คิดให้ดีก่อนเก็บภาษีเพิ่ม
พอดีไปอ่านเจอรายงานเรื่อง “คำอธิบายอย่างสั้นของภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการเก็บภาษี” ในเว็บไซด์ของรัฐสภาอเมริกัน ส่วนของคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ เห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ เลยเรียบเรียงมาให้อ่านกันครับ
เมื่อต้องการลดภาระการขาดดุลด้านงบประมาณ นักเศรษฐศาสตร์มักจะมีอคติต่อต้านการเก็บภาษีเพิ่มและเสนอแนะให้รัฐลดการใช้จ่ายแทน ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บภาษีก่อให้เกิดภาระต่อระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ 2 ประเภท
ประการแรก การเก็บภาษีนั้นก่อให้เกิดต้นทุนปฎิบัติการ (Transaction costs) ซึ่งแปรผันตามความซับซ้อนของกฎหมาย ต้นทุนนี้เกิดขึ้นกับทั้งผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษี กล่าวคือ ประการแรก ประชาชนผู้เสียภาษีนั้น ต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายามในการทำความเข้าใจระบบของภาษี และในประการต่อมา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่จัดการเรื่องเอกสาร (อันนี้เป็นลักษณะปรกติของประเทศสหรัฐฯ) ส่วนรัฐนั้น ก็ต้องพยายามเขียนกฎหมายในลักษณะที่ป้องกันแรงจูงใจในการโกง
ต้นทุนประเภทนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความซับซ้อนของภาษี มีงานวิจัยทำการศึกษาพบว่า คนอเมริกันต้องเสียเงินไปประมาณ หนึ่งแสนหนึ่งหมื่น ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ไปในการบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้ในปี 2003 (คิดเป็น ประมาณร้อยละ 10 ของรายได้จากภาษีเงินได้ ในปีเดียวกัน) ซึ่งการลดฐานภาษีอาจไม่ได้ลดต้นทุนนี้เท่าใดนัก แต่การทำให้ระบบภาษีง่ายขึ้นสามารถลดต้นทุนนี้ได้พอสมควร
ภาระของภาษีประเภทที่ 2 นั้น มีความสำคัญและขนาดมากกว่าประเภทแรก เนื่องจากในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี การซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้นเกิดขึ้นจากประโยชน์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น ภาษีซึ่งมีส่วนสำคัญในการเพิ่มต้นทุนของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จึงเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดทอนประโยชน์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับ
เราทราบดีว่า ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ราคาของสินค้าถูกกำหนดจากสมดุลของอุปสงค์ (ความต้องการเสนอซื้อ) และอุปทาน (ความต้องการเสนอขาย) ในตลาด ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่า ที่ราคา 3 ดอลลาร์ต่อหน่วย ผู้ขายขนมปังเต็มใจจะผลิตและขายขนมปังเป็นจำนวนเท่ากับ 300 หน่วย และผู้ซื้อก็เต็มใจจะซื้อขนมปังในจำนวนดังกล่าวเช่นกัน แปลว่า ณ ราคานี้ ไม่มีส่วนเกินหรือการขาดแคลนของขนมปังในตลาด
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรัฐบาลเก็บภาษี 1 ดอลลาร์จากผู้ขาย ต่อทุกหน่วยของขนมปังที่ขายได้
ผู้ขายจะมีแรงจูงใจลดลงในการขายสินค้าเมื่อต้องเสียให้กับรัฐ 1 ดอลลาร์ต่อทุกหน่วยของขนมปังที่ขายได้ ผู้ซื้อขนมปังอาจพบว่าราคาของสินค้าจะเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ หรือเท่ากับภาษีที่จัดรัฐเก็บจากผู้ขายขนมปัง ที่ราคาใหม่ 4 ดอลลาร์นี้ ผู้ซื้อในตลาดก็จะเต็มใจซื้อขนมปังน้อยกว่า 300 หน่วย
ราคาตลาดและจำนวนของขนมปังจะเปลี่ยนแปลงเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าอุปทานและอุปสงค์ของสินค้ามีความอ่อนไหวกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ภาระประการแรกที่เกิดขึ้นจากการเก็บภาษีของรัฐ คือ ผลได้ของสังคมลดลง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนสินค้าส่วนหนึ่งได้หายไป ยกตัวอย่างเช่น จำนวนขนมปังที่มีการแลกเปลี่ยนลดลงจาก 300 เป็น 250
