เอกลักษณ์ฝรั่งเศสทำพิษ
อัตลักษณ์แห่งชาติ (national identity: identité nationale) โผล่ขึ้นมาเป็นประเด็นร้อนทางสื่อฝรั่งเศสอยู่พักใหญ่ๆ เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของฝรั่งเศสคนสำคัญ อย่างนิโคลาส์ ซาร์โกซี (อดีตรัฐมนตรีมหาดไทย) ได้หยิบยกขึ้นมา เพื่อประกอบแนวนโยบายด้านการจัดการผู้อพยพเข้าฝรั่งเศส โดยประกาศจะจัดตั้งกระทรวงการอพยพเข้าและอัตลักษณ์แห่งชาติ ถ้าหากตนได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ประเด็นนี้จึงถูกผู้สมัครหญิงตัวเต็ง คู่แข่งคนสำคัญ เซโกแลน ฮัวยาลจากพรรคสังคมนิยมนำไปขยายผลต่อในแบบของเธอ เพื่อไม่ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนนำเธอมาตลอดในทุกโพล อย่างซาร์โกซีผูกขาดประเด็นร้อนแบบนี้อยู่เพียงฝ่ายเดียว
แต่แล้ว ความซับซ้อนและละเอียดอ่อนของประเด็น “อัตลักษณ์” (หรือถ้าจะใช้คำที่คุ้นกว่า เข้าใจง่ายกว่า แต่มีความหมายไม่ตรงกันทีเดียวนักอย่าง “เอกลักษณ์”) ก็กลับกลายเป็นยาพิษซะมากกว่าจะเป็นยาหอมกล่อมประสาทผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างที่ตั้งใจไว้ มิหนำซ้ำยังทำให้ทั้งสองตกเป็นเป้าโจมตีของผู้สมัครรายอื่น รวมทั้ง นายชอง-มารี เลอ เปน คู่แข่งที่น่ากลัวคนสำคัญจากพรรคขวาจัด (ที่เคยทำเซอร์ไพรส์เข้าไปท้าชิงในรอบสองกับฌาร์ค ชิรัก ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา) ทำนองว่าปั่นกระทู้กันไม่เข้าเรื่อง จนทำให้ผู้สมัครทั้งสองต้องลดเสียงเรื่องนี้ลง แล้วหันเหความสนใจของฝูงชนไปในเรื่องอื่นแทน
เมื่อพูดถึงประเด็นเรื่อง “ความเป็นฝรั่งเศส” ก็ต้องถือว่าเป็นเมนูจานเด็ดของร้านนายเลอ เปน เขามาตลอด เพราะพรรคแกเป็นที่ยอมรับมาแต่ไหนแต่ไรว่าชูนโยบายอนุรักษ์นิยมและกีดกันคนต่างชาติอย่างเปิดเผยไม่เคยเปลี่ยน ชนิดถึงกับเคยประกาศจะลดและตัดสวัสดิการทางสังคมที่ให้กับชาวต่างชาติ ถ้าตนได้รับเลือกตั้งในการหาเสียงเมื่อห้าปีที่ผ่านมา (แต่ที่น่าสนใจ ก็คือแกลดท่าทีลง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ !)
