เศรษฐศาสตร์สถาบันกับกรณีเลิกจ้างประธานสหภาพไทรอัมพ์
ตามที่ผู้เขียนได้เคยเรียกร้องให้ตีกรอบประเด็นของข้อพิพาทในกรณีเลิกจ้างประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ให้จำกัดวงอยู่แค่ความไม่เป็นธรรมของนายจ้าง แต่ปรากฏว่าการกระทำเช่นนั้นกลับสร้างความได้เปรียบให้กับฝ่ายนายจ้าง ที่พยายามหยิบยกประเด็นต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาเบี่ยงเบนและทำให้เกิดความคลุมเครือ (ดูประชาไท http://www.prachatai.com/05web/th/home/13041)
ผู้เขียนจึงต้องการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (หรือจะเรียกว่าปรากฏการณ์ก็น่าจะได้ เพราะเหตุการณ์ดำเนินมาเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบัน) โดยพยายามใช้หลักการและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ตนเองมี เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจกรณีพิพาทนี้ในมุมมองของความสัมพันธ์และสิทธิ รวมทั้งกลไกที่แต่ละฝ่ายใช้ในการจัดการความขัดแย้ง ในจุดที่ปลอดจากหมอกควันของอารมณ์และอคติ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันความเป็นไป
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนกลับพบว่ากรอบความคิดของทฤษฏีกระแสหลักที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพ กำไรสูงสุดของผู้ผลิตและความพอใจสูงสุดของผู้บริโภคนั้นไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างน่าพอใจ ส่วนหนึ่งอาจมาจากกรณีนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เพราะคาบเกี่ยวทับซ้อนพื้นที่ทั้งเชิงเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม อีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากตัวกรอบของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเองที่มีปัญหาในการประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งครอบคลุมเกินกว่าปัญหาด้านการผลิตและการแลกเปลี่ยน
จึงได้ทดลองใช้แนวความคิดจากสำนักทางเลือกที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน* ซึ่งพบว่าสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในระดับนามธรรมได้ค่อนข้างดี ดังนั้น จึงขอเสนอกรอบความคิดนี้เพื่อประโยชน์ในการถกเถียงทางวิชาการ โดยแนวความคิดที่ใช้ต่อไปในบทความนี้อ้างอิงจากทฤษฏีของจอห์น คอมมอนส์ (John R. Commons, 1862-1945) ในบทความ “Institutional Economics” ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1931
๑
เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันแตกต่างจากทฤษฎีตามแนวอื่นอย่างไร?
เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มาตรฐาน หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลักซึ่งพัฒนาขึ้นจากทฤษฏีของสำนักคลาสสิคและนีโอคลาสสิค ตรงที่หน่วยที่เล็กที่สุดของการวิเคราะห์ไม่ใช่สินค้า ที่แรงงานผลิตขึ้น (ตามคำอธิบายของสำนักคลาสสิค) หรือที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค (ตามคำอธิบายของสำนักนีโอคลาสสิค) แต่หน่วยของการวิเคราะห์คือ การกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคล หรือในภาษาของนักเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน ที่เรียกว่า trans-action (ต่อไปจะขอใช้คำว่าปฏิสัมพันธ์แทน)
คอมมอนส์ได้แบ่งลักษณะของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลออกเป็น 3 ประเภท คือ แบบต่อรอง (bargaining transaction) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายสินค้าในตลาด, แบบบริหารจัดการ (managerial transaction) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง, ฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติหรือผู้ที่สูงกว่าและผู้ที่ต่ำกว่า และสุดท้ายคือ แบบจัดสรร (rationing transaction) ที่คล้ายกับแบบที่สอง แต่ฝ่ายที่สูงกว่ามีลักษณะเป็นกลุ่มในขณะที่ฝ่ายที่ต่ำกว่าเป็นบุคคลจำนวนมากที่ไม่ได้รวมตัวกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับประชาชนหรือระหว่างคณะกรรมการของบริษัทกับพนักงาน เป็นต้น
เมื่อเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สิ่งที่เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันชี้ให้เราเห็นคือ รูปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ กล่าวคือ ในปฏิสัมพันธ์แต่ละรูปแบบ เช่น ในแบบต่อรองหรือแบบบริหารจัดการ หลักการที่กำกับความสัมพันธ์อันได้แก่ เท่าเทียมกันหรือสูง-ต่ำ จะสะท้อนการจัดสรรสิทธิหรือทรัพยากรในระดับแตกต่างกัน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพึงระลึกเสมอก็คือทข้อเท็จจริงว่าโอกาสหรือสิทธิที่ฝ่ายหนึ่งได้รับย่อมเท่ากับข้อจำกัดหรือการริดลอนสิทธิของอีกฝ่ายเสมอ (และเป็นเช่นเดียวกันในทางกลับกัน) ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขตามธรรมชาติของปฏิสัมพันธ์
เศรษฐศาสตร์แนวนี้จึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และมนุษย์ โดยเชื่อว่าลักษณะที่ซ่อนอยู่ข้างหลังปฏิสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ขัดแย้ง พึ่งพาและบังคับ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
จึงต่างจากเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนตลาดเสรี ที่เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ เพราะถูกสร้างขึ้นบนสมมุติฐานของของทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และการผสมกลมกลืนของผลประโยชน์ และยิ่งห่างไกลจากเศรษฐศาสตร์จอมปลอมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งของ เพราะมุ่งอธิบายแต่ความพึงพอใจและประโยชน์จากการบริโภค
๒
“สถาบัน” ตามการวิเคราะห์แนวสถาบันคืออะไร? ทำงานอย่างไร?
