เราอยากให้รัฐตัดสินใจอะไรแทนเราบ้าง? (๑)
หลังจากนายกรัฐมนตรี de Villepin ประกาศยกเลิก CPE การเดินขบวนประท้วงและการนัดหยุดงานในฝรั่งเศสคงจะสงบไปได้อีกพักใหญ่ ก็ประจวบเหมาะกับช่วงวันหยุด Pâques หรือ Easter พอดี (ก่อนที่เด็กนักเรียนจะสอบกัน)ก็ไม่รู้ว่าถ้าไม่มีการประกาศอย่างที่ว่า จะมีการนัดเดินขบวนในช่วงวันหยุดหรือไม่ อันนี้น่าคิดกันสนุกๆ
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจในช่วงนี้ ก็คงจะเป็นการเลือกตั้งในอิตาลี หลังจากการนับผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งนาย Prodi ได้ที่นั่งในสภาล่างแบบเฉือนอดีตนายก Berlusconi ไปแบบฉิวเฉียดมาก (0.1%) นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตาและน่าสนทนายิ่งในหลายๆ ประเด็น ยังไงก็ดี คงต้องรอให้มีการประกาศผลคะแนนอย่างเป็นทางการซะก่อน จึงจะสามารถประเมินและคาดการณ์สถานการณ์ได้แน่ชัดขึ้น ที่แน่ๆ เรื่องผลคะแนนที่ใกล้เคียงกันมากนี้ ยังไม่ทันไร ก็ได้ยินว่ามีการเรียกร้องให้นับคะแนนกันอีกรอบ
อีกข่าวนึงที่ไม่ค่อยมีใครสนใจนัก แต่น่านำมาวิเคราะห์ก็คือ กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ที่จะถูกนำมาใช้ในฝรั่งเศส (หลังจากที่หลายประเทศในยุโรป ก็ใช้กันไปแล้ว เช่น อิตาลี หรือไอร์แลนด์ที่ห้ามทั้งในร้านอาหารและผับ เป็นต้น)
การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสายตาของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ) ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลนำกฎหมายนี้มาใช้ ก็มักไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น
คราวนี้ลองมาคิดกันดูเล่นๆ ว่าถ้าหากวันนึง รัฐบาลออกมาประกาศห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและที่ส่วนบุคคล หรือพูดง่ายๆว่า ทำให้การสูบบุหรี่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย จะเกิดอะไรขึ้น?
ประเด็นนี้น่าขบคิดอย่างมาก เพราะในขณะที่รัฐบาลสามารถห้ามคนทำลายสุขภาพผู้อื่นได้ (และทุกคนเห็นเป็นเรื่องดี) ทำไมการที่รัฐจะห้ามคนทำร้ายสุขภาพตัวเอง จะทำไม่ได้ ทั้งที่รัฐบาลจะต้องสูญเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมหาศาลหากมีประชาชนจำนวนมากเจ็บป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งในปอด อีกทั้งประเทศจะต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพทางการผลิต เมื่อแรงงานจำนวนมาก นอนป่วยอยู่บนเตียง
คำถามเชิง normative ที่สำคัญยิ่งคือ ขอบเขตของการแทรกแซงของรัฐที่เหมาะสมนั้นอยู่ตรงไหน?? เนื่องจากการแทรกแซงของรัฐที่มากเกินไป มักจะล่วงล้ำเสรีภาพส่วนบุคคลอยู่เสมอ
ประเด็นที่กำลังพูดถึงนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการเลือกหรือเส้นแบ่งระหว่างการตัดสินใจของรัฐและการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมากกับนักเศรษฐศาสตร์แนว liberal หรือที่เราเรียกว่าพวก Libertarian
เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าไม่มีใครรู้ดีไปกว่าแต่ละตัวบุคคลเอง ในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุด จึงควรปล่อยให้หน้าที่การตัดสินใจตกอยู่กับปัจเจกบุคคลให้มากที่สุด
เรียกว่า ปล่อยให้มือที่มองไม่เห็นทำงานแล้วจะดีเอง
อย่างไรก็ตาม วิธีคิดนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่สำคัญ (และเป็นที่ถกเถียง) ว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นมีเหตุมีผล และมีแบบแผน หรือเรียกว่า rationality
ซึ่งอาจทำให้หลายคนเถียงคอเป็นเอ็นว่ามนุษย์นี่แหละตัวดี ชอบทำอะไรที่ไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือกิจกรรมผาดโผนท้าความตายต่างๆ
ศาสตราจารย์ Thomas Schelling นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลในปี 2005 เป็นคนหนึ่งที่รู้จักธรรมชาติการตัดสินใจของมนุษย์ดี เค้ากล่าวว่า คนเรามักจะต้องประสบกับสถานการณ์ที่คุ้นเคยของการเผชิญหน้าระหว่างตัวตนที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ตัวตนที่ต้องการตามใจตัวเองซึ่งกำลังต่อสู้กับตัวตนที่ต้องการจัดระเบียบให้กับชีวิต
ในตัวเราเกือบทุกคนจึงมีด้านมืดด้วยกันทั้งนั้น ที่มักจะปล่อยปละละเลย ผลัดวันประกันพรุ่ง ใช้จ่ายเกินตัว (ทั้งๆ ที่เพิ่งซื้อไปอาทิตย์ก่อน แต่อดใจไม่อยู่) หรือหนักไปกว่านั้น ก็พาตัวเองไปเสพติดอะไรสักอย่าง
เมื่อเห็นว่าเราไม่สามารถตัดสินใจเองได้ในเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับตน รัฐจึงก้าวเข้ามาช่วยตัดสินใจแทนในเรื่องที่เห็นว่าสำคัญ เช่น บังคับให้ทุกคนต้องลงทะเบียนในระบบสวัสดิการสังคมตั้งแต่เริ่มทำงาน เป็นต้น
