แปลสัมภาษณ์เจมส์ ซี สก็อตต์
ศาสตราจารย์เจมส์ ซี สก็อตต์พูดถึงเกษตรกรรมในฐานะการเมือง (Agriculture as politics) อันตรายจากการทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ( Dangers of Standardization) และการไม่ถูกปกครอง (Not being governed)*
ตามความเห็นของอาจารย์ อะไรคือข้อท้าทายในปัจจุบันหรือข้อถกเถียงหัวใจของสังคมศาสตร์ที่เน้นการเมือง จุดยืนและคำตอบของอาจารย์ต่อข้อท้าทาย/ ข้อถกเถียงนั้นคือ?
นี่ไม่ใช่คำถามที่ผมถามตัวเองบ่อยนัก มีอยู่หนึ่งครั้งที่ผมเคยถาม แต่ก็หลายปีผ่านมาแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าคุณรู้จัก “กลุ่มเคลื่อนไหวเปเรสทรอยกา (Perestroika movement)” ในสายรัฐศาสตร์รึเปล่า ในช่วงที่ผ่านมามีแถลงการณ์ที่ไม่ลงชื่อแต่เซ็นต์ลงท้ายว่า “นายเปเรสทรอยกา” ปรากฎขึ้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า (ศาสตราจารย์) เบเนดิก แอนเดอร์สันและผมไม่เคยอ่าน American Political Review (วารสารวิชาการกระแสหลักด้านรัฐศาสตร์: ผู้แปล) และก็ยังถามต่อไปถึงเหตุผล โดยอ้างว่าบางทีวารสารนี้และองค์กรทรงอิทธิพลซึ่งสนับสนุนวารสารนี้อาจจะไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคอย่างแท้จริง ต่อการขยับขยายความรู้ ตอนนี้ กลุ่มเปเรสทรอยกาเชื่อมต่อกับกลุ่มเศรษฐศาสตร์โพสออทิสติก (Post- Autistic Economics movement) ทางฝั่งยุโรป ที่พยายามเผยแพร่เศรษฐศาสตร์กระแสรองเพื่อทัดทานกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่กลืนกินทุกอย่าง อันที่จริง ที่พวกเขาเชิญผมไปนั่งอยู่ในสภาบริหารของสมาคมรัฐศาสตร์ก็เป็นผลมาจากการแข็งขืนของเปเรสทรอยกา และนั่นเป็นครั้งเดียวที่ผมได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังกับความพยายามหาคำตอบว่ารัฐศาสตร์ควรจะเป็นอย่างไร โดยภาพรวมแล้ว ผมได้ทำตามหน้าที่ของผมโดยไม่ได้กังวลกับผลที่จะตามมา ผมเลือกที่จะไม่เสียเวลาอยู่ในหลุมของวิวาทะเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกขุดอยู่รอบๆ ตัวผม
อย่างที่คุณเห็น ผมไม่ค่อยได้คิดจริงจังว่ารัฐศาสตร์ควรจะถูกปฏิรูปยังไง แต่ผมเชื่ออย่างแท้จริงว่าคนในรัฐศาสตร์พวกที่ชอบเสแสร้งเรื่อง “ความเป็นวิทยาศาสตร์” จริงๆ แล้วกำลังยุ่งมากอยู่กับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ ความจริง มีจุดเปลี่ยนในลักษณะแนวทดลองกับรัฐศาสตร์ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งกำลังทำสิ่งที่เขาเรียกว่า “การทดลองบริสุทธิ์” ที่มีการออกแบบอย่างที่ทำกันในการทดลองจิตวิทยา ที่มีการควบคุมกลุ่มตัวอย่างและอื่นๆ แต่คำถามที่พวกเขาถามกลับแคบอย่างน่าตกใจ! พวกเขาจินตนาการว่าคนทั่วไปจะคิดถึงคำถามพวกนี้มากเท่าที่จะเป็นไปได้และพวกเขาจะค่อยๆ สร้างป้อมปราการที่ไม่สามารถทำลายได้ของสังคมศาสตร์ ทั้งที่ผมเองคิดว่ามันเป็นแค่กองอิฐที่ไม่ได้เติมต่อยอดให้กับอะไรเลย
ผมเองประทับใจกับคนที่ค่อยๆ ขยับไปข้างหน้ากับประเด็นที่มีความสำคัญ มากกว่าพวกที่สร้างความรุดหน้าในคำถามที่โดยปกติแล้วไม่ควรค่ากับการถามเท่าใด ตัวผมเองมักจะพยายามทุ่มเทงานไปยังประเด็นที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญมาก อย่างเช่น ต้นกำเนิดของรัฐหรือพลวัตรของความสัมพันธ์อำนาจ ไม่ว่าระหว่างรัฐและประชาชนหรือความสัมพันธ์โดยทั่วไปก็ตาม ยกตัวอย่าง หนังสือของผมสองเล่ม (Domination and the Arts of Resistance และ Weapons of the Weak) นั้นคือความพยายามที่จะเข้าใจความสัมพันธ์อำนาจในโครงสร้างแบบจุลภาค (แทนที่จะเป็นมหภาค) ตอนนี้ เรากำลังให้ความสนใจต่อเงื่อนไขทางการเมืองแบบที่เอื้อต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ไม่สร้างความหายนะและนี่เป็นคำถามที่ผมถือว่ามีความสำคัญมาก ไม่เพียงแต่สำหรับนักสังคมศาสตร์เท่านั้น แต่คนทั่วไปก็สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างคำถามที่สำคัญกับคำถามพื้นๆ ได้
คุณมาถึงจุดที่คุณอยู่นี้ ในเรื่องแนวคิดได้อย่างไร?
ย้อนหลังกลับไปนานมาแล้ว ก่อนที่ผมจะเรียนต่อ เพื่อนคนหนึ่งได้พูดว่า “ก่อนแกจะเรียนต่อ ต้องอ่าน The Great Transformation ของคาร์ล โปลันยี” ผมอ่านมันในช่วงซัมเมอร์ก่อนที่จะกลับไปเรียนต่อ และผมคิดว่าในบางแง่มุม มันเป็นหนังสือที่สำคัญที่สุดที่ผมเคยได้อ่าน หนังสืออีกเล่มที่มีอิทธิพลต่อผมอย่างมากคือ The Making of the English Working Class (1963) ของอี พี ธอมสัน (E. P. Thomson) ผมยังจดจำเก้าอี้ตัวที่ผมนั่งอ่านทั้ง 1,000 หน้ากระดาษหนาเตอะได้อย่างดี หนังสือเล่มนี้ขุดลงไปถึงต้นกำเนิดของจิตสำนึกชนชั้นแรงงานในช่วงเวลาเดียวกับที่โปลันยีได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดเพื่ออธิบายการดึงเศรษฐกิจออกจากการกำกับของสังคม หนังสืออีกเล่มที่มีอิทธิพลคือ Primitive Rebels ของอิริก ฮอบสบอว์ม (Eric Hobsbawm) เพราะเขาได้ชี้ไปที่รูปแบบต่างๆ ของอาชญากรรมและการฝ่าฝืนกฎหมายในฐานะปรากฏการณ์การเมืองซึ่งควรจะถูกอธิบายอย่างนั้นในแง่ของระเบียบวิธี เพราะมักถูกวิเคราะห์ไปในลักษณะอื่น
ทำไมผมถึงชอบนักวิชาการเหล่านี้ พวกเขาได้สอนผมว่าการเสนอแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนต่อสิ่งต่างๆ นั้นถือเป็นคุณูปการณ์ที่สำคัญต่อวงการสังคมศาสตร์ คุณคงรู้จักกล้องคาเลโดสโคปที่พอเขย่าแล้วมันจะเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ และทำให้คุณเห็นโลกแตกต่างออกไป งานทั้งหมดที่มีผลต่อผมคืองานมีผลต่อการมองโลกของผม คือเมื่อผมมองโลกผ่านกล้องที่นักวิชาการเหล่านี้ยื่นให้ ผมเห็นโลกที่ต่างออกไปอย่างน่าทึ่ง และเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่ผมไม่เคยเข้าใจมาก่อน
มาถึงในแง่ของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นและมีผลต่อตัวผม แน่นอนว่าสงครามเวียตนาม ซึ่งเกิดขึ้นขณะที่ผมเริ่มงานแรกเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนที่อยู่มหาวิทยาลับวิสคอนซินในปี 1967 คือหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ผมได้เข้าไปอยู่ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงและได้ให้สัมภาษณ์รวมทั้งสอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านี้ ในช่วงเวลานั้น ผมยังค้นพบว่าผมได้ทำวิทยานิพนธ์ที่น่าเบื่อซึ่งจมหายไปอย่างไร้ร่องรอย (ไร้คุณค่าในสายตาของผู้พูดและไม่ก่อให้เกิดผลอะไรตามมา: ผู้แปล) ผมจึงตัดสินใจในตอนนั้นว่า ในเมื่อชาวนาเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ผมรู้สึกว่าการศึกษาชาวนาน่าจะทำให้เรามีคุณค่าในชีวิตมากขึ้น ถ้าหากการพัฒนาจะมีความหมายอะไรสักอย่าง มันก็ควรจะหมายถึงการพัฒนาวิถีชีวิตของชาวนาและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาในภาพรวม นอกจากนี้ พวกเขายังมีส่วนร่วมในจุดกำเนิดของสงครามการปลดปล่อยชาติ อย่างที่สงครามเวียตนามทำหน้าที่นั้นสำหรับคนเวียตนาม หนังสือของผม The Moral Economy of the Peasant เกิดขึ้นจากการต่อสู้ในสงครามเวียตนามโดยตรง มันเป็นความพยายามของผมที่จะทำความเข้าใจกับการต่อต้านของชาวนา
เพื่อที่จะเป็นนักวิชาการที่ชำนาญและสามารถเข้าใจโลกในมุมมองที่กว้างขวาง นักศึกษาต้องการอะไร?
