นี่ไม่ใช่ revolution !
หากพิจารณาวาทกรรม “กู้ชาติ” ที่เหล่าแกนนำพันธมิตรฯ ใช้มาตลอดการชุมนุมจนกระทั่งถึงเหตุการณ์ลุกฮือและเข้ายึดสถานีข่าวเอ็นบีทีและทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่เช้าวันที่ 25 สิงหาคมนั้น ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนเข้าใจตรงกันว่านี่คือ การแสดงออกของพลังทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง ที่เคยปรากฏรูปร่างอย่างเป็นรูปธรรมมาแล้วในการทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549
ดังนั้น เราอาจเรียกเหตุการณ์ลุกฮือของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่าเป็นฝาแฝด (Alter Ego) ของ “รัฐประหาร 19 กันยา” ก็คงจะได้
จะว่าไปแล้ว กลุ่มพันธมิตรฯ อาจไม่มีตัวตนอยู่ในวันนี้ ถ้าหากว่าปฏิบัติการถอนรากถอนโคนระบอบทักษิณที่ผ่านมาประสบความความสำเร็จ และไม่พลาดพลั้งถึงขั้นปล่อยให้ “รัฐบาลนอมินี”ชนะการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศ
สาเหตุของความผิดพลาดในปฏิบัติการถอนรากระบอบทักษิณนั้น น่าสนใจอย่างยิ่งก็จริงอยู่ (โดยเฉพาะกับฝ่ายพันธมิตรโค่นทักษิณ ในที่นี้ หมายถึง พันธมิตรในความหมายที่กว้างกว่าแค่กลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ) แต่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ เพราะทราบดีว่าเกินขอบเขตความสามารถที่ผู้เขียนจะทำได้ นอกจากนี้ หากจะทำการประเมินจริง ก็คงต้องทำผ่านบทเรียนที่ผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม (เช่นทหาร พรรคปชป. ฯลฯ) ประเมินได้ บนเงื่อนไขของเหตุผล แรงจูงใจและข้อจำกัดของแต่ละกลุ่มเอง ซึ่งผู้เขียนเองไม่มีทางเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้
แต่คำถามที่ผู้เขียนสนใจ คือ การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มีลักษณะเชิงอุดมการณ์มากน้อยแค่ไหน อย่างไร? และอะไรคือเงื่อนไขที่ทำให้แกนนำพันธมิตรได้รับการสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญจากประชาชนจำนวนหนึ่ง? นอกจากเรื่องประสบการณ์ ความช่ำชองในการนำและปลุกระดมมวลชน
ประการแรก ผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่าจำนวนผู้ชุมนุมนั้นไม่จำเป็นต้องตัดสินความถูกต้องและชอบธรรมเสมอไป ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสอนพวกเราแล้วว่าประชาชน ไม่ว่าจะมีจำนวนมากแค่ไหน ก็สามารถผิดพลาดได้ ตัวอย่างของการอ้างประชาชนในระบอบนาซีของฮิตเลอร์เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิวและก่อสงครามก็ชัดเจนในตัวเอง
นอกจากนี้ ประชาธิปไตยก็เป็นระบอบการปกครองที่มักเปิดโอกาสให้ประชาชนคนหมู่มากทำผิดพลาดด้วย (ประชาธิปไตยจึงเป็นกระบวนการทางสังคมเช่นเดียวกัน) อย่างไรก็ดี ผู้เขียนไม่ได้กำลังชี้ว่าประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯ กำลังผิดพลาด ในขณะที่ฝ่ายรัฐถูกต้อง หรือในทางตรงกันข้าม เพราะอาจจะไม่มีประโยชน์ในเวลานี้และคงจะชี้ขาวและดำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว
ประการต่อมา บนเวทีพันธมิตรในบริเวณสภา เราได้ยินการยืนยันหลายต่อหลายครั้ง เพื่อแสดงตนเป็นตัวแทนคนชั้นกลางในภารกิจกู้ชาติ (ศาสน์และกษัตริย์) และแรงสนับสนุนจากกลุ่มคน องค์กรและห้างร้านนั้น ก็ปรากฏให้เห็นชัดเจนจากการเข้าร่วมสมทบและการบริจาค ที่ประสงค์ออกนามระลอกแล้วระลอกเล่า (ไม่นับผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งที่ถูกตะล่อม รวมทั้งกักขังหน่วงเหนี่ยวจำนวนหนึ่ง เมื่อมีการปิดประตูในเวลาค่ำ) องค์กรและห้างร้านเหล่านี้ ย่อมยินดีและรู้สึกภาคภูมิที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในจินตนาการ ไม่ต่างจากความภาคภูมิใจของทัพนักกีฬาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ทั้งนี้ ย่อมมีคนชั้นกลางอีกจำนวนซึ่งมีจำนวนมากกว่าที่ไม่ได้สนับสนุนพันธมิตร แต่ภาวะขาดการรวมกลุ่มและจัดองค์กร อาจทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ สามารถอ้างการเป็นตัวแทนคนชั้นกลางในเมืองได้อย่างชอบธรรม
