แสงสว่างปลายอุโมงค์
อังคารที่ 4 เมษายน 2549
20.30 น. เวลาประเทศไทย นายกฯ รักษาการณ์ทักษิณ ชินวัตร ประกาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยหน้า และจะรักษาการณ์ไปจนกระทั่งรัฐบาลชุดใหม่จัดตั้งเสร็จสิ้น.....
ท่ามกลางความรู้สึกฉงน สงสัย ดีใจ ประหลาดใจ โล่งใจ ฯลฯ ของหลายคนที่เฝ้าดูการแถลงเฉพาะกิจ ได้ปรากฏคำถามตามมาถึงที่มาของการตัดสินใจที่ดูเหมือนจะกะทันหัน เด็ดเดี่ยวและเกินความคาดหมายครั้งนี้
ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวนายกฯ ทักษิณเอง ว่าอะไรคือสาเหตุของการตัดสินใจสำคัญนี้
แต่สิ่งที่เรารู้สึกได้ก็คือ นายทักษิณคนนี้ แตกต่างจากนายทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยที่ดื้อดึงดันมาตลอดช่วงเวลาหลายเดือนที่เกิดวิกฤตทางการเมือง หรือแม้แต่ในการให้สัมภาษณ์เพียงหนึ่งวันก่อนหน้าทางรายการกรองสถานการณ์ ก็ดูจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ดี นี่คือ แสงสว่างปลายอุโมงค์ของการเมืองไทย (หรือจะเรียกว่า ของประเทศไทยก็ว่าได้)ที่ส่องมาให้เห็นแวบแรก
เพราะตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์ต่างๆ นับตั้งแต่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ การประกาศยุบสภา การคว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งของ 3 พรรคฝ่ายค้าน และการปิดล้อมสำนักงานของ นสพ. เครือเนชั่น ผู้จัดการ และมติชน ฯลฯ ล้วนแต่นำการเมืองไทยเดินเข้าสู่ทางตัน และปิดล็อคอย่างถาวร จากผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
นอกจากเหตุการณ์นี้จะเป็นจุดหักเหสำคัญ ที่เปิดทางให้เรามองเห็นทางออกที่มืดมนมาเป็นเวลานานแล้ว เหตุการณ์นี้ยังเป็นบททดสอบความจริงใจของกลุ่มพันธมิตร และพรรคฝ่ายค้านต่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง
เพราะก้าวต่อไปหลังจากนี้ จะเป็นบทพิสูจน์ว่าทุกฝ่ายพร้อมจะฉกฉวยโอกาสนี้ และหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมปฏิรูปการเมืองหรือไม่ หรือยังคงยึดติดกับเพียงเป้าหมายในการทำลายล้มล้างระบอบทักษิณ และการเล่นเกมส์ทางการเมือง
จริงอยู่ เราอาจไม่สามารถเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นความสำเร็จ หากมองจากเป้าหมายของความพยายามสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองในแง่จริยธรรมและกรณีประโยชน์ทับซ้อน โดยใช้กรณีของอดีตนายกฯเป็นบทเรียน
แต่หากมองย้อนกลับไป เราคงสามารถภูมิใจได้ในระดับหนึ่งถึงความสำเร็จของการสร้างความตื่นตัวให้กับการเมืองภาคประชาชน และการทำลายปราการที่ปิดกั้นครอบงำสื่อเป็นเวลาหลายปี
ในขณะเดียวกัน เราคงต้องตระหนักว่าช่วงเวลาวิกฤตที่ผ่านมา ได้สอนอะไรหลายอย่างให้กับพวกเรา เช่นเดียวกับการส่องกระจกเงาสะท้อนการเมืองไทย เพราะผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานี้ เป็นบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองภาคประชาชนของไทย ยังคงต้องพัฒนาอีกหลายก้าว นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการจะเห็นการพัฒนาในการเมืองภาคประชาขนคงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการรับรู้ข่าวสารก็ยังไม่ทั่วถึงกันในแต่ละพื้นที่
เราอาจถือว่าช่วงเวลา 8-9 ปีที่ผ่านมา เป็นเพียงช่วงของการทดลองใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการเมือง เพื่อให้เกิดกฎหมายที่สะท้อนและสอดรับกับความต้องการของสังคมไทยอย่างแท้จริง เพราะหากไตร่ตรองให้ดีแล้ว เราได้เรียนรู้ข้อบกพร่องของกฏหมายและการบังคับใช้หลายประการจากช่วงเวลาที่ผ่านมา
20.30 น. เวลาประเทศไทย นายกฯ รักษาการณ์ทักษิณ ชินวัตร ประกาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยหน้า และจะรักษาการณ์ไปจนกระทั่งรัฐบาลชุดใหม่จัดตั้งเสร็จสิ้น.....
