ทุนนิยมต้านทุนนิยม
หมายเหตุ: ขออนุญาตเอาบทความของตัวเองที่ลงในกรุงเทพธุรกิจในคอลัมน์ "มุมมองบ้านสามย่านฯ" เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนมาให้อ่าน
==========================================================
วิกฤติภาคการเงินของสหรัฐ ที่ส่งแรงสั่นสะเทือนไปทั่วในขณะนี้ อาจกำลังเตือนพวกเราอีกครั้งถึงความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ความเปราะบางนี้ไม่ใช่สิ่งลี้ลับ และไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ เราต่างตระหนักดีว่าวิกฤติเป็นคุณสมบัติภายในของระบบ หรือจะเรียกว่าเป็นธรรมชาติของทุนนิยมก็อาจจะไม่ผิด อย่างที่โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรีย เคยกล่าวว่า ทุนนิยมดำรงอยู่และเติบโตได้ เพราะมีลักษณะทำลายเพื่อสร้างใหม่ ตามที่เขาใช้คำว่า "creative destruction" เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมักเกิดขึ้นตามหลังการชะงักงัน และหดตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะเป็นวัฏจักร
อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมกับระบบเศรษฐกิจของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้การติดต่อสื่อสารและรับรู้ข่าวสารระหว่างแต่ละมุมโลกในเวลาไม่กี่วินาที ทำให้เรามักจะพูดถึงระบบทุนนิยมกันในแบบเอกพจน์ ราวกับว่าทุนนิยมมีความเป็นหนึ่งเดียว และมีเพียงแบบจำลองเดียว ในความเป็นจริง ระบบทุนนิยมมีพลวัต ความหลากหลายและความเฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่ ทุนนิยมโมเดลต่างๆ ย่อมเปิดตัวเองต่อความเสี่ยงและวิกฤติเศรษฐกิจในลักษณะและระดับความรุนแรงที่ต่างกัน
ในทางทฤษฎี เราสามารถพิจารณาพลวัตของทุนนิยม โดยใช้มุมมองที่แตกต่างกันสองมุม คือ มุมมองเชิงประวัติศาสตร์และมุมมองเชิงสถาบัน โดย มุมมองเชิงประวัติศาสตร์พิจารณาระบบทุนนิยมในฐานะผลผลิตของวิวัฒนาการในระยะยาว การมองระบบทุนนิยมแบบนี้ ทำให้เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศต่างกันเพียงเพราะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาที่ต่างกันเท่านั้น อาทิเช่น ทุนนิยมแบบไทยต่างจากทุนนิยมของไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือกระทั่งสหรัฐ เพราะอยู่ในขั้นของการพัฒนาที่ต่ำกว่าและมีโอกาสพัฒนาไปสู่ระดับและรูปแบบเดียวกันในอนาคต การพิจารณาพลวัตของทุนนิยมในลักษณะนี้ อยู่บนความเชื่อที่ว่ามีรูปแบบของทุนนิยมที่เป็นสากล มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นรูปแบบที่ระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ จะพัฒนาไปสู่ในขั้นตอนสุดท้าย ขณะที่มองว่าความแตกต่างหลากหลาย และความเฉพาะเจาะจงในระดับท้องถิ่นเป็นเพียงลักษณะปลีกย่อยเท่านั้น
ส่วนมุมมองที่สอง คือ มุมมองเชิงสถาบันเปรียบเทียบ เชื่อว่าความแตกต่างในแต่ละสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและความหลากหลายที่ปรากฏให้เห็นเป็นผลจากการประนีประนอมเชิงสถาบัน หรือดุลยภาพทางสังคมและการเมืองในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ เศรษฐกิจในยุโรปภาคพื้นทวีปที่มีระบบสวัสดิการสังคมดี เป็นผลมาจากลักษณะเชิงสถาบันที่อนุญาตให้มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งและตลาดแรงงานที่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายแรงงานมากกว่านายจ้าง เป็นต้น