ความท้าทายหลักของเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน คือการนิยามความหมายของสิ่งที่เรียกว่า “สถาบัน” ให้ชัดเจน เนื่องจากคำว่าสถาบันถูกใช้ในชีวิตประจำวันจนกระทั่งเกิดความหมายที่เข้าใจทั่วไปอีกความหมายหนึ่ง นอกจากนี้ สิ่งที่เรียกว่าสถาบันมีปริมณฑลกว้างขวางและครอบคลุมทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมเช่น จารีตประเพณี กฏหมาย รัฐบาล สหภาพแรงงาน เป็นต้น
คอมมอนส์ได้สรุปความหมายรวบยอดของสิ่งที่เรียกว่า “สถาบัน” เอาไว้ว่า หมายถึง การกระทำแบบรวมหมู่ที่มีผลในการควบคุม, ปลดปล่อยและขยายพฤติการณ์ของปัจเจกบุคคล (Institution as collective action in control, liberation and expantion of individual action)
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันที่จับต้องได้เช่น รัฐบาล ศาล สหภาพแรงงาน (ต่อไปจะใช้คำว่า “องค์กร” แทนสถาบันในกลุ่มนี้) หรือสถาบันที่เป็นนามธรรมเช่น จารีตประเพณี ลักษณะร่วมที่สำคัญของสถาบันและองค์กรเหล่านี้ คือ เข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะเพิ่มหรือลดการจำกัด, การอนุญาตหรือการขยายขอบเขตของการกระทำของบุคคลเสมอ
คอมมอนส์เรียกหลักการ, ตรรกหรือรูปแบบการให้เหตุและผลที่สังคมยอมรับในความเป็นสากลในช่วงระยะเวลาหนึ่งว่า “working rules” ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” ของสังคม กฏเกณฑ์ฯ นี้เอง ที่เป็นเงื่อนไขบอกว่าอะไรคือ “สิ่งที่บุคคลสามารถ, ไม่สามารถ, ต้อง, ไม่ต้อง, อาจจะหรืออาจจะไม่”กระทำการใดๆ ได้ ตามที่เขากล่าวว่า “….[individual] “can” or “cannot”, because collective action will or will not come to his aid. He “must” or “most not”, because collective action will compel him. He “may”, because collective action will permit him and protect him. He “may not”, because collective action will prevent him.” (Commons, 1931)
สถาบันและองค์กรในสังคมล้วนมีส่วนวางหลักการ ตรรกะหรือรูปแบบการให้เหตุผลดังกล่าว ทั้งที่ไม่ต้องมีการจัดตั้งหรือวางแผน โดยผ่านการใช้กลไกแก้ไขความขัดแย้งที่แต่ละสถาบันและองค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กลไกจัดการความขัดแย้งประกอบด้วย กลไกทางเศรษฐกิจ กลไกทางปกครอง (กระบวนการยุติธรรม) และกลไกทางสังคม ศีลธรรมหรือการเมือง ดังนั้น ในช่วงเวลาหนึ่ง การกระทำของสมาชิกในสังคมจึงถูกกำกับและควบคุม ทั้งโดยเปิดเผยและโดยแอบแฝงโดยชุดของ “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” ที่ครอบงำสังคมชุดหนึ่งเสมอ
ในประเทศที่ใช้ระบบกฏหมายแบบ common law เช่นสหรัฐฯ ซึ่งกฎหมายบางส่วนไม่มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น คำตัดสินของพิพากษาสูงจะมาจากหลักการเดียวกับที่คอมมอนส์อธิบายเรื่องกฏเกณฑ์ฯ นี้ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ฯ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเสมอ เพราะสังคมเปลี่ยนและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ถึงแม้จะต้องใช้เวลานานมาก สำหรับสถาบันที่เป็นนามธรรมอย่างขนบธรรมเนียมประเพณี
๓
จากทฤษฎีสู่บทวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
๑) จากกรอบทฤษฎีของคอมมอนส์เรื่องสถาบัน การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติการณ์รวมหมู่กับผลในทางจำกัดขอบเขตการกระทำของบุคคลนั้นชี้ให้เห็นความสำคัญของสิทธิและการกระทบของสิทธิที่มีทั้งฝ่ายได้และเสีย
ตัวอย่างของพฤติการณ์หมู่ในสังคมไทยที่ไล่ล่าแขวนป้าย “หมิ่นฯ” ให้กับบุคคลต่างๆ อาจถือเป็น “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” อยู่ในสังคม เมื่อบุคคลกลุ่มนี้ใช้อัตวิสัยเข้าตัดสินการกระทำของบุคคลอื่นว่า “เข้าข่ายหมิ่นฯ” หรือไม่ จึงเท่ากับบอกว่าบุคคลอื่นนั้น “สามารถหรือไม่สามารถ” หรือ “ควรหรือไม่ควร” กระทำอะไร โดยไม่สนใจถึงสิทธิที่ถูกกระทบหรือริดลอนจากพฤติการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ พึงสังเกตว่าบุคคลกลุ่มนี้ไม่มีอิทธิพลมากพอในการกำหนดกฎเกณฑ์ฯ แต่เป็นเพียงตัวแทนของกฏเกณฑ์ฯ ที่ใหญ่กว่า ที่ปรากฏอยู่ในสังคมชั่วขณะนี้
