เอ้า ทุกคน! ท่องพร้อมกัน “ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ...”
นิตยสาร The Economist ฉบับล่าสุด (๖-๑๒ มกราคม ๒๐๐๗) ให้ความสำคัญกับข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยพอสมควร โดยลงบทความเต็มหน้า ๒ เรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ระเบิดที่กรุงเทพฯ ในวันส่งท้ายปีและเหตุการณ์ตลาดหุ้นตกอย่างรุนแรงเมื่อไม่กี่วันก่อนคริสมาส อันเป็นผลโดยตรงจากมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินจากต่างประเทศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
ในสังคมโลกาภิวัฒน์ของวันนี้ การเมืองและเศรษฐกิจคือประเด็นที่คนอื่นจับตามองเราเป็นพิเศษ
การพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงถูกทำให้ซับซ้อน เพราะ“สิ่งที่ควรจะเป็น” ในสายตาของเราและในสายตาของคนอื่นนั้น อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันและ/หรืออาจจะไม่สามารถไปด้วยกันได้
นอกจากนั้น เราเองก็ยังไม่ชัดเจนกับสิ่งที่เราต้องการจะเป็นหรือทิศทางในอนาคต หนักข้อขึ้นไป เราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อะไรคือสิ่งที่เรากำลังเป็นหรือกำลังทำ (ลืมไปได้เลย กับคำถามว่า “อย่างไร”)
จึงต้องกลับมาที่คำถามพื้นฐานว่า “เรากำลังเป็นอะไร” ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเรามองเห็นความชัดเจนในรูปแบบของระบบเศรษฐกิจมากกว่าระบบการเมือง เพราะระบบเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาในแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาโดยตลอด จึงขอหยิบประเด็นทางการเมืองขึ้นมาพูดถึงในที่นี้ (นอกจากนี้ วิกฤตทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ประเด็นเกี่ยวกับการเมืองมีลำดับความสำคัญสูงขึ้น)
อาจจะต้องแปลงคำถามนี้ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยใช้ประโยคว่า “ระบบการเมืองของไทยคือระบบใด” (ผู้เขียนขอจำกัดขอบเขตของการพิจารณาจนกระทั่งวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ หรือก่อนที่คณะปฏิวัติจะทำการยึดอำนาจ)
แน่นอน แม้แต่เด็กประถมก็สามารถตอบได้ เพราะแบบเรียนวิชา สปช. (ถ้าวันนี้ ยังมีวิชานี้อยู่) ก็มีระบุไว้ว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...
โอเค เรามาเริ่มต้นจากสิ่งที่มี คือคำว่า “ประชาธิปไตย” ละกัน
แค่เริ่มต้น ก็เริ่มมองเห็นปัญหาแล้ว เพราะเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าประชาธิปไตยแตกต่างกันไป (ซึ่งนำไปสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการทำงานและประสิทธิภาพ) อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในประเทศตะวันตก ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบระบบนี้ก็ยังไม่เป็นหนึ่งเดียว แม้กระทั่ง ความหมายในพจนานุกรมกับความหมายจากโลกแห่งความเป็นจริงก็ต่างกัน
ถึงแม้นักวิชาการหลายคน มักจะนิยามประชาธิปไตยจากสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นคุณค่าที่พึงปรารถนา เช่น ระบบที่มีการโอนถ่ายอำนาจอย่างสงบเรียบร้อย แต่นั่นก็ไม่ใช่หัวใจสำคัญ เราอาจสรุปความของประชาธิปไตยว่าเป็น “รูปแบบการปกครองที่ประชาชนมีโอกาสอย่างมีนัยสำคัญในการเข้าร่วมกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะ” โดยมีวิธีการหรือรูปแบบได้หลายวิธีการ