ในทางทฤษฏี ผลได้ของสังคมเกิดจากผลรวมของผลได้ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาด โดยปกติทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่าสุทธิที่เป็นบวก นักเศรษฐศาสตร์เรียกส่วนที่หายไปนี้ว่า deadweight loss
ประการที่สอง ถึงแม้ผู้ขายจะเป็นผู้จ่ายภาษี แต่ผู้บริโภคก็ได้รับการผลักภาระไปส่วนหนึ่ง เนื่องจากต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น นอกจากนี้ ที่ราคาใหม่ ผู้ซื้อเสียโอกาสในการบริโภคสินค้าส่วนหนึ่ง ถ้าหากความต้องการสินค้านี้มีความอ่อนไหวต่อราคามาก ภาระของภาษีก็จะสูง และผู้บริโภคจะแบกรับส่วนนี้มากขึ้น
ประการสุดท้าย ภาระทั้งหมดจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อภาษีเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มภาษี 2 เท่าจะเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจมากกว่า 2 เท่า เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง
ผลกระทบยังขึ้นอยู่กับประเภทของกิจกรรมที่ลดลง หากเป็นการลดลงของสินค้าที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น มลภาวะหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ภาษีสามารถเพิ่มสวัสดิการของสังคม อย่างไรก็ตาม ภาษีของรัฐมักส่งผลต่อกิจกรรมของเศรษฐกิจโดยรวม การคำนวณหาผลกระทบที่แท้จริง ครอบคลุมถึงการศึกษาผลกระทบทางอ้อมและผลกระทบที่ไกลออกไป
จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา คณะกรรมการพบว่าค่าเฉลี่ยของภาระนี้อยู่ที่ประมาณ 40 เซนต์ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้น
แน่นอน ต้นทุนจากภาษีนี้สามารถชดเชยด้วยประโยชน์ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐ ถ้าหากการประเมินข้างต้นถูกต้อง โครงการใหม่จะต้องสร้างผลได้เพิ่มเติมอย่างน้อย 50 เซนต์เพื่อที่จะหักล้างกับภาระภาษีที่เกิดจากต้นทุนปฏิบัติการ (Transaction costs) และ deadweight loss
เนื่องจาก โครงการใช้จ่ายของรัฐส่วนใหญ่เป็นเพียงการโอนจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคล แทนที่จะทำให้สังคมได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ดังนั้น การลดการใช้จ่ายของรัฐจึงถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเก็บภาษีเพิ่มเติม
เมื่อต้องการลดภาระการขาดดุลด้านงบประมาณ นักเศรษฐศาสตร์มักจะมีอคติต่อต้านการเก็บภาษีเพิ่มและเสนอแนะให้รัฐลดการใช้จ่ายแทน ทั้งนี้ เนื่องจากการเก็บภาษีก่อให้เกิดภาระต่อระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ 2 ประเภท
ประการแรก การเก็บภาษีนั้นก่อให้เกิดต้นทุนปฎิบัติการ (Transaction costs) ซึ่งแปรผันตามความซับซ้อนของกฎหมาย ต้นทุนนี้เกิดขึ้นกับทั้งผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษี กล่าวคือ ประการแรก ประชาชนผู้เสียภาษีนั้น ต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายามในการทำความเข้าใจระบบของภาษี และในประการต่อมา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้ที่จัดการเรื่องเอกสาร (อันนี้เป็นลักษณะปรกติของประเทศสหรัฐฯ) ส่วนรัฐนั้น ก็ต้องพยายามเขียนกฎหมายในลักษณะที่ป้องกันแรงจูงใจในการโกง
ต้นทุนประเภทนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความซับซ้อนของภาษี มีงานวิจัยทำการศึกษาพบว่า คนอเมริกันต้องเสียเงินไปประมาณ หนึ่งแสนหนึ่งหมื่น ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ไปในการบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้ในปี 2003 (คิดเป็น ประมาณร้อยละ 10 ของรายได้จากภาษีเงินได้ ในปีเดียวกัน) ซึ่งการลดฐานภาษีอาจไม่ได้ลดต้นทุนนี้เท่าใดนัก แต่การทำให้ระบบภาษีง่ายขึ้นสามารถลดต้นทุนนี้ได้พอสมควร
ภาระของภาษีประเภทที่ 2 นั้น มีความสำคัญและขนาดมากกว่าประเภทแรก เนื่องจากในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี การซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยสมัครใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้นเกิดขึ้นจากประโยชน์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น ภาษีซึ่งมีส่วนสำคัญในการเพิ่มต้นทุนของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จึงเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดทอนประโยชน์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับ
เราทราบดีว่า ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ราคาของสินค้าถูกกำหนดจากสมดุลของอุปสงค์ (ความต้องการเสนอซื้อ) และอุปทาน (ความต้องการเสนอขาย) ในตลาด ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่า ที่ราคา 3 ดอลลาร์ต่อหน่วย ผู้ขายขนมปังเต็มใจจะผลิตและขายขนมปังเป็นจำนวนเท่ากับ 300 หน่วย และผู้ซื้อก็เต็มใจจะซื้อขนมปังในจำนวนดังกล่าวเช่นกัน แปลว่า ณ ราคานี้ ไม่มีส่วนเกินหรือการขาดแคลนของขนมปังในตลาด
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรัฐบาลเก็บภาษี 1 ดอลลาร์จากผู้ขาย ต่อทุกหน่วยของขนมปังที่ขายได้
ผู้ขายจะมีแรงจูงใจลดลงในการขายสินค้าเมื่อต้องเสียให้กับรัฐ 1 ดอลลาร์ต่อทุกหน่วยของขนมปังที่ขายได้ ผู้ซื้อขนมปังอาจพบว่าราคาของสินค้าจะเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ หรือเท่ากับภาษีที่จัดรัฐเก็บจากผู้ขายขนมปัง ที่ราคาใหม่ 4 ดอลลาร์นี้ ผู้ซื้อในตลาดก็จะเต็มใจซื้อขนมปังน้อยกว่า 300 หน่วย
ราคาตลาดและจำนวนของขนมปังจะเปลี่ยนแปลงเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าอุปทานและอุปสงค์ของสินค้ามีความอ่อนไหวกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ภาระประการแรกที่เกิดขึ้นจากการเก็บภาษีของรัฐ คือ ผลได้ของสังคมลดลง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนสินค้าส่วนหนึ่งได้หายไป ยกตัวอย่างเช่น จำนวนขนมปังที่มีการแลกเปลี่ยนลดลงจาก 300 เป็น 250
ในทางทฤษฏี ผลได้ของสังคมเกิดจากผลรวมของผลได้ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาด โดยปกติทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่าสุทธิที่เป็นบวก นักเศรษฐศาสตร์เรียกส่วนที่หายไปนี้ว่า deadweight loss
ประการที่สอง ถึงแม้ผู้ขายจะเป็นผู้จ่ายภาษี แต่ผู้บริโภคก็ได้รับการผลักภาระไปส่วนหนึ่ง เนื่องจากต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น นอกจากนี้ ที่ราคาใหม่ ผู้ซื้อเสียโอกาสในการบริโภคสินค้าส่วนหนึ่ง ถ้าหากความต้องการสินค้านี้มีความอ่อนไหวต่อราคามาก ภาระของภาษีก็จะสูง และผู้บริโภคจะแบกรับส่วนนี้มากขึ้น
ประการสุดท้าย ภาระทั้งหมดจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อภาษีเพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มภาษี 2 เท่าจะเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจมากกว่า 2 เท่า เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง
ผลกระทบยังขึ้นอยู่กับประเภทของกิจกรรมที่ลดลง หากเป็นการลดลงของสินค้าที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น มลภาวะหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ภาษีสามารถเพิ่มสวัสดิการของสังคม อย่างไรก็ตาม ภาษีของรัฐมักส่งผลต่อกิจกรรมของเศรษฐกิจโดยรวม การคำนวณหาผลกระทบที่แท้จริง ครอบคลุมถึงการศึกษาผลกระทบทางอ้อมและผลกระทบที่ไกลออกไป
จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา คณะกรรมการพบว่าค่าเฉลี่ยของภาระนี้อยู่ที่ประมาณ 40 เซนต์ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้น
แน่นอน ต้นทุนจากภาษีนี้สามารถชดเชยด้วยประโยชน์ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐ ถ้าหากการประเมินข้างต้นถูกต้อง โครงการใหม่จะต้องสร้างผลได้เพิ่มเติมอย่างน้อย 50 เซนต์เพื่อที่จะหักล้างกับภาระภาษีที่เกิดจากต้นทุนปฏิบัติการ (Transaction costs) และ deadweight loss
เนื่องจาก โครงการใช้จ่ายของรัฐส่วนใหญ่เป็นเพียงการโอนจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคล แทนที่จะทำให้สังคมได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ดังนั้น การลดการใช้จ่ายของรัฐจึงถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเก็บภาษีเพิ่มเติม
ความคิดเห็น