เส้นทางที่สาม ของฝรั่งเศส
ปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริหารประเทศอย่างนายกฯ หรือประธานาธิบดีนั้นต้องทำงานหนักแทบไม่มีวันหยุดหรือเวลาพักผ่อน เพราะถ้าหากชาติหรือประเทศจะมีชีวิต มันก็ไม่เคยหลับ รวมทั้งสังคมไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว
การทำงานในตำแหน่งผู้นำ ในประเทศที่การเมืองสามารถสร้างบรรทัดฐานให้ผู้นำต้องเคารพหน้าที่และจริยธรรมการเมือง จึงต้องทุ่มเททั้งเวลาและความสามารถอย่างเต็มที่ เพราะปริมาณและความยากของงานนั้น ไม่ใช่น้อยเลย
อีกทั้งสมมุติฐานที่ซ่อนเร้นสำหรับการยอมรับบุคคลเข้ามาในตำแหน่งแบบนี้ ก็คือ ต้องเป็นคนดี
ผมมั่นใจว่าแม้ในประเทศที่มีระบบการปกครองอื่นหรือแบบใดๆ ก็ตามนอกจากประชาธิปไตย ก็คงไม่มีใครเรียกร้องผู้นำคดโกงหรืออำมหิต ข้อสมมุติฐานนี้จึงไม่น่ามีข้อยกเว้น
แต่ระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงมักมีช่องว่างเสมอ ! เพราะเป็นเรื่องยากที่จะหามนุษย์ปุถุชนที่ทั้งดี มีความสามารถและรักเด็กในตัวคนเดียว
ดังนั้น ไม่ว่าผู้นำคนใดในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการสรรเสริญเยินยอในทุกวันนี้ถึงความสามารถและผลงานในการนำความเจริญมาสู่ประเทศ ต่างก็มีข้อบกพร่องกันทั้งสิ้น และเคยทำผิดพลาดมามากบ้างน้อยมาก
และทุกคนล้วนมีจุดบอดให้ถูกตำหนิติเตียนจากสังคมในขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่เสมอทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหญิงเหล็ก อย่างนางแทตเชอร์ (Thatcher ดำรงตำแหน่งระหว่าง 1979-1990) อดีตพระเอกหนังอย่างเรแกน (Reagan 1981-1989) รวมทั้งคลินตัน (Clinton 1993-2001), แบลร์ (Blair 1997-2007), มิตเตรอง (Mitterrand 1981-1995) หรือกระทั่งนายพลเดอ โกลล์ (Charles de Gaulle 1958-1969)
แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือ บุคคลทั้งหมดที่เอ่ยถึงมา ล้วนทิ้งมรดกหรือผลงานที่เป็นรูปเป็นร่างที่ยังคงแสดงร่องรอยไว้จนกระทั่งทุกวันนี้ แต่ความรักและศรัทธาทางการเมืองจากประชาชนต่างหากคือ สิ่งที่แบ่งแยกคนกลุ่มนี้ ออกจากกลุ่มใหญ่ที่เหลือ
ครับ ผมกำลังพูดถึงความรักและความศรัทธาแบบหวือหวา ซ่านาน และเผาผลาญได้ทันที เพราะอาชีพทางการเมืองมีอายุขัยจำกัด
“ของขวัญ” ทางการเมืองนี้ นักการเมืองทุกคนรู้ดีไม่มีแจกฟรีที่ไหน และต้องสร้างและแลกมาด้วย “ความเป็นส่วนตัว” รวมทั้ง “ความเป็นตัวตน” ที่เคยมีและที่มีอยู่เป็นกิจวัตร
แต่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งคนไหนจะเดาใจประชาชน a priori ได้แม่นชนิดจิ้งจกทักหรอกครับ ที่พอจะทำได้ก็คงจะเป็นการทึกทักแบบนักวิชาเกินในลักษณะ a posteriori อย่างที่ผมกำลังทำอยู่ อย่างที่เห็นว่าหนทางของคนเหล่านี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเลยครับ ยกตัวอย่างนายพลเดอ โกลล์เอง กว่าจะได้อยู่เป็นสุขก็ต้องไปเดินเล่นฝ่าทะเลทรายมาแล้ว (ในช่วงเวลา la traversée du désert ของแกหนะ)
