ภาค ๔ ตอน “ยุทธหัตถีสุวรรณภูมิ”
ปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิกลายเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของปัญหาคอรัปชั่นที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การบริหารของรัฐบาลทักษิณ
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการชำรุดของโครงสร้างส่วนต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ การออกแบบที่ใช้งานไม่ได้จริงแต่ราคาสูงลิบลิ่ว ไปจนถึงการเปิดเผยออกมาทีละเล็กละน้อยของปัญหาการบริหารจัดการองค์กรภายในหลายๆ ส่วนที่ไร้ประสิทธิภาพและทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณมหาศาล
ถึงจะมีข่าวออกมาว่าการชำรุดของโครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ความเสียหายของทางบินและลู่วิ่งจะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้างโดยตรง แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าทำไมความเสียหายจึงเกิดขึ้นมากมายภายหลังจากการเปิดใช้สนามบินเพียงระยะเวลาไม่ถึงครึ่งปีเท่านั้น
ยิ่งเรารับรู้รายละเอียดในเชิงลึกของปัญหาสุวรรณภูมิมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้สะท้อนใจกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะส่วนที่เกิดจากการตัดสินใจทางการเมือง
ยังไม่ต้องพูดถึงวิธีการจัดการกับปัญหาที่เลวร้ายพอๆ กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าตอนนี้ค่าธรรมเนียมสนามบินเพิ่มขึ้นอีก สองร้อยบาท (เป็นเจ็ดร้อยบาท) สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ และเพิ่มขึ้นอีกห้าสิบบาท (เป็นหนึ่งร้อยบาท) สำหรับการเดินทางภายในประเทศ เพื่อจัดหารายได้เพิ่มเติมไปจัดการกับปัญหาของสนามบินที่เกิดขึ้น
นับว่าเป็นการผลักภาระที่เลวทรามและอยุติธรรมที่สุดอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น และนี่คงจะเป็นค่าโง่อีกอันหนึ่งที่คนไทยต้องจ่ายในบรรดาค่าโง่ต่างๆ ที่คนไทยจ่ายจนเคยชินในชีวิตประจำวัน
การพูดว่า “โรคสุวรรณภูมิคืออาการที่ชัดเจนที่สุดซึ่งสะท้อนความอ่อนแอของการเมืองไทย” ก็คงจะไม่ผิด
ความอ่อนแอที่ว่าคือ ความอ่อนแอของการเมืองภาคประชาชน ความอ่อนแอของกระบวนการตรวจสอบการบริหารและใช้อำนาจของรัฐบาล ความอ่อนแอของระบบราชการและภาครัฐ รวมทั้งความอ่อนแอของสังคมซึ่งยังห่างไกลนักกับสังคมแห่งความรู้ที่เราทุกคนต่างฝันถึง
จะว่าไป ต้องโทษคนกรุงเทพฯ มากที่สุด ที่เมินเฉยต่อการเมืองและปล่อยให้มีการปู้ยี่ปู้ยำเงินงบประมาณกันขนาดนี้ เพราะคนกรุงเทพคือคนที่ใกล้ชิดกับข้อมูลข่าวสาร รัฐบาลส่วนกลาง และเป็นคนกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการรวมศูนย์อำนาจและความเจริญมากที่สุด
ความอ่อนแอที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ถ้าจะต้องถ่วงน้ำหนักให้กับคนกรุงเทพหรือคนชั้นกลางที่มีการศึกษาในเมืองมากเป็นพิเศษ ผมคิดว่าก็น่าจะเป็นการยุติธรรมดี
หากจะมองย้อนกลับไปในสมัยรัฐบาลชุดก่อน โดยเฉพาะในเหตุการณ์วันเปิดสนามบิน “หนองงูเห่า” แห่งนี้ นับว่าเป็นเรื่องน่าสลดอย่างยิ่ง ที่พวกเรา (โดยเฉพาะคนที่เรียกตัวเองว่ามีการศึกษา) ต่างพึงพอใจกับยาหอมกล่อมประสาทที่อดีตนายกคนนี้ได้โปรยให้
ส่วนนโยบายรากเน่าประชานิยมนั้น ก็เป็นแค่นโยบายแจกเงินที่ทำให้คนยากจนหรือคนชั้นล่าง ยอมรับความแตกต่างและอยุติธรรมได้อย่างยืดอกมากขึ้น ประมาณว่า “เอานี่ แล้วหลบๆ ไปให้พ้นสายตา พวกข้าจะกินกัน !!”
