ความลับของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
ประเด็นเรื่องความมั่งคั่งและความยากจนของประเทศเป็นโจทย์สำคัญสำหรับการศึกษาเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่มาโดยตลอด จะเห็นได้จากตัวอย่างที่ชัดเจนมากคือ ตำราซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรากฐานของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ของอดัมส์ สมิทธ์ ในปี 1776 ก็ชื่อว่า The Wealth of Nation
จะว่าไป คำถามว่าทำไมบางประเทศถึงร่ำรวย (และบางประเทศถึงยากจน) เป็นที่สนใจของนักวิชาการในประเทศกำลังพัฒนาที่ศึกษาด้านพัฒนาการทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยหวังว่าการศึกษาต้นแบบจากประเทศเหล่านั้น จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาของประเทศตนเองได้ แต่ถึงอย่างไร นักวิชาการและผู้กำหนดนโยบายในประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปสำหรับปริศนานี้เช่นเดียวกัน
ความตื่นตัวของนักวิชาการในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากความประหลาดใจในการเติบโตอย่างน่าทึ่งทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (รวมทั้ง เอเชียอาคเนย์ อย่างประเทศไทย) ในช่วงทศวรรษ 80 และ 90 ซึ่งมีผลให้คุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ความกระตือรือร้นในการพัฒนาทฤษฎีเพื่อมุ่งอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เพิ่มมากขึ้นและมีระยะเวลายาวนานขึ้น ได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จำนวนมาก ซึ่งความรู้เหล่านี้จำนวนไม่น้อยอาจขัดแย้งกับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เคยเชื่อมาในอดีต นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนคิดของผู้ที่ทำงานในองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศอีกด้วย
ความจริงแล้ว ประเทศต่างๆ ในโลกไม่ว่าจะในทวีปอเมริกา ยุโรป อาฟริกา หรือเอเชีย ล้วนเป็นประเทศยากจนและแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย ก่อนหน้าปี 1800 !
ก่อนหน้านั้น ประเทศต่างๆ ในโลกแทบจะไม่เคยประสบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งคุณภาพชีวิตและจำนวนประชากรมีอัตราการเปลี่ยนแปลงต่ำมาก
จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 19 นั่นแหละ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล จนนักประวัติศาสตร์เรียกช่วงนี้ว่าเป็นการเริ่มต้นของยุคแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ และทำให้เราเห็นความแตกต่างระหว่างความร่ำรวยและยากจนระหว่างประเทศ ที่เด่นชัดมากขึ้น อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จะขอยกตัวเลขคร่าวๆ เพื่อให้เข้าใจกันโดยง่าย ในปี 1820 นั้น อัตราส่วนของรายได้ประชาชาติต่อหัวระหว่างประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจคือ สหราชอาณาจักร กับภูมิภาคที่ยากจนที่สุดคือ อาฟริกา เท่ากับ 4 ต่อ 1
ในขณะที่ปี 2000 อัตราส่วนเดียวกันของประเทศที่รวยที่สุดคือ สหรัฐฯ และภูมิภาคที่จนที่สุดที่ยังคงเป็นอาฟริกา ขยายออกจนกลายเป็น 20 ต่อ 1
บทเรียนที่เราได้รับจากการศึกษา 2 ศตวรรษแห่งความแตกต่างทางการเติบโตนี้ ก็คือ
ความมั่งคั่งของประเทศร่ำรวยที่เราเห็นในปัจจุบันนั้น เกิดจากการเติบโตแบบยั่งยืนเป็นระยะเวลานาน (หรือที่เรียกว่า sustained growth ) มากกว่าการเติบโตแบบฉาบฉวยในระยะสั้น
ทั้งนี้ ความแตกต่างเพียงน้อยนิดของการเติบโตทางเศรษฐกิจใจแต่ละปี ในระยะเวลาหลายสิบหรือร้อยปีนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างแบบทวีคูณ ยกตัวอย่าง ประเทศสหรัฐฯ ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 1.7 เปอร์เซ็นต์ในระหว่าง 1820 -2000 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นถึง 25 เท่า ในขณะที่เศรษฐกิจของอาฟริกาที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 0.7 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาเดียวกัน ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียง 3 เท่า เท่านั้น ! (สถิติจาก The End of Poverty, Jeffery Sachs, 2005)
