ในความมืดย่อมสามารถหาแสงสว่างได้
ข่าวการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของนักเคลื่อนไหวหญิงคนหนึ่ง ในวันที่ 6 ธันวาคม 2550 คงจะเป็นเพียงข่าวเล็กๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจอะไรนักจากสื่อและประชาชนในวงกว้าง และคงจะเป็นเหมือนบรรดาข่าวส่วนใหญ่ที่เราฟังผ่านไปโดยไม่ได้เก็บมาใส่ใจ และลืมเลือนไปในชั่วข้ามคืน
แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในเครือข่ายเคลื่อนไหวภาคประชาชน และชาวบ้านที่ได้มีโอกาสรู้จักคลุกคลีกับเธอนั้น ข่าวเดียวกันนี้ นำความสะเทือนขวัญและอาลัยอย่างสุดซึ้งมาให้
ผมเองไม่ได้รู้จักคุณ “วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์” เป็นการส่วนตัว แถมยังไม่ได้อยู่ในแวดวงของนักเคลื่อนไหวหรือนักต่อสู้ภาคประชาชน แต่ในฐานะ มนุษย์คนนึง การได้รับทราบข่าวการจากไป พร้อมกับได้รับรู้เส้นทางการต่อสู้ของเธอ โดยเฉพาะเมื่อได้อ่านบันทึกจากปาฐกถาที่เธอได้กล่าวไว้ในงานของมูลนิธิโกมล คีมทองเมื่อปี 2540 นั้น ต้องขอสารภาพว่า น้ำตามันซึมออกมาโดยไม่รู้ตัว
ผมรู้สึกราวกับได้สูญเสียบุคคลที่เคารพรักที่สุดคนนึงไป !
การได้รับรู้ “การดำรงอยู่” และ "ตัวตน" ของคุณวนิดานั้น ทำให้ผมเกิดคำถามกับตนเองว่า “ไม่น่ายินดีหรือ ที่ได้รับรู้ว่าในโลกของการแก่งแย่งชิงดี และการเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้ายนั้น ยังมีมนุษย์ปุถุชนธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งมีชีวิตอยู่เพื่อ “ผู้อื่น” อย่างแท้จริง เพราะ “ผู้อื่น” ในที่นี้ ไม่ได้เป็นแม้กระทั่งคนรู้จัก หรือผู้มีถิ่นฐานเดียวกันกับเธอ?”
ไม่น่ายินดีหรือ ที่ยังมีบุคคลซึ่ง “ยอมตนเป็นอิฐก้อนแรก” ในสังคมสมัยนี้? (อย่างที่คุณโกมล คีมทองเองเคยตัดพ้อไว้)
จึงไม่น่าโศรกสลดเป็นคูณทวีหรือ ที่ได้รับรู้การจากไปก่อนวัยอันควรของบุคคลเยี่ยงนี้? (ด้วยโรคซึ่งเป็นเสมือนผลสะท้อนการเจ็บป่วยของสังคมสมัยใหม่)
ผมเองเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวของหลายๆ ท่าน (รวมทั้ง อาจารย์ ส. ศิวรักษ์) ที่กล่าวว่าปาฐกถาของคุณวนิดาคือปาฐกฯ ที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง ผมคิดว่าเนื้อความของปาฐกฯ นี้คือการตีแผ่ความยากจนในสังคมไทย ซึ่งสามารถทำได้ลึกซึ้ง จริงใจและคมคายที่สุดเท่าที่เคยรับรู้หรือรับฟังจากที่ใด
หากความละอายที่ได้เกิดขึ้นในสามัญสำนึกของผม จากการได้รับรู้ถึงความอยุติธรรมที่เกิดจากโครงสร้างสังคมและการพัฒนาที่ล้มเหลว จะมีความดีงามอยู่บ้าง ผมขอมอบคุณงามความดีนี้เป็นบุญเพื่อร่วมส่งให้ดวงวิญญาณของคุณวนิดาไปพักในสถานที่ที่สุขสงบ ที่ซึ่งปราศจากการเอารัดเอาเปรียบและความทุกข์ยาก และที่ซึ่งปกครองด้วยความเท่าเทียมและมนุษยธรรม ในภพหน้าชาติหน้าเทอญ....
แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในเครือข่ายเคลื่อนไหวภาคประชาชน และชาวบ้านที่ได้มีโอกาสรู้จักคลุกคลีกับเธอนั้น ข่าวเดียวกันนี้ นำความสะเทือนขวัญและอาลัยอย่างสุดซึ้งมาให้
ผมเองไม่ได้รู้จักคุณ “วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์” เป็นการส่วนตัว แถมยังไม่ได้อยู่ในแวดวงของนักเคลื่อนไหวหรือนักต่อสู้ภาคประชาชน แต่ในฐานะ มนุษย์คนนึง การได้รับทราบข่าวการจากไป พร้อมกับได้รับรู้เส้นทางการต่อสู้ของเธอ โดยเฉพาะเมื่อได้อ่านบันทึกจากปาฐกถาที่เธอได้กล่าวไว้ในงานของมูลนิธิโกมล คีมทองเมื่อปี 2540 นั้น ต้องขอสารภาพว่า น้ำตามันซึมออกมาโดยไม่รู้ตัว
ผมรู้สึกราวกับได้สูญเสียบุคคลที่เคารพรักที่สุดคนนึงไป !
การได้รับรู้ “การดำรงอยู่” และ "ตัวตน" ของคุณวนิดานั้น ทำให้ผมเกิดคำถามกับตนเองว่า “ไม่น่ายินดีหรือ ที่ได้รับรู้ว่าในโลกของการแก่งแย่งชิงดี และการเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้ายนั้น ยังมีมนุษย์ปุถุชนธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งมีชีวิตอยู่เพื่อ “ผู้อื่น” อย่างแท้จริง เพราะ “ผู้อื่น” ในที่นี้ ไม่ได้เป็นแม้กระทั่งคนรู้จัก หรือผู้มีถิ่นฐานเดียวกันกับเธอ?”
ไม่น่ายินดีหรือ ที่ยังมีบุคคลซึ่ง “ยอมตนเป็นอิฐก้อนแรก” ในสังคมสมัยนี้? (อย่างที่คุณโกมล คีมทองเองเคยตัดพ้อไว้)
จึงไม่น่าโศรกสลดเป็นคูณทวีหรือ ที่ได้รับรู้การจากไปก่อนวัยอันควรของบุคคลเยี่ยงนี้? (ด้วยโรคซึ่งเป็นเสมือนผลสะท้อนการเจ็บป่วยของสังคมสมัยใหม่)
ผมเองเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวของหลายๆ ท่าน (รวมทั้ง อาจารย์ ส. ศิวรักษ์) ที่กล่าวว่าปาฐกถาของคุณวนิดาคือปาฐกฯ ที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง ผมคิดว่าเนื้อความของปาฐกฯ นี้คือการตีแผ่ความยากจนในสังคมไทย ซึ่งสามารถทำได้ลึกซึ้ง จริงใจและคมคายที่สุดเท่าที่เคยรับรู้หรือรับฟังจากที่ใด
หากความละอายที่ได้เกิดขึ้นในสามัญสำนึกของผม จากการได้รับรู้ถึงความอยุติธรรมที่เกิดจากโครงสร้างสังคมและการพัฒนาที่ล้มเหลว จะมีความดีงามอยู่บ้าง ผมขอมอบคุณงามความดีนี้เป็นบุญเพื่อร่วมส่งให้ดวงวิญญาณของคุณวนิดาไปพักในสถานที่ที่สุขสงบ ที่ซึ่งปราศจากการเอารัดเอาเปรียบและความทุกข์ยาก และที่ซึ่งปกครองด้วยความเท่าเทียมและมนุษยธรรม ในภพหน้าชาติหน้าเทอญ....
ความคิดเห็น