และที่น่าสลดกว่า คือ การได้เห็นนักวิชาการบางคนออกมาสรรเสริญนโยบายประชานิยมช่วยรากเน่าอย่างที่ว่า
ยังไงก็ตาม ผมเชื่อว่าคนเหล่านี้มีโอกาสไม่น้อยที่จะแก้ตัวในการลงประชามติเพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น
เพราะการลงประชามติครั้งนี้จะเป็นการถามความเห็นของคนไทยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมากสำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบท และจะยากขึ้นไปอีก ถ้าหากสภาร่างรัฐธรรมนูญและ กกต. ซึ่งจัดการและดูแลการลงประชามติครั้งนี้ ยังไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญอย่างดี อย่างที่เป็นอยู่
จึงอาจถึงเวลาที่นักวิชาการและคนชั้นกลางจะทำการไถ่บาป
เราอาจยึดถือปรากฏการณ์สุวรรณภูมิเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ที่ทำให้คนกรุงเทพหรือคนไทยตาสว่างและตระหนักกับความรุนแรงและเลวร้ายของปัญหาการเมืองไทย
และนี่เอง อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองไทย ที่จะต้องจารึกในประวัติศาสตร์ว่า “เราคนไทยได้ร่วมกันกระทำยุทธหัตถีต่อสู้กับศัตรูที่เลวร้าย นั่นก็คือ ความเขลาและการเมินเฉยทางการเมือง”
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการชำรุดของโครงสร้างส่วนต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ การออกแบบที่ใช้งานไม่ได้จริงแต่ราคาสูงลิบลิ่ว ไปจนถึงการเปิดเผยออกมาทีละเล็กละน้อยของปัญหาการบริหารจัดการองค์กรภายในหลายๆ ส่วนที่ไร้ประสิทธิภาพและทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณมหาศาล
ถึงจะมีข่าวออกมาว่าการชำรุดของโครงสร้างและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ความเสียหายของทางบินและลู่วิ่งจะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้างโดยตรง แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าทำไมความเสียหายจึงเกิดขึ้นมากมายภายหลังจากการเปิดใช้สนามบินเพียงระยะเวลาไม่ถึงครึ่งปีเท่านั้น
ยิ่งเรารับรู้รายละเอียดในเชิงลึกของปัญหาสุวรรณภูมิมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้สะท้อนใจกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะส่วนที่เกิดจากการตัดสินใจทางการเมือง
ยังไม่ต้องพูดถึงวิธีการจัดการกับปัญหาที่เลวร้ายพอๆ กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าตอนนี้ค่าธรรมเนียมสนามบินเพิ่มขึ้นอีก สองร้อยบาท (เป็นเจ็ดร้อยบาท) สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ และเพิ่มขึ้นอีกห้าสิบบาท (เป็นหนึ่งร้อยบาท) สำหรับการเดินทางภายในประเทศ เพื่อจัดหารายได้เพิ่มเติมไปจัดการกับปัญหาของสนามบินที่เกิดขึ้น
นับว่าเป็นการผลักภาระที่เลวทรามและอยุติธรรมที่สุดอีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น และนี่คงจะเป็นค่าโง่อีกอันหนึ่งที่คนไทยต้องจ่ายในบรรดาค่าโง่ต่างๆ ที่คนไทยจ่ายจนเคยชินในชีวิตประจำวัน
