รัฐธรรมนูญกับการกำหนดวันเลือกตั้ง
การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดพฤติกรรมของผู้เล่นทางการเมือง (ได้แก่ พรรคการเมือง นักการเมือง และผู้เลือกตั้ง) เป็นเรื่องยากและซับซ้อน แต่มีความสำคัญมาก การแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งจึงมีผลต่อโฉมหน้าการเมืองในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ
ยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กำหนดให้ผู้ที่จะสมัครลงรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
หากจะตีความถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ (หรือพูดง่ายๆ ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้เกิดผลอย่างไร) ก็ต้องพิจารณาข้อกำหนดนี้ทั้งในมิติของเวลา สถานที่ ประกอบกับบริบทการเมืองไทย
มิติของเวลาที่ว่าคือ 90 วัน สถานที่คือ พรรคการเมืองพรรคเดียว ส่วนบริบทก็ต้องกลับไปมองประวัติศาสตร์การเมืองในอดีต เราสามารถตีความได้ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวนักการเมือง และต้องการส่งเสริมความมั่นคงของพรรคการเมือง กล่าวคือ ลดปัญหาการต่อรองย้ายพรรคของบรรดานักการเมือง เมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคให้พรรคการเมืองมีเสถียรภาพและขัดขวางการพัฒนาพรรคการเมืองในระยะยาว
กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญ (หรือผู้ร่าง) ต้องการให้การเมืองไทยในอนาคตมีพรรคการเมืองใหญ่ที่ผูกโยงสมาชิกไว้ด้วยแนวคิดมากกว่าผลประโยชน์
คราวนี้ ลองเอาวิธีคิดนี้ มามองการเลือกตั้งที่จะถึงในวันที่ 2 เมษากันบ้าง การตัดสินใจกำหนดวันเลือกตั้ง ภายในระยะเวลา 30 กว่าวันของรัฐบาล จะมีผลอย่างไร ??
ข้อจำกัดของระยะเวลา (ยุบสภาถึงวันรับสมัคร ประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น) ทำให้เกิดผลที่ชัดเจนที่สุดคือ กีดกันผู้เล่นใหม่ไม่ให้เข้ามาในวงการเมือง เนื่องจากผู้ที่จะมีคุณสมบัติครบในการสมัคร ส.ส. คราวนี้ ได้ต้องสังกัดพรรคการเมืองมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วก่อนหน้านี้ ผู้สมัครหน้าใหม่จึงหมดสิทธิ์!!!!
จึงถือว่าเกิดการผูกขาดทางการเมืองโดยทางอ้อมจากพรรคการเมืองและนักการเมืองที่อยู่ในอำนาจ
วันนี้เราค่อยๆ เห็นความเสียหายของการตัดสินใจแบบฉวยโอกาสและขาดความเชื่อมโยงกับเจตนารมณ ์ในการปฏิรูปการเมืองดังกล่าว เมื่อมีข่าวผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นพรรคเล็ก) ทะยอยกับขาดคุณสมบัติกันทั่วหน้า โดยเฉพาะข้อที่ว่าต้องสังกัดพรรคติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน
อนาคตการเมืองไทยใครว่าไม่น่าห่วง????
ยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กำหนดให้ผู้ที่จะสมัครลงรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
หากจะตีความถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ (หรือพูดง่ายๆ ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้เกิดผลอย่างไร) ก็ต้องพิจารณาข้อกำหนดนี้ทั้งในมิติของเวลา สถานที่ ประกอบกับบริบทการเมืองไทย
มิติของเวลาที่ว่าคือ 90 วัน สถานที่คือ พรรคการเมืองพรรคเดียว ส่วนบริบทก็ต้องกลับไปมองประวัติศาสตร์การเมืองในอดีต เราสามารถตีความได้ชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวนักการเมือง และต้องการส่งเสริมความมั่นคงของพรรคการเมือง กล่าวคือ ลดปัญหาการต่อรองย้ายพรรคของบรรดานักการเมือง เมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอุปสรรคให้พรรคการเมืองมีเสถียรภาพและขัดขวางการพัฒนาพรรคการเมืองในระยะยาว
กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญ (หรือผู้ร่าง) ต้องการให้การเมืองไทยในอนาคตมีพรรคการเมืองใหญ่ที่ผูกโยงสมาชิกไว้ด้วยแนวคิดมากกว่าผลประโยชน์
คราวนี้ ลองเอาวิธีคิดนี้ มามองการเลือกตั้งที่จะถึงในวันที่ 2 เมษากันบ้าง การตัดสินใจกำหนดวันเลือกตั้ง ภายในระยะเวลา 30 กว่าวันของรัฐบาล จะมีผลอย่างไร ??
ข้อจำกัดของระยะเวลา (ยุบสภาถึงวันรับสมัคร ประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น) ทำให้เกิดผลที่ชัดเจนที่สุดคือ กีดกันผู้เล่นใหม่ไม่ให้เข้ามาในวงการเมือง เนื่องจากผู้ที่จะมีคุณสมบัติครบในการสมัคร ส.ส. คราวนี้ ได้ต้องสังกัดพรรคการเมืองมาเป็นเวลาพอสมควรแล้วก่อนหน้านี้ ผู้สมัครหน้าใหม่จึงหมดสิทธิ์!!!!
จึงถือว่าเกิดการผูกขาดทางการเมืองโดยทางอ้อมจากพรรคการเมืองและนักการเมืองที่อยู่ในอำนาจ
วันนี้เราค่อยๆ เห็นความเสียหายของการตัดสินใจแบบฉวยโอกาสและขาดความเชื่อมโยงกับเจตนารมณ ์ในการปฏิรูปการเมืองดังกล่าว เมื่อมีข่าวผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคต่างๆ (ส่วนใหญ่เป็นพรรคเล็ก) ทะยอยกับขาดคุณสมบัติกันทั่วหน้า โดยเฉพาะข้อที่ว่าต้องสังกัดพรรคติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน
อนาคตการเมืองไทยใครว่าไม่น่าห่วง????
ความคิดเห็น