เรื่องนี้ผมมีคำตอบที่ชัดเจน (เมื่อเปรียบเทียบกับคำถามแรก: ผู้แปล) เราคงพอนึกภาพได้ว่าทุกคนจะเป็นนักวิชาการที่ถูกฝึกให้เชี่ยวชาญในความชำนาญและสาขาของตน ในความหมายทำนองเดียวกับแรงงาน ดังนั้นผมจะไม่พูดเรื่องนั้น แต่สิ่งที่ผมรักที่จะเล่าให้นักศึกษาในปัจจุบันฟังก็คือ ถ้า 90% ของเวลาที่พวกคุณใช้อ่านตำรานั้น ถูกใช้ไปในตำรารัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยากระแสหลักและถ้าพวกคุณใช้เวลาส่วนใหญ่อีกเช่นเดียวกันไปในการพูดคุยกับคนอื่นที่อ่านตำราประเภทเดียวกัน อย่างนั้นแล้วคุณก็จะผลิตซ้ำแต่รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยากระแสหลัก ความคิดก็ผมก็คือ ถ้าคุณทำได้ไม่เลวนัก อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสิ่งที่คุณอ่านควรจะมาจากนอกสาขาของคุณ อย่างที่แรงขับเคลื่อนที่น่าสนใจมักมาจากชายขอบของสาขาหรือแม้กระทั่งจากข้างนอก งานวิจัยที่น่าสนใจในสังคมศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อคุณมองเห็นแนวความคิดแปลกๆ ซึ่งสามารถปรับใช้และต่อยอดให้กับสาขาของคุณ ที่ผมแนะนำอยู่นี่ก็เป็นการสร้างทฤษฎีจากสิ่งที่ผมทำ ตอนที่ผมเขียน The Moral Economy of the Peasant ผมอ่านวรรณกรรมชาวนาทั้งหมดที่ผมพอจะหาได้ อ่านประวัติศาสตร์บอกเล่าทั้งหมด โดยสรุปก็คือ ผมจับยัดทุกอย่างจากนอกรัฐศาสตร์มากเท่าที่จะทำได้ ถ้าคุณลองดูงานที่มีอิทธิพลในช่วงเวลาต่างๆ คุณจะบอกได้เลยจากดัชนีหรือบรรณานุกรมคนเขียนได้อ่านงานจำนวนมากที่อยู่นอกข่ายงานกระแสหลักทั่วไป
แต่ถ้าคุณเลือกที่จะทำอะไรบางอย่างที่กว้างขวางและท้าทาย คุณก็จะพบกับอุปสรรคและการต่อต้านบางอย่างจากเครื่องจักรกลวิชาการที่แข็งตัวไปแล้ว ลองดูตัวอย่างของ The Social Origins of Dictatorship and Democracy ของบาร์ริงตัน มัวร์ (Barrington Moore) ที่เป็นอีกงานที่ยิ่งใหญ่ หนังสือเล่มนี้ถูกปฏิเสธถึงหกครั้งจากสำนักพิมพ์ เพราะผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาที่เขาพูดถึงมีปัญหากับแต่ละบทที่เกี่ยวข้องกับสาขาเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม มันสำคัญแค่ไหนที่จะตีพิมพ์บทความเหล่านั้น? เพื่อนร่วมงานของผมวิจัยเกี่ยวกับจำนวนของคนที่อ่านบทความวิชาการจริงๆ และจำนวนเฉลี่ยก็ต่ำกว่าสามคน ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้ว บทความส่วนใหญ่ที่ถูกตีพิมพ์กันก็เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ปฏิเสธการเมืองขนาดใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเพื่อให้คนได้รับตำแหน่งวิชาการ อันนี้รวมถึงพวกบทความที่เป็น peer-reviewed ด้วย ความก้าวหน้าทางวิชาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของระบบประเมินที่ทำให้ได้จำนวนของบทความ peer-reviewed และอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลไกของระบบที่ปฏิเสธความเป็นการเมืองหรือเป็นความพยายามที่จะปฏิเสธการตัดสินเชิงคุณภาพเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ว่าดีเพียงใด มันเป็นอะไรที่ดูจะเป็นเรื่องปกติในประชาธิปไตย ที่คุณจำเป็นต้องโน้มน้าวให้ผู้คนมีภววิสัย คุณต้องไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่มีการตัดสินใจเชิงคุณภาพและคุณก็แค่เปรียบเทียบจำนวนเท่านั้น ดังนั้น ถ้าคุณจะผลิตบทความสักอันที่จะมีคนอ่านเพียงสามคนแล้วละก็ แล้วคุณจะคิดทำมันทำไมตั้งแต่ต้น? คุณควรจะทำอะไรอย่างอื่นที่พอจะมีผลกระทบอะไรกับโลกบ้างจะดีกว่า ถ้าคุณทำมันเพื่อเอาอกเอาใจสาขาวิชาที่กำลังเฝ้ามองคุณด้วยความวิตกกังวล งานของคุณก็จะกลายเป็นแค่กำลังแรงงานที่แปลกแยกและผมพูดอย่างนี้ ผมเองก็ยอมรับว่าคุณไม่มีทางก้าวหน้าได้ถ้าคุณไม่ทำอย่างนี้ มันง่ายสำหรับผมที่จะพูด เพราะผมมาจากช่วงเวลาที่มีความรู้สึกโรแมนติกกับประเทศโลกที่สาม อะไรก็ตามที่พูดถึงโลกที่สามก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับตีพิมพ์ ดังนั้น ผมค่อนข้างจะตระหนักถึงข้อเท็จจริงว่าผมมีชีวิตที่ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในปัจจุบัน ยังไงก็ตาม นอกจากคุณจะปรารถนางานเสมียนแบบเข้าเก้าโมงเช้าออกห้าโมงเย็นที่ต้องตอกบัตรแล้ว คุณก็น่าจะทำอะไรที่มันน่าตื่นเต้นถึงมันจะขายยากก็ตาม
คุณศึกษามาทางด้านเกษตรกรรม แต่งานเขียนของคุณทั้งหมดกลับมีความเป็นการเมืองอยู่สูง สำหรับคุณ? แล้วอะไรคือนัยยะทางนโยบายสำหรับการสร้างรัฐและการพัฒนาของประเทศโลกที่สาม?
คำถามนี้เกิดขึ้นกับผมระหว่างที่เกิดสงครามเวียตนาม ตอนที่ประชาชนกำลังทำสงครามเพื่อปลดปล่อยแห่งชาติ จุดนั้นเอง เราเริ่มมองว่าชาวนาเวียตนาม ชาวนาอัลจีเรียนและชาวนาเม็กซิกันเป็นผู้ที่ยึดกุมจิตวิญญาณแห่งชาติเป็น ครั้งแรก มันอาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว แต่มันเกิดจากความคิดว่าว่าชาวนาเวียตนามในฐานะสามัญชนนั้นได้ยืดหยัดเพื่อ ความเป็นชาติของเวียตนามในบางแง่มุม สิ่งเหล่านี้นำผมมาศึกษาเกษตรกรรม คือ ถ้าคุณต้องการที่จะเข้าใจการลุกฮือในเวียตนาม คุณต้องทำความเข้าใจชาวนา และถ้าคุณต้องการที่จะเข้าใจชาวนา คุณต้องศึกษาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผลผลิตและอื่นๆ มันเริ่มต้นจากที่ผมได้ศึกษาความรุนแรงทางการเมืองเมื่อสามสิบปีที่แล้ว และตอนนี้ผมกำลังศึกษาการทำให้พืชและสัตว์กลายเป็นสิ่งปลูก-เลี้ยงโดยมนุษย์ (domestification)
ผมคิดว่าในฐานะของวิถีหลักในการเลี้ยงตัวเอง หรือในฐานะของทรัพยากรแหล่งสำคัญที่ผู้คนแก่งแย่ง ประเด็นเรื่องที่ดินกับการชลประทานและอุปทานอาหารกับความอดอยากนั้นอยู่ตรง ใจกลางของประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมือง ประเด็นเหล่านี้เป็นรูปแบบพื้นฐานของการเมืองและดังนั้น ผมจึงรู้สึกว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้อย่างการทำฟาร์ม (farming) จึงเป็นเรื่องของการเมืองโดยตรง
กลับไปที่โลกสมัยใหม่ที่พัฒนาแล้ว ในยุโรปตะวันตกและในสหรัฐ ภาคเกษตรกรรมคิดเป็น 5% โดยเฉลี่ยของประชากร อย่างไรก็ตาม มันมีแนวโน้มว่าภาคเกษตรกลับถูกนำเสนอในทางการเมือง (overrepresented) อย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของประชากรในหลายแง่มุม เพราะประเด็นเรื่องนโยบายชนบท การแบ่งเขตทางการเมือง การอุดหนุนภาคการเกษตร ... จะว่าไปแล้ว พวกเกษตรกรรายย่อยและนายทุนน้อยนั้นถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากกับพรรค การเมืองฝ่ายขวา พวกเขาได้รับการปกป้องและได้รับการอุดหนุนจากรัฐถึงจุดที่ทำให้มีการสะสม ส่วนเกินการผลิตและจริงๆ แล้ว พวกเราทำให้ประเทศโลกที่สามเจอต้องเจอกับปัญหาในการส่งออก ในโลกที่ทำงานแบบนีโอคลาสสิคอย่างแท้จริงแล้ว เราจะไม่มีวันอุดหนุนภาคเกษตรและก็จะบริโภคผลผลิตทางการเกษตรจากประเทศยากจน ที่อยู่ในเขตรอบนอกของยุโรปและอเมริกาใต้ แม้กระทั่งในประเทศอย่างอินเดียที่มีการพัฒนาของอุตสาหกรรมและของเมืองอย่าง รวดเร็ว ข้อเท็จจริงก็คือประชากรในเขตชนบทและประชาชนที่ใช้ชีวิตอยู่กับภาคเกษตรและ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นไม่เคยมีจำนวนมากเท่ากับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้สัดส่วนจะลดลง แต่จำนวนประชากรก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ทำให้แนวโน้มนี้เป็นที่สังเกตุเห็นได้ ชัด
หนังสือของคุณที่ชื่อ Seeing like a state เน้นเรื่องความง่ายในการทำความเข้าใจและความพยายามทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป้าหมายในด้านภาษีและระเบียบทางการเมือง คุณคิดว่าหลักการเดียวกันนี้ถูกใช้กับการสร้างสินค้าและตลาด รวมถึง “ประโยชน์” แบบเดียวกันนั้นได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้หรือไม่ หรือปรัชญาของตลาดนั้นต้องการคำอธิบายที่ต่างออกไป? พูดอีกอย่างก็คือ อะไรคือความแตกต่างระหว่างความง่ายในการทำความเข้าใจสำหรับเป้าหมายเชิง พาณิชย์และของรัฐ รวมถึงระหว่างอำนาจทางการตลาดและอำนาจของรัฐ?
ผมเข้าใจว่าการแลกเปลี่ยนและการค้าขนาดใหญ่ของสินค้าใดก็ตามล้วนต้องการสิ่ง ที่เรียกว่าความเป็นมาตรฐานในระดับหนึ่ง หนังสือของโครนอนที่ชื่อ Nature’s metropolis ซึ่งพูดถึงประวัติศาสตร์เชิงนิเวศของชิคาโก (งานของ William Cronon ในปี 1992 ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองชิคาโกในศตวรรษที่ 19: ผู้แปล) มีบทหนึ่งเกี่ยวกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดพันธุ์ ในความเป็นจริง มีความหลากหลายตามธรรมชาติอย่างมหาศาลในแง่ของพันธุ์ข้าวโพด ถั่วเหลืองและข้าวสาลีที่ปลูกกัน แต่เมล็ดพันธุ์เหล่านี้กลับถูกคัดแยกออกเป็นสองหรือสามเกรดในโกดังขนาดใหญ่ เพื่อที่จะส่งออกไปต่างประเทศโดยเรือสินค้าขนาดมหึมา แรงกระตุ้นให้มีการกำหนดมาตรฐานในโกดังยังส่งผลกระทบไปจนถึงภูมิทัศน์และ ความหลากหลายของบริเวณรอบชิคาโกและลดทอนความหลากหลายของภูมิภาคลงไปจนกลาย เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
อย่างที่ผมได้อธิบายใน Seeing like a state มันก็เป็นหลักการเดียวกันที่ใช้ได้กับเรื่อง Normalbaum (เทคนิคของเยอรมันในการควบคุมการปลูกพืชในป่า: ผู้แปล) ในการจัดการป่าทางวิทยาศาสตร์แบบเยอรมัน สินค้าเกษตรถูกทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเมื่อต้องถูกขนถ่ายในปริมาณมากๆ ผ่านการค้าระหว่างประเทศ ถ้าคุณสร้างแฟรนไชส์ของแมคโดนัลส์หรือเคเอฟซี ก็จะมีคนบอกคุณว่าจะต้องสร้างอาคารอย่างไร คุณจะต้องซื้ออุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดจะต้องถูกจัดวางเข้ากับสิ่งอื่นๆ บนแบบแปลนในรูปแบบเดียวกัน รายละเอียดต่างๆ จะถูกกำหนดมาให้ถึงขนาดว่าจะผลิตเบอร์เกอร์หรือไก่ย่างที่มีมาตรฐานเดียวกัน ยังไง และเพราะว่ามันถูกทำให้เป็นมาตรฐาน คนที่มาจากสำนักงานใหญ่ก็สามารถจะไปตรวจสอบทุกที่ที่แทบจะเหมือนกันด้วยเช็ค ลิสต์ โดยตรวจสอบความสะอาด คุณภาพ ผลิตภาพการผลิตและความสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กร นี่คือรูปแบบการควบคุมเหนือระยะทางไกลเพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ในที่สุด สายพานการผลิตคืออะไร? มันก็คือความพยายามที่จะทำให้หน่วยของกำลังแรงงานเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด กระบวนการก็แทบไม่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เบอร์เกอร์หรือรถยนต์ เช่นเดียวกันผลที่เกิดกับความหลากหลายของมัน ระบบเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract farming) เป็นตัวอย่างของการปรับเกษตรกรรมเข้ากับเงื่อนไขการผลิตแบบหลังฟอร์ด (post-Fordist) ที่เน้นหนักไปในด้านความต้องการบริโภค
เราคงจะจัดให้คุณเป็นเป็นพวกที่วิจารณ์โครงการสร้างความทันสมัยที่มาจากภายในรัฐ คุณจะสามารถยกตัวอย่างรูปแบบการกำกับควบคุมร่วมสมัยที่คุณเห็นด้วยหรือต้อง การส่งเสริมหรือไม่?
