โง่นี้ขายเท่าไหร่ ???
มีคำพูดยอดนิยมที่ได้ยินเสมอๆ ว่าถ้าไม่อยากเกิดเรื่องบาดหมางในวงสนทนา (หรือวงเหล้า โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้า) ให้งดเว้นการพูดถึง ๒ เรื่อง คือ ศาสนาและการเมือง
บางคนมาต่อให้อีกว่าห้ามเด็ดขาด โดยเฉพาะกับคนใต้หรือคนฝรั่งเศส (ไม่อยากจะนึกว่าถ้าเป็นคนฝรั่งเศสตอนใต้ จะไม่ยิ่งแย่ไปใหญ่หรือ ฮา..)
ที่ว่ากันอย่างนั้น อาจจะเป็นเพราะศาสนาและการเมือง มีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ต่างก็เกี่ยวข้องกับศรัทธาหรือความเชื่อ นอกจากนี้ ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะชี้ใครถูกใครผิด
ยิ่งไปกว่านั้น ความเชื่อในเรื่องศาสนาหรือการเมืองของกลุ่มคนบางกลุ่ม ยังไปไกลถึงขั้นไร้เหตุผลในสายตาคนนอก เช่น ลองนึกถึงลัทธิที่เชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาว หรือกลุ่มการเมืองขวาจัดสุดกู่อย่างพวกนีโอนาซี
พูดง่ายๆ ว่า คนเราไม่ได้อยู่บนหลักของเหตุและผลเสมอไปเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนาและการเมือง หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า มีกระบวนการตัดสินใจแบบนอกเหตุผล (irrational) ก็อาจจะได้ (ขอใช้คำว่านอกเหตุผลเพราะ ไม่ได้หมายความว่าไร้เหตุผลไปซะทีเดียว แต่อยู่นอกเหนือจากเหตุผลหรือหลักเกณฑ์ที่เป็นกระแสสังคม)
ศาสนาอาจจะใช่ แล้วการเมืองหละ ?? ลองมาดูกันให้ละเอียดที่การแสดงความเห็นในทางการเมือง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือ การออกเสียงเลือกตั้ง
คำถามแรกที่ควรถามก็คือ ถ้าอย่างนั้น เราเชื่อผลการเลือกตั้งได้มากน้อยแค่ไหน ?
นักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะในสายทางเลือกสาธารณะ (public choice) มักจะเชื่อว่า ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเอง ในฐานะขององค์รวม ไม่ได้ตระหนักเท่าใดว่ากำลังทำอะไรอยู่ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้มีปัญหาในการพึ่งพาผลการเลือกตั้ง เพราะจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า การหักล้างกันของการตัดสินใจที่ขาดๆ เกินๆ หรือสุดขั้วไปข้างใดข้างหนึ่ง
ลองยกตัวอย่างรูปธรรม กลุ่มที่เห็นว่าปัญหาผู้อพยพชาวต่างชาติเป็นเรื่องหลักและเทคะแนนให้พรรคที่มีนโยบายไปในทางเข้มงวดก็จะหักล้างกับฝ่ายที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจและการเปิดตลาดซึ่งเลือกลงคะแนนให้กับพรรคที่มีนโยบายตรงข้าม
ในทางเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ สิ่งที่สำคัญต่อนักการเมืองคือ ความเห็นของผู้เลือกตั้งส่วนใหญ่หรือ average voter จึงเกิดการอธิบายพฤติกรรมของนักการเมืองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า median voter เป็นต้น
อาจจะพูดได้ว่า สมมุติฐานของเรื่องการเลือกตั้งที่มักใช้คือ ผู้เลือกตั้ง (ส่วนใหญ่) มักจะตัดสินใจถูก
ถึงแม้นักเศรษฐศาสตร์สายทางเลือกสาธารณะจะบอกว่ากระบวนการตัดสินใจของผู้เลือกตั้งจะเข้าข่ายโง่แบบไม่มีทางเลือก (คือปล่อยเลยตามเลย ทั้งๆ ที่รู้) หรือโง่แบบสมเหตุสมผล (rational ignorance) ก็ตาม