ท่ามกลางความรู้สึกฉงน สงสัย ดีใจ ประหลาดใจ โล่งใจ ฯลฯ ของหลายคนที่เฝ้าดูการแถลงเฉพาะกิจ ได้ปรากฏคำถามตามมาถึงที่มาของการตัดสินใจที่ดูเหมือนจะกะทันหัน เด็ดเดี่ยวและเกินความคาดหมายครั้งนี้
ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวนายกฯ ทักษิณเอง ว่าอะไรคือสาเหตุของการตัดสินใจสำคัญนี้
แต่สิ่งที่เรารู้สึกได้ก็คือ นายทักษิณคนนี้ แตกต่างจากนายทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยที่ดื้อดึงดันมาตลอดช่วงเวลาหลายเดือนที่เกิดวิกฤตทางการเมือง หรือแม้แต่ในการให้สัมภาษณ์เพียงหนึ่งวันก่อนหน้าทางรายการกรองสถานการณ์ ก็ดูจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ดี นี่คือ แสงสว่างปลายอุโมงค์ของการเมืองไทย (หรือจะเรียกว่า ของประเทศไทยก็ว่าได้)ที่ส่องมาให้เห็นแวบแรก
เพราะตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์ต่างๆ นับตั้งแต่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ การประกาศยุบสภา การคว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งของ 3 พรรคฝ่ายค้าน และการปิดล้อมสำนักงานของ นสพ. เครือเนชั่น ผู้จัดการ และมติชน ฯลฯ ล้วนแต่นำการเมืองไทยเดินเข้าสู่ทางตัน และปิดล็อคอย่างถาวร จากผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
นอกจากเหตุการณ์นี้จะเป็นจุดหักเหสำคัญ ที่เปิดทางให้เรามองเห็นทางออกที่มืดมนมาเป็นเวลานานแล้ว เหตุการณ์นี้ยังเป็นบททดสอบความจริงใจของกลุ่มพันธมิตร และพรรคฝ่ายค้านต่อการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง
เพราะก้าวต่อไปหลังจากนี้ จะเป็นบทพิสูจน์ว่าทุกฝ่ายพร้อมจะฉกฉวยโอกาสนี้ และหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมปฏิรูปการเมืองหรือไม่ หรือยังคงยึดติดกับเพียงเป้าหมายในการทำลายล้มล้างระบอบทักษิณ และการเล่นเกมส์ทางการเมือง
จริงอยู่ เราอาจไม่สามารถเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นความสำเร็จ หากมองจากเป้าหมายของความพยายามสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองในแง่จริยธรรมและกรณีประโยชน์ทับซ้อน โดยใช้กรณีของอดีตนายกฯเป็นบทเรียน
แต่หากมองย้อนกลับไป เราคงสามารถภูมิใจได้ในระดับหนึ่งถึงความสำเร็จของการสร้างความตื่นตัวให้กับการเมืองภาคประชาชน และการทำลายปราการที่ปิดกั้นครอบงำสื่อเป็นเวลาหลายปี
ในขณะเดียวกัน เราคงต้องตระหนักว่าช่วงเวลาวิกฤตที่ผ่านมา ได้สอนอะไรหลายอย่างให้กับพวกเรา เช่นเดียวกับการส่องกระจกเงาสะท้อนการเมืองไทย เพราะผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมานี้ เป็นบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองภาคประชาชนของไทย ยังคงต้องพัฒนาอีกหลายก้าว นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการจะเห็นการพัฒนาในการเมืองภาคประชาขนคงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการรับรู้ข่าวสารก็ยังไม่ทั่วถึงกันในแต่ละพื้นที่
เราอาจถือว่าช่วงเวลา 8-9 ปีที่ผ่านมา เป็นเพียงช่วงของการทดลองใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการเมือง เพื่อให้เกิดกฎหมายที่สะท้อนและสอดรับกับความต้องการของสังคมไทยอย่างแท้จริง เพราะหากไตร่ตรองให้ดีแล้ว เราได้เรียนรู้ข้อบกพร่องของกฏหมายและการบังคับใช้หลายประการจากช่วงเวลาที่ผ่านมา
ความคิดเห็น