จาก TV reality สู่ Camfrog
Camfrog คือโปรแกรมที่กำลังตกเป็นข่าวในเมืองไทย เพราะกลายเป็นของเล่นใหม่สำหรับวัยรุ่น ที่ส่วนหนึ่งเข้าไปเพื่อโชว์รูปร่าง สัดส่วนรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ อีกส่วนหนึ่งเข้าไปเพื่อชมการแสดงดังกล่าว
ตามข่าว โปรแกรมนี้ได้รับความสนใจจากคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะมีสถิติว่าคนไทยเข้าไปใช้มากเป็นอันดับสามของโลก รองจาก สหรัฐฯและจีน ทำให้ปรากฏการณ์แคมฟร็อกเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก เพื่อนรุ่นน้องคนนึงก็ได้เล่าให้ฟังถึงโปรแกรมนี้และได้แนะนำให้เข้าไปสำรวจโลกของแคมฟร็อกด้วยตนเอง หลังจากได้เข้าไปสัมผัสในฐานะผู้สังเกตการณ์ ต้องบอกว่าโลกของแคมฯนั้น ลึกลับและซับซ้อนอย่างที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง (ที่มองว่าโปรแกรมนี้เป็นภัยและต้องการแก้ไข) ต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนทีเดียว
สำหรับผมแล้ว แคมฟร็อกคืออีกหนึ่งผลผลิตของสังคม reality show หรือสังคมที่นิยมนำกิจกรรมส่วนตัวออกเผยแพร่ให้คนอื่นดู ในสังคมเรียลิตี้นี้ ความนิยมของผู้ชมคืออำนาจชี้ขาดตัดสินอนาคตของผู้แสดง การมีอยู่หรือดำรงอยู่ของผู้แสดงจึงไม่มีความหมายเมื่อขาดผู้ชม
อาจกล่าวว่าในโลกของแคมฟร็อก มีประชากรหลักอยู่ ๓ กลุ่ม คือ ผู้แสดง ผู้ชม (voyeurists) และผู้สังเกตการณ์
ในความเป็นจริง ทุกคนมีบทบาทของผู้ชมหรือ voyeurist เพราะต่างมีความอยากรู้อยากเห็นอยู่ในตัว แล้วแต่ดีกรีของความเป็นผู้ชอบชมมากน้อยต่างกันไป ส่วนหนึ่งจึงเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะขาประจำ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่ง ขอเลือกที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เช่น ทัศนคติและความสนใจในเรื่องเพศ เป็นต้น
ประชากรที่น่าสนใจที่สุด จึงเป็นผู้แสดงหรือผู้ที่เลือกที่จะเป็นทั้งผู้ชมและผู้แสดงในโลกของแคมฟร็อก
ในโลกของแคมฟร็อกนั้น เราสามารถสังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่าการจัดฉากในการแสดง โดยการจัดฉากนี้ เราสังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้ที่ทำหน้าที่จัดระบบและกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เป็นสมาชิก (บุคคลกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ดีเจ ซึ่งชื่อนี้มาจากหน้าที่ในการเลือกเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศ) และพฤติกรรมของตัวผู้แสดงเอง
ดีเจจะเป็นบุคคลสำคัญในการกำหนดผู้แสดงรายต่อไป จึงอาจกล่าวได้ว่า ดีเจเป็นเสมือนผู้กำกับในโชว์ที่กำลังพูดถึง โดยดีเจอาจจะวัดจากแรงเชียร์ของผู้ชมประกอบกับการตัดสินใจส่วนตัวของดีเจเองว่าดาราคนไหนมีแววจะเกิด จากภาพที่ต่อตรงมาจากกล้องของสมาชิกที่ใครก็ตามสามารถเลือกขึ้นมาดูได้ (ไม่ว่าจะมีกล้องหรือไม่ก็ตาม) การเปลี่ยนบทบาทจากผู้ชมมาเป็นผู้แสดงนี้ บางส่วนจึงเกิดจากอิทธิพลของดีเจโดยตรง