ดังนั้น เมื่อว่ากันด้วยเรื่องที่มีเอี่ยวกับ “คุณค่าฝรั่งเศส” ซึ่งถูกมองว่าสงวนและผูกขาดโดยธรรมชาติจากนักอนุรักษ์นิยมแล้ว ฝูงชนก็ต้องหันไปคอยท่านายเลอ เปน ชนิดที่เรียกว่าทันทีที่มีใครเริ่มอ้าปากเอ่ยเลยทีเดียว
เมื่อนายซาร์โกซีประกาศแนวนโนบายว่าด้วยเรื่อง “อัตลักษณ์แห่งชาติ” (ที่ไม่ว่าจะลุ่มลึกหรือน่าสนใจแค่ไหน) แกจึงถูกโกยเข้าไปอยู่ในตระกร้าเดียวกับนายเลอ เปน แถมยังถูกมองอย่างหยามๆ ว่าชะรอยจะมาใช้เทคนิคที่เคยทำให้เลอ เปน ควบม้ามืดเข้าไปถึงรอบสอง แบบหายใจรดต้นคอกับฌาร์ค ชิรักในการเลือกตั้งรอบแรกปี 2002 มาแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นายซาร์โกซีก็ถูกประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาดไปล่วงหน้าเลยว่า ยังไงก็ต่ำช้ากว่าต้นตำรับตัวจริงอย่างนายเลอ เปน หัวหน้าพรรคโฟรงซ์ นาซิองนาล (Front National) หรือพรรคแนวหน้าแห่งชาติ
ยังไงก็ตาม ก็ใช่ว่าทุกคนจะเชิดหน้าชูคอประกาศตนเป็นแฟนคลับนายเลอ เปนอย่างเท่าเทียมกัน เพราะอุดมคติแบบขวาจัดนี้ก็มักถูกสังคมพิพากษาว่าเป็นอันตราย อย่างเมื่อหลังจากที่นายเลอ เปนได้เข้าไปในรอบสองของการเลือกตั้งคราวที่แล้ว นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวจำนวนมากก็ออกมาเตือนสติสังคมให้ใช้วิจารณญาณในการรับชม เอ้ย..เลือกตั้ง
จึงมีคำอธิบายจากนักวิเคราะห์ว่า ที่ตัวเลขคะแนนนิยมของนายซาร์โกซีนั้นค่อนข้างสูง (ประมาณ 25-30% แล้วแต่สำนัก) และนำผู้สมัครอันดับสองอย่างนางสาวเซโกเลน (อยู่ระหว่าง 20-25%) มาโดยตลอดนั้น ส่วนนึงเป็นคะแนนแอบแฝงของนายเลอ เปน เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามไม่กล้าแสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะเลือกนายเลอ เปน จึงเลี่ยงไปตอบชื่อผู้สมัครที่ตนมองว่าเป็นที่นิยม อย่างนายซาร์โกซี ซึ่งถูกสังคมมอง (ผิดๆ) ว่าเสนอนโยบายเหยียดผิวทำนองเดียวกับนายเลอ เปน
การวิเคราะห์นี้จะถูกหรือไม่ เราก็คงจะได้เห็นกันในเย็นวันที่ 22 เมษายนที่จะถึง
เราย้อนกลับมาที่เรื่องอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ฝรั่งเศส โดยตัวของมันเอง เป็นเรื่องซับซ้อนมากเพราะสามารถยกทฤษฎีทางปรัชญาหรือสังคมวิทยาขึ้นมาเถียงกันเป็นวัน เราจึงพบว่าเนื้อหาของการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์จริงๆ จึงถูกจำกัดอยู่แค่ในระดับผิวเผิน และนักการเมืองก็เลือกที่จะไม่ให้นิยามหรือคำจำกัดความที่ตายตัวกับมันแถมปล่อยให้มีความคลุมเครือต่อไป
อย่างไรก็ดี คำถามที่ง่ายที่สุดที่ถูกหยิบยกขึ้นมา นอกจากเรื่องความเป็นชาติและแนวคิดชาตินิยม ก็คือคำถามเกี่ยวกับ “ความเป็นฝรั่งเศส”
อะไรคือความเป็นฝรั่งเศส?
คือคุณค่าที่เป็นนามธรรมในเรื่อง “อิสรภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ”? หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างหอไอเฟลและชองซะลิเซ่?
คือสิ่งที่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินนำเข้าประเทศอย่างไวน์ ชีสและบาแก็ต? หรือตราสินค้าแบรนด์เนมอย่างหลุยส์ วิตตง ดิออร์ ....?
