ช่วยด้วย สื่อแทรกแซงผม
ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปเป็นเวลาเกือบเดือน (แต่ไม่ได้ห่างหายจากการอ่านและการคิด) ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรน่าสนใจเกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์และปรากฏการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ทั้งบรรยากาศโค้งสุดท้ายของการหาเสียงของผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของฝรั่งเศส (ซึ่งก่อให้เกิด “ดีเบต” ในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจมากมาย) และผลของการเลือกตั้ง ที่ตัวของมันเองก็น่าหยิบมาคิดและพูดถึง, การประท้วงและพยายามปิดมหาวิทยาลัยของเด็กฝรั่งเศส อันเป็นผลจากผลการเลือกตั้งนี้แหละ, การตั้งพรรคใหม่ (โดยเปลี่ยนชื่อพรรค) ของนายบายีฮู, หรือข่าวลอร์ มาโนดู นักว่ายน้ำหญิงแชมป์โลกของฝรั่งเศส ประกาศตัดความสัมพันธ์ (ทางอาชีพ) กับลูกาส์ ครูฝึกประจำตัว ไปทำการฝึกที่ตูริน เพื่อให้ได้อยู่ใกล้แฟนหนุ่มนักว่ายน้ำชาวอิตาเลียนมากขึ้นฯลฯ
ในฟากของประเทศไทย (ที่ไม่ค่อยได้ติดตามอย่างใกล้ชิด) นอกจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญรายวันอันเกิดจากสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ ที่มีผู้เสียชีวิตมากและถี่จนกลายเป็นเรื่องปกติและน่าเบื่อหน่าย (ในความหมายของการสูญเสียความสนใจ) แล้ว ก็มีข่าวระเบิดในวันฉัตรมงคล ที่ตู้โทรศัพท์บริเวณตรงข้ามพระราชวังสวนจิตรฯ, การเคลื่อนไหวและกระแสเรียกร้องให้นายกฯ สุรยุทธ์ลาออก, กระแสที่ค่อยๆ ซาลงของการเรียกร้องให้บรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ, การถึงแก่อนิจกรรมของท่านผู้หญิงพูนสุข ในเวลาตี ๒ ของวันที่ ๑๒ (๒ ชั่วโมงถัดจากวันปรีดี คือวันที่ ๑๑ พฤษภาคม), การประชุมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ที่กรุงเทพฯ และการปิดไฟเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการประหยัดพลังงาน, ข่าวการสลายม็อบในสวนปาล์มฯ ที่ดูน่าจะมีประเด็นน่าสนใจ (แต่ข่าวถูกเสนอเหมือนกับไม่มีประเด็นน่าสนใจ จึงไม่ได้ติดตาม) ฯลฯ
นี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนหนึ่งในบรรดาเหตุการณ์ที่ได้มีโอกาสผ่านหูหรือผ่านตา และยังติดอยู่ในใจ
ยังมีข่าวที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในโลกอีก เช่น ประท้วงรอบที่หนึ่ง สอง สาม ในตุรกี, โทนี แบลร์ อำลาอาชีพการเมือง (ก่อนหน้านั้น ได้สร้างกระแสเล็กๆ จากการกล่าวแสดงความยินดีกับปธน. ฝรั่งเศสคนใหม่ด้วยภาษาฝรั่งเศส บนเว็บของตน) ฯลฯ
ไหนยังเหตุการณ์ที่ไม่น่าสนใจ (สำหรับตัวเราแต่น่าสนใจสำหรับคนอื่น) และ/หรือที่ไม่น่าสนใจกับใครทั้งนั้น (แต่มีสลักสำคัญ) รวมทั้งที่เกิดขึ้นเฉยๆ (แต่มีผลกระทบ) อีกมากมาย ......
