ไม่มีคำตอบ
จากเหตุการณ์ชุมนุมที่มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวบ้านที่ถูกสังหารและข่มขืน ช่วงต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐
และจากปัญหาความขัดแย้งที่สะสมมาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗
๑.คำถามต่อรัฐไทย "ผู้ตัดขาดจากความจริง"
การชุมนุมที่ประกอบด้วยคนนอกพื้นที่ ไม่ใช่การชุมนุมที่บริสุทธิ์งั้นหรือ?
เราต้องเป็นผู้ถูกกระทำเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์เรียกร้องความเป็นธรรม และสามารถเข้าใจความเจ็บปวดอย่างนั้นหรือ?
การชุมนุมอย่างสงบ เพื่อเรียกร้องสิ่งที่ไม่สามารถเรียกร้องได้จากการชุมนุมอย่างไม่สงบและโดยการไม่ชุมนุม กลับทำไม่ได้ เพราะสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และประกอบด้วยคนนอกพื้นที่
เหตุใดผู้อื่นจึงสามารถเข้ามากำหนดความไม่สามารถในการชุมนุม แต่คนนอกไม่สามารถกำหนดความสามารถในการชุมนุม?
เมื่อผู้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามด้วยหรือไม่??
เมื่อผู้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ความยุติธรรมถูกตั้งคำถามด้วยหรือไม่?
หรือเมื่อความยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ผู้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามหรือไม่
แล้วใครจะเป็นผู้ใช้กฎหมายและให้ความยุติธรรม?
๒.คำถามต่อเพื่อนคนไทย "ผู้นิ่งดูดาย"
เมื่อพี่น้องเราถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม เรารู้สึกทุกข์ร้อนหรือไม่?
ทำไมคนภาคอื่น โดยเฉพาะคนภาคกลาง จึงนิ่งเฉยดูดาย??
ต้องรออีกนานแค่ไหน ความเดือดร้อนของคนอื่นจึงจะกลายเป็นความเดือดร้อนของตัวเราเอง?
คุณเห็นพวกเขาเป็นเพื่อนร่วมชาติอยู่อีกหรือ???
ความเป็นชาติที่ต่างเทิดทูนกันไปนั้นเพื่อประโยชน์อะไร มันมีตัวตนจริงหรือ???
๓. คำถามต่อตัวเราเอง "ผู้เป็นทาส"
แท้จริงแล้ว เราเองก็มีส่วน(ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม) เติมเชื้อไฟให้ปัญหานี้ ???
เราเองไม่ใช่หรือที่ตกเป็นทาสของสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เงินตรา ความขลาด อคติ กิเลส และความเขลา??
มีแต่ทาสเท่านั้นที่ช่วยเหลือกันไม่ได้
และจากปัญหาความขัดแย้งที่สะสมมาตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗
๑.คำถามต่อรัฐไทย "ผู้ตัดขาดจากความจริง"
การชุมนุมที่ประกอบด้วยคนนอกพื้นที่ ไม่ใช่การชุมนุมที่บริสุทธิ์งั้นหรือ?
เราต้องเป็นผู้ถูกกระทำเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์เรียกร้องความเป็นธรรม และสามารถเข้าใจความเจ็บปวดอย่างนั้นหรือ?
การชุมนุมอย่างสงบ เพื่อเรียกร้องสิ่งที่ไม่สามารถเรียกร้องได้จากการชุมนุมอย่างไม่สงบและโดยการไม่ชุมนุม กลับทำไม่ได้ เพราะสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และประกอบด้วยคนนอกพื้นที่
เหตุใดผู้อื่นจึงสามารถเข้ามากำหนดความไม่สามารถในการชุมนุม แต่คนนอกไม่สามารถกำหนดความสามารถในการชุมนุม?
เมื่อผู้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามด้วยหรือไม่??
เมื่อผู้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ความยุติธรรมถูกตั้งคำถามด้วยหรือไม่?
หรือเมื่อความยุติธรรมถูกตั้งคำถาม ผู้ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกตั้งคำถามหรือไม่
แล้วใครจะเป็นผู้ใช้กฎหมายและให้ความยุติธรรม?
๒.คำถามต่อเพื่อนคนไทย "ผู้นิ่งดูดาย"
เมื่อพี่น้องเราถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม เรารู้สึกทุกข์ร้อนหรือไม่?
ทำไมคนภาคอื่น โดยเฉพาะคนภาคกลาง จึงนิ่งเฉยดูดาย??
ต้องรออีกนานแค่ไหน ความเดือดร้อนของคนอื่นจึงจะกลายเป็นความเดือดร้อนของตัวเราเอง?
คุณเห็นพวกเขาเป็นเพื่อนร่วมชาติอยู่อีกหรือ???
ความเป็นชาติที่ต่างเทิดทูนกันไปนั้นเพื่อประโยชน์อะไร มันมีตัวตนจริงหรือ???
๓. คำถามต่อตัวเราเอง "ผู้เป็นทาส"
แท้จริงแล้ว เราเองก็มีส่วน(ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม) เติมเชื้อไฟให้ปัญหานี้ ???
เราเองไม่ใช่หรือที่ตกเป็นทาสของสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เงินตรา ความขลาด อคติ กิเลส และความเขลา??
