ลองใช้เท้าคิดเรื่องรัฐประหาร
วันที่ประเทศไทยเกิดรัฐประหาร (๑๙ กันยายน ๒๕๔๙) น้อยคนจะเชื่อว่าเหตุการณ์เชยๆ แบบนี้จะสามารถเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย และไม่คิดว่าทหารคนไหนจะยังมีหน้าทำเรื่องเชยๆ แบบนี้ขึ้นอีก
หลังเหตุการณ์ใหม่ๆ จึงเกิดสูญญากาศ (ในสมอง) เพราะความงงงวยและอึ้งกิมกี่ แบบเปิดตำราไม่ถูก เชื่อมั้ยว่า ผมได้เห็นพี่ๆ เพื่อนๆ ที่อยู่ในแวดวงวิชาการหลายคนตกอยู่ในอาการที่เรียกว่า “ไปไม่เป็น”
เพราะไม่แน่ใจว่าจะรู้สึกยังไงกับสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่รู้ว่าจะชอบหรือเกลียดทหารกันแน่ (ถึงแม้ทีวีที่ถูกควบคุมโดยทหารตอนนั้น จะพยายามเสนอภาพ “เด็กมอบดอกไม้ให้ทหาร” อย่างไม่ย่อท้อ จนเราเคลิบเคลิ้มไปไม่น้อยก็ตาม)
ผมเองหมดค่ากาแฟและเหล้าไปไม่น้อย เพื่อต่อสู้กับภาพดอกไม้ปลายปืนและภาพหางเครื่องลายพรางในสมอง รวมทั้งเพื่อแลกกับโอกาสในการพบปะและถามไถ่อาการบวกความรู้สึกของพี่ๆ เพื่อนๆ พร้อมถือโอกาสในการลับสมองจากการแบกบาลร่วมกัน
แต่รอยหยักในสมองที่มีอยู่อย่างไม่พอเพียงกลับไม่ได้ช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่อะไรมากนัก ซ้ำยังทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากความรู้เดิม จึงได้หันไปลงทุนนำเข้าสินค้าทดแทนคือ อ่านจากงานวิชาการและบทความที่เขียนขึ้นเพื่อวิเคราะห์การเมืองหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยตรง ที่หาได้ตามร้านขายยาและห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป
ปรากฏว่า จนถึงวันนี้ นักวิชาการจำนวนไม่น้อยพยายามผลิตและเสนอคำอธิบายสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น บ้างก็ทำได้อย่างดี น่ายกย่อง บ้างก็ทำได้อย่างไม่ละอายใจ... ถ้าหากจะให้แบ่งกลุ่มนักวิชาการโดยอิงจากเนื้อหาหรือคำอธิบายที่ถูกเสนอแล้ว ก็คงแบ่งง่ายๆ เป็นกลุ่มใหญ่ ๒ กลุ่ม
คือ กลุ่มที่เห็นด้วยและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร
โดยกลุ่มที่เห็นด้วยนั้น เกือบทั้งหมดอยู่บนฐานของวิธีคิดแบบ “second best” กล่าวคือ ในเมื่อวิถีทางแบบประชาธิปไตย (ไทย) นั้นไม่เปิดโอกาสให้กับทางออกที่เหมาะสม นี่ก็คือทางเลือกสุดท้าย ที่ดีที่สุดและ/หรือที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง
คำอธิบายของสมาชิกในกลุ่มนี้จึงเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ยินดีต่อการจากไปของรัฐบาลทักษิณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม (อาจสะท้อนอุดมคติหรือทัศนคติทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายและการทำงานของรัฐบาลทักษิณ หรืออาจจะมีผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือการเมืองที่ขัดแย้งก็ตาม)
ซึ่งกลุ่มนี้ อาจครอบคลุมสาขาย่อยคือ (๑) กลุ่มที่มุ่งสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหาร โดยใช้ เงื่อนไขพิเศษหรือ “สถานการณ์พิเศษ” เป็นปัจจัยสนับสนุน และ (๒) กลุ่มที่อ้างว่าไม่ว่ารัฐประหารจะดีหรือไม่ก็ตาม มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จำเป็นต่อไปข้างหน้าคือการช่วยกันทำความสะอาดกวาดบ้านเพื่ออนาคตต่อไป
กลุ่มที่ประกาศตัวว่าเห็นด้วยกับรัฐประหาร ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมนี้ มีแนวโน้มจะเรียกตัวเองให้ดูดีว่า “พวกแพรกมาติสต์ (pragmatist) ” หรือพวกที่หาทางออกอย่างสมเหตุสมผล ไม่ยึดติดกับอุดมการณ์หรืออุดมคติที่แปลกแยกจากความเป็นจริง