ไหนๆ ก็ทึกทักกันมาแล้วตั้งเยอะ ก็ทึกทักกันต่อไปให้สุดลิ่มทิ่มประตูเลยละกัน เพื่อสร้างทฤษฎี “มัดใจตลาดของผู้นำ” กันแบบเบ็ดเสร็จ เมื่อประเมินดูแล้ว ต้องบอกว่าทุกคนล้วนแต่ใช้ “ความเปลี่ยนแปลง” เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้าง “รอยต่อ” บนหน้าประวัติศาสตร์ (ที่มีอย่างน้อยคนละ ๒ รอย คือ ตอนที่เข้ามาและออกไปจากตำแหน่ง)
การเปลี่ยนแปลงนี้ อาจเป็นฟังก์ชันของสิ่งที่สร้างผู้นำคนนั้นขึ้นมา อันได้แก่ อุดมคติส่วนตัว (ที่ไม่เคยเปลี่ยน) รวมทั้งบุคลิกลักษณะความโดดเด่นและกึ๋นของแต่ละคนนั่นเอง
ลองมาสังเกตและสำรวจตรวจตราคุณสมบัติเหล่านี้ของ ปธน. ฝรั่งเศสคนปัจจุบัน ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งมาหมาดๆ กันดู
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่ง คือตั้งแต่พิธีส่งผ่านอำนาจ สัญญาณที่ชัดที่สุดที่ตีความได้จากท่าที ท่าทางและทีท่าทางการเมืองของคุณซาร์โกซี ก็น่าจะเป็นไปตามคำ “rupture” ที่เขาชอบอ้างถึง
คือ เขาแหกกฎเกณฑ์ทุกอย่าง ตั้งแต่ protocol ของพิธีการณ์รัฐ ไปจนถึงธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองที่ปธน. ใหม่ทุกคนเคยทำ
เริ่มตั้งแต่โชว์ภาพแฟมิลีแมน ในการนำครอบครัวผสมของตนมาเสนอต่อสาธารณะ ในพิธีการส่งมอบอำนาจและสถาปนาตำแหน่ง ที่ถูกสื่อวิจารณ์อย่างมากว่าเป็นแบบฉบับอเมริกันจ๋า และเป็นการเอาชีวิตส่วนตัวและส่วนรวมมาผสมกัน แบบที่ไม่มีใครเคยทำในฝรั่งเศส
ไปจนกระทั่งพฤติกรรมฝ่าแหกวงล้อมของการ์ดทุกครั้งที่มีโอกาสเพื่อไปจับมือกับฝูงชนที่มาสังเกตการณ์พิธีวางพวงมาลาตามสถานที่ต่างๆ แบบที่ไม่มีปธน. คนไหนจะทำได้อย่างเสมอต้นเสมอปลายขนาดนี้ จนกลายเป็นยี่ห้อประจำตัวและภาพที่ชินตาในข่าวแต่ละวัน
ถ้ายังแรงไม่พอ ก็ต้องไปตีความพิธีฉลองตำแหน่งพิธีแรกที่สวนบูโลญ ที่เขาได้จงใจเลือกสถานที่สัญลักษณ์ของความสูญเสีย ที่เกิดขึ้น ๑ สัปดาห์ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถูกปลดปล่อยจากการยึดครองของทหารนาซี อันเป็นสัญลักษณ์ของการเสียสละเลือดเนื้อของ “วัยรุ่นคอมมิวนิสต์” กลุ่มต่อต้าน ๓๕ ชีวิตเพื่อชาติ
ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นพื้นที่ที่สะท้อนอุดมคติแบบสังคมนิยม หรือแบบ “ซ้าย”
นี่เป็นการตอกย้ำ “ภาพของการเปลี่ยนแปลง” อีกครั้ง หลังจากที่พยายามฉีกภาพของนักการเมืองฝ่าย “ขวา” มาตลอดการหาเสียง โดยพยายามสื่อสารผ่านคำกล่าวและท่วงท่าเพื่อแสดงการให้เกียรติในการสัมภาษณ์ และพิธีการณ์สาธารณะหลายต่อหลายครั้ง เพื่อบอกเป็นนัยว่าฮีโร่ในดวงใจของตน (และของคนฝรั่งเศสส่วนใหญ่) ล้วนแต่เป็นบุคคลสำคัญที่มาจากอุดมคติแบบ “ซ้าย” ทั้งนั้น อย่างเช่น ฌอง จอเรส (Jean Jaurès) และจอร์จ เคลมองโซ (Georges Clémenceau)