มีแต่ทาสเท่านั้นที่ช่วยเหลือกันไม่ได้
ความคิดเห็น
การชุมนุมโดยคนนอกพื้นที่ รัฐก็ระแวง คนตั้งใจชุมนุมเพื่อเรียกร้องความสงบให้บ้านเมือง ต้องทำไงเนี่ย ยิงตัวเองตาย ไม่รู้รัฐจะรู้สึกหรือเปล่า ตายฟรีอีกโดนสมน้ำหน้าในความเขลา "นาย A ยิงตัวประท้วงรัฐที่ขาดความชัดเจนในการแก้ปัญหาภาคใต้ จบข่าว" นาย A กลายเป็นอดีตข่าว ไร้คนสนใจ
กฏหมายเอาบทไหนหล่ะมาพูดเรื่องความยุติธรรมให้คนที่ตายไปแล้ว ตายแบบเป็นแค่ข่าวรายวัน ใช้สมมุติฐานว่าผู้ก่อการร้ายทำ จบอีกข่าว ง่ายจริงชิีวิตชาวบ้าน ไร้ค่า..
รัฐกำลังทำอะไร -- แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เฉพาะกาล เฉพาะกิจ ส่งทหารไปตายรายวันร่วมกับชาวบ้าน จบ
กำหนดระเบียบทำเรื่องไม่เป็นเรื่องไม่รู้ว่ายิ่งทำก็ยิ่งเป็นผู้ร้ายมากขึ้นเท่านั้น
รัฐอ่อนแอ ชาติขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความเข้มแข็ง นั่นแหละคือคำตอบ
ผมฟังข่าวเรื่องนี้ทางเน็ต ฟังแล้วก็ได้แต่ผ่านๆ (เหมือนกับอีกหลาย ๆ เรื่องที่ฟังหู ออกหู) ไม่ได้คิดหรือพิเคราะห์ตาม แต่เมื่ออ่านข้อเท็จจริงที่คุณกล่าวถึงแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่าแล้วเราควรจะหาทางออกกันอย่างไร
แล้วก็กลับมาสู่สามัญสำนึกเดิม คือผมจะรู้สึกว่าผมตัวเล็กเกินไปที่จะสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้
ศาสนาพุทธสอนให้รู้ว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” แต่ก็สอนให้ “มีเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น” ช่างยากเสียนี่กระไรที่จะหาจุดดุลยภาพของสองหลักการนี้สำหรับผู้ที่ด้อยปัญญาเช่นผม จริง ๆ แล้วผมไม่สามารถทำอะไรได้เลยหรือผมเอาหลักการข้อแรกมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ต้องคิดที่จะทำอะไรเลย
เช้าวันนี้เพิ่งฟังรายการวิทยุ (ย้อนหลังหรือเปล่าไม่ทราบ)เกี่ยวกับปัญหาการเสียชีวิตของครูภาคใต้ ผู้ดำเนินรายการถามผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งทางภาคใต้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่า “ทราบว่าโรงเรียนปิดการเรียนการสอนกันมากเพราะกลัวภัยจากการก่อการร้าย” ผู้อำนวยการท่านนั้นตอบว่า “ก็ไม่จริงทั้งหมด บางส่วนก็เกิดจากการที่ครูมีน้อย แล้วต้องไปช่วยกิจกรรมอื่น ๆ ทำให้ไม่มีครูมาสอน”
อดคิดไม่ได้ว่า บางทีข้อเท็จจริงบางอย่างก็เป็นเรื่องสมมติฐานหรืออนุมานไปเองเอาจากข้อเท็จจริงส่วนอื่น ๆ หรือไม่ จริง ๆ แล้วเราที่อยู่ไกลจากสถานที่เกิดเหตุ รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเพียงไหน
พูดไปก็แค่นั้น มีโอกาสผมว่าเราลงไปคลุกคลีกับคนในพื้นที่ดูบ้างดีกว่า อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่า เราเป็นผู้มีเมตตา ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา ส่วนจะหยิบยื่นความช่วยเหลืออะไรให้ได้หรือเปล่าก็คงเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยในอนาคตกระมัง
ด้วยความนับถือในความละเอียดอ่อนของความคิดคุณ
สงครามระหว่างงรัฐกับผู้ก่อการร้าย
แต่ผู้เคราะห์ร้ายคือชาวบ้านที่ผุู้ร้ายใช้ชีวิตของเขาเหล่านั้นสังเวยเพื่อเรียกร้องจากรัฐ (ต้องการแบ่งแยกดินแดน? แค่นั้นหรอกหรือ) ที่ข่าวก็ประโคมมาจริงบ้าง ไม่รู้จริงบ้าง
หากผู้นำชี้แนะว่าเราจะช่วยได้ด้วยแบบนี้ แบบนั้น เราก็คงจะรู้ว่าจะต้องทำไง อยู่ๆจะหยิบปืนไปสู้กับผู้ร้ายก็กระไรเลย
เราหลงทาง...ตราบใดที่รัฐยังเป็นเช่นนี้ ก็คงเหมือนอยุธยาตอนเสียกรุงหนะแหละ