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนไม่เชื่อว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกรณีไทรอัมพ์ อันได้แก่ ศาลแรงงานเจ้าของเรื่อง, อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ที่กล่าวสนับสนุนว่าศาลทำถูกต้องแล้ว), นายจ้างของคุณจิตราเอง รวมทั้งกลุ่มคนที่ดูหมิ่น ถากถางและประนามการกระทำของคุณจิตรานั้นได้ตระหนักรู้ถึงเรื่องสิทธิ์ที่ถูกกระทบของคุณจิตราและแรงงานคนอื่นแม้แต่น้อย ไม่จำเป็นต้องคิดว่าบุคคลเหล่านี้จะสนใจใส่ใจกับสิทธิ์ของแรงงานกลุ่มนี้หรือไม่ เพียงใด
๒) จากความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมี ๓ ลักษณะคือ แบบต่อรอง (bargaining transaction), แบบบริหารจัดการ (managerial transaction) และแบบจัดสรร (rationing transaction) จะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกิจการหรือผู้ขายสินค้ากับผู้ซื้อสินค้านั้นเป็นแบบต่อรอง (bargaining transactions) ในขณะที่ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นแบบบริหารจัดการ (managerial transactions)
ในความสัมพันธ์คู่แรกคือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า หลักการที่กำกับความสัมพันธ์คือ หลักของความเท่าเทียมกัน เพราะต่างฝ่ายสามารถเลือกบนเงื่อนไขของการแข่งขัน ขณะที่ความสัมพันธ์ในคู่หลัง คือระหว่างนายจ้างและแรงงานนั้น ถูกกำกับโดยหลักของความไม่เท่าเทียมกันและหลักประสิทธิภาพ ดังที่นายจ้างมักกล่าวอ้างเรื่องความสงบเรียบร้อยเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและการผลิต
๓) ความเข้าใจในเรื่อง “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” ได้แสดงให้เห็นว่านอกจากกลไกทางเศรษฐกิจ คือ กำไร/ขาดทุน ที่สามารถใช้เป็นกลไกจัดการความขัดแย้งทางทรัพยากรแล้ว เรายังสามารถใช้กลไกทางปกครอง คือ กระบวนการยุติธรรม (ซึ่งถือเป็นความรุนแรง) และกลไกทางสังคมหรือศีลธรรมเช่น การแทรกแซงหรือกดดันโดยใช้ความเห็นของกลุ่มคน เพื่อจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
กล่าวได้ว่าภายหลังจากที่คุณจิตราไปออกรายการกรองสถานการณ์ ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของกิจการกับกลุ่มลูกค้าที่เรียกร้องให้เลิกจ้างพนักงานกลุ่มคุณจิตรา โดยขู่ว่าจะคว่ำบาตรสินค้าของบริษัท แต่ปรากฎว่าฝ่ายนายจ้างเองกลับเลือกใช้กลไกทางกฏหมายเพื่อจัดการความขัดแย้งระหว่างตนกับผู้ซื้อสินค้า โดยพุ่งเป้าไปที่แรงงานของตน แทนที่เป็นคู่กรณีในความขัดแย้งโดยตรง
ฝ่ายนายจ้างนั้นได้ใช้ประโยชน์จากพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วจัดการกับฝ่ายแรงงาน เพื่อขจัดข้อขัดแย้งระหว่างตนกับผู้บริโภค อีกทั้งใช้กลไกทางสังคมหรือศีลธรรมในเรื่องหมิ่นเบื้องสูงซึ่งมี “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” เป็นแรงสนับสนุนอยู่แล้วเข้าซ้ำรอยอีกระลอก ไม่ว่าจะมีความพยายามทำลายสหภาพแรงงานหรือไม่ (ผู้เขียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้) ถือว่านี่เป็นการจัดการความขัดแย้งที่เกินขอบเขตและไร้จริยธรรม
มองในแง่ของความขัดแย้ง ฝ่ายนายจ้างอาจเห็นว่าการจัดการกับแรงงานง่ายกว่าการต่อรองกับลูกค้ามาก เพราะลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเป็นแบบเท่าเทียมกัน หรือถึงขั้นต่ำกว่าผู้ซื้อในระบบทุนนิยมสุดโต่ง (กับสโกแกน ลูกค้าคือพระเจ้า) นอกจากนี้ ในสายตาของนายจ้าง การจัดการกับฝ่ายแรงงานนั้นยิ่งง่ายกว่าการพิสูจน์ให้กลุ่มลูกค้าเห็นว่าการกระทำของกลุ่มแรงงานไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการหมิ่นสถาบันฯ ซึ่งทำได้ยาก เพราะการพิสูจน์ว่าบุคคลใดจงรักภักดีหรือไม่ก็ไม่สามารถทำได้โดยกระบวนที่เป็นวิทยาศาสตร์ คำตัดสินของศาลแรงงานให้เลิกจ้างตามคำร้องของนายจ้างก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าฝ่ายแรงงานมีความผิดในฐานหมิ่นฯ ตามที่สังคมประนาม หากแต่เป็นผลของการโยงเหตุและผลอย่างหยาบๆ ในเรื่องทำลายชื่อเสียง ในมุมกลับ คำตัดสินก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าฝ่ายนายจ้างจะจงรักภักดีมากกว่ากลุ่มแรงงาน มิหนำซ้ำ การตัดสินว่าการสวมเสื้อ ไม่ยืนฯ คิดต่างฯ” ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงก็ยังมีข้อกังขาอยู่ เพราะดูจะใช้ประโยชน์จากอารมณ์ที่พัดกระพือของฝูงชนหรือ “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” มากกว่าหลักการหรือหลักฐานที่จับต้องได้
สรุป
ผู้เขียนตระหนักดีว่าไม่อาจโต้แย้งกับคำตัดสินของศาลที่เกิดขึ้นไปแล้ว และไม่อาจคัดง้างกับกฏเกณฑ์ที่กำลังทำงานในสังคมไทยขณะนี้ สิ่งที่บทความนี้ต้องการเสนอคือพยายามตั้งคำถามว่าอาจมีคำอธิบายแบบอื่นหรือไม่ที่แตกต่างจากคำอธิบายแบบทุนนิยม เช่นเรื่องประสิทธิภาพ ที่สร้างความชอบธรรมและเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายนายทุนเท่านั้น นอกจากนี้ บทความนี้ยังต้องการชี้ให้เห็นว่าองค์กรอย่างศาลแรงงาน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการคุ้มครองและจัดสรร “สิทธิ”ระหว่างฝ่ายนายจ้างและแรงงานเสียใหม่เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น หากกลไกสำคัญอย่างศาลแรงงานไม่ตระหนักในเรื่องนี้ การคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ สุดท้าย ผู้เขียนตระหนักดีว่ากระบวนแก้ไขข้อพิพาทด้านแรงงานมีอยู่แล้วในสังคม เพียงแต่ต้องการพยายามชี้ให้เห็นช่องโหว่ที่ปรากฏอยู่ โดยหวังว่าจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ฝ่ายแรงงาน ซึ่งเป็นฝ่ายที่อ่อนแอโดยโครงสร้างมากขึ้นกว่าที่เป็น
*หมายเหตุ
เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันมีอิทธิพลในสหรัฐฯ เพียงระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างช่วงทศวรรษ 1900s-1930sอย่างไรก็ตาม แนวความคิดของคอมมอนส์และนักเศรษฐศาสตร์แนวสถาบันที่สำคัญอย่าง Thorsten Veblen (1857-1929) มีอิทธิพลต่อนักเศรษฐศาสตร์สายทางเลือกจำนวนมากในเวลาต่อมา รวมทั้งยังเป็นรากฐานให้กับเศรษฐศาสตร์แขนงอื่นเช่น แนวสถาบันใหม่ (ถึงแม้จะหันไปยึดระเบียบวิธีแบบนีโอคลาสสิค) และสาขาสังคมวิทยาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภายหลัง
ข้อวิจารณ์ที่สำคัญข้อหนึ่งที่โจมตีแนวสถาบันคือ ขาดทฤษฎีที่เป็นรูปร่างจับต้องได้ งานที่พยายามแก้ต่างให้กับเศรษฐศาสตร์สถาบันในเรื่องนี้เช่น Schmid, Allen. Neo-institutional Economic Theories, Agricultural Economics Staff Paper No.86-49, Michigan State University
ผู้เขียนจึงต้องการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (หรือจะเรียกว่าปรากฏการณ์ก็น่าจะได้ เพราะเหตุการณ์ดำเนินมาเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบัน) โดยพยายามใช้หลักการและความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ตนเองมี เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจกรณีพิพาทนี้ในมุมมองของความสัมพันธ์และสิทธิ รวมทั้งกลไกที่แต่ละฝ่ายใช้ในการจัดการความขัดแย้ง ในจุดที่ปลอดจากหมอกควันของอารมณ์และอคติ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันความเป็นไป
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนกลับพบว่ากรอบความคิดของทฤษฏีกระแสหลักที่เน้นเรื่องประสิทธิภาพ กำไรสูงสุดของผู้ผลิตและความพอใจสูงสุดของผู้บริโภคนั้นไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างน่าพอใจ ส่วนหนึ่งอาจมาจากกรณีนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เพราะคาบเกี่ยวทับซ้อนพื้นที่ทั้งเชิงเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม อีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากตัวกรอบของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเองที่มีปัญหาในการประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งครอบคลุมเกินกว่าปัญหาด้านการผลิตและการแลกเปลี่ยน