หรือในทางกลับกัน รูปแบบการระดมทุนจากตลาดหุ้นแทนที่จะเป็นระบบธนาคารของโมเดลอเมริกัน ทำให้เกิดการแข่งขันสูงระหว่างธุรกิจและธุรกิจอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดมาก ดังนั้น ลักษณะของตลาดแรงงานในโมเดลนี้ จึงจำเป็นต้องมีความคล่องตัว เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้รวดเร็ว ความหลากหลายในระบบทุนนิยม จึงเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วน ซึ่งเรียกว่า Institutional Complementarities ผมขอใช้คำว่า "ความสอดคล้องเติมเต็มกันระหว่างสถาบัน"
มุมมองอย่างหลังนี้ เป็นมุมมองที่เกิดขึ้นไม่นาน และได้รับความสนใจจากนักวิชาการจำนวนมากขึ้น หลังจากที่มุมมองเชิงประวัติศาสตร์เคยมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดประเด็นการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะหลังจากความสำเร็จของรูปแบบการผลิต และการจัดการในโรงงานแบบฟอร์ดดิสม์ (Fordism-ที่ตั้งชื่อตามนายเฮนรี ฟอร์ด Henry Ford เจ้าของธุรกิจรถยนต์ฟอร์ด) หรือที่รู้จักกันดีในรูปแบบการผลิตแบบสายพาน สามารถเข้าแทนที่รูปแบบการผลิตแบบเทเลอร์ลิสม์ (Taylorism) ที่เคยมีอิทธิพลในยุโรปตะวันตก จนทำให้นักวิชาการต่างเชื่อว่าโมเดลของทุนนิยมทั่วโลก มีโอกาสจะปรับเปลี่ยนเข้ามาเป็นแบบจำลองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การศึกษาความหลากหลายของทุนนิยมก็มีความหลากหลาย และไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวเช่นกัน เมื่อนักวิจัยต่างให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีส่วนกำหนดโครงสร้าง และการทำงานของระบบเศรษฐกิจต่างกันไป โดยงานวิจัยในระยะแรก มุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ (economic performance) กับนโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่นักวิจัยกลุ่มต่อมาให้ความสำคัญกับประเด็นเศรษฐศาสตร์การเมืองในแต่ละประเทศ อาทิเช่น อิทธิพลของกลุ่มตัวแทนผู้ผลิตในการต่อรองค่าจ้างและกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การจัดองค์กรของตลาดแรงงานและตลาดทุน รวมทั้งรูปแบบของรัฐ เป็นต้น
ในบรรดางานเขียนที่พยายามอธิบายความหลากหลายของระบบทุนนิยม งานที่ไม่ได้เป็นวิชาการมากนัก แต่ได้รับความสนใจในวงกว้าง คือ "Capitalism against capitalism" (1991) โดย อัลแบร์ มิเชล (Albert Michel) ในภาษาฝรั่งเศส และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปีต่อมา
เนื่องจากนโยบายเศรษฐกิจตามแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ที่โรนอล เรแกน (Ronald Regan) และมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) นำมาใช้กับสหรัฐ และอังกฤษในช่วงทศวรรษ 1980s ทำให้ระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีความโดดเด่นอย่างมากในขณะนั้น ผู้เขียนจึงได้แยกทุนนิยมแบบนีโอ-อเมริกันออกจากทุนนิยมแบบไรน์ (Rhine model-ตั้งชื่อตามแม่น้ำในภูมิภาค) ที่ประกอบด้วย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม ยุโรปตอนเหนือและบางส่วนของญี่ปุ่น
ผู้เขียนกล่าวว่าถึงแม้ระบบคอมมิวนิสต์จะล่มสลายไปแล้ว และดูเหมือนระบบทุนนิยมจะได้รับชัยชนะ แต่ทุนนิยมกลับกลายเป็นความสุ่มเสี่ยงและภัยคุกคามสำหรับสังคมปัจจุบัน ในที่สุดแล้ว อนาคตของเราอาจขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการแข่งขันระหว่างทุนนิยมสองแบบ คือ แบบนีโอ-อเมริกันที่มีฐานอยู่บนความสำเร็จส่วนบุคคล และกำไรในภาคการเงินระยะสั้น กับแบบไรน์ที่อยู่บนฐานของทำงานเป็นทีม ความเห็นพ้องต้องกันและใส่ใจกับผลสำเร็จในระยะยาว
หนังสือเล่มนี้ ได้รับการวิจารณ์ว่าเน้นหนักไปที่ด้านลบของระบบเสรีนิยม และเต็มไปด้วยความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก อันเกิดจากวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม อาทิเช่น การย้ายฐานการผลิตไปในประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า การปลดคนงานและเลิกจ้าง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมจากลักษณะพึ่งพากันไปเป็นแบบตัวใครตัวมัน