คือคุณค่าหรืออุดมคติที่คนฝรั่งเศสทุกคนเห็นตรงกันว่าเป็นเช่นนั้น? หรือสิ่งที่ชาวต่างชาติเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น?
หรือความเป็นปัจเจกของคนฝรั่งเศสที่มีลักษณะร่วมกันเป็นสากล? หรือลักษณะเฉพาะของสังคมฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลจากการรวมตัวของปัจเจกที่ว่า?
คือภาษาฝรั่งเศสที่เป็นแบบแผนและต้องปกป้อง และมีศัตรูคือภาษาต่างชาติอย่างอังกฤษ ที่นับวันก็จะคุกคามและลุกลามเข้ามาในชีวิตคนฝรั่งเศส?
...
ประเด็นนี้จึงถูกผู้สมัครหญิงตัวเต็ง คู่แข่งคนสำคัญ เซโกแลน ฮัวยาลจากพรรคสังคมนิยมนำไปขยายผลต่อในแบบของเธอ เพื่อไม่ให้ผู้สมัครที่มีคะแนนนำเธอมาตลอดในทุกโพล อย่างซาร์โกซีผูกขาดประเด็นร้อนแบบนี้อยู่เพียงฝ่ายเดียว
แต่แล้ว ความซับซ้อนและละเอียดอ่อนของประเด็น “อัตลักษณ์” (หรือถ้าจะใช้คำที่คุ้นกว่า เข้าใจง่ายกว่า แต่มีความหมายไม่ตรงกันทีเดียวนักอย่าง “เอกลักษณ์”) ก็กลับกลายเป็นยาพิษซะมากกว่าจะเป็นยาหอมกล่อมประสาทผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างที่ตั้งใจไว้ มิหนำซ้ำยังทำให้ทั้งสองตกเป็นเป้าโจมตีของผู้สมัครรายอื่น รวมทั้ง นายชอง-มารี เลอ เปน คู่แข่งที่น่ากลัวคนสำคัญจากพรรคขวาจัด (ที่เคยทำเซอร์ไพรส์เข้าไปท้าชิงในรอบสองกับฌาร์ค ชิรัก ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา) ทำนองว่าปั่นกระทู้กันไม่เข้าเรื่อง จนทำให้ผู้สมัครทั้งสองต้องลดเสียงเรื่องนี้ลง แล้วหันเหความสนใจของฝูงชนไปในเรื่องอื่นแทน
เมื่อพูดถึงประเด็นเรื่อง “ความเป็นฝรั่งเศส” ก็ต้องถือว่าเป็นเมนูจานเด็ดของร้านนายเลอ เปน เขามาตลอด เพราะพรรคแกเป็นที่ยอมรับมาแต่ไหนแต่ไรว่าชูนโยบายอนุรักษ์นิยมและกีดกันคนต่างชาติอย่างเปิดเผยไม่เคยเปลี่ยน ชนิดถึงกับเคยประกาศจะลดและตัดสวัสดิการทางสังคมที่ให้กับชาวต่างชาติ ถ้าตนได้รับเลือกตั้งในการหาเสียงเมื่อห้าปีที่ผ่านมา (แต่ที่น่าสนใจ ก็คือแกลดท่าทีลง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ !)