ผมรู้สึกว่ากระบวนการแบบประชาธิปไตยที่เข้าแทรกแซงขั้นตอนการวางแผน (ของรัฐ) จนทำให้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงในแต่ละระดับนั้นทำให้เกิดผลที่น่าพอใจในระยะยาวสำหรับทุกคนที่ เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ มันยังส่งผลให้เกิดความรู้สึกผูกพันของประชาชนเนื่องจากประชาชนรู้สึกว่าตัว เองมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอในกระบวนการกำหนด ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปคือโครงการจำนวนมากที่ถูกกำหนดมาอย่างดีจากข้างบน มักล้มเหลวเพราะประชาชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนร่วมกับ มันเลย ผมไม่ต้องการจะปฏิเสธโครงการสร้างความทันสมัย ผมเพียงแต่ต้องการลดอิทธิพลของพวกผู้เชี่ยวชาญให้น้อยลง
ผมจำได้ว่าตอนผมอยู่ที่ Berlin at the Wissenschaftskolleg (หรือ Wissenschaftskolleg zu Berlin สถาบันวิจัยขั้นสูงเบอร์ลิน ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1930 และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยที่โดดเด่นได้ทำงานในประเด็นที่ ตนสนใจโดยใช้แรงบันดาลใจจากศาสตร์และจารีตอื่นที่แตกต่างไปจากที่ตนคุ้นเคย: ผู้แปล) มีผู้หญิงคนนึงชื่อบาร์บารา เลน (Barbara Lane) นักประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรม เราได้ไปเยี่ยมเขตที่อยู่อาศัยซึ่งมีบ้านสองแบบ คือ ที่อยู่อาศัยแบบบาวเฮาส์ (Bauhaus) และแบบที่เป็นคู่แข่งของพวกสถาปนิกพรรคสังคมนิยมแห่งชาติ (Bauhaus มีความหมายว่า “บ้านแห่งการก่อสร้าง” หรือ “โรงเรียนก่อสร้าง” คือ สำนักทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงระหว่าง 1913-1933: ผู้แปล) มันน่าสนใจมากที่สถาปนิกของบาวเฮาส์สามารถบอกได้ว่าคนเราต้องการใช้พื้นที่ กี่ตารางเมตร น้ำปริมาณเท่าใด แสงแดดเท่าใด พื้นที่สนามเด็กเล่น.. พวกเขาได้วางแผนสำหรับมนุษย์นามธรรมและสถาปัตยกรรมนี้ก็สามารถสร้างที่ไหนก็ ได้บนโลก ขณะที่สถาปนิกของนาซีได้สร้างบ้านจริงๆ ที่มีปล่องควันเล็กๆ บันไดอิฐขั้นเล็กหน้าบ้าน ทั้งหมดอ้างอิงกับรูปแบบบ้านที่พบเห็นทั่วไปตามวัฒนธรรมเยอรมัน ผมพบว่าในแง่มุมหนึ่ง แรงบันดาลใจของสำนักบาวเฮาส์ในระดับนานาชาตินั้นก็คือต้องการจะให้ใช้ได้ทุก ที่และเป็นสากล อย่างเดียวกับที่ IKEA (ธุรกิจออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของสวีเดนที่กำลังเติบโตอย่างรวด เร็วและได้รับความนิยม เนื่องจากการออกแบบที่เรียบง่าย ทันสมัยและราคาไม่สูง: ผู้แปล) ทำในขณะนี้ ผมกลับพบว่าผมค่อนข้างละอายที่ตัวเองอยากเลือกที่จะอยู่ในบ้านที่ออกแบบโดย นาซีมากกว่าบ้านบาวเฮาส์ แต่มันก็สะท้อนมุมมองเรื่องการกำกับควบคุมของผม คือ มันถูกสร้างขึ้นมายังไง? มีความทะเยอทะยานแค่ไหน?
ในแง่นั้น งานของคุณถูกอ้างว่าเป็นแรงบันดาลใจอันหนึ่งที่สำคัญของสิ่งที่เรียกว่า “การศึกษาการต่อต้าน (resistance studies) ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับพวกที่ถูกปกครอง/ กดขี่ (subaltern/ repressed) หรือคนกลุ่มที่คุณได้ทำให้มีชีวิตและตัวตนขึ้นมาในทางวิชาการ คุณคิดยังไงกับการศึกษาการต่อต้านแบบดังกล่าว?”
ทั้งหมดที่ผมได้ทำในหนังสืออย่าง Weapons of the Weak ก็คือ ได้ศึกษาพฤติกรรมที่โดยทั่วไปแล้ว เรามักเรียกมันว่า “ไม่เป็นการเมือง” หรือ “ไม่สมเหตุผล” ในฐานะรูปแบบของการเมือง นักวิชาการ (ผู้ยิ่งใหญ่) ที่ล่วงลับไปแล้วชารล์ส ทิลลี (Charles Tilly) และผมมีความเห็นต่างกันในเรื่องที่ว่าความเป็นไปได้ในการรวมตัวกันในที่ สาธารณะ ในการสร้างองค์กร ในการเดินขบวนประท้วงหรือสร้างกระบวนการประชาธิปไตยอย่างเปิดเผยนั้นไม่มี เลยในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกในอดีตที่ผ่านมา สำหรับเขา การจะเรียกอะไรว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง มันจะต้องปรากฎตัวต่อสาธารณะอย่างยาวนานและมีเป้าหมายสาธารณะที่กว้างขวาง แต่ในทางตรงกันข้าม ผมพยายามจะชี้ให้เห็นพื้นที่ของการกระทำทางการเมืองที่เคยถูกมองว่าไม่เคยมี ตัวตน ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ที่คำนิยามของการเมืองแบบทางการและมีข้อจำกัดไม่สามารถเอามา ใช้ได้ ผมเพียงแต่ถามคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเรียกมันว่าเป็นการเมือง?” อันที่จริง การขัดขืน ไม่ยอมทำตามและแทคติคอื่นๆ ที่ประชาชนใช้เมื่อต้องเผชิญกับอำนาจที่โหดเหี้ยมหรือเผด็จการนั้น บ่อยครั้งในเหตการณ์ประวัติศาสตร์ทั่วโลกคือเครื่องมือทางการเมืองเท่าที่ ประชาชนพอจะหาได้
นอกจากนี้ มันคือสถาบันที่ทรงอิทธิพลที่มักมีปกปิดเกี่ยวกับการทำงานของอำนาจและเกี่ยว กับการทำงานของโลก ผมคิดว่าศักยภาพในการปลดปล่อยของสังคมศาสตร์ก็อยู่ที่การทำงานของพวกเรา อย่างซื่อสัตย์ แสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร และมันมีผลในทางทำลายล้างระบบเก่าเพราะอย่างที่บอกว่าสถาบันที่มีอิทธิพลคือ กลุ่มที่มีอะไรซ่อนเร้นมากที่สุด ผมคิดว่าสังคมศาสตร์ที่ดีโดยธรรมชาติของมันจะต้องสามารถปลดปล่อยสังคมและมี หน้าที่ในลักษณะต่อต้าน ทุกวันนี้ ผมมีความมั่นใจน้อยลงเกี่ยวกับแรงจูงใจของผู้คนที่ต้องการตีแผ่ให้เห็นว่า สิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร พวกเขามักใช้ประโยชน์จากอคติที่รุนแรงของตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และแรงจูงใจของพวกเขาหลายครั้งก็เป็นแรงจูงใจที่ผมไม่เห็นว่ามีค่าพอ
แนวคิดมาร์กซิสม์มีความสำคัญกับคุณอย่างไรในการอธิบายการทำงานของโลก?
เมื่อมีคนถามผมถึงความสัมพันธ์กับมาร์กซิสม์ ผมเคยตอบว่าผมเป็นมาร์กซิสต์อย่างหยาบ ผมเน้นที่คำว่าหยาบในความหมายว่าผมให้ความสนใจกับฐานด้านวัตถุ (material basis) ของการต่อสู้ทางการเมืองใดๆ ก็ตามและผมคิดว่าชนชั้นกับฐานด้านวัตถุเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ สิ่งที่ผมต่อเพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผมจึงชื่นชอบงาน The Great Transformation ของคาร์ล โปลันยีนักก็คือ ผมคิดว่ามันเป็นข้อโต้แย้งที่ทรงพลังเมื่อพูดถึงวิถีที่ระบบเศรษฐกิจได้ถูกกำกับอยู่ภายในความสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงประวัติศาสตร์และไม่สามารถถูกดึงออกมาได้จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 เมื่ออุดมการณ์แบบ “เสรีนิยม (laissez-faire)” ถูกพัฒนาขึ้น การต่อสู้ที่โปลันยีชี้ให้เราเห็นคือการต่อสู้ที่เรายังคงเกี่ยวข้องอยู่ทุกวันนี้และแน่นอนว่าหลังจากฉันทามติวอชิงตัน เราจำเป็นที่จะต้องคิดค้นรูปแบบของกลไกคุ้มกันทางสังคมในแบบที่โปลันยีได้พูดถึง ไม่ว่าเราจะเรียกมันว่าสังคมนิยมหรือไม่ก็ตาม มันเป็นรูปแบบของการปกป้องตัวเองสำหรับโอกาส-ชีวิต (life chances –โอกาสที่แต่ละบุคคลพึงมีเพื่อใช้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตน แนวความคิดของนักสังคมวิทยา Max Weber: ผู้แปล) และยังชีพ คำถามที่ว่าเราจะปกป้องคนธรรมดาสามัญทั่วไปจากการรุกรานของตลาดเป็นคำถามอมตะแบบสังคมนิยมที่ควรจะถูกนำออกมาเป็นข้อถกเถียง
มันก็แปลกที่ผมพบว่าตัวเองหวนกลับไปนึกถึงสงครามเย็นใน 2 แง่มุม แง่มุมแรก ผมคิดว่าเราอาจจะโต้แย้งในแบบที่โรเจอรส์ สมิทธ์ (Rogers Smith ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย: ผู้แปล) เพื่อนร่วมงานของผมทำว่าก็คือ ถ้าหากเราต้องการจะเข้าใจความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองในสหรัฐ ปัจจัยหลักอันหนึ่งในช่วงยุคเคนเนดีก็คือข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ กำลังแพ้สงครามเย็น ส่วนหนึ่ง พวกเขาคิดว่าเป็นเพราะเราเป็นสังคมที่เหยียดชนชาติอื่น ดังนั้นการชนะสงครามเย็นจึงกลายเป็นฐานของการปฏิรูปที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราไปสู่สังคมที่เสมอภาคมากขึ้น แง่มุมที่สอง ขณะที่โลกยังถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกยังคงสนใจเรื่องการปฏิรูปที่ดินในที่ซึ่งการกระจายที่ดินเป็นไปอย่างไม่เทียมเทียมกันอย่างมาก แต่หลังจากปี 1989 ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกกลับไม่เคยพูดถึงเรื่องการปฏิรูปที่ดินอีก
ดังนั้น ขณะที่วาทกรรมการต่อสู้ทางชนชั้นที่มีลักษณะเป็นคำทำนายสำเร็จรูปถูกพิสูจน์ว่าผิดโดยประวัติศาสตร์ คำถามของโปลันยีแบบสังคมนิยมต่างยังคงมีชีวิตและใช้การได้ดี
ในหนังสือเล่มล่าสุด คุณพูดว่าพวกเรากำลังประสบกับการขยายตัวอย่างเด็ดขาดและฝังรากของรัฐชาติทั่วโลก ถือเป็นการปิดผนึกขั้นสุดท้าย และคุณได้พูดถึงเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยมในฐานะข้อจำกัดของแรงบันดาลใจสมัยใหม่ที่อาจนำไปสู่หายนะ แต่ว่าตามแนวคิดของนักสังเกตุการณ์ร่วมสมัยจำนวนมาก น่าจะถูกโต้แย้งได้ว่าตลาดที่ขยายตัวอย่างมากเกินไปอาจต้องถูกควบคุมโดยรัฐ
ผมตั้งข้อสังเกตุเอาไว้ใน Seeing like a state ว่าสหภาพแรงงานของฝรั่งเศสได้เคยต่อสู้เพื่อปกป้องระบบประกันสังคมจากชุดนโยบายเสรีนิมของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก และในแง่นั้น รัฐชาติถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคไม่กี่อย่างต่อตลาด เฮนรี เบิร์นสตน์ (อาจารย์ประจำ School of Oriental and African Studies หรือ SOAS, มหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคอาฟริกาใต้: ผู้แปล) เตือนผมทุกครั้งเมื่อผมวิจารณ์รัฐ ว่ามันเป็นสถาบันเดียวที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างเศรษฐกิจโลกแบบเสรีนิยมกับปัจเจกหรือครอบครัว
แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก หรือพูดอีกอย่างในโลกที่สาม รัฐทำตัวเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของเศรษฐกิจโลกและบ่อยครั้งเหมือนกัน รัฐก็ถูกจำกัดจากการถ่ายโอนกิจการไปยังพื้นที่เอกชนที่ซึ่งรัฐขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าถึงและกำกับดูแลได้
เราอาจจะเห็นด้วยว่าถ้ารัฐมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นั่นหมายถึงรัฐสามารถลดทอนการบิดเบือนที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างในการสะสมความมั่งคั่งและทรัพย์สินได้ ความสามารถในการควบคุมการบิดเบือนความมั่งคั่ง อำนาจและทรัพย์สินโดยรัฐนี้จะบ่งบอกว่ารัฐเองสามารถทำหน้าที่ได้เพียงใดในการทัดทานการทำงานของตลาดที่โดยปกติเป็นไปอย่างอิสระไม่มีอะไรขัดขวาง อันที่จริง มีเพียงรูปแบบรัฐเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้นที่จะสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกปกป้องตนเองของประชาชนจากความล้มเหลวของตลาด นั่นคือระบบประชาธิปไตยที่เปิดกว้างเพียงพอและสามารถหักล้าง ไกล่เกลี่ยและลดผลกระทบของความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างของการกระจุกตัวของอำนาจ ทรัพย์สินและความมั่งคั่ง
ตามนิยามของคุณ ลัทธิเสรีนิยมใหม่คืออะไร?