นักคิดอย่าง Noam Chomsky ยอมรับว่าแม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาเอง กลไกการทำงานจริงของประชาธิปไตย ก็ไม่ได้เป็นไปตามนิยามข้างต้น โดยเขามักจะเปรียบเทียบว่า ประชาธิปไตยในอเมริกานั้น มีลักษณะคล้ายกับบรรษัทขนาดใหญ่ ที่มีการสั่งการจากบนลงล่างและโครงสร้างที่เอื้อให้อำนาจกระจุกตัวอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว (1)
ตามความเห็นของ Chomsky ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน มักจะถูกเรียกโดยใช้คำว่า rabble ซึ่งหมายถึง สามัญชน ฝูงชนที่วุ่นวายหรือชนชั้นต่ำ ซึ่งในปัจจุบัน มักจะถูกแทนด้วย “ignorant and meddlesome outsiders” ซึ่งแปลว่าคนนอกที่โง่และวุ่นวาย (2)
เขาจึงเชื่อว่า ประชาชนมักจะถูกกันออกจากวงจรของอำนาจและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างการผูกขาดของอำนาจ โดยประชาชนจะมีบทบาทเป็นครั้งคราว โดยผ่านการออกเสียงลงคะแนน ในฐานะของ "ผู้ชม" แทนที่จะเป็น "ผู้มีส่วนร่วม"
บทเรียนจากประเทศที่อ้างว่าตนคือต้นแบบของประชาธิปไตยก็คือ การมีประชาธิปไตยเพียงบนหน้ากระดาษก็ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย
แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ไม่ได้ทำลายคุณค่าของประชาธิปไตยลงไป เพราะเราต้องเข้าใจว่า ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง แต่เป็นกระบวนการไปสู่สิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยคือ กลไกการถ่วงดุลและตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญไม่ให้เกิดการผูกขาดของอำนาจ และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง
เมื่อเราเข้าใจคำนี้ไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ลองกลับมามองระบอบการปกครองของเราเองดู ผมเชื่อว่า เราจะไม่สามารถรู้จักตัวตนของเราเองได้ ถ้าหากเราไม่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงโครงสร้างการใช้อำนาจทางการเมืองในสังคมไทย
ลองถามตัวเองว่าเราสามารถอธิบายโครงสร้างอำนาจของการเมืองไทยได้หรือไม่ ??? เพราะอะไร ??
เราไม่สามารถอธิบายได้เพราะเราไม่สามารถ (บางอย่างไม่สามารถถูกอธิบายได้)หรือเราไม่สามารถ (เพราะไม่มีความรู้เพียงพอ)
สุดท้ายแล้ว ก็เป็นเรื่องน่าขัน ที่คนอื่นสามารถอธิบายสิ่งที่เราเป็นได้ดีกว่าเรา รวมทั้งเราอาจจะต้องหงุดหงิดใจกับคนอื่นอีกหลายคนที่ไม่รู้จักเราจริงแต่คิดว่ารู้จัก (และพยายามเอาประเทศไทยไปใส่ในกรอบวิธีคิดแบบของเขา)อย่างที่กำลังเป็นอยู่ทุกวันนี้
เมื่อใดที่เราสามารถอธิบายกลไกการทำงานของระบบการเมืองของเราเองได้ การบอกว่าเราเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ก็คงไม่สำคัญมากนัก จริงหรือไม่
อ้างอิง
(1) Chomsky (1994a), Defective Democracy, Secrets, Lies and Democracy
(2) Chomsky (1994b), Reflections on Democracy, Keeping the Rabble in Line
ในสังคมโลกาภิวัฒน์ของวันนี้ การเมืองและเศรษฐกิจคือประเด็นที่คนอื่นจับตามองเราเป็นพิเศษ
การพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงถูกทำให้ซับซ้อน เพราะ“สิ่งที่ควรจะเป็น” ในสายตาของเราและในสายตาของคนอื่นนั้น อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันและ/หรืออาจจะไม่สามารถไปด้วยกันได้