การพูดว่า “โรคสุวรรณภูมิคืออาการที่ชัดเจนที่สุดซึ่งสะท้อนความอ่อนแอของการเมืองไทย” ก็คงจะไม่ผิด
ความอ่อนแอที่ว่าคือ ความอ่อนแอของการเมืองภาคประชาชน ความอ่อนแอของกระบวนการตรวจสอบการบริหารและใช้อำนาจของรัฐบาล ความอ่อนแอของระบบราชการและภาครัฐ รวมทั้งความอ่อนแอของสังคมซึ่งยังห่างไกลนักกับสังคมแห่งความรู้ที่เราทุกคนต่างฝันถึง
จะว่าไป ต้องโทษคนกรุงเทพฯ มากที่สุด ที่เมินเฉยต่อการเมืองและปล่อยให้มีการปู้ยี่ปู้ยำเงินงบประมาณกันขนาดนี้ เพราะคนกรุงเทพคือคนที่ใกล้ชิดกับข้อมูลข่าวสาร รัฐบาลส่วนกลาง และเป็นคนกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการรวมศูนย์อำนาจและความเจริญมากที่สุด
ความอ่อนแอที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ถ้าจะต้องถ่วงน้ำหนักให้กับคนกรุงเทพหรือคนชั้นกลางที่มีการศึกษาในเมืองมากเป็นพิเศษ ผมคิดว่าก็น่าจะเป็นการยุติธรรมดี
หากจะมองย้อนกลับไปในสมัยรัฐบาลชุดก่อน โดยเฉพาะในเหตุการณ์วันเปิดสนามบิน “หนองงูเห่า” แห่งนี้ นับว่าเป็นเรื่องน่าสลดอย่างยิ่ง ที่พวกเรา (โดยเฉพาะคนที่เรียกตัวเองว่ามีการศึกษา) ต่างพึงพอใจกับยาหอมกล่อมประสาทที่อดีตนายกคนนี้ได้โปรยให้
ส่วนนโยบายรากเน่าประชานิยมนั้น ก็เป็นแค่นโยบายแจกเงินที่ทำให้คนยากจนหรือคนชั้นล่าง ยอมรับความแตกต่างและอยุติธรรมได้อย่างยืดอกมากขึ้น ประมาณว่า “เอานี่ แล้วหลบๆ ไปให้พ้นสายตา พวกข้าจะกินกัน !!”
และที่น่าสลดกว่า คือ การได้เห็นนักวิชาการบางคนออกมาสรรเสริญนโยบายประชานิยมช่วยรากเน่าอย่างที่ว่า
ยังไงก็ตาม ผมเชื่อว่าคนเหล่านี้มีโอกาสไม่น้อยที่จะแก้ตัวในการลงประชามติเพื่อรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น
เพราะการลงประชามติครั้งนี้จะเป็นการถามความเห็นของคนไทยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งประเด็นของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมากสำหรับคนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบท และจะยากขึ้นไปอีก ถ้าหากสภาร่างรัฐธรรมนูญและ กกต. ซึ่งจัดการและดูแลการลงประชามติครั้งนี้ ยังไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญอย่างดี อย่างที่เป็นอยู่
จึงอาจถึงเวลาที่นักวิชาการและคนชั้นกลางจะทำการไถ่บาป
เราอาจยึดถือปรากฏการณ์สุวรรณภูมิเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ที่ทำให้คนกรุงเทพหรือคนไทยตาสว่างและตระหนักกับความรุนแรงและเลวร้ายของปัญหาการเมืองไทย
และนี่เอง อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองไทย ที่จะต้องจารึกในประวัติศาสตร์ว่า “เราคนไทยได้ร่วมกันกระทำยุทธหัตถีต่อสู้กับศัตรูที่เลวร้าย นั่นก็คือ ความเขลาและการเมินเฉยทางการเมือง”
ความคิดเห็น