ดีเจยังมีบทบาทในการควบคุมไม่ให้ผู้ชมมีพฤติกรรมออกนอกกรอบเกินไปนัก โดยการตักเตือนหรือใช้อำนาจผูกขาดทางเทคนิคที่มี
ในด้านของผู้แสดงนั้น เราเห็นการจัดฉากอย่างชัดเจนเมื่อการแสดงเป็นการแสดงบทรักคู่ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในลักษณะของการแข่งขัน หรืออาจจะมองอีกมุมหนึ่งว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ คำถามที่น่าสนใจในกรณีนี้ ก็คือ การตัดสินใจลงสนามแข่งนั้น เกิดขึ้นจากการตัดสินใจสมยอมหรือไม่ เกิดจากฝ่ายชายหรือหญิงเป็นสำคัญ
ในกรณีของการโชว์ส่วนสัด นี่อาจจะเป็นภาพสะท้อนของสังคมเรียลิตี้ ที่สร้างค่านิยมของ free naked body หรือ free sexual activity ที่ไม่ต่างจาก free violence ที่นำไปสู่ปัญหาการบันทึกภาพความรุนแรงในโทรศัพท์มือถือและส่งต่อกันระหว่างกลุ่มวัยรุ่น เร็วๆ นี้พฤติกรรมนี้ลุกลามไปจนถึงขั้น มีกลุ่มวัยรุ่นข่มขืนเด็กมัธยมและถ่ายภาพทางมือถือเพื่อแบล็กเมล หรือแก็งค์วัยรุ่นที่ทำร้ายร่างกายผู้อื่นเช่น คนที่นั่งหลับบนรถโดยสารสาธารณะและแอบถ่ายโดยมือถือ (เป็นข่าวในฝรั่งเศสทั้งสองกรณี)
ความพอใจของผู้โชว์ที่ได้รับเสียงเชียร์ อาจจะบอกว่าเด็กเหล่านี้ กำลังเรียนรู้ค่านิยมผิดๆ จากสังคมที่ปลูกฝังการโชว์และการเชียร์อย่างขาดสติ
บางคนอาจจะบอกว่า ร่างกายของแต่ละคนก็เป็นสมบัติส่วนบุคคลของคนนั้น ฉะนั้น ตราบใดที่ใครจะทำอะไรกับร่างกายตัวเอง โดยที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็อาจจะมีส่วนถูก
แน่นอน ถ้าใครอยากจะโชว์ส่วนสัดหรือกิจกรรมส่วนตัวอะไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้ไปเดือดร้อนด้วย แต่ในสังคมที่วัยรุ่นวัยเรียนจำนวนมากเสียเวลาไปกับการโชว์และเชียร์ ก็น่าเป็นห่วงอนาคตของชาติอยู่ไม่น้อย
หากจะให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์แคมฟร็อกนี้จริงๆ เราคงต้องทำความเข้าใจว่าสื่อและครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาอย่างสำคัญ อีกทั้งวิธีแก้ปัญหาอย่างเช่นปิดเว็บไซด์และเซ็นเซอร์แบบไร้ความคิดแบบที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทำเป็นประจำคงจะไม่เพียงพอ
ตามข่าว โปรแกรมนี้ได้รับความสนใจจากคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะมีสถิติว่าคนไทยเข้าไปใช้มากเป็นอันดับสามของโลก รองจาก สหรัฐฯและจีน ทำให้ปรากฏการณ์แคมฟร็อกเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น
ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก เพื่อนรุ่นน้องคนนึงก็ได้เล่าให้ฟังถึงโปรแกรมนี้และได้แนะนำให้เข้าไปสำรวจโลกของแคมฟร็อกด้วยตนเอง หลังจากได้เข้าไปสัมผัสในฐานะผู้สังเกตการณ์ ต้องบอกว่าโลกของแคมฯนั้น ลึกลับและซับซ้อนอย่างที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมือง (ที่มองว่าโปรแกรมนี้เป็นภัยและต้องการแก้ไข) ต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนทีเดียว
สำหรับผมแล้ว แคมฟร็อกคืออีกหนึ่งผลผลิตของสังคม reality show หรือสังคมที่นิยมนำกิจกรรมส่วนตัวออกเผยแพร่ให้คนอื่นดู ในสังคมเรียลิตี้นี้ ความนิยมของผู้ชมคืออำนาจชี้ขาดตัดสินอนาคตของผู้แสดง การมีอยู่หรือดำรงอยู่ของผู้แสดงจึงไม่มีความหมายเมื่อขาดผู้ชม
อาจกล่าวว่าในโลกของแคมฟร็อก มีประชากรหลักอยู่ ๓ กลุ่ม คือ ผู้แสดง ผู้ชม (voyeurists) และผู้สังเกตการณ์
ในความเป็นจริง ทุกคนมีบทบาทของผู้ชมหรือ voyeurist เพราะต่างมีความอยากรู้อยากเห็นอยู่ในตัว แล้วแต่ดีกรีของความเป็นผู้ชอบชมมากน้อยต่างกันไป ส่วนหนึ่งจึงเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะขาประจำ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่ง ขอเลือกที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เช่น ทัศนคติและความสนใจในเรื่องเพศ เป็นต้น
ประชากรที่น่าสนใจที่สุด จึงเป็นผู้แสดงหรือผู้ที่เลือกที่จะเป็นทั้งผู้ชมและผู้แสดงในโลกของแคมฟร็อก
ในโลกของแคมฟร็อกนั้น เราสามารถสังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่าการจัดฉากในการแสดง โดยการจัดฉากนี้ เราสังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้ที่ทำหน้าที่จัดระบบและกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เป็นสมาชิก (บุคคลกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ดีเจ ซึ่งชื่อนี้มาจากหน้าที่ในการเลือกเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศ) และพฤติกรรมของตัวผู้แสดงเอง
ดีเจจะเป็นบุคคลสำคัญในการกำหนดผู้แสดงรายต่อไป จึงอาจกล่าวได้ว่า ดีเจเป็นเสมือนผู้กำกับในโชว์ที่กำลังพูดถึง โดยดีเจอาจจะวัดจากแรงเชียร์ของผู้ชมประกอบกับการตัดสินใจส่วนตัวของดีเจเองว่าดาราคนไหนมีแววจะเกิด จากภาพที่ต่อตรงมาจากกล้องของสมาชิกที่ใครก็ตามสามารถเลือกขึ้นมาดูได้ (ไม่ว่าจะมีกล้องหรือไม่ก็ตาม) การเปลี่ยนบทบาทจากผู้ชมมาเป็นผู้แสดงนี้ บางส่วนจึงเกิดจากอิทธิพลของดีเจโดยตรง
ดีเจยังมีบทบาทในการควบคุมไม่ให้ผู้ชมมีพฤติกรรมออกนอกกรอบเกินไปนัก โดยการตักเตือนหรือใช้อำนาจผูกขาดทางเทคนิคที่มี
ในด้านของผู้แสดงนั้น เราเห็นการจัดฉากอย่างชัดเจนเมื่อการแสดงเป็นการแสดงบทรักคู่ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในลักษณะของการแข่งขัน หรืออาจจะมองอีกมุมหนึ่งว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ คำถามที่น่าสนใจในกรณีนี้ ก็คือ การตัดสินใจลงสนามแข่งนั้น เกิดขึ้นจากการตัดสินใจสมยอมหรือไม่ เกิดจากฝ่ายชายหรือหญิงเป็นสำคัญ
ในกรณีของการโชว์ส่วนสัด นี่อาจจะเป็นภาพสะท้อนของสังคมเรียลิตี้ ที่สร้างค่านิยมของ free naked body หรือ free sexual activity ที่ไม่ต่างจาก free violence ที่นำไปสู่ปัญหาการบันทึกภาพความรุนแรงในโทรศัพท์มือถือและส่งต่อกันระหว่างกลุ่มวัยรุ่น เร็วๆ นี้พฤติกรรมนี้ลุกลามไปจนถึงขั้น มีกลุ่มวัยรุ่นข่มขืนเด็กมัธยมและถ่ายภาพทางมือถือเพื่อแบล็กเมล หรือแก็งค์วัยรุ่นที่ทำร้ายร่างกายผู้อื่นเช่น คนที่นั่งหลับบนรถโดยสารสาธารณะและแอบถ่ายโดยมือถือ (เป็นข่าวในฝรั่งเศสทั้งสองกรณี)