ประเด็นเรื่องชนชั้นเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ในเชิงทฤษฎี เรื่องนี้น่าจะมีการวิจัยอย่างจริงจังว่า “คนชั้นกลาง” ที่กำลังพูดถึงกันอยู่นี้ หมายถึง ชนชั้นในทางเศรษฐกิจหรือรวมความกว้างไปถึงชนชั้นทางสังคม กลุ่มคนที่เข้าร่วมชุมนุมมีสำนึกในเรื่องชนชั้นของตนอย่างไร และในความเป็นจริงนั้น ความหลากหลายและจุดร่วมของประชาชนมีลักษณะอย่างไร
ในทางการเมือง แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถใช้คำว่า “เอกภาพ” กับแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมได้ ยิ่งไปกว่านั้น ก็ชัดเจนว่าแกนนำไม่ได้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของกลุ่มผู้ชุนนุมแม้แต่น้อย เมื่อมองจากความเชื่อมโยงระหว่างกันหรือการสะท้อนประโยชน์ของผู้ชุมนุม ที่สำคัญ การมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดยืน ท่าทีและรูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม ก็เป็นศูนย์
แต่สิ่งหนึ่งที่อาจทึกทักได้จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ คือ ประชาชนผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะเชื่อตรงกันว่าชาติกำลังถูกคุกคามจากรัฐบาลนอมินี และจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องกู้ชาติ ใช่หรือไม่
จากจุดนี้เอง นอกจากความหื่นกระหายชัยชนะและอารมณ์ “ถวิลหาการต่อสู้” ที่ถูกปลดปล่อยออกมา หลังจากถูกกดทับมานานในสังคมไทย อะไรบ้างที่พอจะมีลักษณะเชิงอุดมการณ์สำหรับการเผชิญหน้าครั้งนี้
หากวิเคราะห์ในระดับผิวเผิน ผู้เขียนคิดว่าการแบ่งแยก “ซ้าย” และ “ขวา” ทางการเมืองคงจะไม่เข้าข่ายสำหรับประเทศไทย เพราะขั้วตรงข้ามของการต่อสู้ครั้งนี้ ต่างมีลักษณะร่วมกัน คือมีความเป็น “ขวา”ในทางการเมืองด้วยกันอย่างชัดเจนทั้งคู่ ต่างกันตรงที่รัฐบาลตัวแทนกลุ่มทุนสามานย์นั้น (หากใช้คำของแกนนำพันธมิตรฯ) มีลักษณะเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจ ในขณะที่วาทกรรมของแกนนำพันธมิตรฯสะท้อนความเป็นอนุรักษ์นิยมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน
หมายความว่า กลุ่มพันธมิตรและแนวร่วมที่วางตัวเองอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของระบอบทักษิณ สนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจแบบที่เคยเป็นมา และพึงพอใจที่จะรักษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบที่เคยเป็นมาให้เป็นอย่างนั้นต่อไป (status quo) ลักษณะแบบนี้สามารถใช้อธิบายจุดยืนทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯที่ได้รับประโยชน์จากโครงสร้างที่บิดเบี้ยวมาเป็นเวลานาน รวมทั้งคนที่กุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจมาก่อนการเข้าสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทยได้เป็นอย่างดี
การมองคนชั้นกลางจากจุดยืนแบบนี้ ทำให้เราพอเข้าใจความไม่พอใจของคนชั้นกลางและกลุ่มอำนาจเก่าต่อนโยบายประชานิยมต่างๆ ของพรรคทรท. และ พปช. ที่ผ่านมาได้พอสมควร