เป็นคำถามที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
จะว่าไป คำถามว่าทำไมบางประเทศถึงร่ำรวย (และบางประเทศถึงยากจน) เป็นที่สนใจของนักวิชาการในประเทศกำลังพัฒนาที่ศึกษาด้านพัฒนาการทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยหวังว่าการศึกษาต้นแบบจากประเทศเหล่านั้น จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาของประเทศตนเองได้ แต่ถึงอย่างไร นักวิชาการและผู้กำหนดนโยบายในประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปสำหรับปริศนานี้เช่นเดียวกัน
ความตื่นตัวของนักวิชาการในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากความประหลาดใจในการเติบโตอย่างน่าทึ่งทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (รวมทั้ง เอเชียอาคเนย์ อย่างประเทศไทย) ในช่วงทศวรรษ 80 และ 90 ซึ่งมีผลให้คุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ความกระตือรือร้นในการพัฒนาทฤษฎีเพื่อมุ่งอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เพิ่มมากขึ้นและมีระยะเวลายาวนานขึ้น ได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จำนวนมาก ซึ่งความรู้เหล่านี้จำนวนไม่น้อยอาจขัดแย้งกับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เคยเชื่อมาในอดีต นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนคิดของผู้ที่ทำงานในองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศอีกด้วย
ความจริงแล้ว ประเทศต่างๆ ในโลกไม่ว่าจะในทวีปอเมริกา ยุโรป อาฟริกา หรือเอเชีย ล้วนเป็นประเทศยากจนและแทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย ก่อนหน้าปี 1800 !
ก่อนหน้านั้น ประเทศต่างๆ ในโลกแทบจะไม่เคยประสบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งคุณภาพชีวิตและจำนวนประชากรมีอัตราการเปลี่ยนแปลงต่ำมาก
จนกระทั่งในต้นศตวรรษที่ 19 นั่นแหละ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล จนนักประวัติศาสตร์เรียกช่วงนี้ว่าเป็นการเริ่มต้นของยุคแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ และทำให้เราเห็นความแตกต่างระหว่างความร่ำรวยและยากจนระหว่างประเทศ ที่เด่นชัดมากขึ้น อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จะขอยกตัวเลขคร่าวๆ เพื่อให้เข้าใจกันโดยง่าย ในปี 1820 นั้น อัตราส่วนของรายได้ประชาชาติต่อหัวระหว่างประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจคือ สหราชอาณาจักร กับภูมิภาคที่ยากจนที่สุดคือ อาฟริกา เท่ากับ 4 ต่อ 1
ในขณะที่ปี 2000 อัตราส่วนเดียวกันของประเทศที่รวยที่สุดคือ สหรัฐฯ และภูมิภาคที่จนที่สุดที่ยังคงเป็นอาฟริกา ขยายออกจนกลายเป็น 20 ต่อ 1
บทเรียนที่เราได้รับจากการศึกษา 2 ศตวรรษแห่งความแตกต่างทางการเติบโตนี้ ก็คือ
ความมั่งคั่งของประเทศร่ำรวยที่เราเห็นในปัจจุบันนั้น เกิดจากการเติบโตแบบยั่งยืนเป็นระยะเวลานาน (หรือที่เรียกว่า sustained growth ) มากกว่าการเติบโตแบบฉาบฉวยในระยะสั้น
ทั้งนี้ ความแตกต่างเพียงน้อยนิดของการเติบโตทางเศรษฐกิจใจแต่ละปี ในระยะเวลาหลายสิบหรือร้อยปีนั้น ทำให้เกิดความแตกต่างแบบทวีคูณ ยกตัวอย่าง ประเทศสหรัฐฯ ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 1.7 เปอร์เซ็นต์ในระหว่าง 1820 -2000 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นถึง 25 เท่า ในขณะที่เศรษฐกิจของอาฟริกาที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 0.7 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาเดียวกัน ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียง 3 เท่า เท่านั้น ! (สถิติจาก The End of Poverty, Jeffery Sachs, 2005)
เป็นคำถามที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ความคิดเห็น