ความพอใจของผู้โชว์ที่ได้รับเสียงเชียร์ อาจจะบอกว่าเด็กเหล่านี้ กำลังเรียนรู้ค่านิยมผิดๆ จากสังคมที่ปลูกฝังการโชว์และการเชียร์อย่างขาดสติ
บางคนอาจจะบอกว่า ร่างกายของแต่ละคนก็เป็นสมบัติส่วนบุคคลของคนนั้น ฉะนั้น ตราบใดที่ใครจะทำอะไรกับร่างกายตัวเอง โดยที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็อาจจะมีส่วนถูก
แน่นอน ถ้าใครอยากจะโชว์ส่วนสัดหรือกิจกรรมส่วนตัวอะไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้ไปเดือดร้อนด้วย แต่ในสังคมที่วัยรุ่นวัยเรียนจำนวนมากเสียเวลาไปกับการโชว์และเชียร์ ก็น่าเป็นห่วงอนาคตของชาติอยู่ไม่น้อย
หากจะให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์แคมฟร็อกนี้จริงๆ เราคงต้องทำความเข้าใจว่าสื่อและครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาอย่างสำคัญ อีกทั้งวิธีแก้ปัญหาอย่างเช่นปิดเว็บไซด์และเซ็นเซอร์แบบไร้ความคิดแบบที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทำเป็นประจำคงจะไม่เพียงพอ
ความคิดเห็น
ผลกระทบของการสื่อสารที่ล้นไปด้วยข้อมูล ข่าวสาร และการนำเสนอทีผู้เขียนเองมักจะกล่าวถึงอยู่เนืองๆคงไม่ใช่ปัญหาที่จะแก้ไขได้ง่ายเลย เพราะประโยชน์มหาศาลของตัวมันเองจะถูกใช้โดยกลุ่มที่เห็นช่องทาง ขาดสามัญสำนึกในการนำเสนอนั้นก็มีมากจนยากที่จะควบคุม
แน่นอนว่าสังคมไทยเรามีกรอบ มีค่านิยมในทางสังคมที่มองดูแล้วอาจจะแคบเมื่อเทียบกับทางตะวันตก
แต่ ความจริงแล้ว ทุกสังคมก็มีการตีกรอบกฎและค่านิยมด้วยกันทะงสิ้น อย่างเช่น ประเทศอเมริกา ที่คนส่วนใหญ่ของประเทศก็มีค่านิยมเรื่องการรักษาพรหมจารีของเด็กผู้หญิงก่อนแต่งงานไม่ต่างจากบ้านเรา หรือแม้กระทั่งประเทศฝรั่งเศสเอง ก็มีกรอบจารีตของเขาเหมือนกัน แต่ประเทศเหล่านี้อาจจะเปิดกว้างมากกว่าในด้านเสรีภาพการแสดงออกของปัจเจกบุคล
ปัญหาการมี sex โชว์ หรือช่วยตัวเองโชว์ก็ไม่ใช่เรื่องปกติในประเทศทางตะวันตกเช่นกัน และก็เชื่อว่าไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งจะเกิดมาเมื่อไม่นานมานี้
แต่เป็นปัญหาโบราณพอๆกับปัญหาโสเภณี เพียงแต่เทคโนโลยีและความรวดเร็วของข่าวสารการติดต่อ ทำให้มันแปรสภาพออกมาอย่างที่เห็น
การที่เด็กวัยรุ่นไทยส่วนหนึ่งเข้าไปใช้โปรแกรมดังกล่าว จึงไม่ใช่ผลหลักจากปัญหาของความรู้สึกกดดัน ไม่สามารถแสดงออกได้ ต้องออกไปหาที่ระบายทางเน็ต(เพราะใน generation ของเราปัจจุบันนี้ การที่ผู้หญิงจะแสดงออกว่าชอบผู้ชายในที่สาธารณะไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมอย่าง generation ของพ่อหรือแม่ของเราแล้ว ถ้าเรามองกันจริงๆด้วยสายตาวัยรุ่นไม่ใช่จากสายตาของพ่อแม่)แต่เป็นปัญหาที่มาจาก การไม่บรรลุวุฒิภาวะในการที่จะตัดสินใจ juger มาตราฐานทางสังคม การไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่เรียกว่าดี หรือไม่ดี manque de jugement de valeurs การไม่สามารถขีดเส้นแบ่งระหว่างเรื่องที่เป็นส่วนตัวกับเรื่องที่เป็นสาธารณะ โดยเฉพาะในเรื่องของการมีเซ็กซ์ ปัจจัยทางการอบรมของครอบครัวจึงเป็นประเด็นสำคัญ