ส่วนในเรื่องอุดมการณ์ของการต่อสู้ที่แกนนำพันธมิตรฯ หลายคนกล่าวอ้างนั้น จะเห็นว่าแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ พยายามนำ “เนื้อหา”ของอุดมการณ์ต่อต้านอำนาจในระบบ [1] มาใช้อย่างเลื่อนลอยและขาดน้ำหนัก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงที่ใช้ต้านทานการปราบปรามจากฝ่ายรัฐบาล เราอาจสนับสนุนความเห็นของสุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์ [2] ที่ว่าพันธมิตรฯ นอกจากจะมีแต่ “รูปแบบ” ของอุดมการณ์แบบซ้ายแล้ว ยังบิดเบือนอุดมการณ์ไปใช้สนองอุดมการณ์แบบขวาจัดอีกด้วย
ไม่เพียงแต่การต่อสู้ครั้งนี้จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง “โดยเนื้อหาสาระ” ยังจะช่วยยืนยันและตอกย้ำโครงสร้างอำนาจที่เคยเป็นมาอย่างยาวนานให้มั่นคงยิ่งขึ้นในสังคม การต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯจึงเป็นเพียงการช่วยให้อำนาจในระบบข้ามผ่าน “วิกฤตของอำนาจ” ที่เกิดขึ้นชั่วคราวนี้ไปได้
หากจะวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไปในมุมมองสังคมวิทยาการเมือง วาทกรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เสนออุดมการณ์การ “ปฏิวัติ” โดยเนื้อหาก็จริง แต่มีลักษณะเชิงอุดมการณ์ที่เข้มข้น เพราะได้ผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมตลอดเวลา
อุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมนี้ คือ อุดมการณ์แบบเดียวกับที่พรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์เสนอ ซึ่งได้สร้างสิ่งแวดล้อมทางการเมืองแบบที่คนชั้นกลางเคยชินและพึงพอใจ
โดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรก็เป็นนักฉวยโอกาสที่เข้าใจสังคมและวัฒนธรรม เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากอุดมการณ์ทางสังคมในเรื่องศีลธรรม (ธรรมชนะอธรรม), การเคารพผู้อาวุโส, ความกตัญญูรู้คุณและจงรักภักดี มาประกอบเข้ากับอุดมการณ์ของสังคมในเรื่อง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้อย่างลงตัว [3]
พูดให้ถึงที่สุดแล้ว การเคลื่อนไหวต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่ “การปฏิวัติของกระฎุมภี” แต่อย่างใด และย่อมไม่ใช่การปฏิวัติ (revolution) อย่างเช่นที่เคยเกิดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 อย่างที่หลายคนอยากจะให้เป็น แต่ถ้าหากการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯ จะมีจุดร่วมกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แล้วละก็ ก็น่าจะเป็นเรื่องภารกิจการกอบกู้สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่ฝ่ายอำนาจในขณะนั้นกล่าวอ้าง
ประวัติศาสตร์ก็ฉลาดที่จะเล่นตลกร้ายกับสังคมไทยอีกครั้ง เพราะศัตรูของประชาชนในวันนั้น กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของศัตรูของฝั่งที่กำลังทำลายประชาธิปไตยในวันนี้
ผมเสียใจที่จะต้องบอกว่านี่ไม่ใช่การปฏิวัติ และอาจเป็นได้อย่างดีแค่ counter revolution !
อ้างอิง
[1] ตามแนวการวิเคราะห์แบบมาร์กซ์ เราอาจแบ่งอุดมการณ์ออกได้หยาบๆ เป็น 2 ลักษณะคือ อุดมการณ์ที่รับใช้อำนาจในระบบ หรืออุดมการณ์หลัก และอุดมการณ์ต่อต้านอำนาจในระบบ ดูการแนะนำเรื่องอุดมการณ์ตามแนวมาร์กซ์จาก กาญจนา แก้วเทพ, “อุดมการณ์ แนวคิดและการวิเคราะห์” มรรควิธีเศรษฐศาสตร์การเมือง (1), กนกศักดิ์ แก้วเทพ (บรรณาธิการ), คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[2] ดูบทความ “พันธมิตรและการเมืองภาคประชาชน” โดยสุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์ ในประชาไท http://www.prachatai.com/05web/th/home/13370