จึงได้ทดลองใช้แนวความคิดจากสำนักทางเลือกที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน* ซึ่งพบว่าสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในระดับนามธรรมได้ค่อนข้างดี ดังนั้น จึงขอเสนอกรอบความคิดนี้เพื่อประโยชน์ในการถกเถียงทางวิชาการ โดยแนวความคิดที่ใช้ต่อไปในบทความนี้อ้างอิงจากทฤษฏีของจอห์น คอมมอนส์ (John R. Commons, 1862-1945) ในบทความ “Institutional Economics” ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1931
๑
เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันแตกต่างจากทฤษฎีตามแนวอื่นอย่างไร?
เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มาตรฐาน หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลักซึ่งพัฒนาขึ้นจากทฤษฏีของสำนักคลาสสิคและนีโอคลาสสิค ตรงที่หน่วยที่เล็กที่สุดของการวิเคราะห์ไม่ใช่สินค้า ที่แรงงานผลิตขึ้น (ตามคำอธิบายของสำนักคลาสสิค) หรือที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค (ตามคำอธิบายของสำนักนีโอคลาสสิค) แต่หน่วยของการวิเคราะห์คือ การกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคล หรือในภาษาของนักเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน ที่เรียกว่า trans-action (ต่อไปจะขอใช้คำว่าปฏิสัมพันธ์แทน)
คอมมอนส์ได้แบ่งลักษณะของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลออกเป็น 3 ประเภท คือ แบบต่อรอง (bargaining transaction) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายสินค้าในตลาด, แบบบริหารจัดการ (managerial transaction) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง, ฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติหรือผู้ที่สูงกว่าและผู้ที่ต่ำกว่า และสุดท้ายคือ แบบจัดสรร (rationing transaction) ที่คล้ายกับแบบที่สอง แต่ฝ่ายที่สูงกว่ามีลักษณะเป็นกลุ่มในขณะที่ฝ่ายที่ต่ำกว่าเป็นบุคคลจำนวนมากที่ไม่ได้รวมตัวกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับประชาชนหรือระหว่างคณะกรรมการของบริษัทกับพนักงาน เป็นต้น
เมื่อเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สิ่งที่เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันชี้ให้เราเห็นคือ รูปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ กล่าวคือ ในปฏิสัมพันธ์แต่ละรูปแบบ เช่น ในแบบต่อรองหรือแบบบริหารจัดการ หลักการที่กำกับความสัมพันธ์อันได้แก่ เท่าเทียมกันหรือสูง-ต่ำ จะสะท้อนการจัดสรรสิทธิหรือทรัพยากรในระดับแตกต่างกัน ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพึงระลึกเสมอก็คือทข้อเท็จจริงว่าโอกาสหรือสิทธิที่ฝ่ายหนึ่งได้รับย่อมเท่ากับข้อจำกัดหรือการริดลอนสิทธิของอีกฝ่ายเสมอ (และเป็นเช่นเดียวกันในทางกลับกัน) ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขตามธรรมชาติของปฏิสัมพันธ์
เศรษฐศาสตร์แนวนี้จึงเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และมนุษย์ โดยเชื่อว่าลักษณะที่ซ่อนอยู่ข้างหลังปฏิสัมพันธ์ของปัจเจกบุคคล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ขัดแย้ง พึ่งพาและบังคับ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
จึงต่างจากเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนตลาดเสรี ที่เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ เพราะถูกสร้างขึ้นบนสมมุติฐานของของทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และการผสมกลมกลืนของผลประโยชน์ และยิ่งห่างไกลจากเศรษฐศาสตร์จอมปลอมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งของ เพราะมุ่งอธิบายแต่ความพึงพอใจและประโยชน์จากการบริโภค
๒
“สถาบัน” ตามการวิเคราะห์แนวสถาบันคืออะไร? ทำงานอย่างไร?