ถึงแม้ว่าสื่อและพรรคการเมืองเจ้าของพื้นที่จะวิจารณ์ว่านี่เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองในการเอาชนะใจฐานเสียงฝั่งซ้ายและเป็นการล้วงลูกเสือออกจากถ้ำเสือ ไม่ต่างจากที่ซาร์โกซีทำกับพรรคขวาจัดมาแล้ว เพื่อชนะการเลือกตั้งในรอบแรก
แต่ผมคิดว่านี่คือ “ข้อความ” สำคัญที่นายซาร์โกซีกำลังสื่อสาร และแสดงให้เห็นชัดว่าเขากำลังเลือก “เส้นทางที่สาม” ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับที่โทนี แบลร์ เคยทำสำเร็จมาแล้วในอังกฤษ
นั่นคือเส้นทางของการเมืองแบบ social-democrat(e) นั่นเอง!
“เส้นทางที่สาม” คือแนวนโยบายการเมืองที่ผสมระหว่าง “การเติบโตทางเศรษฐกิจ” และ “นโยบายสังคมที่เป็นธรรม” ที่ปัจจุบันกลายเป็นธงรบของพรรคแรงงานใหม่หรือ New Labour ที่นำโดยกอร์ดอน บราวด์ สหายและทายาททางการเมืองของแบลร์
ทั้งนี้ ทฤษฎีเกี่ยวกับแนวนโยบายการเมืองแบบ “เส้นทางที่สาม” ในอังกฤษนั้น ได้รับการเสนอจนเป็นที่ยอมรับโดยนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงแอนโทนี กิดเด้น (Anthony Giddens)
ภายในสัปดาห์แรกของการทำงานในตำแหน่งประธานาธิบดี สิ่งที่สนับสนุน “ความเชื่อ” ของผมในเรื่อง “เส้นทางที่สาม” ที่นายซาร์โกซีเลือกเดิน ก็คือ การแต่งตั้งนายแบร์นาร์ด คูชแนร์ (Bernard Kouchner ) อดีตหมออาสาที่เคยทำงานด้านมนุษยธรรมในที่ต่างๆ เช่นโคโซโว รวมทั้งเคยเป็นข้าราชการระดับสูงในยูเอ็น และเป็นอดีตรมว.ต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอีกครั้ง แต่คราวนี้ในฐานะ “รมว. ซ้ายในรัฐบาลขวา”
รวมทั้งการแต่งตั้งนักเศรษฐศาสตร์สายสังคมนิยม อดีตประธานของเอ็มมาอูซ (สมาคมเพื่อคนตกทุกข์ที่ริเริ่มโดยนักบุญอับเบ้ ปิแอร์) อย่างคุณมาร์แตง ฮีร์ช (Martin Hirsch) เป็นกรรมการระดับสูงที่มีภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจนโดยตรง และขึ้นตรงกับนายกฯ
นายคูชเนอร์นี่เอง ที่ได้เขียนในจดหมายอธิบายสาเหตุของการรับตำแหน่ง (เพื่อไขข้อข้องใจของสังคม ทางนสพ. Le Monde) ว่าตนนั้นเชื่อในอุดมคติทางการเมืองแบบซ้าย-กลางที่เรียกว่า social-democrat(e)
และที่สำคัญคือ สัญลักษณ์ที่ถูกเน้นแล้วเน้นอีกตลอดการทำงานในสัปดาห์แรกของนายซาร์โกซี นั่นคือ การจัดประชุมหารือกับตัวแทนของสหภาพแรงงานและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในการทำงานสัปดาห์แรกของปธน.คนไหน
ซึ่งเป็นการเสนอภาพอย่างตรงไปตรงมาว่านายซาร์โกซีคือ ปธน. ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคม ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจ แบบเคียงบ่าเคียงไหล่ ชนิดที่พรรคสังคมนิยมจะต้องอายเลยทีเดียว
การทำงานในตำแหน่งผู้นำ ในประเทศที่การเมืองสามารถสร้างบรรทัดฐานให้ผู้นำต้องเคารพหน้าที่และจริยธรรมการเมือง จึงต้องทุ่มเททั้งเวลาและความสามารถอย่างเต็มที่ เพราะปริมาณและความยากของงานนั้น ไม่ใช่น้อยเลย
