มา..มา “ดู” ทีวีกันอย่างจริงจังซะที
ผมเองไม่ได้ดูรายการทีวีของไทยมานานแล้ว เหตุเพราะอคติส่วนตัวว่าทีวีไทยไม่มีรายการน่าสนใจอะไรมากไปกว่าเกมส์โชว์และละครน้ำเน่า
การวิจารณ์รายการทีวีไทยแบบไม่ให้โอกาสได้แก้ตัวนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ผิด แต่ผมก็เชื่อว่าทุกวันนี้ ทีวีไทยน่าจะมีรายการที่ดีหรือมีสาระมากขึ้น ถึงแม้ยังจะปักใจเชื่อต่อไปอีกว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากอยู่ก็ตาม
พูดแบบนี้ เปิดโอกาสให้ถกเถียง (หรือถูกด่า) ได้หลายที่ทีเดียว
แรกสุด บางคนคงบอกว่าทีวีไม่ใช่สารานุกรม จะเอาสาระอะไรกันมากมาย ชีวิตยังเครียดไม่พออีกหรือไง อันนี้ผมคงจะไม่เถียง เพราะคงไม่มีใครอยากเปิดทีวี ถ้ามันให้บรรยากาศเหมือนกำลังติวข้อสอบเอนทรานซ์ตลอดเวลา
ยังไงก็ตาม ในประเทศที่คนไทยโดยเฉลี่ยอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัด (ต่อให้นับรวมหนังสือพิมพ์ด้วย) และใช้เวลากับทีวีรองจากทำงานเพียงนิดเดียว สัดส่วนของรายการที่ให้สาระความรู้ดูเหมือนจะน้อยเต็มที
ที่เป็นแบบนี้ เพราะโอกาสของคนไทยในการได้รับรู้ข่าวสารสาระกลับถูกผูกขาดจากความเป็นไปของธุรกิจใครบางคน
ในโลกของความเป็นจริง สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมและบริโภคนิยมอย่างน่าเศร้า และเราคงต้องเข้าใจและยอมรับว่ากฎธรรมชาติของโลกธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่กำหนดความเป็นไปของสังคมทุกซอกทุกมุม
สิ่งที่เราทำได้เพียงอย่างเดียวในวันนี้ก็คือ สวดมนต์วิงวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ช่วยดลใจนายกสักคนให้เปิดช่องสาระสักช่องเหมือนอย่างช่อง ARTE ลูกครึ่งเยอรมัน-ฝรั่งเศสที่ถือว่าจิตวิญญาณของช่องคือการให้ความรู้กับคนดู
หรือว่าเราอาจจะต้องไปพึ่งเวทมนต์คาถา ขอให้หมอผีชุบชีวิตไอทีวี ที่ตั้งขึ้นด้วนเจตนารมณ์คล้ายกันนี้ ให้คืนชีพขึ้นมาใหม่จากตายสนิท ก็อาจจะเข้าที
จะว่าไปแล้ว ย้อนกลับมาที่ทางเลือกระหว่าง “สาระ” และ “บันเทิง” ถ้าจะคิดไปให้ลึกซึ้งกว่านั้น คำถามอาจจะไม่ได้อยู่ที่ “อะไร” แต่น่าจะเป็น “อย่างไร” มากกว่า
เพราะถ้าเราเชื่อว่ารายการทีวีสามารถให้ความรู้คู่ความบันเทิงได้ เราคงจะกลับมาตั้งโจทย์ใหม่ว่า จะนำเสนออย่างไรให้น่าสนใจ
ถ้าใครเชื่อไปแล้วว่า ความรู้ไม่สามารถไปคู่กับความบันเทิงได้ ก็ต้องขอให้คิดใหม่ ทำใหม่ (จะถูกหาว่าอิงอำนาจเก่ามั้ยเนี่ย) อันนี้ต้องขอยืมคำว่า Edutainment มาใช้ รัฐมนตรีท่านใดจะเอาไปใช้เป็นสโลแกนก็คงไม่ว่า เพราะผมก็ยืมเขามาอีกที
เลยต้องกลับมาไล่เรียงตัวไปตั้งแต่รัฐบาล เจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารสถานี ไปจนถึงผู้ผลิตรายการว่ามีวิธีคิดเกี่ยวกับทีวีอย่างไร และอยากจะให้อะไรกับคนดู
ตั้งคำถามแบบนี้เสี่ยงที่จะต้องเจอกับคำตอบที่น่าเศร้า แต่ถ้าอยากจะทำให้คนไทยในวันหน้ามีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็คงจะต้องลองไปฝากคนเหล่านี้คิดดู
เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกทัศน์หรือมุมมองและวิธีคิดที่มีต่อโลกมีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตของเราอย่างลึกซึ้ง และมันกำหนดเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนอย่างสำคัญยิ่งยวด
ในเมื่อโทรทัศน์มีส่วนในการสร้างโลกทัศน์สำหรับคนไทยอย่างมาก ก็ต้องขอให้มา “ดู” ทีวีไทยกันให้ดีๆ
อันที่จริง คำว่า “ดู” ทีวีในที่นี้ก็มีนัยที่สอง นอกจากนัยแรกที่ชี้ชวนให้มาดูเข้าไปข้างในหรือเบื้องหลังทีวี
นั่นก็คือ การดูทีวีบนผิวหน้าของมัน
เราอาจยึดเอาภาษิตไทยที่ว่า “ดูละคร ย้อนดูตัว” มาปรับใช้ได้ในแง่มุมหนึ่ง เพราะเมื่อดูทีวีไทยแล้ว ก็ได้เห็นภาพจำลองของความเป็นไทยอยู่ในหลายลักษณะ
อันที่เด่นชัดและขอยกตัวอย่างแบบรวดรัด ก็คือ การเซ็นเซอร์แบบทำภาพเบรอบนวัตถุแสลงตา อย่างเช่น อาวุธ บุหรี่ ภาพโป๊ ฯลฯ
สำหรับผม นี่คือภาพสะท้อนความเป็น “ไทย” ที่สามารถทำเป็นมองไม่เห็นสิ่งที่ไม่อยากจะเห็นได้ ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ และการปิดนั้นก็ไม่ได้ทำให้มันหายไป แต่กลับยิ่งเน้นความมีอยู่ของมัน
สำหรับผม มันยิ่งทำให้เกิดคำถามถึงสิ่งที่เห็น และไม่รู้ว่าคืออะไร (อยากจะพูดถึงเรื่องเซ็นเซอร์ให้ละเอียดรอบด้านกว่านี้ ในโอกาสต่อไป)
อยากให้คนไทย “ดู” ทีวีกันอย่างจริงจังจริงๆ ซะที
การวิจารณ์รายการทีวีไทยแบบไม่ให้โอกาสได้แก้ตัวนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ผิด แต่ผมก็เชื่อว่าทุกวันนี้ ทีวีไทยน่าจะมีรายการที่ดีหรือมีสาระมากขึ้น ถึงแม้ยังจะปักใจเชื่อต่อไปอีกว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากอยู่ก็ตาม
พูดแบบนี้ เปิดโอกาสให้ถกเถียง (หรือถูกด่า) ได้หลายที่ทีเดียว
แรกสุด บางคนคงบอกว่าทีวีไม่ใช่สารานุกรม จะเอาสาระอะไรกันมากมาย ชีวิตยังเครียดไม่พออีกหรือไง อันนี้ผมคงจะไม่เถียง เพราะคงไม่มีใครอยากเปิดทีวี ถ้ามันให้บรรยากาศเหมือนกำลังติวข้อสอบเอนทรานซ์ตลอดเวลา
ยังไงก็ตาม ในประเทศที่คนไทยโดยเฉลี่ยอ่านหนังสือปีละไม่กี่บรรทัด (ต่อให้นับรวมหนังสือพิมพ์ด้วย) และใช้เวลากับทีวีรองจากทำงานเพียงนิดเดียว สัดส่วนของรายการที่ให้สาระความรู้ดูเหมือนจะน้อยเต็มที
ที่เป็นแบบนี้ เพราะโอกาสของคนไทยในการได้รับรู้ข่าวสารสาระกลับถูกผูกขาดจากความเป็นไปของธุรกิจใครบางคน
ในโลกของความเป็นจริง สังคมไทยเป็นสังคมทุนนิยมและบริโภคนิยมอย่างน่าเศร้า และเราคงต้องเข้าใจและยอมรับว่ากฎธรรมชาติของโลกธุรกิจกลายเป็นสิ่งที่กำหนดความเป็นไปของสังคมทุกซอกทุกมุม
สิ่งที่เราทำได้เพียงอย่างเดียวในวันนี้ก็คือ สวดมนต์วิงวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก ช่วยดลใจนายกสักคนให้เปิดช่องสาระสักช่องเหมือนอย่างช่อง ARTE ลูกครึ่งเยอรมัน-ฝรั่งเศสที่ถือว่าจิตวิญญาณของช่องคือการให้ความรู้กับคนดู
หรือว่าเราอาจจะต้องไปพึ่งเวทมนต์คาถา ขอให้หมอผีชุบชีวิตไอทีวี ที่ตั้งขึ้นด้วนเจตนารมณ์คล้ายกันนี้ ให้คืนชีพขึ้นมาใหม่จากตายสนิท ก็อาจจะเข้าที
จะว่าไปแล้ว ย้อนกลับมาที่ทางเลือกระหว่าง “สาระ” และ “บันเทิง” ถ้าจะคิดไปให้ลึกซึ้งกว่านั้น คำถามอาจจะไม่ได้อยู่ที่ “อะไร” แต่น่าจะเป็น “อย่างไร” มากกว่า
