Basic Logic of Voting
การเลือกตั้งนั้น นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการเลือกรัฐบาลแล้ว ในทางสังคม การเลือกตั้งยังทำหน้าที่อื่น เช่น เป็นเครื่องมือในการระบายออกซึ่งความคับข้องใจ (ที่ถูกกฏหมาย), เป็นการแสดงออกซึ่งรสนิยมและอุดมคติทางการเมือง, เป็นแรงจูงใจให้ประชาชนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ฯลฯ
ดังนั้น ในช่วงเลือกตั้งแต่ละครั้ง เราจึงมองเห็นสัญลักษณ์อย่างนึงอย่างใดหรือมากกว่าหนึ่ง ที่ถูกสื่อสารออกมาจากผลการเลือกตั้ง
เมื่อมองในมุมของพรรคการเมืองเอง พรรคที่รักษาการณ์จะตีความการได้รับเลือกกลับเข้ามาว่าเป็นสัญญาณที่บ่งถึงการยอมรับนโยบายท ี่ผ่านมา และหมายถึงไฟเขียวต่อการเดินหน้านโยบายเดิมที่ยังคั่งค้าง ส่วนอีกฝั่ง คือฝั่งที่เข้ามาท้าชิง หรือฝ่ายค้านเดิมนั้น จะตีความไปในทางตรงข้ามว่าการได้รับความไว้วางใจคือ ใบสั่งของการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น เราอาจแปลสัญญาณนี้เป็นภาษาชาวบ้านว่าคือการเลือกเพื่อ"ไม่เปลี่ยน" หรือ "เปลี่ยน"
คราวนี้ มาลองดูตรรกะของผู้เลือกตั้งกันบ้าง โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว เราไม่ได้สนใจนโยบายของแต่ละพรรคมากไปกว่าประโยชน์ที่เราจะได้รับจากนโยบายหรือจากการเลือกพรรคนั้น
นอกจากนี้ ในทางทฤษฎี ถ้าหากบุคคลมีความพึงพอใจต่อความเป็นอยู่ของตนต่ำหรือต่ำมาก (ในสายตาของเค้า) ย่อมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าทางใดทางหนึ่งย่อมทำให้ความเป็นอยู่ของตนดีขึ้น และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากบุคคลมีความพึงพอใจต่อความเป็นอยู่ของตนสูงอยู่แล้ว ย่อมรู้สึกปลอดภัยต่อสิ่งที่เป็นอยู่ และมีแนวโน้มที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลที่แต่ละคนได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ตนเข้าใจในนโยบายและแนวความคิดที่มีต่อความหมายของสังคมที่พึงปรารถนา
ลองหันกลับมามองเมืองไทยและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บางคนตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร แต่ผู้ที่ไปชุมนุมที่สนามหลวงหรือหน้าทำเนียบ ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง รวมทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
เหตุผลคงไม่ใช่แค่เพราะในเมืองมีชนชั้นกลางมาก (เพราะในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาล) แต่เพราะชนชั้นกลางคือกลุ่มที่รู้สึกว่าไม่ได้รับประโยชน์ (หรือเสียประโยชน์ด้วยซ้ำ) จากนโยบายของพรรคไทยรักไทย และมีความพึงพอใจต่อความเป็นอยู่ของตนต่ำ ในขณะที่เกษตรกรหรือผู้มีรายได้ต่ำรู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์จากนโยบาย ต่างๆ อย่างเต็มที่ (ประโยชน์ระยะสั้นหรือระยะยาวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) และพึงพอใจต่อสิ่งที่เป็นอยู่
กลุ่มแรกจึงเลือกที่จะเปลี่ยน แต่กลุ่มหลังเลือกที่จะไม่เปลี่ยน
สุดท้าย ลองสังเกตดูว่าระหว่างที่รักษาการณ์อยู่ รัฐบาลได้อนุมัติการเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การชดเชยค่าเสียหายระหว่างรัฐและประชาชนไปแล้วกี่ราย
ดังนั้น ในช่วงเลือกตั้งแต่ละครั้ง เราจึงมองเห็นสัญลักษณ์อย่างนึงอย่างใดหรือมากกว่าหนึ่ง ที่ถูกสื่อสารออกมาจากผลการเลือกตั้ง
เมื่อมองในมุมของพรรคการเมืองเอง พรรคที่รักษาการณ์จะตีความการได้รับเลือกกลับเข้ามาว่าเป็นสัญญาณที่บ่งถึงการยอมรับนโยบายท ี่ผ่านมา และหมายถึงไฟเขียวต่อการเดินหน้านโยบายเดิมที่ยังคั่งค้าง ส่วนอีกฝั่ง คือฝั่งที่เข้ามาท้าชิง หรือฝ่ายค้านเดิมนั้น จะตีความไปในทางตรงข้ามว่าการได้รับความไว้วางใจคือ ใบสั่งของการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น เราอาจแปลสัญญาณนี้เป็นภาษาชาวบ้านว่าคือการเลือกเพื่อ"ไม่เปลี่ยน" หรือ "เปลี่ยน"
คราวนี้ มาลองดูตรรกะของผู้เลือกตั้งกันบ้าง โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว เราไม่ได้สนใจนโยบายของแต่ละพรรคมากไปกว่าประโยชน์ที่เราจะได้รับจากนโยบายหรือจากการเลือกพรรคนั้น
นอกจากนี้ ในทางทฤษฎี ถ้าหากบุคคลมีความพึงพอใจต่อความเป็นอยู่ของตนต่ำหรือต่ำมาก (ในสายตาของเค้า) ย่อมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าทางใดทางหนึ่งย่อมทำให้ความเป็นอยู่ของตนดีขึ้น และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากบุคคลมีความพึงพอใจต่อความเป็นอยู่ของตนสูงอยู่แล้ว ย่อมรู้สึกปลอดภัยต่อสิ่งที่เป็นอยู่ และมีแนวโน้มที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลที่แต่ละคนได้รับ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ตนเข้าใจในนโยบายและแนวความคิดที่มีต่อความหมายของสังคมที่พึงปรารถนา
ลองหันกลับมามองเมืองไทยและสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บางคนตั้งข้อสังเกตุว่าทำไมผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร แต่ผู้ที่ไปชุมนุมที่สนามหลวงหรือหน้าทำเนียบ ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง รวมทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
เหตุผลคงไม่ใช่แค่เพราะในเมืองมีชนชั้นกลางมาก (เพราะในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีผู้ใช้แรงงานจำนวนมหาศาล) แต่เพราะชนชั้นกลางคือกลุ่มที่รู้สึกว่าไม่ได้รับประโยชน์ (หรือเสียประโยชน์ด้วยซ้ำ) จากนโยบายของพรรคไทยรักไทย และมีความพึงพอใจต่อความเป็นอยู่ของตนต่ำ ในขณะที่เกษตรกรหรือผู้มีรายได้ต่ำรู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์จากนโยบาย ต่างๆ อย่างเต็มที่ (ประโยชน์ระยะสั้นหรือระยะยาวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) และพึงพอใจต่อสิ่งที่เป็นอยู่
กลุ่มแรกจึงเลือกที่จะเปลี่ยน แต่กลุ่มหลังเลือกที่จะไม่เปลี่ยน
สุดท้าย ลองสังเกตดูว่าระหว่างที่รักษาการณ์อยู่ รัฐบาลได้อนุมัติการเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การชดเชยค่าเสียหายระหว่างรัฐและประชาชนไปแล้วกี่ราย
ความคิดเห็น