อีกทั้งสมมุติฐานที่ซ่อนเร้นสำหรับการยอมรับบุคคลเข้ามาในตำแหน่งแบบนี้ ก็คือ ต้องเป็นคนดี
ผมมั่นใจว่าแม้ในประเทศที่มีระบบการปกครองอื่นหรือแบบใดๆ ก็ตามนอกจากประชาธิปไตย ก็คงไม่มีใครเรียกร้องผู้นำคดโกงหรืออำมหิต ข้อสมมุติฐานนี้จึงไม่น่ามีข้อยกเว้น
แต่ระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงมักมีช่องว่างเสมอ ! เพราะเป็นเรื่องยากที่จะหามนุษย์ปุถุชนที่ทั้งดี มีความสามารถและรักเด็กในตัวคนเดียว
ดังนั้น ไม่ว่าผู้นำคนใดในประวัติศาสตร์ ที่ได้รับการสรรเสริญเยินยอในทุกวันนี้ถึงความสามารถและผลงานในการนำความเจริญมาสู่ประเทศ ต่างก็มีข้อบกพร่องกันทั้งสิ้น และเคยทำผิดพลาดมามากบ้างน้อยมาก
และทุกคนล้วนมีจุดบอดให้ถูกตำหนิติเตียนจากสังคมในขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่เสมอทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นหญิงเหล็ก อย่างนางแทตเชอร์ (Thatcher ดำรงตำแหน่งระหว่าง 1979-1990) อดีตพระเอกหนังอย่างเรแกน (Reagan 1981-1989) รวมทั้งคลินตัน (Clinton 1993-2001), แบลร์ (Blair 1997-2007), มิตเตรอง (Mitterrand 1981-1995) หรือกระทั่งนายพลเดอ โกลล์ (Charles de Gaulle 1958-1969)
แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือ บุคคลทั้งหมดที่เอ่ยถึงมา ล้วนทิ้งมรดกหรือผลงานที่เป็นรูปเป็นร่างที่ยังคงแสดงร่องรอยไว้จนกระทั่งทุกวันนี้ แต่ความรักและศรัทธาทางการเมืองจากประชาชนต่างหากคือ สิ่งที่แบ่งแยกคนกลุ่มนี้ ออกจากกลุ่มใหญ่ที่เหลือ
ครับ ผมกำลังพูดถึงความรักและความศรัทธาแบบหวือหวา ซ่านาน และเผาผลาญได้ทันที เพราะอาชีพทางการเมืองมีอายุขัยจำกัด
“ของขวัญ” ทางการเมืองนี้ นักการเมืองทุกคนรู้ดีไม่มีแจกฟรีที่ไหน และต้องสร้างและแลกมาด้วย “ความเป็นส่วนตัว” รวมทั้ง “ความเป็นตัวตน” ที่เคยมีและที่มีอยู่เป็นกิจวัตร
แต่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งคนไหนจะเดาใจประชาชน a priori ได้แม่นชนิดจิ้งจกทักหรอกครับ ที่พอจะทำได้ก็คงจะเป็นการทึกทักแบบนักวิชาเกินในลักษณะ a posteriori อย่างที่ผมกำลังทำอยู่ อย่างที่เห็นว่าหนทางของคนเหล่านี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเลยครับ ยกตัวอย่างนายพลเดอ โกลล์เอง กว่าจะได้อยู่เป็นสุขก็ต้องไปเดินเล่นฝ่าทะเลทรายมาแล้ว (ในช่วงเวลา la traversée du désert ของแกหนะ)
ไหนๆ ก็ทึกทักกันมาแล้วตั้งเยอะ ก็ทึกทักกันต่อไปให้สุดลิ่มทิ่มประตูเลยละกัน เพื่อสร้างทฤษฎี “มัดใจตลาดของผู้นำ” กันแบบเบ็ดเสร็จ เมื่อประเมินดูแล้ว ต้องบอกว่าทุกคนล้วนแต่ใช้ “ความเปลี่ยนแปลง” เป็นยุทธศาสตร์ในการสร้าง “รอยต่อ” บนหน้าประวัติศาสตร์ (ที่มีอย่างน้อยคนละ ๒ รอย คือ ตอนที่เข้ามาและออกไปจากตำแหน่ง)