อย่างไรก็ตาม ผมถือว่าหนังสือเล่มนี้ คือ ความพยายามที่น่าสนใจในการทัดทานต่อการแผ่อิทธิพลของทุนนิยมแบบเสรีนิยม ที่ผู้เขียนสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ และเป็นตัวอย่างที่ดีในการดึงจุดแข็งที่เป็นลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรมขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก
ในประเทศไทยเอง ดูเหมือนว่าความวิตกกังวลในลักษณะเดียวกัน ก็ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เพียงแต่เราอาจไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากคิดวิตกกังวล เพราะความเชื่อเรื่องในความเป็นสากล และเป็นหนึ่งเดียวของระบบทุนนิยมดูเหมือนจะครอบงำความคิดของนักการเมือง นักธุรกิจและคนชั้นกลางของไทยอย่างฝังแน่น
หนังสือเล่มนี้ อาจทำให้เราต้องกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบทุนนิยมในแบบของเราเอง ในเมื่อประเทศไทยไม่สามารถหันหลังให้กับระบบทุนนิยม เพราะเราเดินมาไกลบนเส้นทางนี้ อย่างน้อยที่สุด ผู้ที่เรียกตัวเองว่า "นักเศรษฐศาสตร์" อาจจะต้องปิดตำรา เลิกท่องคาถาเสรีนิยมใหม่ และหันกลับมามองว่า อะไรคือจุดแข็งทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย ระบบทุนนิยมแบบไหนที่จะสร้างความเข้มแข็งจากสิ่งที่เรามี และสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤติที่กำลังคุกคามโลกในขณะนี้
==========================================================
วิกฤติภาคการเงินของสหรัฐ ที่ส่งแรงสั่นสะเทือนไปทั่วในขณะนี้ อาจกำลังเตือนพวกเราอีกครั้งถึงความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ความเปราะบางนี้ไม่ใช่สิ่งลี้ลับ และไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ เราต่างตระหนักดีว่าวิกฤติเป็นคุณสมบัติภายในของระบบ หรือจะเรียกว่าเป็นธรรมชาติของทุนนิยมก็อาจจะไม่ผิด อย่างที่โจเซฟ ชุมปีเตอร์ (Joseph Schumpeter) นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรีย เคยกล่าวว่า ทุนนิยมดำรงอยู่และเติบโตได้ เพราะมีลักษณะทำลายเพื่อสร้างใหม่ ตามที่เขาใช้คำว่า "creative destruction" เมื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมักเกิดขึ้นตามหลังการชะงักงัน และหดตัวทางเศรษฐกิจในลักษณะเป็นวัฏจักร
อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมกับระบบเศรษฐกิจของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้การติดต่อสื่อสารและรับรู้ข่าวสารระหว่างแต่ละมุมโลกในเวลาไม่กี่วินาที ทำให้เรามักจะพูดถึงระบบทุนนิยมกันในแบบเอกพจน์ ราวกับว่าทุนนิยมมีความเป็นหนึ่งเดียว และมีเพียงแบบจำลองเดียว ในความเป็นจริง ระบบทุนนิยมมีพลวัต ความหลากหลายและความเฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่ ทุนนิยมโมเดลต่างๆ ย่อมเปิดตัวเองต่อความเสี่ยงและวิกฤติเศรษฐกิจในลักษณะและระดับความรุนแรงที่ต่างกัน
ในทางทฤษฎี เราสามารถพิจารณาพลวัตของทุนนิยม โดยใช้มุมมองที่แตกต่างกันสองมุม คือ มุมมองเชิงประวัติศาสตร์และมุมมองเชิงสถาบัน โดย มุมมองเชิงประวัติศาสตร์พิจารณาระบบทุนนิยมในฐานะผลผลิตของวิวัฒนาการในระยะยาว การมองระบบทุนนิยมแบบนี้ ทำให้เชื่อว่าระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศต่างกันเพียงเพราะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาที่ต่างกันเท่านั้น อาทิเช่น ทุนนิยมแบบไทยต่างจากทุนนิยมของไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือกระทั่งสหรัฐ เพราะอยู่ในขั้นของการพัฒนาที่ต่ำกว่าและมีโอกาสพัฒนาไปสู่ระดับและรูปแบบเดียวกันในอนาคต การพิจารณาพลวัตของทุนนิยมในลักษณะนี้ อยู่บนความเชื่อที่ว่ามีรูปแบบของทุนนิยมที่เป็นสากล มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นรูปแบบที่ระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ จะพัฒนาไปสู่ในขั้นตอนสุดท้าย ขณะที่มองว่าความแตกต่างหลากหลาย และความเฉพาะเจาะจงในระดับท้องถิ่นเป็นเพียงลักษณะปลีกย่อยเท่านั้น