ในแง่หนึ่ง ความแพร่หลายของวิธีคิดแบบเสรีนิยมใหม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้คนกลายเป็นเครื่องคำนวณผลตอบแทน มีหนังสือที่ชื่อ Everything I learned about love I learned in business school (ทุกอย่างที่ผมเรียนรู้เกี่ยวกับความรัก ผมเรียนรู้ในหลักสูตรธุรกิจ) และมันเกี่ยวกับ “การลดความสูญเสีย” เกี่ยวกับการมี “แถลงการณ์วิสัยทัศน์ (องค์กร)” เกี่ยวกับ “การวัดความสามารถ” พวกเราอาจจะคาดคิดไม่ถึง ในแง่ของเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิค ฮอบบ์สเสนอว่าเราต้องการรัฐเพื่อให้รัฐมาจำกัดความต้องการของเรา แต่มันอาจจะหมายความว่ารัฐเสรีนิยมใหม่ได้เป็นเจ้าอาณานิคมการตัดสินใจของเรา (กระตุ้นให้เกิดความต้องการ) และรัฐเสรีนิยมใหม่นั้นก็ได้สร้างมนุษย์ตัวแสดงที่จำเป็นต้องถูกจำกัดควบคุมโดยรัฐขึ้นมา
ในหนังสือเล่มล่าสุด The art of not being governed คุณศึกษาสถานที่และผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปฏิเสธการถูกผนวกรวมเข้าไปอยู่ในระบบของรัฐชาติ มันเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ แต่นอกจากนั้นแล้ว มันได้ให้บทเรียนอะไรกับปัจจุบันหรือไม่?
นอกจากสิ่งที่ผมได้พูดถึงในตอนต้นว่ามันคือการเข้าใจทางเลือกที่จะไม่ถูกผนวกรวมเข้าในรัฐในฐานะทางเลือกการเมืองของการหลีกหนีที่ตั้งใจแล้ว ผมเสนอว่าภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สถานที่เหล่านี้ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ ถึงแม้ไม่ทุกแห่งและไม่อยู่ในระดับเดียวกัน เราจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการในการรวมตัวและร่วมมือข้ามพรมแดนรัฐ รวมถึงรูปแบบของอธิปไตยที่ถูกจำกัดอย่างเช่นคาตาโลเนีย (เขตปกครองตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศสเปน: ผู้แปล) แต่ทางเลือกเดียวที่เรามีวันนี้ก็คือการทำให้รัฐชาติเชื่อง เพราะเราไม่สามารถป้องกันไม่ให้มันทำร้ายเราได้ ตอนนี้ มันกำลังเข้าควบคุมพื้นที่ตรงพรมแดนเหล่านี้ หนังเรื่องอวาตาร์ (Avatar) ที่ทำเหมือนกับว่าเราสามารถเผาสะพานและยังคงรักษา “ความสมัยใหม่” เอาไว้นั่นเป็นเพียงอุดมคติเท่านั้น ผมคิดว่างานของคนพื้นถิ่นเหล่านี้ก็คือ ทำยังไงให้ชะลอการรุกคืบของรัฐชาติให้ช้าลงและเป็นมิตรในลักษณะที่จะทำให้การดูดซับของมันมีมนุษยธรรมมากขึ้น
คุณได้พูดก่อนหน้านี้ว่าคุณเป็น ‘มาร์กซิสต์อย่างหยาบ’ แต่ในหนังสือเล่มหลัง คุณได้ใช้แนวทางแบบ constructionist สร้างความหมายใหม่ให้กับอัตลักษณ์ร่วม (ตามแนวคิดแบบ constructionist ปรากฏการณ์ทางสังคมเกิดจากการกระทำของกลุ่มคนอย่างตั้งใจ: ผู้แปล) โดยแสดงให้เห็นว่าการก่อตัวทางสังคมสามารถเปลี่ยนแปลงไปง่ายเพียงใด ถ้าหากว่าฐานทางวัตถุมีความสำคัญจริง คุณจะอธิบายมันกับวิธีการแบบ Constructionism อย่างไร?
มีสิ่งของหลายอย่างที่สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ ถ้าเรานึกถึงความเหมือนซึ่งแต่ละกลุ่มคนอาจจะมีร่วมกัน จุดร่วมอันใดหรือชุดใดชุดหนึ่งก็สามารถถูกใช้เป็นฐานของอัตลักษณ์นั้นได้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนบางกลุ่มฝังคนตายในไห พวกเขาก็สามารถเลือกที่จะหยิบใช้อันนี้เป็นสัญลักษณ์ของเส้นแบ่งที่ยืนยันความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มได้ แล้วดังนั้น การขับเคลื่อนทางสังคม (social mobilization) จึงเกิดขึ้นจากวิธีการที่ใช้ฝังคนตาย คือ พวกที่ฝังโดยใช้ไหและพวกที่ไม่ได้ใช้ คำถามที่มักเกิดขึ้นก็คือ ชุดของลักษณะทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่มากมายเกือบไม่สิ้นสุดแบบไหนหละจะเป็นฐานของการขับเคลื่อนทางสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขทางวัตถุ คือ ถ้าหากกลุ่มของผู้ถือครองที่ดินรายย่อยทั้งหมดอยู่ในสภาพของการเป็นหนี้เช่นเดียวกัน และถ้าหากมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นและพวกเขาต้องสูญเสียที่ดินของเขาไปในเวลาเดียวกัน นั่นแหละก็มีแนวโน้มที่ความเจ็บปวดแบบนี้จะตกผลึกตัวเองเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของชาวนาเพื่อเรียกร้องการผ่อนผันหนี้ แน่นอนว่าเงื่อนไขแบบเดียวกันเกิดขึ้นกับการขับเคลื่อนชาวนาฝรั่งเศสที่ต้องประสบปัญหาจากกฎระเบียบแบบเดียวกันของยุโรป ในขณะที่พวกเขาสนับสนุนทีมฟุตบอลท้องถิ่นแตกต่างกันไป ซึ่งนั่นถือว่าห่างไกลมีจุดร่วมน้อยมาก แต่เมื่อมีกฎระเบียบใหม่ที่พุ่งเป้าไปที่ภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน พวกเขาจะเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นด้านวัตถุนั้น ในทางกลับกัน คุณอาจจะทำให้ชาวนายากจนในมิชิแกน เช่นเดียวกับกลุ่มเคลื่อนไหวในมิชิแกนตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนโดยใช้ประเด็นว่ารัฐบาลเป็นศัตรูของชาวนาผิวขาวที่ยากจน
ผมมองว่าหลายปัจจัยมีโอกาสตกผลึกเป็นเงื่อนไขของการขับเคลื่อนสำหรับกลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายว่าจะเป็นปัจจัยไหนในสถานการณ์ที่กำหนด
ในแง่หนึ่ง หนังสือเล่มหลังสุดของคุณได้ใช้ข้อโต้แย้งที่คล้ายกับของรุสโซ (ฌอง ฌาร์คส รุสโซ, 1712-1718 นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส: ผู้แปล) ที่ว่าภายนอกรัฐนั้น ไม่ได้มีอนาธิปไตย แต่ที่ต่างออกไปอย่างตั้งใจคือ ยังเป็นระเบียบทางการเมือง คุณคิดยังไงกับความคิดปรัชญาเรื่อง “สภาพธรรมชาติ (state of nature)” ที่นักสัจนิยมในสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักวาดภาพว่าเป็นอนาธิปไตยอันตรายที่ “อยู่รอบนอก” รัฐ?
คำตอบของผมคงจะเป็นเชิงประวัติศาสตร์ รัฐหรือเราจะเรียกว่าองค์กรการเมืองที่รวมศูนย์นั้นอยู่กับเรามาประมาณ 400 ปีแล้ว ถึงแม้ว่ารัฐนี้จะไม่ได้อยู่ในทุกอณูหรือไม่ได้ทรงพลังเหมือนกันในทุกแห่ง แต่รัฐปรากฎอยู่เสมอ ดังนั้น ถึงแม้บางพื้นที่หรือบางคนจะอยู่ “นอก” รัฐ ที่เรียกว่าสภาพธรรมชาติ พวกเขาก็มักจะอยู่ร่วมกับรัฐและมีปฎิสัมพันธ์กับรัฐในเชิงวิภาษวิธี ดังนั้น การพูดว่ามีคนอยู่ภายในและร่วมกับรัฐ รวมทั้งหลายคนอยู่นอกและปราศจากรัฐ และว่าบางทีพวกเขามีพฤติกรรมต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงนั้นเป็นสมมุติฐานที่เป็นไปได้ยาก ยกตัวอย่าง ผมเองมีความคิดว่าชีวิตภายนอกรัฐนั้นไม่ได้ “ทุกข์ระทม สกปรกและสั้น” อย่างที่ฮอบบ์สว่า บางทีเป็นเพราะจำนวนประชากรยังคงอยู่ในระดับต่ำจนวิธีการจัดการความขัดแย้งก็แค่ขยับออกไปนอกทาง มีสิ่งของจำนวนมากที่ผู้คนดิ้นรนต่อสู้หรือตายเพื่อให้ได้มาเป็นเพียงแค่สินค้า ดังนั้น ถ้าการพูดถึงสภาพธรรมชาติ เราหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่นอกรัฐในโลกที่รัฐมีตัวตนอยู่แล้วและคนเหล่านี้อยู่ที่รอบนอกของรัฐแล้ว นี่ก็เป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่าง เรารู้ว่าคนที่ประกอบอาชีพหากินกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ (pastorialism) จริงๆ แล้วมีการจัดตั้งเพื่อที่จะทำการค้ากับรัฐกสิกรรม มันไม่ใช่รูปแบบของการยังชีพที่มีอยู่ก่อนและถูกครอบด้วยการเกษตรกรรม หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ในศตวรรษที่ 9 ชาวบ้านในบอร์เนียวมักพูดมองว่าเป็นพวกล้าหลังมาก และพวกเขาถูกใช้เป็นตัวอย่างของสังคมล่าสัตว์และหาของป่า พวกเขาเก็บของจำพวกไหน? ขนสัตว์และเรซิ่นบางอย่าง รวมทั้งไส้ติ่งของลิง ของพวกนี้เป็นของมีค่ามหาศาลในประเทศจีนขณะนั้น พวกเขาจึงเก็บของพวกนี้เพื่อค้าขายระหว่างประเทศกับรัฐที่มีอยู่แล้ว การล่าสัตว์และหาของป่าก็เป็นการล่าสัตว์และหาของป่าที่ทำในเงาของรัฐ แล้ว “สภาพธรรมชาติ” แบบไหนที่เรากำลังพูดถึง? ตอนที่รุสโซพูดถึงความป่าเถื่อนที่เขาได้พบ เขาเห็นคนที่ตอบสนองอย่างจงใจกับตัวแทนของรัฐที่มีการจัดตั้ง พวกเขายังแสวงหาประโยชน์ของตนและมีพฤติกรรมทางการเมือง ดังนั้น มโนทัศน์นี้บางทีอาจจะปิดซ่อนอะไรหลายอย่างมากกว่าที่มันเปิดเผยให้เห็นก็ได้
ตามความเห็นของอาจารย์ อะไรคือข้อท้าทายในปัจจุบันหรือข้อถกเถียงหัวใจของสังคมศาสตร์ที่เน้นการเมือง จุดยืนและคำตอบของอาจารย์ต่อข้อท้าทาย/ ข้อถกเถียงนั้นคือ?