[3] เราอาจแบ่งอุดมการณ์ออกเป็น 3 แบบคือ อุดมการณ์ทางการเมือง อุดมการณ์ทางสังคมและอุดมการณ์ของสังคม จาก Pierre Ansart, “Toute connaissance du social est-elle idéologique ?” in Jean Duvignaud (étude réunis), Sociologie de la connaissance, Paris, 1979 อ้างใน กาญจนา แก้วเทพ, อ้างแล้ว ดู [1]
ดังนั้น เราอาจเรียกเหตุการณ์ลุกฮือของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่าเป็นฝาแฝด (Alter Ego) ของ “รัฐประหาร 19 กันยา” ก็คงจะได้
จะว่าไปแล้ว กลุ่มพันธมิตรฯ อาจไม่มีตัวตนอยู่ในวันนี้ ถ้าหากว่าปฏิบัติการถอนรากถอนโคนระบอบทักษิณที่ผ่านมาประสบความความสำเร็จ และไม่พลาดพลั้งถึงขั้นปล่อยให้ “รัฐบาลนอมินี”ชนะการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศ
สาเหตุของความผิดพลาดในปฏิบัติการถอนรากระบอบทักษิณนั้น น่าสนใจอย่างยิ่งก็จริงอยู่ (โดยเฉพาะกับฝ่ายพันธมิตรโค่นทักษิณ ในที่นี้ หมายถึง พันธมิตรในความหมายที่กว้างกว่าแค่กลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ) แต่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ เพราะทราบดีว่าเกินขอบเขตความสามารถที่ผู้เขียนจะทำได้ นอกจากนี้ หากจะทำการประเมินจริง ก็คงต้องทำผ่านบทเรียนที่ผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่ม (เช่นทหาร พรรคปชป. ฯลฯ) ประเมินได้ บนเงื่อนไขของเหตุผล แรงจูงใจและข้อจำกัดของแต่ละกลุ่มเอง ซึ่งผู้เขียนเองไม่มีทางเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้
แต่คำถามที่ผู้เขียนสนใจ คือ การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มีลักษณะเชิงอุดมการณ์มากน้อยแค่ไหน อย่างไร? และอะไรคือเงื่อนไขที่ทำให้แกนนำพันธมิตรได้รับการสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญจากประชาชนจำนวนหนึ่ง? นอกจากเรื่องประสบการณ์ ความช่ำชองในการนำและปลุกระดมมวลชน
ประการแรก ผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่าจำนวนผู้ชุมนุมนั้นไม่จำเป็นต้องตัดสินความถูกต้องและชอบธรรมเสมอไป ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาสอนพวกเราแล้วว่าประชาชน ไม่ว่าจะมีจำนวนมากแค่ไหน ก็สามารถผิดพลาดได้ ตัวอย่างของการอ้างประชาชนในระบอบนาซีของฮิตเลอร์เพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิวและก่อสงครามก็ชัดเจนในตัวเอง
นอกจากนี้ ประชาธิปไตยก็เป็นระบอบการปกครองที่มักเปิดโอกาสให้ประชาชนคนหมู่มากทำผิดพลาดด้วย (ประชาธิปไตยจึงเป็นกระบวนการทางสังคมเช่นเดียวกัน) อย่างไรก็ดี ผู้เขียนไม่ได้กำลังชี้ว่าประชาชนกลุ่มพันธมิตรฯ กำลังผิดพลาด ในขณะที่ฝ่ายรัฐถูกต้อง หรือในทางตรงกันข้าม เพราะอาจจะไม่มีประโยชน์ในเวลานี้และคงจะชี้ขาวและดำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว
ประการต่อมา บนเวทีพันธมิตรในบริเวณสภา เราได้ยินการยืนยันหลายต่อหลายครั้ง เพื่อแสดงตนเป็นตัวแทนคนชั้นกลางในภารกิจกู้ชาติ (ศาสน์และกษัตริย์) และแรงสนับสนุนจากกลุ่มคน องค์กรและห้างร้านนั้น ก็ปรากฏให้เห็นชัดเจนจากการเข้าร่วมสมทบและการบริจาค ที่ประสงค์ออกนามระลอกแล้วระลอกเล่า (ไม่นับผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งที่ถูกตะล่อม รวมทั้งกักขังหน่วงเหนี่ยวจำนวนหนึ่ง เมื่อมีการปิดประตูในเวลาค่ำ) องค์กรและห้างร้านเหล่านี้ ย่อมยินดีและรู้สึกภาคภูมิที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในจินตนาการ ไม่ต่างจากความภาคภูมิใจของทัพนักกีฬาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ทั้งนี้ ย่อมมีคนชั้นกลางอีกจำนวนซึ่งมีจำนวนมากกว่าที่ไม่ได้สนับสนุนพันธมิตร แต่ภาวะขาดการรวมกลุ่มและจัดองค์กร อาจทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ สามารถอ้างการเป็นตัวแทนคนชั้นกลางในเมืองได้อย่างชอบธรรม