ส่วนมุมมองที่สอง คือ มุมมองเชิงสถาบันเปรียบเทียบ เชื่อว่าความแตกต่างในแต่ละสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและความหลากหลายที่ปรากฏให้เห็นเป็นผลจากการประนีประนอมเชิงสถาบัน หรือดุลยภาพทางสังคมและการเมืองในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ เศรษฐกิจในยุโรปภาคพื้นทวีปที่มีระบบสวัสดิการสังคมดี เป็นผลมาจากลักษณะเชิงสถาบันที่อนุญาตให้มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งและตลาดแรงงานที่เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายแรงงานมากกว่านายจ้าง เป็นต้น
หรือในทางกลับกัน รูปแบบการระดมทุนจากตลาดหุ้นแทนที่จะเป็นระบบธนาคารของโมเดลอเมริกัน ทำให้เกิดการแข่งขันสูงระหว่างธุรกิจและธุรกิจอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดมาก ดังนั้น ลักษณะของตลาดแรงงานในโมเดลนี้ จึงจำเป็นต้องมีความคล่องตัว เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้รวดเร็ว ความหลากหลายในระบบทุนนิยม จึงเป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วน ซึ่งเรียกว่า Institutional Complementarities ผมขอใช้คำว่า "ความสอดคล้องเติมเต็มกันระหว่างสถาบัน"
มุมมองอย่างหลังนี้ เป็นมุมมองที่เกิดขึ้นไม่นาน และได้รับความสนใจจากนักวิชาการจำนวนมากขึ้น หลังจากที่มุมมองเชิงประวัติศาสตร์เคยมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดประเด็นการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะหลังจากความสำเร็จของรูปแบบการผลิต และการจัดการในโรงงานแบบฟอร์ดดิสม์ (Fordism-ที่ตั้งชื่อตามนายเฮนรี ฟอร์ด Henry Ford เจ้าของธุรกิจรถยนต์ฟอร์ด) หรือที่รู้จักกันดีในรูปแบบการผลิตแบบสายพาน สามารถเข้าแทนที่รูปแบบการผลิตแบบเทเลอร์ลิสม์ (Taylorism) ที่เคยมีอิทธิพลในยุโรปตะวันตก จนทำให้นักวิชาการต่างเชื่อว่าโมเดลของทุนนิยมทั่วโลก มีโอกาสจะปรับเปลี่ยนเข้ามาเป็นแบบจำลองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การศึกษาความหลากหลายของทุนนิยมก็มีความหลากหลาย และไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวเช่นกัน เมื่อนักวิจัยต่างให้ความสำคัญกับปัจจัยที่มีส่วนกำหนดโครงสร้าง และการทำงานของระบบเศรษฐกิจต่างกันไป โดยงานวิจัยในระยะแรก มุ่งความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลทางเศรษฐกิจ (economic performance) กับนโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่นักวิจัยกลุ่มต่อมาให้ความสำคัญกับประเด็นเศรษฐศาสตร์การเมืองในแต่ละประเทศ อาทิเช่น อิทธิพลของกลุ่มตัวแทนผู้ผลิตในการต่อรองค่าจ้างและกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ การจัดองค์กรของตลาดแรงงานและตลาดทุน รวมทั้งรูปแบบของรัฐ เป็นต้น
ในบรรดางานเขียนที่พยายามอธิบายความหลากหลายของระบบทุนนิยม งานที่ไม่ได้เป็นวิชาการมากนัก แต่ได้รับความสนใจในวงกว้าง คือ "Capitalism against capitalism" (1991) โดย อัลแบร์ มิเชล (Albert Michel) ในภาษาฝรั่งเศส และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปีต่อมา