นี่ไม่ใช่คำถามที่ผมถามตัวเองบ่อยนัก มีอยู่หนึ่งครั้งที่ผมเคยถาม แต่ก็หลายปีผ่านมาแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าคุณรู้จัก “กลุ่มเคลื่อนไหวเปเรสทรอยกา (Perestroika movement)” ในสายรัฐศาสตร์รึเปล่า ในช่วงที่ผ่านมามีแถลงการณ์ที่ไม่ลงชื่อแต่เซ็นต์ลงท้ายว่า “นายเปเรสทรอยกา” ปรากฎขึ้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า (ศาสตราจารย์) เบเนดิก แอนเดอร์สันและผมไม่เคยอ่าน American Political Review (วารสารวิชาการกระแสหลักด้านรัฐศาสตร์: ผู้แปล) และก็ยังถามต่อไปถึงเหตุผล โดยอ้างว่าบางทีวารสารนี้และองค์กรทรงอิทธิพลซึ่งสนับสนุนวารสารนี้อาจจะไม่สอดคล้องและเป็นอุปสรรคอย่างแท้จริง ต่อการขยับขยายความรู้ ตอนนี้ กลุ่มเปเรสทรอยกาเชื่อมต่อกับกลุ่มเศรษฐศาสตร์โพสออทิสติก (Post- Autistic Economics movement) ทางฝั่งยุโรป ที่พยายามเผยแพร่เศรษฐศาสตร์กระแสรองเพื่อทัดทานกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่กลืนกินทุกอย่าง อันที่จริง ที่พวกเขาเชิญผมไปนั่งอยู่ในสภาบริหารของสมาคมรัฐศาสตร์ก็เป็นผลมาจากการแข็งขืนของเปเรสทรอยกา และนั่นเป็นครั้งเดียวที่ผมได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังกับความพยายามหาคำตอบว่ารัฐศาสตร์ควรจะเป็นอย่างไร โดยภาพรวมแล้ว ผมได้ทำตามหน้าที่ของผมโดยไม่ได้กังวลกับผลที่จะตามมา ผมเลือกที่จะไม่เสียเวลาอยู่ในหลุมของวิวาทะเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกขุดอยู่รอบๆ ตัวผม
อย่างที่คุณเห็น ผมไม่ค่อยได้คิดจริงจังว่ารัฐศาสตร์ควรจะถูกปฏิรูปยังไง แต่ผมเชื่ออย่างแท้จริงว่าคนในรัฐศาสตร์พวกที่ชอบเสแสร้งเรื่อง “ความเป็นวิทยาศาสตร์” จริงๆ แล้วกำลังยุ่งมากอยู่กับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ ความจริง มีจุดเปลี่ยนในลักษณะแนวทดลองกับรัฐศาสตร์ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งกำลังทำสิ่งที่เขาเรียกว่า “การทดลองบริสุทธิ์” ที่มีการออกแบบอย่างที่ทำกันในการทดลองจิตวิทยา ที่มีการควบคุมกลุ่มตัวอย่างและอื่นๆ แต่คำถามที่พวกเขาถามกลับแคบอย่างน่าตกใจ! พวกเขาจินตนาการว่าคนทั่วไปจะคิดถึงคำถามพวกนี้มากเท่าที่จะเป็นไปได้และพวกเขาจะค่อยๆ สร้างป้อมปราการที่ไม่สามารถทำลายได้ของสังคมศาสตร์ ทั้งที่ผมเองคิดว่ามันเป็นแค่กองอิฐที่ไม่ได้เติมต่อยอดให้กับอะไรเลย
ผมเองประทับใจกับคนที่ค่อยๆ ขยับไปข้างหน้ากับประเด็นที่มีความสำคัญ มากกว่าพวกที่สร้างความรุดหน้าในคำถามที่โดยปกติแล้วไม่ควรค่ากับการถามเท่าใด ตัวผมเองมักจะพยายามทุ่มเทงานไปยังประเด็นที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญมาก อย่างเช่น ต้นกำเนิดของรัฐหรือพลวัตรของความสัมพันธ์อำนาจ ไม่ว่าระหว่างรัฐและประชาชนหรือความสัมพันธ์โดยทั่วไปก็ตาม ยกตัวอย่าง หนังสือของผมสองเล่ม (Domination and the Arts of Resistance และ Weapons of the Weak) นั้นคือความพยายามที่จะเข้าใจความสัมพันธ์อำนาจในโครงสร้างแบบจุลภาค (แทนที่จะเป็นมหภาค) ตอนนี้ เรากำลังให้ความสนใจต่อเงื่อนไขทางการเมืองแบบที่เอื้อต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ไม่สร้างความหายนะและนี่เป็นคำถามที่ผมถือว่ามีความสำคัญมาก ไม่เพียงแต่สำหรับนักสังคมศาสตร์เท่านั้น แต่คนทั่วไปก็สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างคำถามที่สำคัญกับคำถามพื้นๆ ได้
คุณมาถึงจุดที่คุณอยู่นี้ ในเรื่องแนวคิดได้อย่างไร?
ย้อนหลังกลับไปนานมาแล้ว ก่อนที่ผมจะเรียนต่อ เพื่อนคนหนึ่งได้พูดว่า “ก่อนแกจะเรียนต่อ ต้องอ่าน The Great Transformation ของคาร์ล โปลันยี” ผมอ่านมันในช่วงซัมเมอร์ก่อนที่จะกลับไปเรียนต่อ และผมคิดว่าในบางแง่มุม มันเป็นหนังสือที่สำคัญที่สุดที่ผมเคยได้อ่าน หนังสืออีกเล่มที่มีอิทธิพลต่อผมอย่างมากคือ The Making of the English Working Class (1963) ของอี พี ธอมสัน (E. P. Thomson) ผมยังจดจำเก้าอี้ตัวที่ผมนั่งอ่านทั้ง 1,000 หน้ากระดาษหนาเตอะได้อย่างดี หนังสือเล่มนี้ขุดลงไปถึงต้นกำเนิดของจิตสำนึกชนชั้นแรงงานในช่วงเวลาเดียวกับที่โปลันยีได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดเพื่ออธิบายการดึงเศรษฐกิจออกจากการกำกับของสังคม หนังสืออีกเล่มที่มีอิทธิพลคือ Primitive Rebels ของอิริก ฮอบสบอว์ม (Eric Hobsbawm) เพราะเขาได้ชี้ไปที่รูปแบบต่างๆ ของอาชญากรรมและการฝ่าฝืนกฎหมายในฐานะปรากฏการณ์การเมืองซึ่งควรจะถูกอธิบายอย่างนั้นในแง่ของระเบียบวิธี เพราะมักถูกวิเคราะห์ไปในลักษณะอื่น
ทำไมผมถึงชอบนักวิชาการเหล่านี้ พวกเขาได้สอนผมว่าการเสนอแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนต่อสิ่งต่างๆ นั้นถือเป็นคุณูปการณ์ที่สำคัญต่อวงการสังคมศาสตร์ คุณคงรู้จักกล้องคาเลโดสโคปที่พอเขย่าแล้วมันจะเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ และทำให้คุณเห็นโลกแตกต่างออกไป งานทั้งหมดที่มีผลต่อผมคืองานมีผลต่อการมองโลกของผม คือเมื่อผมมองโลกผ่านกล้องที่นักวิชาการเหล่านี้ยื่นให้ ผมเห็นโลกที่ต่างออกไปอย่างน่าทึ่ง และเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่ผมไม่เคยเข้าใจมาก่อน
มาถึงในแง่ของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นและมีผลต่อตัวผม แน่นอนว่าสงครามเวียตนาม ซึ่งเกิดขึ้นขณะที่ผมเริ่มงานแรกเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนที่อยู่มหาวิทยาลับวิสคอนซินในปี 1967 คือหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ผมได้เข้าไปอยู่ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงและได้ให้สัมภาษณ์รวมทั้งสอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านี้ ในช่วงเวลานั้น ผมยังค้นพบว่าผมได้ทำวิทยานิพนธ์ที่น่าเบื่อซึ่งจมหายไปอย่างไร้ร่องรอย (ไร้คุณค่าในสายตาของผู้พูดและไม่ก่อให้เกิดผลอะไรตามมา: ผู้แปล) ผมจึงตัดสินใจในตอนนั้นว่า ในเมื่อชาวนาเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ผมรู้สึกว่าการศึกษาชาวนาน่าจะทำให้เรามีคุณค่าในชีวิตมากขึ้น ถ้าหากการพัฒนาจะมีความหมายอะไรสักอย่าง มันก็ควรจะหมายถึงการพัฒนาวิถีชีวิตของชาวนาและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาในภาพรวม นอกจากนี้ พวกเขายังมีส่วนร่วมในจุดกำเนิดของสงครามการปลดปล่อยชาติ อย่างที่สงครามเวียตนามทำหน้าที่นั้นสำหรับคนเวียตนาม หนังสือของผม The Moral Economy of the Peasant เกิดขึ้นจากการต่อสู้ในสงครามเวียตนามโดยตรง มันเป็นความพยายามของผมที่จะทำความเข้าใจกับการต่อต้านของชาวนา
เพื่อที่จะเป็นนักวิชาการที่ชำนาญและสามารถเข้าใจโลกในมุมมองที่กว้างขวาง นักศึกษาต้องการอะไร?
