จดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนชาวไทย จากนักเรียนไทยในต่างประเทศ
เรื่องคัดค้านการลงประชามติ 2550
ด้วยการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจากการรัฐประหาร ยืนยันหลักการรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน
ตามที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการลงประชามติรับหรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 19 สิงหาคม เครือข่ายนักเรียนไทยในต่างประเทศขอสนับสนุนการลงประชามติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอยู่ใต้วุฒิสภา อำนาจจากการเลือกตั้งอยู่ใต้อำนาจที่มาจากการแต่งตั้ง สถาบันตุลาการแทรกแซงสถาบันนิติบัญญัติ ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างระบบราชการ-องค์กรอิสระ-ข้าราชการการเมืองถูกทำลาย พรรคการเมืองอยู่ในสภาพเบี้ยหัวแตก จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ทำลายความเข้มแข็งของประชาธิปไตยรัฐสภาและดุลยภาพของระบบการเมืองทั้งหมด ไม่ใช่รัฐธรรมนูญเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนสำหรับสังคมไทย
2. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่ได้กำเนิดจากความต้องการของประชาชนชาวไทย แต่เกิดจากการรัฐประหาร และยกร่างโดยสภาที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งตามอำเภอใจ ซ้ำกระบวนการร่างก็เป็นไปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเคร่งครัด จึงเป็นรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร โดยคณะรัฐประหาร และเพื่อเป้าหมายทางการเมืองของคณะรัฐประหาร ไม่ใช่รัฐธรรมนูญของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
3. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 รับรองให้การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ถูกกฎหมาย ถึงแม้จะเกิดขึ้นหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีผลบังคับใช้ไปแล้ว ทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อยู่ในฐานะกฎหมายสูงสุดแท้และแฝงด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้รัฐประหาร 19 กันยายน ถูกกฎหมาย ทั้งที่การล้มล้างรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ผิดทั้งกฎหมายอาญาและผิดรัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับใช้ในขณะนั้น จึงเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ทำลายหลักการปกครองโดยกฎหมาย (rule of law) แต่สถาปนาการปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจหยิบมือเดียว (rule by arbitrary law)
4. กระบวนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เกิดขึ้นท่ามกลางการประกาศใช้กฎอัยการศึกในหลายจังหวัด ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศถูกจำกัดสิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองได้โดยอิสระ ขณะที่กลับมีการใช้รัฐบาล-ทหาร-ข้าราชการ-กลไกรัฐ เพื่อจูงใจให้ประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่มีทางส่งผลให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่วางอยู่บนเจตจำนงร่วมกันของประชาชนชาวไทยทั้งหมด แต่ทำให้ประชาชนเป็นเพียง “ตรายาง” เพื่อรองรับรัฐธรรมนูญที่กำเนิดโดยคณะรัฐประหาร และยกร่างโดยคนหยิบมือเดียว
5. กระบวนการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานทางการเมืองของคนไทยในต่างประเทศ เพราะไม่รับรองให้พวกเขามีสิทธิลงประชามติเยี่ยงพลเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีแต่หน้าที่ยอมรับสภาพบังคับของร่างรัฐธรรมนูญนี้
ผู้ประสานงานเครือข่ายนักเรียนไทยในต่างประเทศ
1. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, Ph.D. Candidate, University of Hawaii at Manoa, ประเทศสหรัฐอเมริกา
2. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร, Ph.D. Candidate, University of Paris II - Panthéon-Assas, ประเทศฝรั่งเศส
3. วันรัก สุวรรณวัฒนา, Ph.D. Candidate, University of Paris IV- Sorbonne, ประเทศฝรั่งเศส
4. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, Ph.D. Candidate, University of Paris X - Nanterre, ประเทศฝรั่งเศส
5. ภูมินทร์ บุตรอินทร์, Ph.D. Candidate, University of Paris II - Panthéon-Assas, ประเทศฝรั่งเศส
6. สาวตรี สุขศรี, Ph.D. Candidate, University of Constance, ประเทศเยอรมนี
7. กิตติพงษ์ ปิยะวรรณโณ, Student, University of Munich, ประเทศเยอรมนี
8. ปริยกร ปุสวิโร , Ph.D. Candidate, Department of Computer Science, University of Bremen, ประเทศเยอรมนี
สนใจลงชื่อร่วมคัดค้านการลงประชามติ 2550 ด้วยการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจากการรัฐประหารยืนยันหลักการรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน คลิกไปที่ http://www.biolawcom.de/petition