ความท้าทายหลักของเศรษฐศาสตร์แนวสถาบัน คือการนิยามความหมายของสิ่งที่เรียกว่า “สถาบัน” ให้ชัดเจน เนื่องจากคำว่าสถาบันถูกใช้ในชีวิตประจำวันจนกระทั่งเกิดความหมายที่เข้าใจทั่วไปอีกความหมายหนึ่ง นอกจากนี้ สิ่งที่เรียกว่าสถาบันมีปริมณฑลกว้างขวางและครอบคลุมทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมเช่น จารีตประเพณี กฏหมาย รัฐบาล สหภาพแรงงาน เป็นต้น
คอมมอนส์ได้สรุปความหมายรวบยอดของสิ่งที่เรียกว่า “สถาบัน” เอาไว้ว่า หมายถึง การกระทำแบบรวมหมู่ที่มีผลในการควบคุม, ปลดปล่อยและขยายพฤติการณ์ของปัจเจกบุคคล (Institution as collective action in control, liberation and expantion of individual action)
ไม่ว่าจะเป็นสถาบันที่จับต้องได้เช่น รัฐบาล ศาล สหภาพแรงงาน (ต่อไปจะใช้คำว่า “องค์กร” แทนสถาบันในกลุ่มนี้) หรือสถาบันที่เป็นนามธรรมเช่น จารีตประเพณี ลักษณะร่วมที่สำคัญของสถาบันและองค์กรเหล่านี้ คือ เข้าไปเกี่ยวข้องในลักษณะเพิ่มหรือลดการจำกัด, การอนุญาตหรือการขยายขอบเขตของการกระทำของบุคคลเสมอ
คอมมอนส์เรียกหลักการ, ตรรกหรือรูปแบบการให้เหตุและผลที่สังคมยอมรับในความเป็นสากลในช่วงระยะเวลาหนึ่งว่า “working rules” ซึ่งผู้เขียนขอใช้คำว่า “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” ของสังคม กฏเกณฑ์ฯ นี้เอง ที่เป็นเงื่อนไขบอกว่าอะไรคือ “สิ่งที่บุคคลสามารถ, ไม่สามารถ, ต้อง, ไม่ต้อง, อาจจะหรืออาจจะไม่”กระทำการใดๆ ได้ ตามที่เขากล่าวว่า “….[individual] “can” or “cannot”, because collective action will or will not come to his aid. He “must” or “most not”, because collective action will compel him. He “may”, because collective action will permit him and protect him. He “may not”, because collective action will prevent him.” (Commons, 1931)
สถาบันและองค์กรในสังคมล้วนมีส่วนวางหลักการ ตรรกะหรือรูปแบบการให้เหตุผลดังกล่าว ทั้งที่ไม่ต้องมีการจัดตั้งหรือวางแผน โดยผ่านการใช้กลไกแก้ไขความขัดแย้งที่แต่ละสถาบันและองค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กลไกจัดการความขัดแย้งประกอบด้วย กลไกทางเศรษฐกิจ กลไกทางปกครอง (กระบวนการยุติธรรม) และกลไกทางสังคม ศีลธรรมหรือการเมือง ดังนั้น ในช่วงเวลาหนึ่ง การกระทำของสมาชิกในสังคมจึงถูกกำกับและควบคุม ทั้งโดยเปิดเผยและโดยแอบแฝงโดยชุดของ “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” ที่ครอบงำสังคมชุดหนึ่งเสมอ
ในประเทศที่ใช้ระบบกฏหมายแบบ common law เช่นสหรัฐฯ ซึ่งกฎหมายบางส่วนไม่มีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น คำตัดสินของพิพากษาสูงจะมาจากหลักการเดียวกับที่คอมมอนส์อธิบายเรื่องกฏเกณฑ์ฯ นี้ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ฯ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเสมอ เพราะสังคมเปลี่ยนและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ถึงแม้จะต้องใช้เวลานานมาก สำหรับสถาบันที่เป็นนามธรรมอย่างขนบธรรมเนียมประเพณี
๓
จากทฤษฎีสู่บทวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
๑) จากกรอบทฤษฎีของคอมมอนส์เรื่องสถาบัน การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติการณ์รวมหมู่กับผลในทางจำกัดขอบเขตการกระทำของบุคคลนั้นชี้ให้เห็นความสำคัญของสิทธิและการกระทบของสิทธิที่มีทั้งฝ่ายได้และเสีย