เรื่องนี้ผมมีคำตอบที่ชัดเจน (เมื่อเปรียบเทียบกับคำถามแรก: ผู้แปล) เราคงพอนึกภาพได้ว่าทุกคนจะเป็นนักวิชาการที่ถูกฝึกให้เชี่ยวชาญในความชำนาญและสาขาของตน ในความหมายทำนองเดียวกับแรงงาน ดังนั้นผมจะไม่พูดเรื่องนั้น แต่สิ่งที่ผมรักที่จะเล่าให้นักศึกษาในปัจจุบันฟังก็คือ ถ้า 90% ของเวลาที่พวกคุณใช้อ่านตำรานั้น ถูกใช้ไปในตำรารัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยากระแสหลักและถ้าพวกคุณใช้เวลาส่วนใหญ่อีกเช่นเดียวกันไปในการพูดคุยกับคนอื่นที่อ่านตำราประเภทเดียวกัน อย่างนั้นแล้วคุณก็จะผลิตซ้ำแต่รัฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยากระแสหลัก ความคิดก็ผมก็คือ ถ้าคุณทำได้ไม่เลวนัก อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสิ่งที่คุณอ่านควรจะมาจากนอกสาขาของคุณ อย่างที่แรงขับเคลื่อนที่น่าสนใจมักมาจากชายขอบของสาขาหรือแม้กระทั่งจากข้างนอก งานวิจัยที่น่าสนใจในสังคมศาสตร์เกิดขึ้นเมื่อคุณมองเห็นแนวความคิดแปลกๆ ซึ่งสามารถปรับใช้และต่อยอดให้กับสาขาของคุณ ที่ผมแนะนำอยู่นี่ก็เป็นการสร้างทฤษฎีจากสิ่งที่ผมทำ ตอนที่ผมเขียน The Moral Economy of the Peasant ผมอ่านวรรณกรรมชาวนาทั้งหมดที่ผมพอจะหาได้ อ่านประวัติศาสตร์บอกเล่าทั้งหมด โดยสรุปก็คือ ผมจับยัดทุกอย่างจากนอกรัฐศาสตร์มากเท่าที่จะทำได้ ถ้าคุณลองดูงานที่มีอิทธิพลในช่วงเวลาต่างๆ คุณจะบอกได้เลยจากดัชนีหรือบรรณานุกรมคนเขียนได้อ่านงานจำนวนมากที่อยู่นอกข่ายงานกระแสหลักทั่วไป
แต่ถ้าคุณเลือกที่จะทำอะไรบางอย่างที่กว้างขวางและท้าทาย คุณก็จะพบกับอุปสรรคและการต่อต้านบางอย่างจากเครื่องจักรกลวิชาการที่แข็งตัวไปแล้ว ลองดูตัวอย่างของ The Social Origins of Dictatorship and Democracy ของบาร์ริงตัน มัวร์ (Barrington Moore) ที่เป็นอีกงานที่ยิ่งใหญ่ หนังสือเล่มนี้ถูกปฏิเสธถึงหกครั้งจากสำนักพิมพ์ เพราะผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาที่เขาพูดถึงมีปัญหากับแต่ละบทที่เกี่ยวข้องกับสาขาเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม มันสำคัญแค่ไหนที่จะตีพิมพ์บทความเหล่านั้น? เพื่อนร่วมงานของผมวิจัยเกี่ยวกับจำนวนของคนที่อ่านบทความวิชาการจริงๆ และจำนวนเฉลี่ยก็ต่ำกว่าสามคน ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้ว บทความส่วนใหญ่ที่ถูกตีพิมพ์กันก็เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ปฏิเสธการเมืองขนาดใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเพื่อให้คนได้รับตำแหน่งวิชาการ อันนี้รวมถึงพวกบทความที่เป็น peer-reviewed ด้วย ความก้าวหน้าทางวิชาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของระบบประเมินที่ทำให้ได้จำนวนของบทความ peer-reviewed และอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกลไกของระบบที่ปฏิเสธความเป็นการเมืองหรือเป็นความพยายามที่จะปฏิเสธการตัดสินเชิงคุณภาพเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ว่าดีเพียงใด มันเป็นอะไรที่ดูจะเป็นเรื่องปกติในประชาธิปไตย ที่คุณจำเป็นต้องโน้มน้าวให้ผู้คนมีภววิสัย คุณต้องไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่มีการตัดสินใจเชิงคุณภาพและคุณก็แค่เปรียบเทียบจำนวนเท่านั้น ดังนั้น ถ้าคุณจะผลิตบทความสักอันที่จะมีคนอ่านเพียงสามคนแล้วละก็ แล้วคุณจะคิดทำมันทำไมตั้งแต่ต้น? คุณควรจะทำอะไรอย่างอื่นที่พอจะมีผลกระทบอะไรกับโลกบ้างจะดีกว่า ถ้าคุณทำมันเพื่อเอาอกเอาใจสาขาวิชาที่กำลังเฝ้ามองคุณด้วยความวิตกกังวล งานของคุณก็จะกลายเป็นแค่กำลังแรงงานที่แปลกแยกและผมพูดอย่างนี้ ผมเองก็ยอมรับว่าคุณไม่มีทางก้าวหน้าได้ถ้าคุณไม่ทำอย่างนี้ มันง่ายสำหรับผมที่จะพูด เพราะผมมาจากช่วงเวลาที่มีความรู้สึกโรแมนติกกับประเทศโลกที่สาม อะไรก็ตามที่พูดถึงโลกที่สามก็มีแนวโน้มว่าจะได้รับตีพิมพ์ ดังนั้น ผมค่อนข้างจะตระหนักถึงข้อเท็จจริงว่าผมมีชีวิตที่ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษาในปัจจุบัน ยังไงก็ตาม นอกจากคุณจะปรารถนางานเสมียนแบบเข้าเก้าโมงเช้าออกห้าโมงเย็นที่ต้องตอกบัตรแล้ว คุณก็น่าจะทำอะไรที่มันน่าตื่นเต้นถึงมันจะขายยากก็ตาม
คุณศึกษามาทางด้านเกษตรกรรม แต่งานเขียนของคุณทั้งหมดกลับมีความเป็นการเมืองอยู่สูง สำหรับคุณ? แล้วอะไรคือนัยยะทางนโยบายสำหรับการสร้างรัฐและการพัฒนาของประเทศโลกที่สาม?
คำถามนี้เกิดขึ้นกับผมระหว่างที่เกิดสงครามเวียตนาม ตอนที่ประชาชนกำลังทำสงครามเพื่อปลดปล่อยแห่งชาติ จุดนั้นเอง เราเริ่มมองว่าชาวนาเวียตนาม ชาวนาอัลจีเรียนและชาวนาเม็กซิกันเป็นผู้ที่ยึดกุมจิตวิญญาณแห่งชาติเป็น ครั้งแรก มันอาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว แต่มันเกิดจากความคิดว่าว่าชาวนาเวียตนามในฐานะสามัญชนนั้นได้ยืดหยัดเพื่อ ความเป็นชาติของเวียตนามในบางแง่มุม สิ่งเหล่านี้นำผมมาศึกษาเกษตรกรรม คือ ถ้าคุณต้องการที่จะเข้าใจการลุกฮือในเวียตนาม คุณต้องทำความเข้าใจชาวนา และถ้าคุณต้องการที่จะเข้าใจชาวนา คุณต้องศึกษาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผลผลิตและอื่นๆ มันเริ่มต้นจากที่ผมได้ศึกษาความรุนแรงทางการเมืองเมื่อสามสิบปีที่แล้ว และตอนนี้ผมกำลังศึกษาการทำให้พืชและสัตว์กลายเป็นสิ่งปลูก-เลี้ยงโดยมนุษย์ (domestification)
ผมคิดว่าในฐานะของวิถีหลักในการเลี้ยงตัวเอง หรือในฐานะของทรัพยากรแหล่งสำคัญที่ผู้คนแก่งแย่ง ประเด็นเรื่องที่ดินกับการชลประทานและอุปทานอาหารกับความอดอยากนั้นอยู่ตรง ใจกลางของประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมือง ประเด็นเหล่านี้เป็นรูปแบบพื้นฐานของการเมืองและดังนั้น ผมจึงรู้สึกว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้อย่างการทำฟาร์ม (farming) จึงเป็นเรื่องของการเมืองโดยตรง
กลับไปที่โลกสมัยใหม่ที่พัฒนาแล้ว ในยุโรปตะวันตกและในสหรัฐ ภาคเกษตรกรรมคิดเป็น 5% โดยเฉลี่ยของประชากร อย่างไรก็ตาม มันมีแนวโน้มว่าภาคเกษตรกลับถูกนำเสนอในทางการเมือง (overrepresented) อย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของประชากรในหลายแง่มุม เพราะประเด็นเรื่องนโยบายชนบท การแบ่งเขตทางการเมือง การอุดหนุนภาคการเกษตร ... จะว่าไปแล้ว พวกเกษตรกรรายย่อยและนายทุนน้อยนั้นถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากกับพรรค การเมืองฝ่ายขวา พวกเขาได้รับการปกป้องและได้รับการอุดหนุนจากรัฐถึงจุดที่ทำให้มีการสะสม ส่วนเกินการผลิตและจริงๆ แล้ว พวกเราทำให้ประเทศโลกที่สามเจอต้องเจอกับปัญหาในการส่งออก ในโลกที่ทำงานแบบนีโอคลาสสิคอย่างแท้จริงแล้ว เราจะไม่มีวันอุดหนุนภาคเกษตรและก็จะบริโภคผลผลิตทางการเกษตรจากประเทศยากจน ที่อยู่ในเขตรอบนอกของยุโรปและอเมริกาใต้ แม้กระทั่งในประเทศอย่างอินเดียที่มีการพัฒนาของอุตสาหกรรมและของเมืองอย่าง รวดเร็ว ข้อเท็จจริงก็คือประชากรในเขตชนบทและประชาชนที่ใช้ชีวิตอยู่กับภาคเกษตรและ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นไม่เคยมีจำนวนมากเท่ากับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้สัดส่วนจะลดลง แต่จำนวนประชากรก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ทำให้แนวโน้มนี้เป็นที่สังเกตุเห็นได้ ชัด
หนังสือของคุณที่ชื่อ Seeing like a state เน้นเรื่องความง่ายในการทำความเข้าใจและความพยายามทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป้าหมายในด้านภาษีและระเบียบทางการเมือง คุณคิดว่าหลักการเดียวกันนี้ถูกใช้กับการสร้างสินค้าและตลาด รวมถึง “ประโยชน์” แบบเดียวกันนั้นได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้หรือไม่ หรือปรัชญาของตลาดนั้นต้องการคำอธิบายที่ต่างออกไป? พูดอีกอย่างก็คือ อะไรคือความแตกต่างระหว่างความง่ายในการทำความเข้าใจสำหรับเป้าหมายเชิง พาณิชย์และของรัฐ รวมถึงระหว่างอำนาจทางการตลาดและอำนาจของรัฐ?
ผมเข้าใจว่าการแลกเปลี่ยนและการค้าขนาดใหญ่ของสินค้าใดก็ตามล้วนต้องการสิ่ง ที่เรียกว่าความเป็นมาตรฐานในระดับหนึ่ง หนังสือของโครนอนที่ชื่อ Nature’s metropolis ซึ่งพูดถึงประวัติศาสตร์เชิงนิเวศของชิคาโก (งานของ William Cronon ในปี 1992 ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองชิคาโกในศตวรรษที่ 19: ผู้แปล) มีบทหนึ่งเกี่ยวกับตลาดซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดพันธุ์ ในความเป็นจริง มีความหลากหลายตามธรรมชาติอย่างมหาศาลในแง่ของพันธุ์ข้าวโพด ถั่วเหลืองและข้าวสาลีที่ปลูกกัน แต่เมล็ดพันธุ์เหล่านี้กลับถูกคัดแยกออกเป็นสองหรือสามเกรดในโกดังขนาดใหญ่ เพื่อที่จะส่งออกไปต่างประเทศโดยเรือสินค้าขนาดมหึมา แรงกระตุ้นให้มีการกำหนดมาตรฐานในโกดังยังส่งผลกระทบไปจนถึงภูมิทัศน์และ ความหลากหลายของบริเวณรอบชิคาโกและลดทอนความหลากหลายของภูมิภาคลงไปจนกลาย เป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
อย่างที่ผมได้อธิบายใน Seeing like a state มันก็เป็นหลักการเดียวกันที่ใช้ได้กับเรื่อง Normalbaum (เทคนิคของเยอรมันในการควบคุมการปลูกพืชในป่า: ผู้แปล) ในการจัดการป่าทางวิทยาศาสตร์แบบเยอรมัน สินค้าเกษตรถูกทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเมื่อต้องถูกขนถ่ายในปริมาณมากๆ ผ่านการค้าระหว่างประเทศ ถ้าคุณสร้างแฟรนไชส์ของแมคโดนัลส์หรือเคเอฟซี ก็จะมีคนบอกคุณว่าจะต้องสร้างอาคารอย่างไร คุณจะต้องซื้ออุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดจะต้องถูกจัดวางเข้ากับสิ่งอื่นๆ บนแบบแปลนในรูปแบบเดียวกัน รายละเอียดต่างๆ จะถูกกำหนดมาให้ถึงขนาดว่าจะผลิตเบอร์เกอร์หรือไก่ย่างที่มีมาตรฐานเดียวกัน ยังไง และเพราะว่ามันถูกทำให้เป็นมาตรฐาน คนที่มาจากสำนักงานใหญ่ก็สามารถจะไปตรวจสอบทุกที่ที่แทบจะเหมือนกันด้วยเช็ค ลิสต์ โดยตรวจสอบความสะอาด คุณภาพ ผลิตภาพการผลิตและความสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กร นี่คือรูปแบบการควบคุมเหนือระยะทางไกลเพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ในที่สุด สายพานการผลิตคืออะไร? มันก็คือความพยายามที่จะทำให้หน่วยของกำลังแรงงานเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด กระบวนการก็แทบไม่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เบอร์เกอร์หรือรถยนต์ เช่นเดียวกันผลที่เกิดกับความหลากหลายของมัน ระบบเกษตรแบบพันธะสัญญา (Contract farming) เป็นตัวอย่างของการปรับเกษตรกรรมเข้ากับเงื่อนไขการผลิตแบบหลังฟอร์ด (post-Fordist) ที่เน้นหนักไปในด้านความต้องการบริโภค
เราคงจะจัดให้คุณเป็นเป็นพวกที่วิจารณ์โครงการสร้างความทันสมัยที่มาจากภายในรัฐ คุณจะสามารถยกตัวอย่างรูปแบบการกำกับควบคุมร่วมสมัยที่คุณเห็นด้วยหรือต้อง การส่งเสริมหรือไม่?