โดยไม่ลืมที่จะบอกว่าตนมองเห็นคุณค่าของประชาธิปไตยและเข้าใจกลไกการทำงานของระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกัน พวกตนก็เข้าใจ “ความเป็นจริง” ของประชาธิปไตยแบบไทย หรือแบบ “วัฒนธรรมไทย” (ที่คนส่วนใหญ่มองไม่เข้าใจ) อย่างลึกซึ้ง
การยอมลดทอนทิฐิมานะให้กับทางออกเฉพาะหน้า ในสถานการณ์พิเศษนี้ จึงเป็นการกลืนน้ำลายเพื่อชาติ
ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารนั้น อาจแบ่งออกเป็น ๒ พวกคือ
(๑) พวกที่สูญเสียฐานที่มั่นทางอำนาจจากการทำรัฐประหารและ/หรือกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์นโยบายของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งอาจครอบคลุมถึงประชาชนที่เคยได้รับอานิสงค์จากนโยบายแบบหว่านพืชหวังผลก็ได้ กับ
(๒) กลุ่มนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับหลักการของการทำรัฐประหาร โดยกลุ่มนี้มีจุดร่วมที่สำคัญคือ พยายามสร้างทฤษฎีการเมืองจากฐานของความคิดแบบวิพากษ์สถาบันการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรี
นักวิชาการกลุ่มนี้ คือพวกที่พยายามชี้ให้สังคมมองเห็นอิทธิพลของสถาบันการเมืองที่เพิ่งสถาปนาตนเองอย่างแข็งแรงและชัดเจนจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์หรือโจมตีวาทกรรมทางการเมืองต่างๆ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือประกอบการทำรัฐประหาร เช่น วาทกรรมการเมืองใสสะอาดหรือการเมืองของผู้มีคุณธรรม เป็นต้น
กลุ่มหลังสุดนี้ คือกลุ่มที่น่าสนใจที่สุด เพราะพยายามเสนอทฤษฎีและคำอธิบายอย่างเป็นระบบ โดยส่วนตัวผมเห็นว่า มีบทความหลายชิ้นที่สามารถเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำความเข้าใจการเมืองไทย ที่สามารถอธิบายการแบ่งสันอำนาจในเวทีการเมืองไทย ทั้งหน้าฉากและหลังฉาก ในมิติที่กว้างและลึกซึ้งมากขึ้น อย่างเช่น งานของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล เรื่อง “ข้ามไม่พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง ๑๔ ตุลาฯ” เป็นต้น
หลังเหตุการณ์ใหม่ๆ จึงเกิดสูญญากาศ (ในสมอง) เพราะความงงงวยและอึ้งกิมกี่ แบบเปิดตำราไม่ถูก เชื่อมั้ยว่า ผมได้เห็นพี่ๆ เพื่อนๆ ที่อยู่ในแวดวงวิชาการหลายคนตกอยู่ในอาการที่เรียกว่า “ไปไม่เป็น”
เพราะไม่แน่ใจว่าจะรู้สึกยังไงกับสิ่งที่เกิดขึ้นและไม่รู้ว่าจะชอบหรือเกลียดทหารกันแน่ (ถึงแม้ทีวีที่ถูกควบคุมโดยทหารตอนนั้น จะพยายามเสนอภาพ “เด็กมอบดอกไม้ให้ทหาร” อย่างไม่ย่อท้อ จนเราเคลิบเคลิ้มไปไม่น้อยก็ตาม)
ผมเองหมดค่ากาแฟและเหล้าไปไม่น้อย เพื่อต่อสู้กับภาพดอกไม้ปลายปืนและภาพหางเครื่องลายพรางในสมอง รวมทั้งเพื่อแลกกับโอกาสในการพบปะและถามไถ่อาการบวกความรู้สึกของพี่ๆ เพื่อนๆ พร้อมถือโอกาสในการลับสมองจากการแบกบาลร่วมกัน
แต่รอยหยักในสมองที่มีอยู่อย่างไม่พอเพียงกลับไม่ได้ช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่อะไรมากนัก ซ้ำยังทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากความรู้เดิม จึงได้หันไปลงทุนนำเข้าสินค้าทดแทนคือ อ่านจากงานวิชาการและบทความที่เขียนขึ้นเพื่อวิเคราะห์การเมืองหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยตรง ที่หาได้ตามร้านขายยาและห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป
ปรากฏว่า จนถึงวันนี้ นักวิชาการจำนวนไม่น้อยพยายามผลิตและเสนอคำอธิบายสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น บ้างก็ทำได้อย่างดี น่ายกย่อง บ้างก็ทำได้อย่างไม่ละอายใจ... ถ้าหากจะให้แบ่งกลุ่มนักวิชาการโดยอิงจากเนื้อหาหรือคำอธิบายที่ถูกเสนอแล้ว ก็คงแบ่งง่ายๆ เป็นกลุ่มใหญ่ ๒ กลุ่ม
คือ กลุ่มที่เห็นด้วยและกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร
โดยกลุ่มที่เห็นด้วยนั้น เกือบทั้งหมดอยู่บนฐานของวิธีคิดแบบ “second best” กล่าวคือ ในเมื่อวิถีทางแบบประชาธิปไตย (ไทย) นั้นไม่เปิดโอกาสให้กับทางออกที่เหมาะสม นี่ก็คือทางเลือกสุดท้าย ที่ดีที่สุดและ/หรือที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง
คำอธิบายของสมาชิกในกลุ่มนี้จึงเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ยินดีต่อการจากไปของรัฐบาลทักษิณ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม (อาจสะท้อนอุดมคติหรือทัศนคติทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายและการทำงานของรัฐบาลทักษิณ หรืออาจจะมีผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือการเมืองที่ขัดแย้งก็ตาม)
ซึ่งกลุ่มนี้ อาจครอบคลุมสาขาย่อยคือ (๑) กลุ่มที่มุ่งสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหาร โดยใช้ เงื่อนไขพิเศษหรือ “สถานการณ์พิเศษ” เป็นปัจจัยสนับสนุน และ (๒) กลุ่มที่อ้างว่าไม่ว่ารัฐประหารจะดีหรือไม่ก็ตาม มันก็ได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จำเป็นต่อไปข้างหน้าคือการช่วยกันทำความสะอาดกวาดบ้านเพื่ออนาคตต่อไป
กลุ่มที่ประกาศตัวว่าเห็นด้วยกับรัฐประหาร ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมนี้ มีแนวโน้มจะเรียกตัวเองให้ดูดีว่า “พวกแพรกมาติสต์ (pragmatist) ” หรือพวกที่หาทางออกอย่างสมเหตุสมผล ไม่ยึดติดกับอุดมการณ์หรืออุดมคติที่แปลกแยกจากความเป็นจริง
โดยไม่ลืมที่จะบอกว่าตนมองเห็นคุณค่าของประชาธิปไตยและเข้าใจกลไกการทำงานของระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกัน พวกตนก็เข้าใจ “ความเป็นจริง” ของประชาธิปไตยแบบไทย หรือแบบ “วัฒนธรรมไทย” (ที่คนส่วนใหญ่มองไม่เข้าใจ) อย่างลึกซึ้ง
การยอมลดทอนทิฐิมานะให้กับทางออกเฉพาะหน้า ในสถานการณ์พิเศษนี้ จึงเป็นการกลืนน้ำลายเพื่อชาติ
ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารนั้น อาจแบ่งออกเป็น ๒ พวกคือ
(๑) พวกที่สูญเสียฐานที่มั่นทางอำนาจจากการทำรัฐประหารและ/หรือกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์นโยบายของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งอาจครอบคลุมถึงประชาชนที่เคยได้รับอานิสงค์จากนโยบายแบบหว่านพืชหวังผลก็ได้ กับ
(๒) กลุ่มนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับหลักการของการทำรัฐประหาร โดยกลุ่มนี้มีจุดร่วมที่สำคัญคือ พยายามสร้างทฤษฎีการเมืองจากฐานของความคิดแบบวิพากษ์สถาบันการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และองคมนตรี
นักวิชาการกลุ่มนี้ คือพวกที่พยายามชี้ให้สังคมมองเห็นอิทธิพลของสถาบันการเมืองที่เพิ่งสถาปนาตนเองอย่างแข็งแรงและชัดเจนจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้ ในขณะเดียวกันก็วิพากษ์วิจารณ์หรือโจมตีวาทกรรมทางการเมืองต่างๆ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือประกอบการทำรัฐประหาร เช่น วาทกรรมการเมืองใสสะอาดหรือการเมืองของผู้มีคุณธรรม เป็นต้น
กลุ่มหลังสุดนี้ คือกลุ่มที่น่าสนใจที่สุด เพราะพยายามเสนอทฤษฎีและคำอธิบายอย่างเป็นระบบ โดยส่วนตัวผมเห็นว่า มีบทความหลายชิ้นที่สามารถเสนอกระบวนทัศน์ใหม่ในการทำความเข้าใจการเมืองไทย ที่สามารถอธิบายการแบ่งสันอำนาจในเวทีการเมืองไทย ทั้งหน้าฉากและหลังฉาก ในมิติที่กว้างและลึกซึ้งมากขึ้น อย่างเช่น งานของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล เรื่อง “ข้ามไม่พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง ๑๔ ตุลาฯ” เป็นต้น
ความคิดเห็น