ตัวอย่างของพฤติการณ์หมู่ในสังคมไทยที่ไล่ล่าแขวนป้าย “หมิ่นฯ” ให้กับบุคคลต่างๆ อาจถือเป็น “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” อยู่ในสังคม เมื่อบุคคลกลุ่มนี้ใช้อัตวิสัยเข้าตัดสินการกระทำของบุคคลอื่นว่า “เข้าข่ายหมิ่นฯ” หรือไม่ จึงเท่ากับบอกว่าบุคคลอื่นนั้น “สามารถหรือไม่สามารถ” หรือ “ควรหรือไม่ควร” กระทำอะไร โดยไม่สนใจถึงสิทธิที่ถูกกระทบหรือริดลอนจากพฤติการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ พึงสังเกตว่าบุคคลกลุ่มนี้ไม่มีอิทธิพลมากพอในการกำหนดกฎเกณฑ์ฯ แต่เป็นเพียงตัวแทนของกฏเกณฑ์ฯ ที่ใหญ่กว่า ที่ปรากฏอยู่ในสังคมชั่วขณะนี้
อย่างไรก็ดี ผู้เขียนไม่เชื่อว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกรณีไทรอัมพ์ อันได้แก่ ศาลแรงงานเจ้าของเรื่อง, อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ที่กล่าวสนับสนุนว่าศาลทำถูกต้องแล้ว), นายจ้างของคุณจิตราเอง รวมทั้งกลุ่มคนที่ดูหมิ่น ถากถางและประนามการกระทำของคุณจิตรานั้นได้ตระหนักรู้ถึงเรื่องสิทธิ์ที่ถูกกระทบของคุณจิตราและแรงงานคนอื่นแม้แต่น้อย ไม่จำเป็นต้องคิดว่าบุคคลเหล่านี้จะสนใจใส่ใจกับสิทธิ์ของแรงงานกลุ่มนี้หรือไม่ เพียงใด
๒) จากความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมี ๓ ลักษณะคือ แบบต่อรอง (bargaining transaction), แบบบริหารจัดการ (managerial transaction) และแบบจัดสรร (rationing transaction) จะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกิจการหรือผู้ขายสินค้ากับผู้ซื้อสินค้านั้นเป็นแบบต่อรอง (bargaining transactions) ในขณะที่ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นแบบบริหารจัดการ (managerial transactions)
ในความสัมพันธ์คู่แรกคือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า หลักการที่กำกับความสัมพันธ์คือ หลักของความเท่าเทียมกัน เพราะต่างฝ่ายสามารถเลือกบนเงื่อนไขของการแข่งขัน ขณะที่ความสัมพันธ์ในคู่หลัง คือระหว่างนายจ้างและแรงงานนั้น ถูกกำกับโดยหลักของความไม่เท่าเทียมกันและหลักประสิทธิภาพ ดังที่นายจ้างมักกล่าวอ้างเรื่องความสงบเรียบร้อยเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและการผลิต
๓) ความเข้าใจในเรื่อง “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” ได้แสดงให้เห็นว่านอกจากกลไกทางเศรษฐกิจ คือ กำไร/ขาดทุน ที่สามารถใช้เป็นกลไกจัดการความขัดแย้งทางทรัพยากรแล้ว เรายังสามารถใช้กลไกทางปกครอง คือ กระบวนการยุติธรรม (ซึ่งถือเป็นความรุนแรง) และกลไกทางสังคมหรือศีลธรรมเช่น การแทรกแซงหรือกดดันโดยใช้ความเห็นของกลุ่มคน เพื่อจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
กล่าวได้ว่าภายหลังจากที่คุณจิตราไปออกรายการกรองสถานการณ์ ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายนายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของกิจการกับกลุ่มลูกค้าที่เรียกร้องให้เลิกจ้างพนักงานกลุ่มคุณจิตรา โดยขู่ว่าจะคว่ำบาตรสินค้าของบริษัท แต่ปรากฎว่าฝ่ายนายจ้างเองกลับเลือกใช้กลไกทางกฏหมายเพื่อจัดการความขัดแย้งระหว่างตนกับผู้ซื้อสินค้า โดยพุ่งเป้าไปที่แรงงานของตน แทนที่เป็นคู่กรณีในความขัดแย้งโดยตรง
ฝ่ายนายจ้างนั้นได้ใช้ประโยชน์จากพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วจัดการกับฝ่ายแรงงาน เพื่อขจัดข้อขัดแย้งระหว่างตนกับผู้บริโภค อีกทั้งใช้กลไกทางสังคมหรือศีลธรรมในเรื่องหมิ่นเบื้องสูงซึ่งมี “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” เป็นแรงสนับสนุนอยู่แล้วเข้าซ้ำรอยอีกระลอก ไม่ว่าจะมีความพยายามทำลายสหภาพแรงงานหรือไม่ (ผู้เขียนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้) ถือว่านี่เป็นการจัดการความขัดแย้งที่เกินขอบเขตและไร้จริยธรรม