ผมรู้สึกว่ากระบวนการแบบประชาธิปไตยที่เข้าแทรกแซงขั้นตอนการวางแผน (ของรัฐ) จนทำให้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงในแต่ละระดับนั้นทำให้เกิดผลที่น่าพอใจในระยะยาวสำหรับทุกคนที่ เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ มันยังส่งผลให้เกิดความรู้สึกผูกพันของประชาชนเนื่องจากประชาชนรู้สึกว่าตัว เองมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอในกระบวนการกำหนด ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปคือโครงการจำนวนมากที่ถูกกำหนดมาอย่างดีจากข้างบน มักล้มเหลวเพราะประชาชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนร่วมกับ มันเลย ผมไม่ต้องการจะปฏิเสธโครงการสร้างความทันสมัย ผมเพียงแต่ต้องการลดอิทธิพลของพวกผู้เชี่ยวชาญให้น้อยลง
ผมจำได้ว่าตอนผมอยู่ที่ Berlin at the Wissenschaftskolleg (หรือ Wissenschaftskolleg zu Berlin สถาบันวิจัยขั้นสูงเบอร์ลิน ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1930 และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยที่โดดเด่นได้ทำงานในประเด็นที่ ตนสนใจโดยใช้แรงบันดาลใจจากศาสตร์และจารีตอื่นที่แตกต่างไปจากที่ตนคุ้นเคย: ผู้แปล) มีผู้หญิงคนนึงชื่อบาร์บารา เลน (Barbara Lane) นักประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรม เราได้ไปเยี่ยมเขตที่อยู่อาศัยซึ่งมีบ้านสองแบบ คือ ที่อยู่อาศัยแบบบาวเฮาส์ (Bauhaus) และแบบที่เป็นคู่แข่งของพวกสถาปนิกพรรคสังคมนิยมแห่งชาติ (Bauhaus มีความหมายว่า “บ้านแห่งการก่อสร้าง” หรือ “โรงเรียนก่อสร้าง” คือ สำนักทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงระหว่าง 1913-1933: ผู้แปล) มันน่าสนใจมากที่สถาปนิกของบาวเฮาส์สามารถบอกได้ว่าคนเราต้องการใช้พื้นที่ กี่ตารางเมตร น้ำปริมาณเท่าใด แสงแดดเท่าใด พื้นที่สนามเด็กเล่น.. พวกเขาได้วางแผนสำหรับมนุษย์นามธรรมและสถาปัตยกรรมนี้ก็สามารถสร้างที่ไหนก็ ได้บนโลก ขณะที่สถาปนิกของนาซีได้สร้างบ้านจริงๆ ที่มีปล่องควันเล็กๆ บันไดอิฐขั้นเล็กหน้าบ้าน ทั้งหมดอ้างอิงกับรูปแบบบ้านที่พบเห็นทั่วไปตามวัฒนธรรมเยอรมัน ผมพบว่าในแง่มุมหนึ่ง แรงบันดาลใจของสำนักบาวเฮาส์ในระดับนานาชาตินั้นก็คือต้องการจะให้ใช้ได้ทุก ที่และเป็นสากล อย่างเดียวกับที่ IKEA (ธุรกิจออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของสวีเดนที่กำลังเติบโตอย่างรวด เร็วและได้รับความนิยม เนื่องจากการออกแบบที่เรียบง่าย ทันสมัยและราคาไม่สูง: ผู้แปล) ทำในขณะนี้ ผมกลับพบว่าผมค่อนข้างละอายที่ตัวเองอยากเลือกที่จะอยู่ในบ้านที่ออกแบบโดย นาซีมากกว่าบ้านบาวเฮาส์ แต่มันก็สะท้อนมุมมองเรื่องการกำกับควบคุมของผม คือ มันถูกสร้างขึ้นมายังไง? มีความทะเยอทะยานแค่ไหน?
ในแง่นั้น งานของคุณถูกอ้างว่าเป็นแรงบันดาลใจอันหนึ่งที่สำคัญของสิ่งที่เรียกว่า “การศึกษาการต่อต้าน (resistance studies) ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับพวกที่ถูกปกครอง/ กดขี่ (subaltern/ repressed) หรือคนกลุ่มที่คุณได้ทำให้มีชีวิตและตัวตนขึ้นมาในทางวิชาการ คุณคิดยังไงกับการศึกษาการต่อต้านแบบดังกล่าว?”
ทั้งหมดที่ผมได้ทำในหนังสืออย่าง Weapons of the Weak ก็คือ ได้ศึกษาพฤติกรรมที่โดยทั่วไปแล้ว เรามักเรียกมันว่า “ไม่เป็นการเมือง” หรือ “ไม่สมเหตุผล” ในฐานะรูปแบบของการเมือง นักวิชาการ (ผู้ยิ่งใหญ่) ที่ล่วงลับไปแล้วชารล์ส ทิลลี (Charles Tilly) และผมมีความเห็นต่างกันในเรื่องที่ว่าความเป็นไปได้ในการรวมตัวกันในที่ สาธารณะ ในการสร้างองค์กร ในการเดินขบวนประท้วงหรือสร้างกระบวนการประชาธิปไตยอย่างเปิดเผยนั้นไม่มี เลยในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกในอดีตที่ผ่านมา สำหรับเขา การจะเรียกอะไรว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง มันจะต้องปรากฎตัวต่อสาธารณะอย่างยาวนานและมีเป้าหมายสาธารณะที่กว้างขวาง แต่ในทางตรงกันข้าม ผมพยายามจะชี้ให้เห็นพื้นที่ของการกระทำทางการเมืองที่เคยถูกมองว่าไม่เคยมี ตัวตน ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ที่คำนิยามของการเมืองแบบทางการและมีข้อจำกัดไม่สามารถเอามา ใช้ได้ ผมเพียงแต่ถามคำถามว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเรียกมันว่าเป็นการเมือง?” อันที่จริง การขัดขืน ไม่ยอมทำตามและแทคติคอื่นๆ ที่ประชาชนใช้เมื่อต้องเผชิญกับอำนาจที่โหดเหี้ยมหรือเผด็จการนั้น บ่อยครั้งในเหตการณ์ประวัติศาสตร์ทั่วโลกคือเครื่องมือทางการเมืองเท่าที่ ประชาชนพอจะหาได้
นอกจากนี้ มันคือสถาบันที่ทรงอิทธิพลที่มักมีปกปิดเกี่ยวกับการทำงานของอำนาจและเกี่ยว กับการทำงานของโลก ผมคิดว่าศักยภาพในการปลดปล่อยของสังคมศาสตร์ก็อยู่ที่การทำงานของพวกเรา อย่างซื่อสัตย์ แสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร และมันมีผลในทางทำลายล้างระบบเก่าเพราะอย่างที่บอกว่าสถาบันที่มีอิทธิพลคือ กลุ่มที่มีอะไรซ่อนเร้นมากที่สุด ผมคิดว่าสังคมศาสตร์ที่ดีโดยธรรมชาติของมันจะต้องสามารถปลดปล่อยสังคมและมี หน้าที่ในลักษณะต่อต้าน ทุกวันนี้ ผมมีความมั่นใจน้อยลงเกี่ยวกับแรงจูงใจของผู้คนที่ต้องการตีแผ่ให้เห็นว่า สิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร พวกเขามักใช้ประโยชน์จากอคติที่รุนแรงของตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และแรงจูงใจของพวกเขาหลายครั้งก็เป็นแรงจูงใจที่ผมไม่เห็นว่ามีค่าพอ
แนวคิดมาร์กซิสม์มีความสำคัญกับคุณอย่างไรในการอธิบายการทำงานของโลก?
เมื่อมีคนถามผมถึงความสัมพันธ์กับมาร์กซิสม์ ผมเคยตอบว่าผมเป็นมาร์กซิสต์อย่างหยาบ ผมเน้นที่คำว่าหยาบในความหมายว่าผมให้ความสนใจกับฐานด้านวัตถุ (material basis) ของการต่อสู้ทางการเมืองใดๆ ก็ตามและผมคิดว่าชนชั้นกับฐานด้านวัตถุเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ สิ่งที่ผมต่อเพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมผมจึงชื่นชอบงาน The Great Transformation ของคาร์ล โปลันยีนักก็คือ ผมคิดว่ามันเป็นข้อโต้แย้งที่ทรงพลังเมื่อพูดถึงวิถีที่ระบบเศรษฐกิจได้ถูกกำกับอยู่ภายในความสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงประวัติศาสตร์และไม่สามารถถูกดึงออกมาได้จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 เมื่ออุดมการณ์แบบ “เสรีนิยม (laissez-faire)” ถูกพัฒนาขึ้น การต่อสู้ที่โปลันยีชี้ให้เราเห็นคือการต่อสู้ที่เรายังคงเกี่ยวข้องอยู่ทุกวันนี้และแน่นอนว่าหลังจากฉันทามติวอชิงตัน เราจำเป็นที่จะต้องคิดค้นรูปแบบของกลไกคุ้มกันทางสังคมในแบบที่โปลันยีได้พูดถึง ไม่ว่าเราจะเรียกมันว่าสังคมนิยมหรือไม่ก็ตาม มันเป็นรูปแบบของการปกป้องตัวเองสำหรับโอกาส-ชีวิต (life chances –โอกาสที่แต่ละบุคคลพึงมีเพื่อใช้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตน แนวความคิดของนักสังคมวิทยา Max Weber: ผู้แปล) และยังชีพ คำถามที่ว่าเราจะปกป้องคนธรรมดาสามัญทั่วไปจากการรุกรานของตลาดเป็นคำถามอมตะแบบสังคมนิยมที่ควรจะถูกนำออกมาเป็นข้อถกเถียง
มันก็แปลกที่ผมพบว่าตัวเองหวนกลับไปนึกถึงสงครามเย็นใน 2 แง่มุม แง่มุมแรก ผมคิดว่าเราอาจจะโต้แย้งในแบบที่โรเจอรส์ สมิทธ์ (Rogers Smith ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย: ผู้แปล) เพื่อนร่วมงานของผมทำว่าก็คือ ถ้าหากเราต้องการจะเข้าใจความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองในสหรัฐ ปัจจัยหลักอันหนึ่งในช่วงยุคเคนเนดีก็คือข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ กำลังแพ้สงครามเย็น ส่วนหนึ่ง พวกเขาคิดว่าเป็นเพราะเราเป็นสังคมที่เหยียดชนชาติอื่น ดังนั้นการชนะสงครามเย็นจึงกลายเป็นฐานของการปฏิรูปที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเราไปสู่สังคมที่เสมอภาคมากขึ้น แง่มุมที่สอง ขณะที่โลกยังถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกยังคงสนใจเรื่องการปฏิรูปที่ดินในที่ซึ่งการกระจายที่ดินเป็นไปอย่างไม่เทียมเทียมกันอย่างมาก แต่หลังจากปี 1989 ไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกกลับไม่เคยพูดถึงเรื่องการปฏิรูปที่ดินอีก
ดังนั้น ขณะที่วาทกรรมการต่อสู้ทางชนชั้นที่มีลักษณะเป็นคำทำนายสำเร็จรูปถูกพิสูจน์ว่าผิดโดยประวัติศาสตร์ คำถามของโปลันยีแบบสังคมนิยมต่างยังคงมีชีวิตและใช้การได้ดี
ในหนังสือเล่มล่าสุด คุณพูดว่าพวกเรากำลังประสบกับการขยายตัวอย่างเด็ดขาดและฝังรากของรัฐชาติทั่วโลก ถือเป็นการปิดผนึกขั้นสุดท้าย และคุณได้พูดถึงเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบเสรีนิยมในฐานะข้อจำกัดของแรงบันดาลใจสมัยใหม่ที่อาจนำไปสู่หายนะ แต่ว่าตามแนวคิดของนักสังเกตุการณ์ร่วมสมัยจำนวนมาก น่าจะถูกโต้แย้งได้ว่าตลาดที่ขยายตัวอย่างมากเกินไปอาจต้องถูกควบคุมโดยรัฐ
ผมตั้งข้อสังเกตุเอาไว้ใน Seeing like a state ว่าสหภาพแรงงานของฝรั่งเศสได้เคยต่อสู้เพื่อปกป้องระบบประกันสังคมจากชุดนโยบายเสรีนิมของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก และในแง่นั้น รัฐชาติถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคไม่กี่อย่างต่อตลาด เฮนรี เบิร์นสตน์ (อาจารย์ประจำ School of Oriental and African Studies หรือ SOAS, มหาวิทยาลัยลอนดอน ผู้เชี่ยวชาญภูมิภาคอาฟริกาใต้: ผู้แปล) เตือนผมทุกครั้งเมื่อผมวิจารณ์รัฐ ว่ามันเป็นสถาบันเดียวที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างเศรษฐกิจโลกแบบเสรีนิยมกับปัจเจกหรือครอบครัว
แต่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก หรือพูดอีกอย่างในโลกที่สาม รัฐทำตัวเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของเศรษฐกิจโลกและบ่อยครั้งเหมือนกัน รัฐก็ถูกจำกัดจากการถ่ายโอนกิจการไปยังพื้นที่เอกชนที่ซึ่งรัฐขนาดใหญ่ก็ไม่สามารถเข้าถึงและกำกับดูแลได้
เราอาจจะเห็นด้วยว่าถ้ารัฐมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นั่นหมายถึงรัฐสามารถลดทอนการบิดเบือนที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างในการสะสมความมั่งคั่งและทรัพย์สินได้ ความสามารถในการควบคุมการบิดเบือนความมั่งคั่ง อำนาจและทรัพย์สินโดยรัฐนี้จะบ่งบอกว่ารัฐเองสามารถทำหน้าที่ได้เพียงใดในการทัดทานการทำงานของตลาดที่โดยปกติเป็นไปอย่างอิสระไม่มีอะไรขัดขวาง อันที่จริง มีเพียงรูปแบบรัฐเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้นที่จะสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกปกป้องตนเองของประชาชนจากความล้มเหลวของตลาด นั่นคือระบบประชาธิปไตยที่เปิดกว้างเพียงพอและสามารถหักล้าง ไกล่เกลี่ยและลดผลกระทบของความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างของการกระจุกตัวของอำนาจ ทรัพย์สินและความมั่งคั่ง
ตามนิยามของคุณ ลัทธิเสรีนิยมใหม่คืออะไร?