นอกจากนั้น เราเองก็ยังไม่ชัดเจนกับสิ่งที่เราต้องการจะเป็นหรือทิศทางในอนาคต หนักข้อขึ้นไป เราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อะไรคือสิ่งที่เรากำลังเป็นหรือกำลังทำ (ลืมไปได้เลย กับคำถามว่า “อย่างไร”)
จึงต้องกลับมาที่คำถามพื้นฐานว่า “เรากำลังเป็นอะไร” ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าเรามองเห็นความชัดเจนในรูปแบบของระบบเศรษฐกิจมากกว่าระบบการเมือง เพราะระบบเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาในแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมาโดยตลอด จึงขอหยิบประเด็นทางการเมืองขึ้นมาพูดถึงในที่นี้ (นอกจากนี้ วิกฤตทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นทำให้ประเด็นเกี่ยวกับการเมืองมีลำดับความสำคัญสูงขึ้น)
อาจจะต้องแปลงคำถามนี้ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยใช้ประโยคว่า “ระบบการเมืองของไทยคือระบบใด” (ผู้เขียนขอจำกัดขอบเขตของการพิจารณาจนกระทั่งวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ หรือก่อนที่คณะปฏิวัติจะทำการยึดอำนาจ)
แน่นอน แม้แต่เด็กประถมก็สามารถตอบได้ เพราะแบบเรียนวิชา สปช. (ถ้าวันนี้ ยังมีวิชานี้อยู่) ก็มีระบุไว้ว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...
โอเค เรามาเริ่มต้นจากสิ่งที่มี คือคำว่า “ประชาธิปไตย” ละกัน
แค่เริ่มต้น ก็เริ่มมองเห็นปัญหาแล้ว เพราะเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าประชาธิปไตยแตกต่างกันไป (ซึ่งนำไปสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการทำงานและประสิทธิภาพ) อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในประเทศตะวันตก ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบระบบนี้ก็ยังไม่เป็นหนึ่งเดียว แม้กระทั่ง ความหมายในพจนานุกรมกับความหมายจากโลกแห่งความเป็นจริงก็ต่างกัน
ถึงแม้นักวิชาการหลายคน มักจะนิยามประชาธิปไตยจากสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นคุณค่าที่พึงปรารถนา เช่น ระบบที่มีการโอนถ่ายอำนาจอย่างสงบเรียบร้อย แต่นั่นก็ไม่ใช่หัวใจสำคัญ เราอาจสรุปความของประชาธิปไตยว่าเป็น “รูปแบบการปกครองที่ประชาชนมีโอกาสอย่างมีนัยสำคัญในการเข้าร่วมกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะ” โดยมีวิธีการหรือรูปแบบได้หลายวิธีการ
นักคิดอย่าง Noam Chomsky ยอมรับว่าแม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาเอง กลไกการทำงานจริงของประชาธิปไตย ก็ไม่ได้เป็นไปตามนิยามข้างต้น โดยเขามักจะเปรียบเทียบว่า ประชาธิปไตยในอเมริกานั้น มีลักษณะคล้ายกับบรรษัทขนาดใหญ่ ที่มีการสั่งการจากบนลงล่างและโครงสร้างที่เอื้อให้อำนาจกระจุกตัวอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว (1)
ตามความเห็นของ Chomsky ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน มักจะถูกเรียกโดยใช้คำว่า rabble ซึ่งหมายถึง สามัญชน ฝูงชนที่วุ่นวายหรือชนชั้นต่ำ ซึ่งในปัจจุบัน มักจะถูกแทนด้วย “ignorant and meddlesome outsiders” ซึ่งแปลว่าคนนอกที่โง่และวุ่นวาย (2)