การเปลี่ยนแปลงนี้ อาจเป็นฟังก์ชันของสิ่งที่สร้างผู้นำคนนั้นขึ้นมา อันได้แก่ อุดมคติส่วนตัว (ที่ไม่เคยเปลี่ยน) รวมทั้งบุคลิกลักษณะความโดดเด่นและกึ๋นของแต่ละคนนั่นเอง
ลองมาสังเกตและสำรวจตรวจตราคุณสมบัติเหล่านี้ของ ปธน. ฝรั่งเศสคนปัจจุบัน ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งมาหมาดๆ กันดู
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่ง คือตั้งแต่พิธีส่งผ่านอำนาจ สัญญาณที่ชัดที่สุดที่ตีความได้จากท่าที ท่าทางและทีท่าทางการเมืองของคุณซาร์โกซี ก็น่าจะเป็นไปตามคำ “rupture” ที่เขาชอบอ้างถึง
คือ เขาแหกกฎเกณฑ์ทุกอย่าง ตั้งแต่ protocol ของพิธีการณ์รัฐ ไปจนถึงธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมืองที่ปธน. ใหม่ทุกคนเคยทำ
เริ่มตั้งแต่โชว์ภาพแฟมิลีแมน ในการนำครอบครัวผสมของตนมาเสนอต่อสาธารณะ ในพิธีการส่งมอบอำนาจและสถาปนาตำแหน่ง ที่ถูกสื่อวิจารณ์อย่างมากว่าเป็นแบบฉบับอเมริกันจ๋า และเป็นการเอาชีวิตส่วนตัวและส่วนรวมมาผสมกัน แบบที่ไม่มีใครเคยทำในฝรั่งเศส
ไปจนกระทั่งพฤติกรรมฝ่าแหกวงล้อมของการ์ดทุกครั้งที่มีโอกาสเพื่อไปจับมือกับฝูงชนที่มาสังเกตการณ์พิธีวางพวงมาลาตามสถานที่ต่างๆ แบบที่ไม่มีปธน. คนไหนจะทำได้อย่างเสมอต้นเสมอปลายขนาดนี้ จนกลายเป็นยี่ห้อประจำตัวและภาพที่ชินตาในข่าวแต่ละวัน
ถ้ายังแรงไม่พอ ก็ต้องไปตีความพิธีฉลองตำแหน่งพิธีแรกที่สวนบูโลญ ที่เขาได้จงใจเลือกสถานที่สัญลักษณ์ของความสูญเสีย ที่เกิดขึ้น ๑ สัปดาห์ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถูกปลดปล่อยจากการยึดครองของทหารนาซี อันเป็นสัญลักษณ์ของการเสียสละเลือดเนื้อของ “วัยรุ่นคอมมิวนิสต์” กลุ่มต่อต้าน ๓๕ ชีวิตเพื่อชาติ
ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นพื้นที่ที่สะท้อนอุดมคติแบบสังคมนิยม หรือแบบ “ซ้าย”
นี่เป็นการตอกย้ำ “ภาพของการเปลี่ยนแปลง” อีกครั้ง หลังจากที่พยายามฉีกภาพของนักการเมืองฝ่าย “ขวา” มาตลอดการหาเสียง โดยพยายามสื่อสารผ่านคำกล่าวและท่วงท่าเพื่อแสดงการให้เกียรติในการสัมภาษณ์ และพิธีการณ์สาธารณะหลายต่อหลายครั้ง เพื่อบอกเป็นนัยว่าฮีโร่ในดวงใจของตน (และของคนฝรั่งเศสส่วนใหญ่) ล้วนแต่เป็นบุคคลสำคัญที่มาจากอุดมคติแบบ “ซ้าย” ทั้งนั้น อย่างเช่น ฌอง จอเรส (Jean Jaurès) และจอร์จ เคลมองโซ (Georges Clémenceau)
ถึงแม้ว่าสื่อและพรรคการเมืองเจ้าของพื้นที่จะวิจารณ์ว่านี่เป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองในการเอาชนะใจฐานเสียงฝั่งซ้ายและเป็นการล้วงลูกเสือออกจากถ้ำเสือ ไม่ต่างจากที่ซาร์โกซีทำกับพรรคขวาจัดมาแล้ว เพื่อชนะการเลือกตั้งในรอบแรก
แต่ผมคิดว่านี่คือ “ข้อความ” สำคัญที่นายซาร์โกซีกำลังสื่อสาร และแสดงให้เห็นชัดว่าเขากำลังเลือก “เส้นทางที่สาม” ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับที่โทนี แบลร์ เคยทำสำเร็จมาแล้วในอังกฤษ
นั่นคือเส้นทางของการเมืองแบบ social-democrat(e) นั่นเอง!