ในแง่หนึ่ง ความแพร่หลายของวิธีคิดแบบเสรีนิยมใหม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้คนกลายเป็นเครื่องคำนวณผลตอบแทน มีหนังสือที่ชื่อ Everything I learned about love I learned in business school (ทุกอย่างที่ผมเรียนรู้เกี่ยวกับความรัก ผมเรียนรู้ในหลักสูตรธุรกิจ) และมันเกี่ยวกับ “การลดความสูญเสีย” เกี่ยวกับการมี “แถลงการณ์วิสัยทัศน์ (องค์กร)” เกี่ยวกับ “การวัดความสามารถ” พวกเราอาจจะคาดคิดไม่ถึง ในแง่ของเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิค ฮอบบ์สเสนอว่าเราต้องการรัฐเพื่อให้รัฐมาจำกัดความต้องการของเรา แต่มันอาจจะหมายความว่ารัฐเสรีนิยมใหม่ได้เป็นเจ้าอาณานิคมการตัดสินใจของเรา (กระตุ้นให้เกิดความต้องการ) และรัฐเสรีนิยมใหม่นั้นก็ได้สร้างมนุษย์ตัวแสดงที่จำเป็นต้องถูกจำกัดควบคุมโดยรัฐขึ้นมา
ในหนังสือเล่มล่าสุด The art of not being governed คุณศึกษาสถานที่และผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปฏิเสธการถูกผนวกรวมเข้าไปอยู่ในระบบของรัฐชาติ มันเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ แต่นอกจากนั้นแล้ว มันได้ให้บทเรียนอะไรกับปัจจุบันหรือไม่?
นอกจากสิ่งที่ผมได้พูดถึงในตอนต้นว่ามันคือการเข้าใจทางเลือกที่จะไม่ถูกผนวกรวมเข้าในรัฐในฐานะทางเลือกการเมืองของการหลีกหนีที่ตั้งใจแล้ว ผมเสนอว่าภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สถานที่เหล่านี้ถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ ถึงแม้ไม่ทุกแห่งและไม่อยู่ในระดับเดียวกัน เราจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการในการรวมตัวและร่วมมือข้ามพรมแดนรัฐ รวมถึงรูปแบบของอธิปไตยที่ถูกจำกัดอย่างเช่นคาตาโลเนีย (เขตปกครองตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศสเปน: ผู้แปล) แต่ทางเลือกเดียวที่เรามีวันนี้ก็คือการทำให้รัฐชาติเชื่อง เพราะเราไม่สามารถป้องกันไม่ให้มันทำร้ายเราได้ ตอนนี้ มันกำลังเข้าควบคุมพื้นที่ตรงพรมแดนเหล่านี้ หนังเรื่องอวาตาร์ (Avatar) ที่ทำเหมือนกับว่าเราสามารถเผาสะพานและยังคงรักษา “ความสมัยใหม่” เอาไว้นั่นเป็นเพียงอุดมคติเท่านั้น ผมคิดว่างานของคนพื้นถิ่นเหล่านี้ก็คือ ทำยังไงให้ชะลอการรุกคืบของรัฐชาติให้ช้าลงและเป็นมิตรในลักษณะที่จะทำให้การดูดซับของมันมีมนุษยธรรมมากขึ้น
คุณได้พูดก่อนหน้านี้ว่าคุณเป็น ‘มาร์กซิสต์อย่างหยาบ’ แต่ในหนังสือเล่มหลัง คุณได้ใช้แนวทางแบบ constructionist สร้างความหมายใหม่ให้กับอัตลักษณ์ร่วม (ตามแนวคิดแบบ constructionist ปรากฏการณ์ทางสังคมเกิดจากการกระทำของกลุ่มคนอย่างตั้งใจ: ผู้แปล) โดยแสดงให้เห็นว่าการก่อตัวทางสังคมสามารถเปลี่ยนแปลงไปง่ายเพียงใด ถ้าหากว่าฐานทางวัตถุมีความสำคัญจริง คุณจะอธิบายมันกับวิธีการแบบ Constructionism อย่างไร?
มีสิ่งของหลายอย่างที่สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนดความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ ถ้าเรานึกถึงความเหมือนซึ่งแต่ละกลุ่มคนอาจจะมีร่วมกัน จุดร่วมอันใดหรือชุดใดชุดหนึ่งก็สามารถถูกใช้เป็นฐานของอัตลักษณ์นั้นได้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนบางกลุ่มฝังคนตายในไห พวกเขาก็สามารถเลือกที่จะหยิบใช้อันนี้เป็นสัญลักษณ์ของเส้นแบ่งที่ยืนยันความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มได้ แล้วดังนั้น การขับเคลื่อนทางสังคม (social mobilization) จึงเกิดขึ้นจากวิธีการที่ใช้ฝังคนตาย คือ พวกที่ฝังโดยใช้ไหและพวกที่ไม่ได้ใช้ คำถามที่มักเกิดขึ้นก็คือ ชุดของลักษณะทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่มากมายเกือบไม่สิ้นสุดแบบไหนหละจะเป็นฐานของการขับเคลื่อนทางสังคม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขทางวัตถุ คือ ถ้าหากกลุ่มของผู้ถือครองที่ดินรายย่อยทั้งหมดอยู่ในสภาพของการเป็นหนี้เช่นเดียวกัน และถ้าหากมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นและพวกเขาต้องสูญเสียที่ดินของเขาไปในเวลาเดียวกัน นั่นแหละก็มีแนวโน้มที่ความเจ็บปวดแบบนี้จะตกผลึกตัวเองเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของชาวนาเพื่อเรียกร้องการผ่อนผันหนี้ แน่นอนว่าเงื่อนไขแบบเดียวกันเกิดขึ้นกับการขับเคลื่อนชาวนาฝรั่งเศสที่ต้องประสบปัญหาจากกฎระเบียบแบบเดียวกันของยุโรป ในขณะที่พวกเขาสนับสนุนทีมฟุตบอลท้องถิ่นแตกต่างกันไป ซึ่งนั่นถือว่าห่างไกลมีจุดร่วมน้อยมาก แต่เมื่อมีกฎระเบียบใหม่ที่พุ่งเป้าไปที่ภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน พวกเขาจะเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นด้านวัตถุนั้น ในทางกลับกัน คุณอาจจะทำให้ชาวนายากจนในมิชิแกน เช่นเดียวกับกลุ่มเคลื่อนไหวในมิชิแกนตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนโดยใช้ประเด็นว่ารัฐบาลเป็นศัตรูของชาวนาผิวขาวที่ยากจน
ผมมองว่าหลายปัจจัยมีโอกาสตกผลึกเป็นเงื่อนไขของการขับเคลื่อนสำหรับกลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายว่าจะเป็นปัจจัยไหนในสถานการณ์ที่กำหนด
ในแง่หนึ่ง หนังสือเล่มหลังสุดของคุณได้ใช้ข้อโต้แย้งที่คล้ายกับของรุสโซ (ฌอง ฌาร์คส รุสโซ, 1712-1718 นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส: ผู้แปล) ที่ว่าภายนอกรัฐนั้น ไม่ได้มีอนาธิปไตย แต่ที่ต่างออกไปอย่างตั้งใจคือ ยังเป็นระเบียบทางการเมือง คุณคิดยังไงกับความคิดปรัชญาเรื่อง “สภาพธรรมชาติ (state of nature)” ที่นักสัจนิยมในสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักวาดภาพว่าเป็นอนาธิปไตยอันตรายที่ “อยู่รอบนอก” รัฐ?
คำตอบของผมคงจะเป็นเชิงประวัติศาสตร์ รัฐหรือเราจะเรียกว่าองค์กรการเมืองที่รวมศูนย์นั้นอยู่กับเรามาประมาณ 400 ปีแล้ว ถึงแม้ว่ารัฐนี้จะไม่ได้อยู่ในทุกอณูหรือไม่ได้ทรงพลังเหมือนกันในทุกแห่ง แต่รัฐปรากฎอยู่เสมอ ดังนั้น ถึงแม้บางพื้นที่หรือบางคนจะอยู่ “นอก” รัฐ ที่เรียกว่าสภาพธรรมชาติ พวกเขาก็มักจะอยู่ร่วมกับรัฐและมีปฎิสัมพันธ์กับรัฐในเชิงวิภาษวิธี ดังนั้น การพูดว่ามีคนอยู่ภายในและร่วมกับรัฐ รวมทั้งหลายคนอยู่นอกและปราศจากรัฐ และว่าบางทีพวกเขามีพฤติกรรมต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงนั้นเป็นสมมุติฐานที่เป็นไปได้ยาก ยกตัวอย่าง ผมเองมีความคิดว่าชีวิตภายนอกรัฐนั้นไม่ได้ “ทุกข์ระทม สกปรกและสั้น” อย่างที่ฮอบบ์สว่า บางทีเป็นเพราะจำนวนประชากรยังคงอยู่ในระดับต่ำจนวิธีการจัดการความขัดแย้งก็แค่ขยับออกไปนอกทาง มีสิ่งของจำนวนมากที่ผู้คนดิ้นรนต่อสู้หรือตายเพื่อให้ได้มาเป็นเพียงแค่สินค้า ดังนั้น ถ้าการพูดถึงสภาพธรรมชาติ เราหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่นอกรัฐในโลกที่รัฐมีตัวตนอยู่แล้วและคนเหล่านี้อยู่ที่รอบนอกของรัฐแล้ว นี่ก็เป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่าง เรารู้ว่าคนที่ประกอบอาชีพหากินกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ (pastorialism) จริงๆ แล้วมีการจัดตั้งเพื่อที่จะทำการค้ากับรัฐกสิกรรม มันไม่ใช่รูปแบบของการยังชีพที่มีอยู่ก่อนและถูกครอบด้วยการเกษตรกรรม หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ในศตวรรษที่ 9 ชาวบ้านในบอร์เนียวมักพูดมองว่าเป็นพวกล้าหลังมาก และพวกเขาถูกใช้เป็นตัวอย่างของสังคมล่าสัตว์และหาของป่า พวกเขาเก็บของจำพวกไหน? ขนสัตว์และเรซิ่นบางอย่าง รวมทั้งไส้ติ่งของลิง ของพวกนี้เป็นของมีค่ามหาศาลในประเทศจีนขณะนั้น พวกเขาจึงเก็บของพวกนี้เพื่อค้าขายระหว่างประเทศกับรัฐที่มีอยู่แล้ว การล่าสัตว์และหาของป่าก็เป็นการล่าสัตว์และหาของป่าที่ทำในเงาของรัฐ แล้ว “สภาพธรรมชาติ” แบบไหนที่เรากำลังพูดถึง? ตอนที่รุสโซพูดถึงความป่าเถื่อนที่เขาได้พบ เขาเห็นคนที่ตอบสนองอย่างจงใจกับตัวแทนของรัฐที่มีการจัดตั้ง พวกเขายังแสวงหาประโยชน์ของตนและมีพฤติกรรมทางการเมือง ดังนั้น มโนทัศน์นี้บางทีอาจจะปิดซ่อนอะไรหลายอย่างมากกว่าที่มันเปิดเผยให้เห็นก็ได้
ความคิดเห็น