เขาจึงเชื่อว่า ประชาชนมักจะถูกกันออกจากวงจรของอำนาจและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลมาจากโครงสร้างการผูกขาดของอำนาจ โดยประชาชนจะมีบทบาทเป็นครั้งคราว โดยผ่านการออกเสียงลงคะแนน ในฐานะของ "ผู้ชม" แทนที่จะเป็น "ผู้มีส่วนร่วม"
บทเรียนจากประเทศที่อ้างว่าตนคือต้นแบบของประชาธิปไตยก็คือ การมีประชาธิปไตยเพียงบนหน้ากระดาษก็ไม่ได้มีความหมายอะไรเลย
แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ไม่ได้ทำลายคุณค่าของประชาธิปไตยลงไป เพราะเราต้องเข้าใจว่า ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง แต่เป็นกระบวนการไปสู่สิ่งที่เราต้องการ ดังนั้น หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยคือ กลไกการถ่วงดุลและตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญไม่ให้เกิดการผูกขาดของอำนาจ และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง
เมื่อเราเข้าใจคำนี้ไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น ลองกลับมามองระบอบการปกครองของเราเองดู ผมเชื่อว่า เราจะไม่สามารถรู้จักตัวตนของเราเองได้ ถ้าหากเราไม่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงโครงสร้างการใช้อำนาจทางการเมืองในสังคมไทย
ลองถามตัวเองว่าเราสามารถอธิบายโครงสร้างอำนาจของการเมืองไทยได้หรือไม่ ??? เพราะอะไร ??
เราไม่สามารถอธิบายได้เพราะเราไม่สามารถ (บางอย่างไม่สามารถถูกอธิบายได้)หรือเราไม่สามารถ (เพราะไม่มีความรู้เพียงพอ)
สุดท้ายแล้ว ก็เป็นเรื่องน่าขัน ที่คนอื่นสามารถอธิบายสิ่งที่เราเป็นได้ดีกว่าเรา รวมทั้งเราอาจจะต้องหงุดหงิดใจกับคนอื่นอีกหลายคนที่ไม่รู้จักเราจริงแต่คิดว่ารู้จัก (และพยายามเอาประเทศไทยไปใส่ในกรอบวิธีคิดแบบของเขา)อย่างที่กำลังเป็นอยู่ทุกวันนี้
เมื่อใดที่เราสามารถอธิบายกลไกการทำงานของระบบการเมืองของเราเองได้ การบอกว่าเราเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ก็คงไม่สำคัญมากนัก จริงหรือไม่
อ้างอิง
(1) Chomsky (1994a), Defective Democracy, Secrets, Lies and Democracy
(2) Chomsky (1994b), Reflections on Democracy, Keeping the Rabble in Line
ความคิดเห็น
เรารู้และเรียนมาตลอดช่วงชีวิตของเราว่า เราปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมี King เป็นพระประมุข
ท่านเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของคนไทย
แต่ทำไมการปกครองของเราถึงไม่ได้ไปไหนไกล ประชาธิปไตยอยู่ดีๆก็มีปฏิวัติให้ตื่นเต้นเล่น ตั้งกฎระเบียบแบบตามใจ(คณะ ณ ขณะนั้น) อีกละ
เป็นไปได้หรือไม่ที่คนไทยนั้นคุ้นเคยกับการที่จะถูกบอกว่าต้องทำอะไรมากกว่าที่จะคิดทำอะไรอันเนื่องมาจากรากฐานการปกครองแบบเก่า (ความจริงก็เปลี่ยนการปกครองมาเกินกว่า 60 ปีแล้ว และก็เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแต่ก่อนพอควรแล้ว) จะว่าดีก็ดีเพราะไม่ทะเลาะฆ่าแกงกันแบบที่เห็นประเทศอื่นเป็น แต่ก็ฉุดให้ประเทศชะงักงันเพราะได้รับผลกระทบมากมาย
คงต้องรออีกซักหน่อยกว่าตวามคิดแบบสากลจะเข้าถึงจิตใจของผู้บริหารประเทศว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นมาจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้คิดเอง มากกว่าที่จะถุกทำให้คิดอย่างที่เป็นอยู่