เราจึงเห็นตัวอย่างของการแทรกแซงลักษณะนี้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และนักวิชาการก็ให้นิยามรัฐบาลในลักษณะนี้ว่าเป็นแบบ Paternalism
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจในช่วงนี้ ก็คงจะเป็นการเลือกตั้งในอิตาลี หลังจากการนับผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งนาย Prodi ได้ที่นั่งในสภาล่างแบบเฉือนอดีตนายก Berlusconi ไปแบบฉิวเฉียดมาก (0.1%) นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตาและน่าสนทนายิ่งในหลายๆ ประเด็น ยังไงก็ดี คงต้องรอให้มีการประกาศผลคะแนนอย่างเป็นทางการซะก่อน จึงจะสามารถประเมินและคาดการณ์สถานการณ์ได้แน่ชัดขึ้น ที่แน่ๆ เรื่องผลคะแนนที่ใกล้เคียงกันมากนี้ ยังไม่ทันไร ก็ได้ยินว่ามีการเรียกร้องให้นับคะแนนกันอีกรอบ
อีกข่าวนึงที่ไม่ค่อยมีใครสนใจนัก แต่น่านำมาวิเคราะห์ก็คือ กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ที่จะถูกนำมาใช้ในฝรั่งเศส (หลังจากที่หลายประเทศในยุโรป ก็ใช้กันไปแล้ว เช่น อิตาลี หรือไอร์แลนด์ที่ห้ามทั้งในร้านอาหารและผับ เป็นต้น)
การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสายตาของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ) ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลนำกฎหมายนี้มาใช้ ก็มักไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น
คราวนี้ลองมาคิดกันดูเล่นๆ ว่าถ้าหากวันนึง รัฐบาลออกมาประกาศห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและที่ส่วนบุคคล หรือพูดง่ายๆว่า ทำให้การสูบบุหรี่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย จะเกิดอะไรขึ้น?
ประเด็นนี้น่าขบคิดอย่างมาก เพราะในขณะที่รัฐบาลสามารถห้ามคนทำลายสุขภาพผู้อื่นได้ (และทุกคนเห็นเป็นเรื่องดี) ทำไมการที่รัฐจะห้ามคนทำร้ายสุขภาพตัวเอง จะทำไม่ได้ ทั้งที่รัฐบาลจะต้องสูญเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมหาศาลหากมีประชาชนจำนวนมากเจ็บป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งในปอด อีกทั้งประเทศจะต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพทางการผลิต เมื่อแรงงานจำนวนมาก นอนป่วยอยู่บนเตียง
คำถามเชิง normative ที่สำคัญยิ่งคือ ขอบเขตของการแทรกแซงของรัฐที่เหมาะสมนั้นอยู่ตรงไหน?? เนื่องจากการแทรกแซงของรัฐที่มากเกินไป มักจะล่วงล้ำเสรีภาพส่วนบุคคลอยู่เสมอ
ประเด็นที่กำลังพูดถึงนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการเลือกหรือเส้นแบ่งระหว่างการตัดสินใจของรัฐและการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมากกับนักเศรษฐศาสตร์แนว liberal หรือที่เราเรียกว่าพวก Libertarian
เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่าไม่มีใครรู้ดีไปกว่าแต่ละตัวบุคคลเอง ในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุด จึงควรปล่อยให้หน้าที่การตัดสินใจตกอยู่กับปัจเจกบุคคลให้มากที่สุด
เรียกว่า ปล่อยให้มือที่มองไม่เห็นทำงานแล้วจะดีเอง
อย่างไรก็ตาม วิธีคิดนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่สำคัญ (และเป็นที่ถกเถียง) ว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นมีเหตุมีผล และมีแบบแผน หรือเรียกว่า rationality
ซึ่งอาจทำให้หลายคนเถียงคอเป็นเอ็นว่ามนุษย์นี่แหละตัวดี ชอบทำอะไรที่ไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือกิจกรรมผาดโผนท้าความตายต่างๆ
ศาสตราจารย์ Thomas Schelling นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลในปี 2005 เป็นคนหนึ่งที่รู้จักธรรมชาติการตัดสินใจของมนุษย์ดี เค้ากล่าวว่า คนเรามักจะต้องประสบกับสถานการณ์ที่คุ้นเคยของการเผชิญหน้าระหว่างตัวตนที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ตัวตนที่ต้องการตามใจตัวเองซึ่งกำลังต่อสู้กับตัวตนที่ต้องการจัดระเบียบให้กับชีวิต
ในตัวเราเกือบทุกคนจึงมีด้านมืดด้วยกันทั้งนั้น ที่มักจะปล่อยปละละเลย ผลัดวันประกันพรุ่ง ใช้จ่ายเกินตัว (ทั้งๆ ที่เพิ่งซื้อไปอาทิตย์ก่อน แต่อดใจไม่อยู่) หรือหนักไปกว่านั้น ก็พาตัวเองไปเสพติดอะไรสักอย่าง
เมื่อเห็นว่าเราไม่สามารถตัดสินใจเองได้ในเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับตน รัฐจึงก้าวเข้ามาช่วยตัดสินใจแทนในเรื่องที่เห็นว่าสำคัญ เช่น บังคับให้ทุกคนต้องลงทะเบียนในระบบสวัสดิการสังคมตั้งแต่เริ่มทำงาน เป็นต้น
เราจึงเห็นตัวอย่างของการแทรกแซงลักษณะนี้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และนักวิชาการก็ให้นิยามรัฐบาลในลักษณะนี้ว่าเป็นแบบ Paternalism
ความคิดเห็น