เนื่องจากนโยบายเศรษฐกิจตามแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ที่โรนอล เรแกน (Ronald Regan) และมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) นำมาใช้กับสหรัฐ และอังกฤษในช่วงทศวรรษ 1980s ทำให้ระบบเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีความโดดเด่นอย่างมากในขณะนั้น ผู้เขียนจึงได้แยกทุนนิยมแบบนีโอ-อเมริกันออกจากทุนนิยมแบบไรน์ (Rhine model-ตั้งชื่อตามแม่น้ำในภูมิภาค) ที่ประกอบด้วย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม ยุโรปตอนเหนือและบางส่วนของญี่ปุ่น
ผู้เขียนกล่าวว่าถึงแม้ระบบคอมมิวนิสต์จะล่มสลายไปแล้ว และดูเหมือนระบบทุนนิยมจะได้รับชัยชนะ แต่ทุนนิยมกลับกลายเป็นความสุ่มเสี่ยงและภัยคุกคามสำหรับสังคมปัจจุบัน ในที่สุดแล้ว อนาคตของเราอาจขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของการแข่งขันระหว่างทุนนิยมสองแบบ คือ แบบนีโอ-อเมริกันที่มีฐานอยู่บนความสำเร็จส่วนบุคคล และกำไรในภาคการเงินระยะสั้น กับแบบไรน์ที่อยู่บนฐานของทำงานเป็นทีม ความเห็นพ้องต้องกันและใส่ใจกับผลสำเร็จในระยะยาว
หนังสือเล่มนี้ ได้รับการวิจารณ์ว่าเน้นหนักไปที่ด้านลบของระบบเสรีนิยม และเต็มไปด้วยความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก อันเกิดจากวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม อาทิเช่น การย้ายฐานการผลิตไปในประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า การปลดคนงานและเลิกจ้าง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมจากลักษณะพึ่งพากันไปเป็นแบบตัวใครตัวมัน
อย่างไรก็ตาม ผมถือว่าหนังสือเล่มนี้ คือ ความพยายามที่น่าสนใจในการทัดทานต่อการแผ่อิทธิพลของทุนนิยมแบบเสรีนิยม ที่ผู้เขียนสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ และเป็นตัวอย่างที่ดีในการดึงจุดแข็งที่เป็นลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรมขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก
ในประเทศไทยเอง ดูเหมือนว่าความวิตกกังวลในลักษณะเดียวกัน ก็ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เพียงแต่เราอาจไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากคิดวิตกกังวล เพราะความเชื่อเรื่องในความเป็นสากล และเป็นหนึ่งเดียวของระบบทุนนิยมดูเหมือนจะครอบงำความคิดของนักการเมือง นักธุรกิจและคนชั้นกลางของไทยอย่างฝังแน่น
หนังสือเล่มนี้ อาจทำให้เราต้องกลับมาตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบทุนนิยมในแบบของเราเอง ในเมื่อประเทศไทยไม่สามารถหันหลังให้กับระบบทุนนิยม เพราะเราเดินมาไกลบนเส้นทางนี้ อย่างน้อยที่สุด ผู้ที่เรียกตัวเองว่า "นักเศรษฐศาสตร์" อาจจะต้องปิดตำรา เลิกท่องคาถาเสรีนิยมใหม่ และหันกลับมามองว่า อะไรคือจุดแข็งทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย ระบบทุนนิยมแบบไหนที่จะสร้างความเข้มแข็งจากสิ่งที่เรามี และสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤติที่กำลังคุกคามโลกในขณะนี้
ความคิดเห็น
ขอบพระคุณที่เขียนสิ่งดี ๆ ชวนคิดให้ได้อ่านกันครับ
ผมใคร่จะเสริมเล็กน้อยว่าสิ่งที่ต้านทุนนิยมก็คือที่ดินนิยมซึ่งยังปะปนผสมอยู่ในทุนนิยม และการเก็งกำไรที่ดิน ไปที่ไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินที่มีเจ้าของแล้วแทบทั้งนั้น ซึ่งทำให้วัฏจักรเศรษฐกิจเหวี่ยงตัวรุนแรงก่อความเสียหายใหญ่หลวง ผู้ที่อธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ Henry George คนอเมริกัน ทั้งเขียนทั้งพูด และแนวเดียวกับกลุ่มของ Francois Quesnay ของฝรั่งเศส แต่ทางด้านฝรั่งเศสซึ่งเป็นรุ่นก่อนคงจะไม่ค่อยได้อธิบายมากนักครับ
ผมเขียนเรื่องเฮนรี จอร์จไว้ในวิกิพีเดียภาษาไทย
เว็บของผมคือ http://geocities.com/utopiathai
ขอบพระคุณครับ
สุธน หิญ
รออ่าน.. อัพ อัพ