ประเด็นเรื่องชนชั้นเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย ในเชิงทฤษฎี เรื่องนี้น่าจะมีการวิจัยอย่างจริงจังว่า “คนชั้นกลาง” ที่กำลังพูดถึงกันอยู่นี้ หมายถึง ชนชั้นในทางเศรษฐกิจหรือรวมความกว้างไปถึงชนชั้นทางสังคม กลุ่มคนที่เข้าร่วมชุมนุมมีสำนึกในเรื่องชนชั้นของตนอย่างไร และในความเป็นจริงนั้น ความหลากหลายและจุดร่วมของประชาชนมีลักษณะอย่างไร
ในทางการเมือง แน่นอนว่าเราคงไม่สามารถใช้คำว่า “เอกภาพ” กับแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมได้ ยิ่งไปกว่านั้น ก็ชัดเจนว่าแกนนำไม่ได้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของกลุ่มผู้ชุนนุมแม้แต่น้อย เมื่อมองจากความเชื่อมโยงระหว่างกันหรือการสะท้อนประโยชน์ของผู้ชุมนุม ที่สำคัญ การมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดยืน ท่าทีและรูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม ก็เป็นศูนย์
แต่สิ่งหนึ่งที่อาจทึกทักได้จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ คือ ประชาชนผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะเชื่อตรงกันว่าชาติกำลังถูกคุกคามจากรัฐบาลนอมินี และจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องกู้ชาติ ใช่หรือไม่
จากจุดนี้เอง นอกจากความหื่นกระหายชัยชนะและอารมณ์ “ถวิลหาการต่อสู้” ที่ถูกปลดปล่อยออกมา หลังจากถูกกดทับมานานในสังคมไทย อะไรบ้างที่พอจะมีลักษณะเชิงอุดมการณ์สำหรับการเผชิญหน้าครั้งนี้
หากวิเคราะห์ในระดับผิวเผิน ผู้เขียนคิดว่าการแบ่งแยก “ซ้าย” และ “ขวา” ทางการเมืองคงจะไม่เข้าข่ายสำหรับประเทศไทย เพราะขั้วตรงข้ามของการต่อสู้ครั้งนี้ ต่างมีลักษณะร่วมกัน คือมีความเป็น “ขวา”ในทางการเมืองด้วยกันอย่างชัดเจนทั้งคู่ ต่างกันตรงที่รัฐบาลตัวแทนกลุ่มทุนสามานย์นั้น (หากใช้คำของแกนนำพันธมิตรฯ) มีลักษณะเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจ ในขณะที่วาทกรรมของแกนนำพันธมิตรฯสะท้อนความเป็นอนุรักษ์นิยมทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน
หมายความว่า กลุ่มพันธมิตรและแนวร่วมที่วางตัวเองอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของระบอบทักษิณ สนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจแบบที่เคยเป็นมา และพึงพอใจที่จะรักษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบที่เคยเป็นมาให้เป็นอย่างนั้นต่อไป (status quo) ลักษณะแบบนี้สามารถใช้อธิบายจุดยืนทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯที่ได้รับประโยชน์จากโครงสร้างที่บิดเบี้ยวมาเป็นเวลานาน รวมทั้งคนที่กุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจมาก่อนการเข้าสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทยได้เป็นอย่างดี
การมองคนชั้นกลางจากจุดยืนแบบนี้ ทำให้เราพอเข้าใจความไม่พอใจของคนชั้นกลางและกลุ่มอำนาจเก่าต่อนโยบายประชานิยมต่างๆ ของพรรคทรท. และ พปช. ที่ผ่านมาได้พอสมควร
ส่วนในเรื่องอุดมการณ์ของการต่อสู้ที่แกนนำพันธมิตรฯ หลายคนกล่าวอ้างนั้น จะเห็นว่าแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ พยายามนำ “เนื้อหา”ของอุดมการณ์ต่อต้านอำนาจในระบบ [1] มาใช้อย่างเลื่อนลอยและขาดน้ำหนัก เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงที่ใช้ต้านทานการปราบปรามจากฝ่ายรัฐบาล เราอาจสนับสนุนความเห็นของสุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์ [2] ที่ว่าพันธมิตรฯ นอกจากจะมีแต่ “รูปแบบ” ของอุดมการณ์แบบซ้ายแล้ว ยังบิดเบือนอุดมการณ์ไปใช้สนองอุดมการณ์แบบขวาจัดอีกด้วย