เรียกได้ว่า แค่เขียนหัวข้อข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก ในความรับรู้ของเรา โดยไม่ต้องเสียเวลากับรายละเอียด ก็กินพื้นที่ของหน่วยความจำไปหลายเม็กฯ แล้ว (คิดแล้วก็อยากขอบคุณไมโครซอฟ แอปเปิ้ล และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของเอ็มพีสามและอะไรก็ตาม ที่ถูกนำมาใช้แทนกระดาษในการบันทึกและเก็บข้อมูล)
ไม่ว่าใครจะทำปิดหูปิดตาหรือปิดสวิทช์ความรู้สึกรู้สาเอาไว้ โลกก็ไม่แยแสแม้แต่น้อยกับความไม่อนาทรร้อนใจนี้ เพราะโลกหมุนทุกๆ ขณะ และหมุนจนกว่าจะถึงวันหมดอายุของมัน
และใครบางคนก็แอบสังเกตเห็นวันหมดอายุใต้กระป๋องโลกแล้วด้วย เลยพยายามหากระป๋องใหม่ (ที่น่าจะใส่คนและสัมภาระของคนต่อจากโลกกระป๋องเก่าได้) กันให้จ้าละหวั่น
พูดถึงข่าวมาตั้งยืดยาว ก็อดคิดถึงสื่อ (ในความหมายขององค์กรและผู้จ้างคนออกไปหาวัตถุดิบมาป้อนใส่ไมค์และหน้าจอมอนิเตอร์) ไม่ได้ เพราะสื่อคือผู้ตัดสินใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรจะรู้ ทั้งตัดสินใจโดยทางอ้อม คือตัดสินใจจ้างคนที่จะมาเลือกอีกที และตัดสินใจทางตรง คือเป็นกระบะที่เทเอาสมองมากองรวม เพื่อคิดว่าจะเอาอะไรมาขาย
ที่อยากพูดถึงคือ ความเข้าใจโดยทั่วไปของเราว่า “สื่อในประเทศประชาธิปไตย ในยุคนี้ คือเครื่องมือคานอำนาจรัฐ แต่สื่อไม่เข้มแข็งนัก เพราะถูกแทรกแซงจากการเมืองได้บ่อยครั้ง”
ความเข้าใจหรือความเชื่อนี้ ฝังรากแก้วและรากฝอยในสมองของเราอย่างเหนียวแน่น แบบที่เรียกว่ากลายเป็นสถาบันหนึ่งเลยก็ว่าได้ นักคิดคนหนึ่ง (โนอัม ชอมสกี้) ได้ตั้งคำถามอย่างเฉียบคมว่า ความเชื่อเหล่านี้ เป็นผลมาจากความพยายามของสื่อเองที่ทำให้เราเชื่ออย่างนั้นหรือไม่?
ชอมสกี้เองได้ชี้ทางสว่างเอาไว้ในบทความและหนังสือหลายเล่ม โดยชี้ให้เราเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในความลึกลับดำมืดของอำนาจและสถาบันของอำนาจในสังคมอเมริกัน อย่างเช่นรัฐบาลและสื่อ โดยชอมสกี้ บอกว่าความคิดของทุกคนที่ว่าลูกค้าของสื่อ (สิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์) ก็คือผู้อ่าน ผู้บริโภคหรือพวกเราทุกคนนั้น จริงๆ แล้วผิดถนัด
เพราะลูกค้าของสื่อจริงๆ แล้วคือองค์กรธุรกิจต่างหาก และตัวเราเองกลับเป็นเพียงสินค้าที่สื่อเสนอขายให้กับองค์กรธุรกิจเหล่านั้น โดยที่เราไม่รู้ตัว!