ที่เรียกว่าโง่แบบไม่มีทางเลือกนั้น มาจากความตระหนักว่าการตัดสินใจของคนเพียงคนเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลในระดับมหภาคได้ ประกอบกับการทำความเข้าใจกับนโยบายทุกเรื่องเป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูงมาก (แค่เฉพาะต้นทุนในด้านเวลาก็สูงมากในการรับฟังข้อมูลที่มีอยู่มหาศาล) หรือนโยบายในทางเศรษฐกิจก็ยากเกินไปสำหรับคนระดับชาวบ้าน หลายคนจึงไปลงคะแนนทั้งๆ ที่ยังขาดข้อมูล ไม่รู้จักนโยบายหลักของพรรคหรือแม้กระทั้ง ไม่รู้จักผู้สมัคร ในบางกรณี ความไม่รู้ก็เกิดจากข้อจำกัดทางโครงสร้างของกระบวนการเอง (เช่นตัวอย่างของประเทศไทย) นอกจากนี้ คนที่มีความรู้อย่างนักวิชาการ ก็เป็นเพียงเสียงส่วนน้อย
ในหนังสือชื่อ The Myth of Rational Voter ของนักเศรษฐศาสตร์ Bryan Caplan (อาจารย์มหาวิทยาลัย George Mason) ผู้เขียนเสนอว่าผู้เลือกตั้งส่วนใหญ่มักจะหลงผิดไปในทางเดียวกันและสิ่งที่เรียกว่าความเชื่อผิด (misconception) เป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ตามความคิดของเขา การเลือกตั้งจึงอาจจะไม่ได้บอกว่าผู้เลือกตั้งจะตัดสินใจถูกเสมอ
อย่างไรก็ตาม Caplan กลับชี้ให้เห็นว่าเราไม่อาจมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า “เจตนาดี” ของประชาชนไปได้ กล่าวคือ ถ้าหากผู้เลือกตั้งรู้ว่านโยบายใดดีต่อสังคมโดยรวม เราก็สามารถไว้วางใจการตัดสินใจนั้นได้ (ซึ่งความคิดนี้ ตรงข้ามกับแนวคิดของการศึกษาการเมืองสมัยใหม่ ที่มีสมมุติฐานว่าคนทุกคนนั้นต่างเห็นแก่ตัวหรือ self-interest )
ประเด็นข้อถกเถียงทางวิชาการนี้ก็ไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ แต่ถึงอย่างไร นักคิดต่างมีความเชื่อเดียวกันว่า รูปแบบทางการเมืองที่มีองค์ประกอบอย่างที่ประชาธิปไตยในตะวันตกมีนั้น ยังเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด เพราะคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นคนของทุกคนอย่างเสมอภาคกัน นอกจากนี้ กระบวนการทางการเมืองที่ประชาชนเป็นพื้นฐานนั้นเป็นวิถีทางที่ถูกที่ควร ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ
คงจะต้องเป็นบทบาทของนักวิชาการที่จะพูดว่า “โง่นี้ขายเท่าไหร่?” แทนที่จะเป็นนักการเมืองอย่างแน่นอน ถ้าอยากจะหวังพึ่งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไป
บางคนมาต่อให้อีกว่าห้ามเด็ดขาด โดยเฉพาะกับคนใต้หรือคนฝรั่งเศส (ไม่อยากจะนึกว่าถ้าเป็นคนฝรั่งเศสตอนใต้ จะไม่ยิ่งแย่ไปใหญ่หรือ ฮา..)
ที่ว่ากันอย่างนั้น อาจจะเป็นเพราะศาสนาและการเมือง มีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ต่างก็เกี่ยวข้องกับศรัทธาหรือความเชื่อ นอกจากนี้ ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะชี้ใครถูกใครผิด
ยิ่งไปกว่านั้น ความเชื่อในเรื่องศาสนาหรือการเมืองของกลุ่มคนบางกลุ่ม ยังไปไกลถึงขั้นไร้เหตุผลในสายตาคนนอก เช่น ลองนึกถึงลัทธิที่เชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาว หรือกลุ่มการเมืองขวาจัดสุดกู่อย่างพวกนีโอนาซี
พูดง่ายๆ ว่า คนเราไม่ได้อยู่บนหลักของเหตุและผลเสมอไปเมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนาและการเมือง หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า มีกระบวนการตัดสินใจแบบนอกเหตุผล (irrational) ก็อาจจะได้ (ขอใช้คำว่านอกเหตุผลเพราะ ไม่ได้หมายความว่าไร้เหตุผลไปซะทีเดียว แต่อยู่นอกเหนือจากเหตุผลหรือหลักเกณฑ์ที่เป็นกระแสสังคม)
ศาสนาอาจจะใช่ แล้วการเมืองหละ ?? ลองมาดูกันให้ละเอียดที่การแสดงความเห็นในทางการเมือง ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือ การออกเสียงเลือกตั้ง
คำถามแรกที่ควรถามก็คือ ถ้าอย่างนั้น เราเชื่อผลการเลือกตั้งได้มากน้อยแค่ไหน ?
นักรัฐศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะในสายทางเลือกสาธารณะ (public choice) มักจะเชื่อว่า ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเอง ในฐานะขององค์รวม ไม่ได้ตระหนักเท่าใดว่ากำลังทำอะไรอยู่ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้มีปัญหาในการพึ่งพาผลการเลือกตั้ง เพราะจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า การหักล้างกันของการตัดสินใจที่ขาดๆ เกินๆ หรือสุดขั้วไปข้างใดข้างหนึ่ง
ลองยกตัวอย่างรูปธรรม กลุ่มที่เห็นว่าปัญหาผู้อพยพชาวต่างชาติเป็นเรื่องหลักและเทคะแนนให้พรรคที่มีนโยบายไปในทางเข้มงวดก็จะหักล้างกับฝ่ายที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจและการเปิดตลาดซึ่งเลือกลงคะแนนให้กับพรรคที่มีนโยบายตรงข้าม
ในทางเศรษฐศาสตร์ทางเลือกสาธารณะ สิ่งที่สำคัญต่อนักการเมืองคือ ความเห็นของผู้เลือกตั้งส่วนใหญ่หรือ average voter จึงเกิดการอธิบายพฤติกรรมของนักการเมืองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า median voter เป็นต้น
อาจจะพูดได้ว่า สมมุติฐานของเรื่องการเลือกตั้งที่มักใช้คือ ผู้เลือกตั้ง (ส่วนใหญ่) มักจะตัดสินใจถูก
ถึงแม้นักเศรษฐศาสตร์สายทางเลือกสาธารณะจะบอกว่ากระบวนการตัดสินใจของผู้เลือกตั้งจะเข้าข่ายโง่แบบไม่มีทางเลือก (คือปล่อยเลยตามเลย ทั้งๆ ที่รู้) หรือโง่แบบสมเหตุสมผล (rational ignorance) ก็ตาม
ที่เรียกว่าโง่แบบไม่มีทางเลือกนั้น มาจากความตระหนักว่าการตัดสินใจของคนเพียงคนเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลในระดับมหภาคได้ ประกอบกับการทำความเข้าใจกับนโยบายทุกเรื่องเป็นเรื่องที่มีต้นทุนสูงมาก (แค่เฉพาะต้นทุนในด้านเวลาก็สูงมากในการรับฟังข้อมูลที่มีอยู่มหาศาล) หรือนโยบายในทางเศรษฐกิจก็ยากเกินไปสำหรับคนระดับชาวบ้าน หลายคนจึงไปลงคะแนนทั้งๆ ที่ยังขาดข้อมูล ไม่รู้จักนโยบายหลักของพรรคหรือแม้กระทั้ง ไม่รู้จักผู้สมัคร ในบางกรณี ความไม่รู้ก็เกิดจากข้อจำกัดทางโครงสร้างของกระบวนการเอง (เช่นตัวอย่างของประเทศไทย) นอกจากนี้ คนที่มีความรู้อย่างนักวิชาการ ก็เป็นเพียงเสียงส่วนน้อย
ในหนังสือชื่อ The Myth of Rational Voter ของนักเศรษฐศาสตร์ Bryan Caplan (อาจารย์มหาวิทยาลัย George Mason) ผู้เขียนเสนอว่าผู้เลือกตั้งส่วนใหญ่มักจะหลงผิดไปในทางเดียวกันและสิ่งที่เรียกว่าความเชื่อผิด (misconception) เป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ตามความคิดของเขา การเลือกตั้งจึงอาจจะไม่ได้บอกว่าผู้เลือกตั้งจะตัดสินใจถูกเสมอ
อย่างไรก็ตาม Caplan กลับชี้ให้เห็นว่าเราไม่อาจมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า “เจตนาดี” ของประชาชนไปได้ กล่าวคือ ถ้าหากผู้เลือกตั้งรู้ว่านโยบายใดดีต่อสังคมโดยรวม เราก็สามารถไว้วางใจการตัดสินใจนั้นได้ (ซึ่งความคิดนี้ ตรงข้ามกับแนวคิดของการศึกษาการเมืองสมัยใหม่ ที่มีสมมุติฐานว่าคนทุกคนนั้นต่างเห็นแก่ตัวหรือ self-interest )
ประเด็นข้อถกเถียงทางวิชาการนี้ก็ไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ แต่ถึงอย่างไร นักคิดต่างมีความเชื่อเดียวกันว่า รูปแบบทางการเมืองที่มีองค์ประกอบอย่างที่ประชาธิปไตยในตะวันตกมีนั้น ยังเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด เพราะคุ้มครองสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นคนของทุกคนอย่างเสมอภาคกัน นอกจากนี้ กระบวนการทางการเมืองที่ประชาชนเป็นพื้นฐานนั้นเป็นวิถีทางที่ถูกที่ควร ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ
คงจะต้องเป็นบทบาทของนักวิชาการที่จะพูดว่า “โง่นี้ขายเท่าไหร่?” แทนที่จะเป็นนักการเมืองอย่างแน่นอน ถ้าอยากจะหวังพึ่งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งต่อไป
ความคิดเห็น