ดังนั้น เมื่อว่ากันด้วยเรื่องที่มีเอี่ยวกับ “คุณค่าฝรั่งเศส” ซึ่งถูกมองว่าสงวนและผูกขาดโดยธรรมชาติจากนักอนุรักษ์นิยมแล้ว ฝูงชนก็ต้องหันไปคอยท่านายเลอ เปน ชนิดที่เรียกว่าทันทีที่มีใครเริ่มอ้าปากเอ่ยเลยทีเดียว
เมื่อนายซาร์โกซีประกาศแนวนโนบายว่าด้วยเรื่อง “อัตลักษณ์แห่งชาติ” (ที่ไม่ว่าจะลุ่มลึกหรือน่าสนใจแค่ไหน) แกจึงถูกโกยเข้าไปอยู่ในตระกร้าเดียวกับนายเลอ เปน แถมยังถูกมองอย่างหยามๆ ว่าชะรอยจะมาใช้เทคนิคที่เคยทำให้เลอ เปน ควบม้ามืดเข้าไปถึงรอบสอง แบบหายใจรดต้นคอกับฌาร์ค ชิรักในการเลือกตั้งรอบแรกปี 2002 มาแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นายซาร์โกซีก็ถูกประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาดไปล่วงหน้าเลยว่า ยังไงก็ต่ำช้ากว่าต้นตำรับตัวจริงอย่างนายเลอ เปน หัวหน้าพรรคโฟรงซ์ นาซิองนาล (Front National) หรือพรรคแนวหน้าแห่งชาติ
ยังไงก็ตาม ก็ใช่ว่าทุกคนจะเชิดหน้าชูคอประกาศตนเป็นแฟนคลับนายเลอ เปนอย่างเท่าเทียมกัน เพราะอุดมคติแบบขวาจัดนี้ก็มักถูกสังคมพิพากษาว่าเป็นอันตราย อย่างเมื่อหลังจากที่นายเลอ เปนได้เข้าไปในรอบสองของการเลือกตั้งคราวที่แล้ว นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวจำนวนมากก็ออกมาเตือนสติสังคมให้ใช้วิจารณญาณในการรับชม เอ้ย..เลือกตั้ง
จึงมีคำอธิบายจากนักวิเคราะห์ว่า ที่ตัวเลขคะแนนนิยมของนายซาร์โกซีนั้นค่อนข้างสูง (ประมาณ 25-30% แล้วแต่สำนัก) และนำผู้สมัครอันดับสองอย่างนางสาวเซโกเลน (อยู่ระหว่าง 20-25%) มาโดยตลอดนั้น ส่วนนึงเป็นคะแนนแอบแฝงของนายเลอ เปน เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามไม่กล้าแสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะเลือกนายเลอ เปน จึงเลี่ยงไปตอบชื่อผู้สมัครที่ตนมองว่าเป็นที่นิยม อย่างนายซาร์โกซี ซึ่งถูกสังคมมอง (ผิดๆ) ว่าเสนอนโยบายเหยียดผิวทำนองเดียวกับนายเลอ เปน
การวิเคราะห์นี้จะถูกหรือไม่ เราก็คงจะได้เห็นกันในเย็นวันที่ 22 เมษายนที่จะถึง
เราย้อนกลับมาที่เรื่องอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ฝรั่งเศส โดยตัวของมันเอง เป็นเรื่องซับซ้อนมากเพราะสามารถยกทฤษฎีทางปรัชญาหรือสังคมวิทยาขึ้นมาเถียงกันเป็นวัน เราจึงพบว่าเนื้อหาของการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์จริงๆ จึงถูกจำกัดอยู่แค่ในระดับผิวเผิน และนักการเมืองก็เลือกที่จะไม่ให้นิยามหรือคำจำกัดความที่ตายตัวกับมันแถมปล่อยให้มีความคลุมเครือต่อไป
อย่างไรก็ดี คำถามที่ง่ายที่สุดที่ถูกหยิบยกขึ้นมา นอกจากเรื่องความเป็นชาติและแนวคิดชาตินิยม ก็คือคำถามเกี่ยวกับ “ความเป็นฝรั่งเศส”
อะไรคือความเป็นฝรั่งเศส?
คือคุณค่าที่เป็นนามธรรมในเรื่อง “อิสรภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ”? หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างหอไอเฟลและชองซะลิเซ่?
คือสิ่งที่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินนำเข้าประเทศอย่างไวน์ ชีสและบาแก็ต? หรือตราสินค้าแบรนด์เนมอย่างหลุยส์ วิตตง ดิออร์ ....?