มองในแง่ของความขัดแย้ง ฝ่ายนายจ้างอาจเห็นว่าการจัดการกับแรงงานง่ายกว่าการต่อรองกับลูกค้ามาก เพราะลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายเป็นแบบเท่าเทียมกัน หรือถึงขั้นต่ำกว่าผู้ซื้อในระบบทุนนิยมสุดโต่ง (กับสโกแกน ลูกค้าคือพระเจ้า) นอกจากนี้ ในสายตาของนายจ้าง การจัดการกับฝ่ายแรงงานนั้นยิ่งง่ายกว่าการพิสูจน์ให้กลุ่มลูกค้าเห็นว่าการกระทำของกลุ่มแรงงานไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการหมิ่นสถาบันฯ ซึ่งทำได้ยาก เพราะการพิสูจน์ว่าบุคคลใดจงรักภักดีหรือไม่ก็ไม่สามารถทำได้โดยกระบวนที่เป็นวิทยาศาสตร์ คำตัดสินของศาลแรงงานให้เลิกจ้างตามคำร้องของนายจ้างก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าฝ่ายแรงงานมีความผิดในฐานหมิ่นฯ ตามที่สังคมประนาม หากแต่เป็นผลของการโยงเหตุและผลอย่างหยาบๆ ในเรื่องทำลายชื่อเสียง ในมุมกลับ คำตัดสินก็ไม่ได้พิสูจน์ว่าฝ่ายนายจ้างจะจงรักภักดีมากกว่ากลุ่มแรงงาน มิหนำซ้ำ การตัดสินว่าการสวมเสื้อ ไม่ยืนฯ คิดต่างฯ” ทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงก็ยังมีข้อกังขาอยู่ เพราะดูจะใช้ประโยชน์จากอารมณ์ที่พัดกระพือของฝูงชนหรือ “กฏเกณฑ์ที่กำลังทำงาน” มากกว่าหลักการหรือหลักฐานที่จับต้องได้
สรุป
ผู้เขียนตระหนักดีว่าไม่อาจโต้แย้งกับคำตัดสินของศาลที่เกิดขึ้นไปแล้ว และไม่อาจคัดง้างกับกฏเกณฑ์ที่กำลังทำงานในสังคมไทยขณะนี้ สิ่งที่บทความนี้ต้องการเสนอคือพยายามตั้งคำถามว่าอาจมีคำอธิบายแบบอื่นหรือไม่ที่แตกต่างจากคำอธิบายแบบทุนนิยม เช่นเรื่องประสิทธิภาพ ที่สร้างความชอบธรรมและเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายนายทุนเท่านั้น นอกจากนี้ บทความนี้ยังต้องการชี้ให้เห็นว่าองค์กรอย่างศาลแรงงาน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการคุ้มครองและจัดสรร “สิทธิ”ระหว่างฝ่ายนายจ้างและแรงงานเสียใหม่เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น หากกลไกสำคัญอย่างศาลแรงงานไม่ตระหนักในเรื่องนี้ การคุ้มครองแรงงานในประเทศไทยก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ สุดท้าย ผู้เขียนตระหนักดีว่ากระบวนแก้ไขข้อพิพาทด้านแรงงานมีอยู่แล้วในสังคม เพียงแต่ต้องการพยายามชี้ให้เห็นช่องโหว่ที่ปรากฏอยู่ โดยหวังว่าจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ฝ่ายแรงงาน ซึ่งเป็นฝ่ายที่อ่อนแอโดยโครงสร้างมากขึ้นกว่าที่เป็น
*หมายเหตุ
เศรษฐศาสตร์แนวสถาบันมีอิทธิพลในสหรัฐฯ เพียงระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างช่วงทศวรรษ 1900s-1930sอย่างไรก็ตาม แนวความคิดของคอมมอนส์และนักเศรษฐศาสตร์แนวสถาบันที่สำคัญอย่าง Thorsten Veblen (1857-1929) มีอิทธิพลต่อนักเศรษฐศาสตร์สายทางเลือกจำนวนมากในเวลาต่อมา รวมทั้งยังเป็นรากฐานให้กับเศรษฐศาสตร์แขนงอื่นเช่น แนวสถาบันใหม่ (ถึงแม้จะหันไปยึดระเบียบวิธีแบบนีโอคลาสสิค) และสาขาสังคมวิทยาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภายหลัง
ข้อวิจารณ์ที่สำคัญข้อหนึ่งที่โจมตีแนวสถาบันคือ ขาดทฤษฎีที่เป็นรูปร่างจับต้องได้ งานที่พยายามแก้ต่างให้กับเศรษฐศาสตร์สถาบันในเรื่องนี้เช่น Schmid, Allen. Neo-institutional Economic Theories, Agricultural Economics Staff Paper No.86-49, Michigan State University
ความคิดเห็น