“เส้นทางที่สาม” คือแนวนโยบายการเมืองที่ผสมระหว่าง “การเติบโตทางเศรษฐกิจ” และ “นโยบายสังคมที่เป็นธรรม” ที่ปัจจุบันกลายเป็นธงรบของพรรคแรงงานใหม่หรือ New Labour ที่นำโดยกอร์ดอน บราวด์ สหายและทายาททางการเมืองของแบลร์
ทั้งนี้ ทฤษฎีเกี่ยวกับแนวนโยบายการเมืองแบบ “เส้นทางที่สาม” ในอังกฤษนั้น ได้รับการเสนอจนเป็นที่ยอมรับโดยนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงแอนโทนี กิดเด้น (Anthony Giddens)
ภายในสัปดาห์แรกของการทำงานในตำแหน่งประธานาธิบดี สิ่งที่สนับสนุน “ความเชื่อ” ของผมในเรื่อง “เส้นทางที่สาม” ที่นายซาร์โกซีเลือกเดิน ก็คือ การแต่งตั้งนายแบร์นาร์ด คูชแนร์ (Bernard Kouchner ) อดีตหมออาสาที่เคยทำงานด้านมนุษยธรรมในที่ต่างๆ เช่นโคโซโว รวมทั้งเคยเป็นข้าราชการระดับสูงในยูเอ็น และเป็นอดีตรมว.ต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอีกครั้ง แต่คราวนี้ในฐานะ “รมว. ซ้ายในรัฐบาลขวา”
รวมทั้งการแต่งตั้งนักเศรษฐศาสตร์สายสังคมนิยม อดีตประธานของเอ็มมาอูซ (สมาคมเพื่อคนตกทุกข์ที่ริเริ่มโดยนักบุญอับเบ้ ปิแอร์) อย่างคุณมาร์แตง ฮีร์ช (Martin Hirsch) เป็นกรรมการระดับสูงที่มีภารกิจแก้ไขปัญหาความยากจนโดยตรง และขึ้นตรงกับนายกฯ
นายคูชเนอร์นี่เอง ที่ได้เขียนในจดหมายอธิบายสาเหตุของการรับตำแหน่ง (เพื่อไขข้อข้องใจของสังคม ทางนสพ. Le Monde) ว่าตนนั้นเชื่อในอุดมคติทางการเมืองแบบซ้าย-กลางที่เรียกว่า social-democrat(e)
และที่สำคัญคือ สัญลักษณ์ที่ถูกเน้นแล้วเน้นอีกตลอดการทำงานในสัปดาห์แรกของนายซาร์โกซี นั่นคือ การจัดประชุมหารือกับตัวแทนของสหภาพแรงงานและกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในการทำงานสัปดาห์แรกของปธน.คนไหน
ซึ่งเป็นการเสนอภาพอย่างตรงไปตรงมาว่านายซาร์โกซีคือ ปธน. ที่ให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคม ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจ แบบเคียงบ่าเคียงไหล่ ชนิดที่พรรคสังคมนิยมจะต้องอายเลยทีเดียว
ความคิดเห็น