ด้วยการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจากการรัฐประหาร ยืนยันหลักการรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน
ตามที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการลงประชามติรับหรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 19 สิงหาคม เครือข่ายนักเรียนไทยในต่างประเทศขอสนับสนุนการลงประชามติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ทำให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอ นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอยู่ใต้วุฒิสภา อำนาจจากการเลือกตั้งอยู่ใต้อำนาจที่มาจากการแต่งตั้ง สถาบันตุลาการแทรกแซงสถาบันนิติบัญญัติ ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างระบบราชการ-องค์กรอิสระ-ข้าราชการการเมืองถูกทำลาย พรรคการเมืองอยู่ในสภาพเบี้ยหัวแตก จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ทำลายความเข้มแข็งของประชาธิปไตยรัฐสภาและดุลยภาพของระบบการเมืองทั้งหมด ไม่ใช่รัฐธรรมนูญเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนสำหรับสังคมไทย
2. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่ได้กำเนิดจากความต้องการของประชาชนชาวไทย แต่เกิดจากการรัฐประหาร และยกร่างโดยสภาที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งตามอำเภอใจ ซ้ำกระบวนการร่างก็เป็นไปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเคร่งครัด จึงเป็นรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหาร โดยคณะรัฐประหาร และเพื่อเป้าหมายทางการเมืองของคณะรัฐประหาร ไม่ใช่รัฐธรรมนูญของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
3. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 รับรองให้การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ถูกกฎหมาย ถึงแม้จะเกิดขึ้นหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีผลบังคับใช้ไปแล้ว ทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อยู่ในฐานะกฎหมายสูงสุดแท้และแฝงด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้รัฐประหาร 19 กันยายน ถูกกฎหมาย ทั้งที่การล้มล้างรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ผิดทั้งกฎหมายอาญาและผิดรัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับใช้ในขณะนั้น จึงเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ทำลายหลักการปกครองโดยกฎหมาย (rule of law) แต่สถาปนาการปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจหยิบมือเดียว (rule by arbitrary law)
4. กระบวนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เกิดขึ้นท่ามกลางการประกาศใช้กฎอัยการศึกในหลายจังหวัด ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศถูกจำกัดสิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองได้โดยอิสระ ขณะที่กลับมีการใช้รัฐบาล-ทหาร-ข้าราชการ-กลไกรัฐ เพื่อจูงใจให้ประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง จึงเป็นการลงประชามติที่ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่มีทางส่งผลให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่วางอยู่บนเจตจำนงร่วมกันของประชาชนชาวไทยทั้งหมด แต่ทำให้ประชาชนเป็นเพียง “ตรายาง” เพื่อรองรับรัฐธรรมนูญที่กำเนิดโดยคณะรัฐประหาร และยกร่างโดยคนหยิบมือเดียว
5. กระบวนการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานทางการเมืองของคนไทยในต่างประเทศ เพราะไม่รับรองให้พวกเขามีสิทธิลงประชามติเยี่ยงพลเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย มีแต่หน้าที่ยอมรับสภาพบังคับของร่างรัฐธรรมนูญนี้
ผู้ประสานงานเครือข่ายนักเรียนไทยในต่างประเทศ
1. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, Ph.D. Candidate, University of Hawaii at Manoa, ประเทศสหรัฐอเมริกา
2. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร, Ph.D. Candidate, University of Paris II - Panthéon-Assas, ประเทศฝรั่งเศส
3. วันรัก สุวรรณวัฒนา, Ph.D. Candidate, University of Paris IV- Sorbonne, ประเทศฝรั่งเศส
4. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์, Ph.D. Candidate, University of Paris X - Nanterre, ประเทศฝรั่งเศส
5. ภูมินทร์ บุตรอินทร์, Ph.D. Candidate, University of Paris II - Panthéon-Assas, ประเทศฝรั่งเศส
6. สาวตรี สุขศรี, Ph.D. Candidate, University of Constance, ประเทศเยอรมนี
7. กิตติพงษ์ ปิยะวรรณโณ, Student, University of Munich, ประเทศเยอรมนี
8. ปริยกร ปุสวิโร , Ph.D. Candidate, Department of Computer Science, University of Bremen, ประเทศเยอรมนี
สนใจลงชื่อร่วมคัดค้านการลงประชามติ 2550 ด้วยการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจากการรัฐประหารยืนยันหลักการรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน คลิกไปที่ http://www.biolawcom.de/petition
ความคิดเห็น