ไม่เพียงแต่การต่อสู้ครั้งนี้จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง “โดยเนื้อหาสาระ” ยังจะช่วยยืนยันและตอกย้ำโครงสร้างอำนาจที่เคยเป็นมาอย่างยาวนานให้มั่นคงยิ่งขึ้นในสังคม การต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯจึงเป็นเพียงการช่วยให้อำนาจในระบบข้ามผ่าน “วิกฤตของอำนาจ” ที่เกิดขึ้นชั่วคราวนี้ไปได้
หากจะวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไปในมุมมองสังคมวิทยาการเมือง วาทกรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เสนออุดมการณ์การ “ปฏิวัติ” โดยเนื้อหาก็จริง แต่มีลักษณะเชิงอุดมการณ์ที่เข้มข้น เพราะได้ผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมตลอดเวลา
อุดมการณ์ทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมนี้ คือ อุดมการณ์แบบเดียวกับที่พรรคการเมืองอย่างประชาธิปัตย์เสนอ ซึ่งได้สร้างสิ่งแวดล้อมทางการเมืองแบบที่คนชั้นกลางเคยชินและพึงพอใจ
โดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรก็เป็นนักฉวยโอกาสที่เข้าใจสังคมและวัฒนธรรม เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากอุดมการณ์ทางสังคมในเรื่องศีลธรรม (ธรรมชนะอธรรม), การเคารพผู้อาวุโส, ความกตัญญูรู้คุณและจงรักภักดี มาประกอบเข้ากับอุดมการณ์ของสังคมในเรื่อง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้อย่างลงตัว [3]
พูดให้ถึงที่สุดแล้ว การเคลื่อนไหวต่อสู้ครั้งนี้ไม่ใช่ “การปฏิวัติของกระฎุมภี” แต่อย่างใด และย่อมไม่ใช่การปฏิวัติ (revolution) อย่างเช่นที่เคยเกิดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 อย่างที่หลายคนอยากจะให้เป็น แต่ถ้าหากการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯ จะมีจุดร่วมกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แล้วละก็ ก็น่าจะเป็นเรื่องภารกิจการกอบกู้สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่ฝ่ายอำนาจในขณะนั้นกล่าวอ้าง
ประวัติศาสตร์ก็ฉลาดที่จะเล่นตลกร้ายกับสังคมไทยอีกครั้ง เพราะศัตรูของประชาชนในวันนั้น กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของศัตรูของฝั่งที่กำลังทำลายประชาธิปไตยในวันนี้
ผมเสียใจที่จะต้องบอกว่านี่ไม่ใช่การปฏิวัติ และอาจเป็นได้อย่างดีแค่ counter revolution !
อ้างอิง
[1] ตามแนวการวิเคราะห์แบบมาร์กซ์ เราอาจแบ่งอุดมการณ์ออกได้หยาบๆ เป็น 2 ลักษณะคือ อุดมการณ์ที่รับใช้อำนาจในระบบ หรืออุดมการณ์หลัก และอุดมการณ์ต่อต้านอำนาจในระบบ ดูการแนะนำเรื่องอุดมการณ์ตามแนวมาร์กซ์จาก กาญจนา แก้วเทพ, “อุดมการณ์ แนวคิดและการวิเคราะห์” มรรควิธีเศรษฐศาสตร์การเมือง (1), กนกศักดิ์ แก้วเทพ (บรรณาธิการ), คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[2] ดูบทความ “พันธมิตรและการเมืองภาคประชาชน” โดยสุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์ ในประชาไท http://www.prachatai.com/05web/th/home/13370
[3] เราอาจแบ่งอุดมการณ์ออกเป็น 3 แบบคือ อุดมการณ์ทางการเมือง อุดมการณ์ทางสังคมและอุดมการณ์ของสังคม จาก Pierre Ansart, “Toute connaissance du social est-elle idéologique ?” in Jean Duvignaud (étude réunis), Sociologie de la connaissance, Paris, 1979 อ้างใน กาญจนา แก้วเทพ, อ้างแล้ว ดู [1]
ความคิดเห็น
จะบอกว่าขยันเขียนมากๆเลยครับ แต่ละอันก้อเนื้อๆเน้นๆ ทั้งนั้น
เท่าที่อ่านๆดูไม่ทราบว่าตอนนี้ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่ด้วยใช่มั๊ยครับ?
แล้วผมจะแวะมาอ่านบ่อยๆนะ