สื่อที่ร่ำรวย จึงไม่ใช่สื่อที่ขายทุกอย่างให้กับทุกคน แต่ขายเฉพาะบางเรื่องให้กับคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะคนมีเงินกลุ่มเล็ก (และสื่อที่กำลังจะไปไม่รอด มักจะลดยอดการผลิตและเล็งเป้าใหม่ เพื่อหากลุ่มลุกค้าที่แคบลง แต่อยู่สูงขึ้น)
เพราะคนมีเงินและอำนาจกลุ่มนี้แหละ คือสินค้าชั้นดี ที่สื่อจะสามารถวางโชว์ในตู้อย่างสมราคา เพื่อล่อตาล่อใจลูกค้ารายใหญ่อย่างธุรกิจอุตสาหกรรมและธุรกิจการเงินต่างๆ ให้มาใช้บริการลงโฆษณากันในระยะยาว
โดยที่คนอ่านหรือคนเสพ กลับนึกลำพองใจไปกันเองว่า ตัวเองคือพระราชาที่มีคนนำอาหารอันโอชะมาใส่พานถวาย ทั้งที่ไม่รู้ว่าตัวเองคืออาหารจานน่าหม่ำซะเอง นอกจากนั้น สื่ออีกนั่นแหละที่เป็นผู้ทรงอิทธิพล และกำหนด “วาระ” ของสังคม ให้เหล่านักวิชาการและนักการเมือง-ข้าราชการมานั่งถกกันหน้าดำหน้าแดง โดยที่หลงคิดไปว่าตัวเองเป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคม
แล้วอย่างนี้จะพูดอย่างเต็มปากว่า “รัฐแทรกแซงสื่อ” ได้ยังไง
ในฟากของประเทศไทย (ที่ไม่ค่อยได้ติดตามอย่างใกล้ชิด) นอกจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญรายวันอันเกิดจากสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ ที่มีผู้เสียชีวิตมากและถี่จนกลายเป็นเรื่องปกติและน่าเบื่อหน่าย (ในความหมายของการสูญเสียความสนใจ) แล้ว ก็มีข่าวระเบิดในวันฉัตรมงคล ที่ตู้โทรศัพท์บริเวณตรงข้ามพระราชวังสวนจิตรฯ, การเคลื่อนไหวและกระแสเรียกร้องให้นายกฯ สุรยุทธ์ลาออก, กระแสที่ค่อยๆ ซาลงของการเรียกร้องให้บรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ, การถึงแก่อนิจกรรมของท่านผู้หญิงพูนสุข ในเวลาตี ๒ ของวันที่ ๑๒ (๒ ชั่วโมงถัดจากวันปรีดี คือวันที่ ๑๑ พฤษภาคม), การประชุมเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ที่กรุงเทพฯ และการปิดไฟเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการประหยัดพลังงาน, ข่าวการสลายม็อบในสวนปาล์มฯ ที่ดูน่าจะมีประเด็นน่าสนใจ (แต่ข่าวถูกเสนอเหมือนกับไม่มีประเด็นน่าสนใจ จึงไม่ได้ติดตาม) ฯลฯ
นี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนหนึ่งในบรรดาเหตุการณ์ที่ได้มีโอกาสผ่านหูหรือผ่านตา และยังติดอยู่ในใจ
ยังมีข่าวที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในโลกอีก เช่น ประท้วงรอบที่หนึ่ง สอง สาม ในตุรกี, โทนี แบลร์ อำลาอาชีพการเมือง (ก่อนหน้านั้น ได้สร้างกระแสเล็กๆ จากการกล่าวแสดงความยินดีกับปธน. ฝรั่งเศสคนใหม่ด้วยภาษาฝรั่งเศส บนเว็บของตน) ฯลฯ
ไหนยังเหตุการณ์ที่ไม่น่าสนใจ (สำหรับตัวเราแต่น่าสนใจสำหรับคนอื่น) และ/หรือที่ไม่น่าสนใจกับใครทั้งนั้น (แต่มีสลักสำคัญ) รวมทั้งที่เกิดขึ้นเฉยๆ (แต่มีผลกระทบ) อีกมากมาย ......
เรียกได้ว่า แค่เขียนหัวข้อข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก ในความรับรู้ของเรา โดยไม่ต้องเสียเวลากับรายละเอียด ก็กินพื้นที่ของหน่วยความจำไปหลายเม็กฯ แล้ว (คิดแล้วก็อยากขอบคุณไมโครซอฟ แอปเปิ้ล และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของเอ็มพีสามและอะไรก็ตาม ที่ถูกนำมาใช้แทนกระดาษในการบันทึกและเก็บข้อมูล)
ไม่ว่าใครจะทำปิดหูปิดตาหรือปิดสวิทช์ความรู้สึกรู้สาเอาไว้ โลกก็ไม่แยแสแม้แต่น้อยกับความไม่อนาทรร้อนใจนี้ เพราะโลกหมุนทุกๆ ขณะ และหมุนจนกว่าจะถึงวันหมดอายุของมัน
และใครบางคนก็แอบสังเกตเห็นวันหมดอายุใต้กระป๋องโลกแล้วด้วย เลยพยายามหากระป๋องใหม่ (ที่น่าจะใส่คนและสัมภาระของคนต่อจากโลกกระป๋องเก่าได้) กันให้จ้าละหวั่น
พูดถึงข่าวมาตั้งยืดยาว ก็อดคิดถึงสื่อ (ในความหมายขององค์กรและผู้จ้างคนออกไปหาวัตถุดิบมาป้อนใส่ไมค์และหน้าจอมอนิเตอร์) ไม่ได้ เพราะสื่อคือผู้ตัดสินใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรจะรู้ ทั้งตัดสินใจโดยทางอ้อม คือตัดสินใจจ้างคนที่จะมาเลือกอีกที และตัดสินใจทางตรง คือเป็นกระบะที่เทเอาสมองมากองรวม เพื่อคิดว่าจะเอาอะไรมาขาย
ที่อยากพูดถึงคือ ความเข้าใจโดยทั่วไปของเราว่า “สื่อในประเทศประชาธิปไตย ในยุคนี้ คือเครื่องมือคานอำนาจรัฐ แต่สื่อไม่เข้มแข็งนัก เพราะถูกแทรกแซงจากการเมืองได้บ่อยครั้ง”
ความเข้าใจหรือความเชื่อนี้ ฝังรากแก้วและรากฝอยในสมองของเราอย่างเหนียวแน่น แบบที่เรียกว่ากลายเป็นสถาบันหนึ่งเลยก็ว่าได้ นักคิดคนหนึ่ง (โนอัม ชอมสกี้) ได้ตั้งคำถามอย่างเฉียบคมว่า ความเชื่อเหล่านี้ เป็นผลมาจากความพยายามของสื่อเองที่ทำให้เราเชื่ออย่างนั้นหรือไม่?