คือคุณค่าหรืออุดมคติที่คนฝรั่งเศสทุกคนเห็นตรงกันว่าเป็นเช่นนั้น? หรือสิ่งที่ชาวต่างชาติเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น?
หรือความเป็นปัจเจกของคนฝรั่งเศสที่มีลักษณะร่วมกันเป็นสากล? หรือลักษณะเฉพาะของสังคมฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลจากการรวมตัวของปัจเจกที่ว่า?
คือภาษาฝรั่งเศสที่เป็นแบบแผนและต้องปกป้อง และมีศัตรูคือภาษาต่างชาติอย่างอังกฤษ ที่นับวันก็จะคุกคามและลุกลามเข้ามาในชีวิตคนฝรั่งเศส?
...
ความคิดเห็น
สิ่งที่ผู้เขียนตั้งคำถามไว้ในตอนท้ายเรื่อง ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอัตตลักษณ์หรือตัวตนของชนชาติฝรั่งเศสหรือไม่ ก็น่าจะใช่ ไม่มากก็น้อย ก็มันคือสิ่งที่สร้างสมมามานับร้อยๆปีและมีอีกหลายหลากประเด็นหากจะถกกัน
การดึงเอาเรื่องนี้มาเกี่ยวข้องกับการเมืองของผู้หาเสียงน่าจะเป็นความอึดอัดใจของคนฝรั่งเศสกับบรรดาพวกเกลียดตัวกินไข่นั่นเอง เมื่อคนเหล่านี้มาก็นำพาตัวตนของพวกเขาเข้ามาปรับและเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเอง และบ่นว่าความใจแคบของคนฝรั่งเศส (ที่ก็คงต้องมีอยู่) ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอคติกับพวกอพยพที่เข้ามาทำลายอัตตลักษณ์ของเขาในทางอ้อมโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างปารีสที่ถ้าจะมองหาสิ่งที่ไม่ใช่ฝรั่งเศสแล้วก็จะเห็นได้ชัดในหลายๆที่
ด้วยว่าคนฝรั่งเศสเองบอกว่าปารีสนั้น ไม่ใช่ฝรั่งเศสแท้ ต้องออกไปอยู่หรือดูกันรอบนอก คุณถึงจะเห็นว่าเราคือใคร (คนฝรั่งเศสเขาว่าอย่างนั้น)
เพราะฉะนั้นความพยายามของผู้ลงสมัครที่จะเอาเรื่องการจัดการกับผู้อพยพโดยเฉพาะพวกที่เข้ามาอย่างผิดกฏหมายหรือพวกที่แย่งงานคนฝรั่งเศสอยู่จึงเป็นความต้องการลึกๆของคนฝรั่งเศส ที่ขัดแย้งกับมโนธรรมของการปฏิบัติให้เท่าเทียม(ไม่ว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็นฝรั่งเศส)
ที่จริงทุกวัฒนธรรมต่างก็สร้างอัตตลักษณ์ของตัวเองไว้ชัดเจนในระดับที่มองผิวเผินได้ แต่อัตตลักษณ์ของฝรั่งเศสนั้นนอกจากจะมองเห็นได้ชัดยังมีเสน่ห (ไม่ทางไดก็ทางหนึ่ง) และคนฝรั่งเศสก็ปรารถนาเหลือเกินที่จะอนุรักษ์ตัวตนนี้เอาไว้ ใช่ว่าจะเป็นเรื่องเลวร้าย เพียงแต่การเมืองมันต้องทำตัวเป็นคนใจกว้างงงง จึงจะเป็นผลดีต่อผู้สมัครในสายตาของคนที่ไม่ใช่ฝรั่งเศสแท้นั่นแล ก็ใครอยากจะคบกับคนที่มองเห็นแต่พวกตัวเองเล่า โดยเฉพาะพวกเกลียดตัวกินไข่..คนฝรั่งเศสเองจึงต้องระวังประเด็นนี้ให้มากๆ