิดเสรีนิยมใหม่นั้นสามารถสถาปนาแนวคิดของตนในบริบทของสังคมขณะนั้นอย่างไร ด้วยปัจจัยสนับสนุนใดบ้าง และในส่วนถัดไปจะกล่าวถึงลักษณะสำคัญของรัฐเสรีนิยมใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกและผู้นำเข้าแนวคิดนี้ รวมทั้งตัวอย่างของประเทศไทย ก่อนที่จะสรุปในส่วนสุดท้าย
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ปรากฏโฉมหน้าให้เห็นอย่างชัดเจนในทศวรรษ 1970 ภายหลังผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศนำทางอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐฯและอังกฤษเสื่อมความเชื่อมั่นในลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเคนส์เซียน (Keynesianism) ที่ไม่สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่มีปัญหาการว่างงานควบคู่กับภาวะเงินเฟ้อสูง (stagflation) ได้ ในเดือนพฤษภาคม ปี 1979 มากาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ พร้อมด้วยภารกิจในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ด้วยอิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ เธอยอมรับว่าจำเป็นจะต้องละทิ้งนโยบายแบบเคนส์เซียนและหันมาใช้วิธีการบริหารตามแนวทฤษฎีสำนักการเงินนิยม (monetarism) หรือแบบเน้นอุปทาน (supply-side) เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อังกฤษประสบอยู่ในช่วงทศวรรษ 1970
กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่ (neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก (Embedded liberalism) อย่างมั่นคง ในสังคมตะวันตก โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ “อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล” รวมทั้งรังสรรค์ปั้นแต่งใหม่ด้วยกลวิธีตอกย้ำ (ละเลย) คุณค่าที่พึงปรารถนา (ไม่พึงปรารถนา) ในสายตาของตน เพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้นให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น “สามัญสำนึก” ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม ดังคำกล่าวที่โด่งดังของแทตเชอร์ประโยคหนึ่งว่า « no such thing as society, only individual men and women » ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศสงครามต่ออุดมคติแบบสังคมนิยม (หรือคุณค่าที่เสนอโดยพรรคแรงงาน พรรคการเมืองคู่แข่งฝ่ายซ้าย) ด้วยการตอกย้ำอุดมคติแบบปัจเจกนิยม (individualism) ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 11 ปีที่เธอดำรงตำแหน่งนายกฯ ถึงความเป็นสากลแท้จริงและอยู่เหนือสังคมของสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เธอประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจและสังคมอังกฤษ และสามารถทำลายพื้นที่ในสังคมของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนชั้นแรงงานอย่างราบคาบ
บทความนี้ต้องการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลัทธิ (Doctrine) เสรีนิยมใหม่ในเชิงปรัชญาและเชิงประวัติศาสตร์การเมือง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มีอิทธิพลครอบงำความคิดกระแสหลักในสังคมไทยและสังคมโลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทัน โดยในส่วนแรกของบทความ จะกล่าวถึงต้นตอของลัทธิเสรีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยแนะนำนักคิดที่มีบทบาทสำคัญในสำนักเสรีนิยมคลาสสิค ซึ่งทำให้เสรีภาพของปัจเจกชนกลายเป็นคุณค่าและเป้าหมายที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสำนักเสรีนิยมจากภายใน โดยรับเอาหลักการประโยชน์นิยมเข้าแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของบุคคลต่ออำนาจรัฐ ประโยชน์ของบุคคลและประโยชน์สาธารณะ ส่วนที่สามจะกล่าวถึงวิวัฒนาการลำดับต่อมาคือ สำนักเสรีนิยมนีโอคลาสสิคและเสรีนิยมใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากเสรีนิยมในอดีต ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่านักคิดเสรีนิยมใหม่นั้นสามารถสถาปนาแนวคิดของตนในบริบทของสังคมขณะนั้นอย่างไร ด้วยปัจจัยสนับสนุนใดบ้าง และในส่วนถัดไปจะกล่าวถึงลักษณะสำคัญของรัฐเสรีนิยมใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกและผู้นำเข้าแนวคิดนี้ รวมทั้งตัวอย่างของประเทศไทย ก่อนที่จะสรุปในส่วนสุดท้าย
ความคิดเห็น