ชอมสกี้เองได้ชี้ทางสว่างเอาไว้ในบทความและหนังสือหลายเล่ม โดยชี้ให้เราเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในความลึกลับดำมืดของอำนาจและสถาบันของอำนาจในสังคมอเมริกัน อย่างเช่นรัฐบาลและสื่อ โดยชอมสกี้ บอกว่าความคิดของทุกคนที่ว่าลูกค้าของสื่อ (สิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์) ก็คือผู้อ่าน ผู้บริโภคหรือพวกเราทุกคนนั้น จริงๆ แล้วผิดถนัด
เพราะลูกค้าของสื่อจริงๆ แล้วคือองค์กรธุรกิจต่างหาก และตัวเราเองกลับเป็นเพียงสินค้าที่สื่อเสนอขายให้กับองค์กรธุรกิจเหล่านั้น โดยที่เราไม่รู้ตัว!
สื่อที่ร่ำรวย จึงไม่ใช่สื่อที่ขายทุกอย่างให้กับทุกคน แต่ขายเฉพาะบางเรื่องให้กับคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะคนมีเงินกลุ่มเล็ก (และสื่อที่กำลังจะไปไม่รอด มักจะลดยอดการผลิตและเล็งเป้าใหม่ เพื่อหากลุ่มลุกค้าที่แคบลง แต่อยู่สูงขึ้น)
เพราะคนมีเงินและอำนาจกลุ่มนี้แหละ คือสินค้าชั้นดี ที่สื่อจะสามารถวางโชว์ในตู้อย่างสมราคา เพื่อล่อตาล่อใจลูกค้ารายใหญ่อย่างธุรกิจอุตสาหกรรมและธุรกิจการเงินต่างๆ ให้มาใช้บริการลงโฆษณากันในระยะยาว
โดยที่คนอ่านหรือคนเสพ กลับนึกลำพองใจไปกันเองว่า ตัวเองคือพระราชาที่มีคนนำอาหารอันโอชะมาใส่พานถวาย ทั้งที่ไม่รู้ว่าตัวเองคืออาหารจานน่าหม่ำซะเอง นอกจากนั้น สื่ออีกนั่นแหละที่เป็นผู้ทรงอิทธิพล และกำหนด “วาระ” ของสังคม ให้เหล่านักวิชาการและนักการเมือง-ข้าราชการมานั่งถกกันหน้าดำหน้าแดง โดยที่หลงคิดไปว่าตัวเองเป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคม
แล้วอย่างนี้จะพูดอย่างเต็มปากว่า “รัฐแทรกแซงสื่อ” ได้ยังไง
ความคิดเห็น
สื่อมองผู้บริโภค 'เป็นสินค้า' นำเสนอผู้ประกอบการ จริง
แต่
สื่อกำหนด "วาระ" ของสังคม อันนี้ คิดว่าสื่อแค่ 'ฉกฉวย' โอกาส 'นำเสนอ' คืนแก่ผู้บริโภค เพื่อสานต่อ 'ความอยู่รอด' แก่ตัวสื่อเอง