การที่พ่อแม่ไม่เคยพูด สอนหรืออธิบายเรื่องเซ็กซ์ให้กับลูกเลย หรือแม้กระทั่ง sex education ของกระทรวงที่สอนทุกอย่างแต่ไม่เคยสอนเรื่อง sex education จริงๆ ทำให้เด็กต้องแสวงหาคำอธิบายด้วยตัวเอง มีบ้างที่เดินทางอ้อม บ้างเดินผิดทาง บ้างโชคดีคลำถูกทาง จนบ้างครั้ง finir par se perdre dans les faux jugements de valeurs ทำให้ไม่มีสายยึดเหนี่ยวว่าตรงไหนควร ถึงตรงไหนไม่ควร
ผู้ใหญ่เมืองไทยที่หัวล้าหลังไม่ยอมรับความจริงของการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเยาวชน ต้องหันมายอมรับความจริงเสียก่อนว่ากรอบของสังคมมีได้ แต่ต้องปรับยืดขยายตามความเปลี่ยนแปลงของคนที่อยู่ในกรอบนั้น ต้องเลิกหน้าไหว้หลังหลอก เลิกเถอะ สังคมแบบ hypocrite ที่ปากกว่าตาขยิบ ที่บอกว่าโสเภณีผิดกฏหมายแต่อาบอบนวดมีทุกมุมถนน
ความจริงความผิดของสังคมคงไม่ใช่เรื่องการกดดัน แต่เป็นลักษณะทางสังคมที่มี hypocrisie เรื่องของการไม่ยอมรับความจริง ซึ่งส่งผลต่อการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ในครอบครัวให้เด็กรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
วัยรุ่นย่อมมองว่าสังคมรับได้ (บ้าง) การ Judge ว่าควรหรือไม่ก็ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ (ที่เขาว่าบรรลุนิติภาวะ) ทำแล้วดูเท่ ดูดัง (มีเสียงเชียร์) ก็ย่อมอยากลองเพื่อให้เข้ากับสังคม (ผิดๆ) ของตัวได้ การสร้างค่านิยมเหล่านี้ไม่ได้เกิดชั่วข้ามคืนแน่ๆ มันสั่งสมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งที่เด็กรุ่นใหม่จะมองว่ามันธรรมดา คนดังทำแล้วก็ยังดังอยู่อย่าง Paris Hilton ที่มี VDO เต็มรูปแบบออกอากาศทางเนต ก็ยังคงเชิดหน้าในสังคม ไม่มี Guilt คงต้องดูกันต่อไปว่าทิศทางของค่านิยมเหล่านี้จะเสื่อมลงไปในรูปแบบใดเท่านั้นเอง
สิ่งที่น่าคิดก็คือโครงสร้างของค่านิยมเป็นเช่นไรเพราะเหตุใดคนไทยถึงนิยมการใช้โปรแกรมเหล่านี้มากกว่าชาติอื่นๆ
ผมเคยลองสุ่มถามเพื่อนชาติต่างๆสองสามคนนะครับว่าเวลาหลับตาแล้วนึกถึงประเทศไทยเขาจะคิดถึงอะไรบ้าง
คำตอบคือ
๑ เกย์
๒ โสเภณี
๓ ยาเสพติด
๔ พุทธศาสนา
ดังนั้นผมจึงย้อนคิดเล่นๆนะครับว่าไอ้สามอย่างแรกนี้คือปัญหาสังคมรึไม่
ส่วนตัวผมแล้วมองว่าเป็นแค่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมเมื่อปัจจัยพื้นฐานต่างๆเปลี่ยนแปลงเท่านั้น อาทิเช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางการศึกษา ปัจจัยทางนโยบายแห่งรัฐ เพียงแต่จะมากหรือน้อยอีกเรื่องหนึ่ง
ยังไงช่วยกันคิดด้วยครับสนุกดี