เพราะถ้าเราเชื่อว่ารายการทีวีสามารถให้ความรู้คู่ความบันเทิงได้ เราคงจะกลับมาตั้งโจทย์ใหม่ว่า จะนำเสนออย่างไรให้น่าสนใจ
ถ้าใครเชื่อไปแล้วว่า ความรู้ไม่สามารถไปคู่กับความบันเทิงได้ ก็ต้องขอให้คิดใหม่ ทำใหม่ (จะถูกหาว่าอิงอำนาจเก่ามั้ยเนี่ย) อันนี้ต้องขอยืมคำว่า Edutainment มาใช้ รัฐมนตรีท่านใดจะเอาไปใช้เป็นสโลแกนก็คงไม่ว่า เพราะผมก็ยืมเขามาอีกที
เลยต้องกลับมาไล่เรียงตัวไปตั้งแต่รัฐบาล เจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารสถานี ไปจนถึงผู้ผลิตรายการว่ามีวิธีคิดเกี่ยวกับทีวีอย่างไร และอยากจะให้อะไรกับคนดู
ตั้งคำถามแบบนี้เสี่ยงที่จะต้องเจอกับคำตอบที่น่าเศร้า แต่ถ้าอยากจะทำให้คนไทยในวันหน้ามีคุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็คงจะต้องลองไปฝากคนเหล่านี้คิดดู
เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกทัศน์หรือมุมมองและวิธีคิดที่มีต่อโลกมีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตของเราอย่างลึกซึ้ง และมันกำหนดเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนอย่างสำคัญยิ่งยวด
ในเมื่อโทรทัศน์มีส่วนในการสร้างโลกทัศน์สำหรับคนไทยอย่างมาก ก็ต้องขอให้มา “ดู” ทีวีไทยกันให้ดีๆ
อันที่จริง คำว่า “ดู” ทีวีในที่นี้ก็มีนัยที่สอง นอกจากนัยแรกที่ชี้ชวนให้มาดูเข้าไปข้างในหรือเบื้องหลังทีวี
นั่นก็คือ การดูทีวีบนผิวหน้าของมัน
เราอาจยึดเอาภาษิตไทยที่ว่า “ดูละคร ย้อนดูตัว” มาปรับใช้ได้ในแง่มุมหนึ่ง เพราะเมื่อดูทีวีไทยแล้ว ก็ได้เห็นภาพจำลองของความเป็นไทยอยู่ในหลายลักษณะ
อันที่เด่นชัดและขอยกตัวอย่างแบบรวดรัด ก็คือ การเซ็นเซอร์แบบทำภาพเบรอบนวัตถุแสลงตา อย่างเช่น อาวุธ บุหรี่ ภาพโป๊ ฯลฯ
สำหรับผม นี่คือภาพสะท้อนความเป็น “ไทย” ที่สามารถทำเป็นมองไม่เห็นสิ่งที่ไม่อยากจะเห็นได้ ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ และการปิดนั้นก็ไม่ได้ทำให้มันหายไป แต่กลับยิ่งเน้นความมีอยู่ของมัน
สำหรับผม มันยิ่งทำให้เกิดคำถามถึงสิ่งที่เห็น และไม่รู้ว่าคืออะไร (อยากจะพูดถึงเรื่องเซ็นเซอร์ให้ละเอียดรอบด้านกว่านี้ ในโอกาสต่อไป)
อยากให้คนไทย “ดู” ทีวีกันอย่างจริงจังจริงๆ ซะที
ความคิดเห็น
ยิ่งแย่ตรงที่สื่อโทรทัศน์ทุกวันนี้ประกาศตนเข้าข้างฝ่ายในฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจน ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในประเทศที่ดู แล้วเชื่อ และเลือกสร้างกลุ่มก้อนที่มีความคิดเหมือนกับผู้นำทางความคิดที่ปรากฏในโทรทัศน์
ดังนั้น ผมเห็นว่าไม่ว่าด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือการเมือง สื่อมวลชนควรตระหนักในหน้าที่ จรรยาบรรณ และจริยธรรมของตนเองมากกว่าที่เป็นไปอยู่ ณ เวลานี้ นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างใกล้ชิดแล้ว สื่อยังแข่งขันกันทำ Rating มากกว่าทำรายการ หรือผลิตข้อมูลทีมีประสิทธิภาพสำหรับคนดู โดยเอาความต้องการเพื่อการพัฒนาของประชาชน เป็นตัวตั้ง
เห็นด้วยกันทั้งสองท่านเลยนะครับ คำถามคือ "How" จะกระตุ้นให้คนดูโทรทัศน์ในเชิงลึกได้อย่างไร แทนการดูและเชื่อตามสิ่งที่ปรากฏบนจอสี่เหลี่ยมเท่านั่น
พงษ์ วิเศษสังข์